WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 9, 2008

นักวิชาการชี้การเขียน รธน.มีอุปสรรคเพราะระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

ม.เกริก 9 พ.ค.-“สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์”ชี้การเขียนรัฐธรรมนูญมีอุปสรรคเพราะมีระบบอุปถัมภ์ การแบ่งขั้วมาเกี่ยวข้อง แนะให้ยึดความถูกต้องและประโยชน์ของชาติ ขณะเดียวกันเสียงข้างมากต้องฟังเสียงข้างน้อยด้วย ขณะที่”วรพล พรหมิกบุตร”อัดรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้อำนาจกลุ่มคณาธิปไตยตั้งแต่ปลดหรือถอดถอนบุคคลทุกตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งได้ และเขียนยกโทษให้ล่วงหน้าด้วย ส่วน”สาทิตย์ วงศ์หนองเตย”ระบุไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่คนไทยขัดแย้งกันแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น.มีการสัมมนาทางวิชาการ “แก้-ไม่แก้รัฐธรรมนูญ คนไทยได้อะไร” ซึ่งจัดโดยนักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ สาขาสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ทั้งนี้ นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจการเมือง มองว่า รัฐธรรมนูญคือ แผนในการกำหนดทิศทาง หรือโลกทัศน์ที่แสดงออกถึงประชาธิปไตย เพื่อกำหนดทิศทางของคนในชาติ ซึ่งต้องใช้เสียงข้างมากในการดำเนินการ แต่ต้องคำนึงถึงเสียงส่วนน้อยด้วย ดังนั้นการเขียนรัฐธรรมนูญหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน เช่น กรณีองค์กรอิสระ ต้องทำให้เป็นกลางจริงๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน บุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่นี้ต้องถูกตรวจสอบประวัติอย่างละเอียดว่า เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง หรือผลประโยชน์ใดหรือไม่ ต้องมีขบวนการป้องกันไม่ให้เสียงข้างมาก เข้าไปเลือกหรือแทรกแซงได้

นายสมชาย กล่าวว่า การเขียนรัฐธรรมนูญจะมีอุปสรรคเข้ามาเกี่ยวข้องคือ เรื่องวัฒนธรรม ทัศนคติ ค่านิยมในสังคมไทย ที่ยังทำตามผู้ใหญ่เป็นส่วนใหญ่ ระบบอุปภัมภ์ การแบ่งขั้ว เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ เกรงใจผู้ใหญ่ ดังนั้นอยากให้แยกแยะสิ่งเหล่านี้ กับความถูกต้องและประโยชน์ของประเทศ

ด้านนายวรพล พรหมิกบุตร นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขอเสนอแนวทางสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อความสมานฉันท์ โดยยึดประโยชน์ของปวงชนชาวไทยเป็นสำคัญ ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้ร่วมกับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง เพื่อพิจารณาทบทวน เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญปี 2550 เนื่องจากเห็นว่า สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 2550 มีการจัดวางตำแหน่ง และให้อำนาจกับตำแหน่งที่เป็นคณาธิปไตย มากกว่ากลุ่มอนาธิปไตย โดยสามารถเข้าไปกุมอำนาจการเมืองได้ และจะมีการสืบทอดตำแหน่งต่อ ๆ ไป

นายวรพล กล่าวว่า กลุ่มคณาธิปไตยจะมีอำนาจตั้งแต่ปลดหรือถอดถอน บุคคลทุกตำแหน่ง ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งทำให้มีอำนาจอยู่เหนือประชาชน มีอำนาจลงไปถึงการให้บุคคลเหล่านี้ ใช้ดุลยพินิจว่า บุคคลดังกล่าวมีการกระทำผิดหรือไม่ ถือเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ และเขียนบทบัญญัติให้มีการยกโทษล่วงหน้าไว้ก่อน

ส่วนนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงาน(วิป) ฝ่ายค้าน กล่าวว่า ไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่สิ่งที่เห็นในตอนนี้คือ คนไทยกำลังขัดแย้งกัน ทั้งนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเป็นกระบวนการปกติที่มีมาทุกยุคทุกสมัย โดยมีกระบวนการในสภาฯ และบางครั้งเมื่อเกิดวิกฤติขึ้นมา จะมีระบบ มีองค์กรขึ้นมารับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญ เช่น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ดังนั้นหากจะมองในเรื่องการเอาชนะกันอาจจะสร้างความร้าวลึกขึ้นมาได้ ทั้งนี้สังคมประชาธิปไตยต้องอยู่ร่วมกันได้บนความเห็นที่แตกต่าง และต้องไม่มีการกระทบกระแทกหรือมีการกระทำที่รุนแรง ต้องพูดจากันด้วยเหตุผล.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-05-09 18:24:59