WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 23, 2008

ปัญหาการตั้งคณะรัฐมนตรี


คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมเคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรีและตั้งรัฐบาลไว้สองประเด็น ประเด็นแรก การเลือกนายกรัฐมนตรีและตั้งรัฐบาลในภาวะวิกฤติ ประเด็นที่สอง ผมเห็นว่างานสำคัญที่สุดของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ คือ เอาทำเนียบนายกรัฐมนตรีคืนมา เอาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกไป วันนี้ ขอย้อนกลับไปแสดงความคิดเห็นต่อการตั้งคณะรัฐมนตรีที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความผิดหวังกันพอสมควร ซึ่งเป็นเช่นนี้มาทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใด พรรคใด ตั้งหรืออยู่ในภาวะเช่นไร ปกติหรือวิกฤติ กล่าวคือ

ปัญหาการตั้งคณะรัฐมนตรีดังกล่าว มิได้เกิดจากความคิดหรือความสามารถของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี หากมาจากระบบรัฐบาลที่เป็นรัฐบาลสภา(parliamentary government ) รัฐบาลระบบนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมาจากความเห็นชอบของสภา ตั้งแต่สภาเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภา ต้องยอมรับการควบคุมของสภา หากสมาชิกสภาส่วนใหญ่ไม่ผ่านร่างกฎหมาย ไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี (รวมทั้งรัฐมนตรี) จะต้องลาออกหรือยุบสภา

ดังนั้น ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคใด และประเทศใดๆ จะตั้งรัฐมนตรีที่ไม่เพียงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครัฐบาลที่มีเสียงข้างมากในสภา หากยังจะต้องตั้งคนที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุน โดยทั่วไป จะเป็นผู้นำ กรรมการพรรค หรือหัวหน้ากลุ่ม ส.ส. เราจึงเห็นว่า คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลระบบนี้จะประกอบด้วยหัวหน้า เลขาธิการพรรค กรรมการ ผู้นำ ส.ส. กระทั่งนายทุนของพรรคการเมือง บุคคลเหล่านี้ จะได้เป็นรัฐมนตรีอยู่เสมอ อย่างเช่น ในประเทศไทยในช่วง 20 ปี นายชวน หลีกภัย นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายสุวิทย์ คุณกิตติ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายพินิจ จารุสมบัติ นายจาตุรนต์ ฉายแสง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ฯลฯ จะได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ว่าพรรคของตนเป็นแกนนำหรือร่วมรัฐบาล

คณะรัฐมนตรีของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็เช่นกัน จึงประกอบด้วยผู้นำ กรรมการ หัวหน้ากลุ่ม ส.ส. ของพรรคพลังประชาชน พรรคร่วมรัฐบาล ชาติไทย เพื่อแผ่นดิน มัชฌิมาธิปไตย รวมใจไทยชาติพัฒนา และประชาราช เป็นเหมือนระบบโควตาของพรรค ส่วนใหญ่จะเป็นรัฐมนตรีรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช แน่นอนว่าเมื่อประกาศรายชื่อรัฐมนตรี นอกจากฝ่ายพันธมิตรฯ แล้ว คนกลางๆ คงจะรู้สึก และแสดงความคิดเห็นวิจารณ์กันมากพอสมควร ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อมีรัฐบาลใหม่ ดังที่กล่าวมาข้างต้น

ประการที่สอง การตั้งคณะรัฐมนตรีไม่ว่าระบบใด จะต้องเป็นบุคคลที่มาดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศไว้ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป นายกรัฐมนตรีจะตั้งบุคคลใดเป็นรัฐมนตรี ซึ่งต้องเป็นคนมีความรู้ความสามารถที่จะดำเนินนโยบายด้านต่างๆ อันเป็นความเรียกร้องต้องการและความคาดหวังของประชาชนผู้เลือกพรรคนั้นๆ เป็นรัฐบาล รัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นอกจากจะสืบทอดนโยบายของพรรคไทยรักไทยแล้ว ยังมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่เสียหายตกต่ำย่ำแย่อันเป็นผลมาจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำรงมาหลายเดือน โดยเฉพาะวิกฤติสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ เช่น การคลัง จะต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจสภาพเศรษฐกิจโลก และมีความรู้ความสามารถคิดค้นมาตรการทางเศรษฐกิจช่วยลดผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีอีกหลายประการ เช่น จะต้องคำนึงถึงภูมิภาค พยายามหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีจากทุกภาคทั้ง เหนือ ใต้ อีสาน กลาง และคำนึงถึงเรื่องเพศ ว่าจะให้สตรีเป็นรัฐมนตรีกี่คน

นี่เป็นภาวะกดดันทางการเมืองในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งไม่ต่างจากคนก่อนๆ และคนต่อไป

จรัล ดิษฐาอภิชัย