WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 23, 2008

กรณี “สมัคร-จรัญ”กรณีศึกษาบรรทัดฐานศาล รธน. (คอลัมน์ : สะกิดกระบวนการยุติธรรม)


คอลัมน์ : สะกิดกระบวนการยุติธรรม

ก่อนอื่นต้องบอกว่ารู้สึกเสียใจครับกับ คุณสมัคร สุนทรเวช ที่กลายเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทยไปแล้ว หลังจากเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งไปเรียบร้อยโรงเรียนวัดดอนยายหอมครับ เนื่องจากขาดคุณสมบัติ เพราะไปจัดรายการทำกับข้าวโชว์หน้าจอทีวี ชื่อรายการ “ชิมไปบ่นไป” กับ “ยกโขยงหกโมงเช้า”

คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นำโดย นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณี ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอ ส.ว. จำนวน 29 คน และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะผู้ต้องที่ 1-2 ตามลำดับ เพื่อขอให้วินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีของคุณสมัคร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2550มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และมาตรา 267 ประกอบ 182 วรรคสาม และมาตรา 91 โดยมีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว. สรรหา ฝ่ายผู้ร้องที่ 1 และผู้แทนผู้รับมอบอำนาจของ กกต. ผู้ร้องที่ 2 ส่วนฝ่ายผู้ถูกร้องมี นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายสมัครมาฟังคำวินิจฉัย

ประเด็นมีอยู่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ กลับอ้างอิงคำวินิจฉัยจากความหมายของคำว่า “ลูกจ้าง” จากการถอดความมาจากพจนานุกรม แทนที่จะอ้างอิงตัวบทกฎหมายข้างเคียง โดยศาลให้เหตุผลว่า คำว่า ลูกจ้าง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 มีความหมายกว้างกว่าคำนิยามของกฎหมายอื่น โดยต้องแปลตามความหมายทั่วไป ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า ลูกจ้าง หมายถึง ผู้รับจ้างทำการงาน ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้าง โดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร โดยมิคำนึงถึงว่า จะมีการทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง สินจ้าง หรือค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง สินจ้าง หรือค่าตอบแทนในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น

หากมีการตกลงเป็นผู้รับจ้างทำการงานแล้ว ย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า ลูกจ้าง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ทั้งสิ้น

อาศัยเหตุผลข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์จึงวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)

ดังนั้น เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง (1) แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181

จากกรณีดังกล่าว ทำให้มีหลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว บุคคลอื่นๆ ที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เช่น นายจรัญ ภักดีธนากุล อาจมีคุณสมบัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 207 และ 209 เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยรัฐ และเอกชน

อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามคล้ายกับ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เฉกเช่นเดียวกันหรือไม่

แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีกลุ่มที่ต่อต้านนายสมัคร ทั้ง ส.ว. หรือใครก็ตามหยิบยกเอาประเด็นปัญหาคาใจนี้ขึ้นมาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญบ้าง …?

ล่าสุด เพิ่งมีอดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) นายเสรี สุวรรณภานนท์ ออกมาให้สัมภาษณ์ตีความถึงประเด็นข้อแตกต่างของคุณสมบัติของนายสมัครกับนายจรัญ แบบชนิดไปคนละทางครับ

คุณเสรีให้ข้อคิดเห็นว่า แม้ทั้ง 2 กรณีจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว แตกต่างกัน เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเห็นว่า การสอนหนังสือ ถือเป็นเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ให้การรับรองว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียน การสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ และการสอนหนังสือดังกล่าวเป็นลักษณะอาจารย์พิเศษครับ ไม่ใช่ลูกจ้าง แหม…!

สรุปเสร็จสรรพปิดประตูช่วยกันอย่างนี้แล้ว คงไม่รู้จะพูดสาธยายอะไรอีกนะครับ ก็ได้แต่เพียงว่า หากนักกฎหมายปกครองท่านใดที่รู้จริง ลึกซึ้งในประเด็นข้อกฎหมายนี้ ก็อยากจะให้ออกมาช่วยกันชี้แจงแถลงไขให้สังคมหายข้องใจกันเสียที เพราะตัวนายจรัญจะได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างสง่างามยังไงล่ะครับ สวัสดี

พ.วิพากษ์