WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 23, 2008

ย้อนร้อยรัฐประหาร 19 ก.ย. 49


คอลัมน์ : Cover story

เช้าวันที่ 19 กันยายน 2549 มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วมทำให้มีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาล ช่วงพลบค่ำมีข่าวว่ากำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ

เวลา 18.00 น. นายสมชาย มีเสน ผู้จัดรายการวิทยุ FM 92.25 MHz นัดผู้ฟังรายการจำนวนหนึ่งเข้าพบ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เพื่อขอให้ทหารให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จะชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันรุ่งขึ้น

ประมาณ 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก

เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนราชดำเนิน ไม่กี่นาทีต่อมา ทหารจำนวนมากออกมาตรึงกำลังตามถนนต่างๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึงถนนราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพราง เป็นผู้ควบคุมกำลัง

เวลา 22.15 น. วันที่ 19 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์สถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านดาวเทียมจากประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี แต่เมื่ออ่านแถลงการณ์ได้ 3 ฉบับ ก็มีกำลังทหารพร้อมอาวุธกลุ่มหนึ่งบุกเข้าไปยังสถานี พร้อมออกคำสั่งให้หยุดการแพร่ภาพโดยทันที เป็นผลให้เจ้าหน้าที่สถานีต้องตัดสัญญาณการแถลงข่าวลงทันที

เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ประกอบ ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น และบีบีซี เผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายในกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้น พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5 ได้อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านั้นซ้ำถึง 2 ครั้ง

เกือบเที่ยงคืน ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรับกำหนดการที่จะขึ้นแถลงต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แต่แล้วก็ยกเลิกการขึ้นแถลง จากนั้นจึงขึ้นเครื่องบินเที่ยวพิเศษ เดินทางออกจากนิวยอร์กไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 20 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย

มีข่าวว่าอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเดินทางไปสมทบกันที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อหารือในการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยจะขอให้สหประชาชาติให้การรับรอง

ในที่ประชุมแกนนำ คปค. เมื่อวันที่ 23 กันยายน ในที่ประชุมได้กล่าวถึงการติดต่อจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จากประเทศอังกฤษ เข้ามายังคณะปฏิรูปการปกครองฯ ด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ให้การยืนยันทางโทรศัพท์กับ พล.อ.สนธิ โดยระบุว่า พร้อมจะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองในทุกกรณี และได้แจ้งให้รัฐมนตรีและสมาชิกพรรคไทยรักไทยทุกคนรับทราบ พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทุกประการ และจะพักผ่อนกับครอบครัวในต่างประเทศ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จึงจะเดินทางกลับประเทศไทย

ก่อนที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จะนำคณะรัฐประหารที่ใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ทุกช่องในช่วงเช้ามืดของวันที่ 20 กันยายน 2551 โดยระบุว่า ทหารบกมีส่วนสำคัญในการก่อรัฐประหารครั้งนี้

การรัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2548

รัฐประหารดังกล่าวแม้จะไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่ทว่าปฏิกิริยาจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศเช่นออสเตรเลีย การแสดงความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่า การก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่า ยังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับประธานองคมนตรี

วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2549 ในช่วงเที่ยงวัน ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และ นายทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำการประท้วงการรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนราชดำเนิน นายทวีกางป้ายขนาดใหญ่ 2 ป้ายระบุว่า "กระผม นายทวี ไกรคุปต์ ขออดข้าวประท้วงผู้ที่ล้มล้างประชาธิปไตย ทำให้บ้านเมืองถอยหลังและแตกแยก" พร้อมทั้งทำการแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกของตนให้กับบรรดาสื่อมวลชนด้วย ในเวลาต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเชิญตัว ร.ต.ฉลาด ขึ้นรถมิตซูบิชิที่มีรถบัสทหารติดตาม ระบุ ร.1 พัน 1 รอ. ไปที่หน่วยบังคับบัญชา จากนั้น 3 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 7 นาย ได้ล็อกตัวนายทวีขึ้นรถตู้สีขาวและขับออกไปทันที โดยระหว่างขึ้นรถนายทวีมีอาการขัดขืน จากนั้นทหารบางส่วนได้เข้าเก็บป้ายประท้วงออกจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาประณามเผด็จการทหารว่าเป็นการ "ฉีก" รัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมกันการร่างมากที่สุด การปิดหูปิดตาประชาชนด้วยการควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ รวมไปถึงการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และได้เรียกร้องประชาชนร่วมกันใส่ชุดดำหรือปลอกแขนดำเพื่อไว้อาลัยประชาธิปไตย

กลุ่มองค์กรที่เรียกตัวเองว่า "เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร" มีการชุมนุมและกล่าวแถลงการณ์ที่หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 เวลา 18.00 น. ซึ่งศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วย และกล่าวว่าพวกเขาจะยื่นแถลงการณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิในการชุมนุมที่หน้าสยามพารากอน

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ.2549 ได้มีผู้กล่าวโทษ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน กับพวกในฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งทางดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดำเนินการตามกฎหมาย ตามเลขรับที่ 03614 พอทางกองทัพบกและรัฐบาลได้ทราบ จึงได้มีคำสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยยึดถือตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ได้นิรโทษกรรมการกระทำความผิดไม่ว่ากรณีใดๆ ของคณะปฏิรูปฯ แต่ทางดีเอสไอได้แย้งว่า พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ ต่างจากกฎหมายอื่น ที่กฎหมายแม่สามารถหักล้างกฎหมายลูกได้ กล่าวคือ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาทางกฎหมายกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นสนธิสัญญาความร่วมมือแนวนโยบายและปฏิบัติระหว่าง FBI และหน่วยงานสอบสวนกลางของประเทศในกลุ่มภาคีสมาชิกเพื่อต่อต้านการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง การนิรโทษกรรมตามรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถกระทำได้

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 เวลา 12:46 น. นายนวมทอง ไพรวัลย์ อายุ 60 ปี ขับรถแท็กซี่พ่นสีคำว่า "พลีชีพ" ที่กระโปรงท้าย ส่วนบริเวณด้านข้างประตูรถทั้ง 2 ข้างพ่นเป็นตัวหนังสือจับใจความว่า "พวกทำลายประเทศ"? พุ่งเข้าชนรถถังบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า? จนรถพังยับเยิน และตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส ซี่โครงซ้ายหัก คางแตก ปากแตก และตาซ้ายบวมเป่ง หลังจากนั้นแท็กซี่จำนวนหลายร้อยคันรีบรุดไปเยี่ยม แต่ถูกห้ามไม่ให้เข้าเยี่ยม เรื่องราวการรวมตัวของกลุ่มแท็กซี่ไม่ได้ถูกรายงานข่าวต่อสาธารณชน

กระทั่งเมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2549 นายนวมทอง ไพรวัลย์ ได้ผูกคอประท้วงบนสะพานลอยข้ามถนนวิภาวดีรังสิต หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พร้อมด้วยจดหมายประท้วงรัฐบาล โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า "เหตุที่ผมกระทำการพลีชีพครั้งที่ 2 โดยการทำลายตัวเอง เพื่อมิให้เสียทรัพย์เหมือนครั้งแรก ก็เพื่อลบคำสบประมาทของท่านรองโฆษก คปค. (พ.อ.อัคร ทิพโรจน์) ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า 'ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้'"

ด้านปฏิกิริยาของนานาชาติ รัฐบาลสหรัฐกล่าวว่า "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้สำหรับการรัฐประหารในไทยหรือที่ใดก็ตาม ทางสหรัฐมีความผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง" และกล่าวว่า รัฐบาลต้องรีบจัดการเลือกตั้งให้เร็วกว่า 1 ปี ตามที่ คปค. ได้กำหนด นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐได้ตัดเงินช่วยเหลือด้านการทหาร และด้านการรักษาสันติภาพแก่ไทยเป็นจำนวน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 900 ล้านบาท) และกล่าวว่า กำลังกำหนดมาตรการลงโทษเพิ่มเติม

ขณะที่ โคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ระบุว่า ไม่สนับสนุนให้เกิดการรัฐประหาร และอยากให้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างรวดเร็วที่สุด พร้อมกับระบุว่า "ในสหภาพแอฟริกา เราจะไม่สนับสนุนผู้ที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยกระบอกปืน"

การรัฐประหารครั้งดังกล่าวนอกจากจะฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว ยังคุกคามสื่อมวลชน โดยช่วงหัวค่ำวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 สถานีโทรทัศน์ไทยทุกช่องได้ยุติรายการปกติ และให้ดำเนินรายการอย่างที่คณะรัฐประหารต้องการ สลับกับการอ่านประกาศด้วยการขึ้นต้นประโยคเชิงบังคับว่า ‘โปรดฟังอีกครั้ง...’

จากนั้น วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2550 พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช. พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. ได้เชิญผู้บริหารสื่อ ซึ่งมีทั้งสื่อโทรทัศน์และวิทยุ จำนวนประมาณ 50 คน จากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง และผู้บริหารสถานีวิทยุของรัฐ รวมทั้งสถานีวิทยุชุมชน มาร่วมหารือที่กองบัญชาการกองทัพบก

โดยสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง วิทยุทุกสถานี ไม่แพร่ภาพกระจายเสียงข้อความหรือแถลงการณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี และแกนนำของพรรคไทยรักไทย พร้อมกับสั่งบล็อกเว็บ CNN และรายการ CNN ทางโทรทัศน์ ที่มีการถ่ายทอดบทสัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 15 มกราคม 2550 เพื่อไม่ให้ประชาชนไทยได้รับรู้ข่าวสารของ พ.ต.ท.ทักษิณ สนองนโยบายล่าสุดของทหารที่ไม่ให้เสนอข่าวและความคิดเห็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมทั้งปิดสื่ออินเตอร์เน็ตที่เข้าข่ายโจมตีฝ่าย คมช.

สำหรับปฏิกิริยาของตลาดการเงินในขณะนั้น เงินบาทได้ลดค่าจาก 37.280 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 37.900 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นการลดค่าในวันเดียวมากที่สุดในรอบ 3 ปี กองทุน Thai Fund Inc. ในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ได้ ลดค่า 10.9% ภายใน 2 วัน ดัชนี Nikkei ตกลงไปถึง 177.78 จุด หรือประมาณ 1.12% ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นก่อนปิดตลาดที่ 15874.28 จุด ส่วนที่ New York ดัชนี Dow Jones ร่วงไปถึง 14.09 จุด ปิดตลาดที่ 11540.91 จุด

ขณะที่ระดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในขณะนั้น แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ ได้เตือนว่า อาจมีการลดเรตติ้งสินเชื่อ (debt rating) ไทย จาก BBB+ ตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

ส่วน "ไอเอ็มเอฟ” กำลังเฝ้าจับตาสถานการณ์การก่อรัฐประหารในไทยอย่างใกล้ชิด แต่ยังเห็นว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบในตลาดการเงิน

สำหรับชนวนที่นำมาสู่รัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยมีสถานการณ์รอบด้านหลายประการรุมเร้า โดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เปิดเผยว่า ได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อมธ. เปิดล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อ เพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี การเข้าพบ พล.อ.สนธิ ของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเรียกร้องให้ทหารออกมายืนข้างประชาชน การเสนอให้ใช้มาตรา 7 นายกฯ พระราชทาน จาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และการประกาศยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ภายหลังรัฐประหาร คปค. ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับตั้ง ครม.ขิงแก่ ขึ้นมาบริหารราชการแผ่นดิน ก่อนที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ขึ้นมาโดย สสร. และผ่านการรับรองจากสมาชิก สนช. และมีการลงประชามติจากประชาชนทั้งประเทศ และมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550

ผลการเลือกตั้ง พรรคพลังประชาชนได้ ส.ส. มากเป็นอันดับ 1 จำนวน 223 ที่นั่ง ก่อนที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลกับอีก 5 พรรคร่วม โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียว

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้นอกจากจะสร้างความประหลาดใจให้กับคณะรัฐประหารแล้ว ยังสร้างความแปลกใจให้กับนักประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่า เป็นครั้งแรกที่พรรคที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหารชนะการเลือกตั้ง

รัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี บริหารงานได้ไม่ถึง 4 เดือน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศชุมนุมต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาล และนำมาสู่การขับไล่รัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช และนำมาสู่วิกฤติการเมืองในประเทศไทยอีกครั้ง และดูเหมือนว่าเหตุการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะความคิดที่แตกแยกของประชาชนในเกือบทุกชนชั้น

ถึงแม้การต่อสู้ของพรรคพลังประชาชนที่สืบทอดมาจากพรรคไทยรักไทย จนสามารถตั้งรัฐบาล ดูเหมือนว่าเป็นชัยชนะ กุมอำนาจรัฐไว้ได้ หากในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะพรรคพลังประชาชนยังต้องเผชิญชะตากรรมอย่างหนักหนาสาหัส จากขบวนการตุลาการภิวัตน์ ที่มีเสียงนินทากันว่ากลายพันธุ์มาจากคณะรัฐประหารนั่นเอง