WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 22, 2008

การเปลี่ยนแม่ทัพ จากสมัคร เป็น สมชาย ไม่ได้หมายความว่า สงครามกลางเมืองครั้งนี้จะยุติลง


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ใครที่คิดว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะคลี่คลายลง เพราะประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว หรือ พรรคพลังประชาชน ได้เปลี่ยนผู้นำพรรคคนใหม่ และผู้นำคนใหม่มีบุคคลิกภาพที่ประนีประนอม และเข้ากันได้กับทุกฝ่ายแล้ว

บุคคลิกภาพของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตรงกันข้ามกับนายสมัคร สุนทรเวช ที่มีบุคคลิกภาพที่แข็งกร้าว พูดจาโผงผาง ไม่สุภาพกับนักข่าว

ผมว่าหากมองปัญหาการเมืองแค่นี้ มองแค่บุคคลิกภาพของผู้นำว่าเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้ง ผมคิดว่าเป็นการมองที่ตื้นเขินมากเกินไป

ความขัดแย้งทางการเมืองไทยครั้งนี้ ซึ่งดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 3 ปีแล้ว หากเปรียบเทียบได้ มันคือ สงครามกลางเมือง นั่นเอง แม้ไม่ได้มีกองทัพเข้าห้ำหั่นกันแบบสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว หรือเหมือนกับสงครามกลางเมืองในประเทศอื่นๆ แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็เผชิญหน้ากัน มวลชนได้เข้าปะทะกัน จนมีการบาดเจ็บและล้มตายกันไปแล้ว มีการขนมวลชนเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล ตั้งเงื่อนไขการเจรจา นี่หากมันไม่ใช่ สงครามกลางเมือง แล้วจะเป็นอะไร

สงครามกลางเมือง ไม่มีทางสงบได้โดยง่าย หากไม่มีผลแพ้ชนะซึ่งกันและกันอย่างเด็ดขาด เพราะสงครามกลางเมือง เป็นความขัดแย้งกันทางความคิด และความเชื่อ การประนีประนอมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันตินั้น ผมไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะต่างฝ่ายต่างมีชุดของความเชื่อที่แตกต่างกัน หากสามารถประนีประนอมกันได้ ความขัดแย้งมันก็จบสิ้นไปนานแล้วตั้งแต่ต้น

ความคิดที่ตรงกันข้ามกันไม่มีทางที่จะอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่มีการปะทะกันรอบใหม่อีก

การเปลี่ยนตัวแม่ทัพ ของแต่ละฝ่าย ผมไม่คิดว่าจะทำให้สงครามกลางเมืองสงบขึ้นได้โดยง่าย เพราะเปลี่ยนตัวแม่ทัพ อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางยุทธวิธี หรือรูปแบบการนำ หรือรูปแบบการเผชิญหน้าและการเจรจาเท่านั้น แต่ไม่มีผลทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง ยินยอมอ่อนข้อแต่อย่างใด

การเปลี่ยนนายกฯ หรือผู้นำจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นนายสมัคร สุนทรเวช ในช่วงหนึ่งนั้น ก็ไม่มีผลให้ฝ่าย อำมาตยาธิปไตย ยอมลาข้อ อยู่ร่วมกับฝ่าย นิยมระบอบทักษิณ แต่อย่างใด ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ยังระดมพลสรรพกำลัง มุ่งเข้าทำลายล้าง ฝ่ายนิยมระบอบทักษฺณ อยู่อย่างไม่หยุดยั่ง

ดังนั้น อย่าคิดเลยว่า การเปลี่ยนตัวผู้นำของ พรรคพลังประชาชน จากนายสมัคร สุนทรเวช มาเป็นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ผ่อนคลายลง เพียงแต่ ทั้งสองฝ่าย อาจ หยุดยิง กันชั่วคราวเท่านั้น

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แม้จะเป็นน้องเขย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่บุคคลิกภาพไม่ได้โดดเด่นมากเท่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือ นายสมัคร สุนทรเวช แต่อย่างใด ทำให้อำนาจในการนำรัฐบาลนั้น ไม่โดดเด่น เท่าอดีตนายกฯทั้งสองคนที่กล่าวมาแล้ว

ผมจึงคาดว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะเป็นผู้นำแบบกลุ่มเท่านั้น แต่ละกลุ่มทางการเมือง จะมีอำนาจต่อรองสูง และการเมืองในรัฐบาลและในพรรคพลังประชาชน จะมีการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มต่างๆ ค่อนข้างมาก หากมีการจัดโครงสร้างพรรคที่ดี เช่น มีหัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ เข้ามาเป็น แกนในการตัดสินใจ แบบ คณะกรรมการกรมการเมือง หรือ บุริตบุโร ของพรรคคอมมิวนิสต์ ของสหภาพโซเวียต หรือแม้แต่ของจีน ก็จะทำให้การนำพรรคเป็นไปด้วยความราบรื่น เพราะเมื่อมีการตกลงกันระหว่าง หัวหน้ากลุ่มที่เป็นแกนนำของแต่ละกลุ่มแล้ว ความขัดแย้งก็จะลดน้อยลง

พรรคพลังประชาชน ก็จะมีสภาพเหมือนกับพรรคแอลดีพี ของญี่ปุ่น ที่มีกลุ่มหรือ Fraction ทางการเมืองหลายกลุ่ม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นนั้นก็ผลัดเปลี่ยนกันไปในระหว่างมุ้งต่างๆ แต่ นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งไม่นานนัก แต่นโยบายของพรรคค่อนข้างมั่นคง และต่อเนื่อง พรรคแอลดีพี ของญี่ปุ่นชนะเลือกตั้งต่อเนื่องยาวนานมากว่า 50 ปีแล้ว

สำหรับกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตย พธม. นั้น ตอนนี้ ผมไม่ได้ให้ความสำคัญมากมายเท่าใดแล้ว เพราะกลุ่มนี้ เรียกร้องโดยไม่มีจุดยืนที่มั่นคง เลยเถิดจนสังคมไม่รู้ว่าจะตอบสนองได้อย่างไรแล้ว และสังคมมองไม่เห็นจุดหมายว่า คนกลุ่มนี้ ต้องการอะไรกันแน่ ผมเชื่อว่า น้อยคนมากที่จะจำข้อเรียกร้องครั้งแรกของ พธม. ได้ เพราะคนกลุ่มนี้เปลี่ยนข้อเรียกร้องไปเรื่อยๆ จนหาจุดจบไม่ได้

เมื่อเป็นอย่างนี้ ผมจึงคิดว่า สังคมโดยส่วนรวม จะให้ความสำคัญกับข้อเรียกร้องของ พธม. น้อยลง

แต่ สงครามกลางเมือง ครั้งนี้ กลุ่ม พธม. เป็นแค่ กองทัพส่วนหน้า ของพวกอำมาตยาธิปไตย เท่านั้น กองทัพหลักของพวกเขา ยังเป็นทหาร และ ตุลาการภิวัฒน์ อยู่เหมือนเดิม ดังนั้น ฝ่ายประชาธิปไตย อย่าให้ความสำคัญต่อพันธมิตรมากเกินไป จนไม่ได้ไปสนใจต่อต้าน พวกตุลาการภิวัฒน์ ในองค์กรอิสระต่างๆ ที่เป็น ภัยคุกคาม ที่แท้จริง

การกดดันทางการเมือง หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงควรมุ่งไปที่ สมาชิก องค์กรอิสระ เหล่านี้ ทั้ง ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญ และ กกต. ต้องกดดัน ให้สมาชิกองค์กรเหล่านี้ ทั้งนายจรัญ ภักดีธนากุล คุณหญิงจารุวรรณ เมทะกา หรือ นายกล้าณรงค์ จัททริก ให้รับผิดชอบทาง จริยธรรมอย่างที่ชอบอวดอ้างกัน

การตัดสินเรื่อง ลูกจ้าง ที่ทำให้นายสมัคร หลุดจากตำแหน่ง เป็น งูที่ขว้างไม่พันคอของ พวกองค์กรอิสระเหล่านี้ ต้องเรียกร้อง มาตรฐานทางจริยธรรม ที่เท่าเทียมกัน ไม่มีสองมาตรฐาน จากพวกองค์กรอิสระเหล่านี้

ต้องตรวจสอบ ใช้อารยะขัดขืน กับคนเหล่านี้บ้าง

เมื่อสามปีที่แล้ว คนเหล่านี้ เคยกดดัน พ.ต.ท.ทักษิณ หลายอย่าง เช่น จัดคนไปด่า หากจากเป็น ก็ต้องใช้ หอกคืนสนอง คนพวกนี้บ้าง

ผมจึงยังไม่คิดว่า สงครามกลางเมืองไทย จะสงบลงได้ภายในเวลาเร็ววัน เพียงเพราะมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี จากนายสมัคร สุนทรเวช มาเป็นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เท่านั้น

แต่พื้นฐานความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น รธน. ปี 50 ยังไม่ได้แก้ไข การยุบพรรคก็ยังคงเป็นเรื่องที่คุกคามอยู่

เมื่อทั้งสองฝ่ายยังไม่ตาย หรือหมดกำลัง ก็ต้องสู้กันต่อไป ใครอายุยืนกว่า คนนั้นก็ชนะ

ใครแก่ใกล้ตายแล้ว ก่อสงครามขึ้นตอนวัยชรา ก็คงไม่ได้ทันเห็นวันที่ความสงครามสงบ สันติภาพกลับคืนมาเป็นแน่

เมื่อปลุกผีขึ้นมาจากหลุม เพียงเพื่อต้องการกำจัดทักษิณ แต่ไม่มีปัญญาเอาผีต่างๆ กลับหลุมได้เหมือนเดิม ก็จงทนทุกข์กับกรรมที่ได้ก่อให้กับแผ่นดินนี้ต่อไป

ประเทศไทย ไม่มีทางกลับไปเหมือนเดิมก่อนปี 2540 ได้อีกแล้ว ประชาชนได้ตื่นขึ้นมาแล้ว


จาก thaifreenews