WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 23, 2008

การเมืองใหม่...ฉบับปรับปรุงใหม่ยังหมกเม็ดเผด็จการ...แบบดั้งเดิม


ในที่สุดก็ถึงจุดจบของ “การเมืองใหม่” แบบ 70 : 30 คือ ที่เสนอให้มีนักการเมืองจากระบบสรรหา ลากขึ้นมาตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ และนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง จากเสียงของประชาชนเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ตามทีกลุ่มพันธมิตรประชาชนทำลายประชาธิปไตย วาดฝันไว้เมื่อวันวาน เหตุเพราะถูกกระแสการต่อต้านถาโถมอย่างหนัก จากทั้งนักการเมือง นักวิชาการ นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และพลังมวลชน จนบรรดาแกนนำต้องเซถลาตกเวทีไปหลายหน
แค่ชาวบ้านร้านตลาด ฟังดูก็รู้ ก็เข้าใจว่า รูปแบบการเมืองใหม่ และการเมืองแบบประชาภิวัตน์ ที่ยกมาอ้างนั้นมันยิ่งกว่า “คอมมิวนิสต์” ที่ไม่สามารถสะกดอักษรคำว่า “ประชาธิปไตย” ได้เลย เป็นการเมืองที่เลวร้ายอย่างไม่มีอะไรเทียบเทียม
ซึ่งหลังจากคิดไปคิดมา นานกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อหาบันไดลงให้สมศักดิ์ศรีของ “หัวหอกกู้ซาก” ก็ได้บทสรุปนิยามของการเมืองใหม่จนได้ นั่นคือ การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีบทบาทในการสร้างความชอบธรรม

มิหนำซ้ำยังย้ำว่า ส.ส. ควรมาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีข้อแม้ครึ่งต่อครึ่ง โดยต้องมาจากการเลือกตั้งผ่านเขตพื้นที่ 50 เปอร์เซ็นต์ และผ่านสาขาอาชีพตามสัดส่วนระบอบประชาธิปไตยอีก 50 เปอร์เซ็นต์ โดยตัวแทนอาจมาจากสื่อมวลชน องค์กรอิสระ แรงงาน หรือชนกลุ่มน้อย โดยให้แต่ละสาขาอาชีพ สุมเศียรกันคัดเลือกตัวแทน เข้ามาทำหน้าที่ในสภาหินอ่อนอันทรงเกียรติ

กรรมโดยแท้... ร่ายมายืดยาว มันก็คือเรื่องเดิม ที่พยายามโน้มน้าวให้ประชาชน และนักวิชาการกำมะลอ เดินตกหลุมดำ แท้จริงแล้ว นี่คือสัดส่วนตัวเลขใหม่ ที่กลุ่มพันธมารพยายามป้องกันลดแรงเสียดที่ตนเองจะต้องได้รับในอนาคต นั่นคือ 50 : 50 โดยยังคงกลิ่นอายความกระหายใคร่ดีในระบอบอำมาตย์เช่นเดิม

นายคณิน บุญสุวรรณ นักวิชาการอิสระ อดีต สสร. 40 มองเรื่องนี้ว่า ที่มาของการเมืองใหม่ของกลุ่มพันธมิตร มาจากรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2549 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง (คปค.) และรัฐธรรมนูญ 2550 และบทเฉพาะกาลที่ไม่เฉพาะกาล ซึ่งถือเป็นลายแทงในการสืบทอดอำนาจของ คปค. มีเนื้อหาล้างระบบการเลือกตั้งทั้งหมด ให้มีคณะกรรมการสรรหาขึ้นมาชุดหนึ่ง ที่มาจากองค์กรอิสระ และกำเนิดจากคณะ คปค.มีอำนาจสรรหา ที่ผ่านมาก็มีการสรรหา ส.ว. 74 คนในวุฒิสภาชุดนี้ไปแล้ว และคาดว่าจะทำหน้าที่สรรหา ส.ส. ตามระบบการเมืองใหม่ด้วย ถือเป็นแผนการที่แนบเนียนในการทำลายระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการจัดตั้งพรรคการเมืองถือเป็นเสรีภาพ ที่อดีตตั้งง่ายยุบยาก แต่วันนี้ให้ตั้งพรรคง่ายแต่ยุบง่ายแบบถอนรากถอนโคน

เช่นเดียวกับ รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนาพาณิช อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การประกาศบทสรุปการเมืองใหม่ว่า เป็นการดิ้นเฮือกสุดท้ายเพื่อให้คงระบอบอำมาตย์ไว้ เพราะวันนี้ประเทศได้รัฐธรรมนูญฉบับรื้อฟื้นอำนาจอำมาตยาธิปไตยมาใช้ คณะกรรมการสรรหา ส.ว. เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นวิธีการคิดแบบอำมาตย์โดยแท้ และไม่แน่ใจว่ารูปแบบความคิดนี้จะมาอยู่ในระบบการเมืองใหม่ด้วยหรือเปล่า

“ผมมองว่าเรากำลังตั้งโจทย์ผิด เราต้องเริ่มต้นว่า ประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ทุกคนมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง การเมืองใหม่ ถือเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชน ปัญหาของประเทศไทยวันนี้คือการบังคับใช้กฎหมายแบบเลือกปฏิบัติ คดีชิมไปบ่นไปของนายสมัคร คำว่า “ลูกจ้าง” เป็นคำศัพท์ทางกฎหมาย ควรจะดูที่บริบทของของกฎหมายมากกว่าจะตีความหมายตามพจนานุกรม เพราะหากสังคมไทยยังมีปัญหาเรื่องการตีความของกฎหมาย ปัญหาต่างๆ จะไม่มีวันสิ้นสุด”

นอกจากนี้ การเมืองใหม่ ไม่ได้นำพาความก้าวหน้ามาให้แต่เป็นการเดินถอยหลังไปเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้ว การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ สมัยรัฐบาลทักษิณ เป็นเหตุให้กลุ่มอำมาตย์กลัวว่าจะถูกลดอำนาจลง จึงเกิดเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 และอยากจะตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองใหม่ตั้งแต่ คือ 70 : 30 มานั้น แท้จริงแล้ว เป็นความคิดของกลุ่มพันธมิตรฯ เอง หรือพันธมิตรฯ เป็นเพียงกระบอกเสียงให้ เพราะมันเป็นการดิ้นรนของอำมาตยาธิปไตย เพื่อต้องการให้กลับมามีอำนาจขึ้นอีกครั้ง และเครือข่ายอำมาตย์ก็ได้แทรกซึมอยู่ทุกวงการ

ด้าน ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน วิเคราะห์ข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรื่องการเมืองใหม่ให้มีผู้แทนฯ มาจากการเลือกตั้ง 100% โดยมาจากการเลือกตั้งผ่านเขตพื้นที่และผ่านสาขาอาชีพ ไว้อย่างชัดเจน โดยเชื่อว่า การเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ แม้จะเสนออะไรก็ไม่เป็นประชาธิปไตยแน่นอน เพราะพันธมิตรฯ มีความเชื่อไปในทางที่เป็นระบอบอำมาตยาธิปไตย โดยอยากได้แต่คนดีมาเป็นผู้นำประเทศ ทั้งที่หลักการในระบอบประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เรื่องการหาคนดีหรือคนไม่ดี แต่ระบอบประชาธิปไตยต้องอาศัยนักการเมือง แม้อาจจะไม่ใช่คนดีแต่ก็เป็นคนที่ประชาชนต้องการเพราะเป็นที่พึ่งพาของประชาชนได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งผ่านสาขาอาชีพ อาจจะมีปัญหาในเชิงหลักการตามมาเพราะเดิมทีที่เรามีการเลือกตั้งทั่วไปนั้น อยู่บนหลักการที่ว่า ทุกคนมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเหมือนกัน แม้บางคนอาจเป็นคนไม่ดี อาจเป็นนักเลง แต่ก็มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเช่นกัน ขณะเดียวกันประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอง ก็สามารถเลือกใครด้วยเหตุผลอะไรก็ได้ เช่น ประชาชนอาจจะเลือก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลเพราะเป็นคนรูปหล่อ หรืออาจจะเลือกมาเพราะเป็นคนฉลาดมีความสามารถก็ได้ ไม่ใช่การเลือกตั้งเพราะถูกบังคับให้เลือกด้วยเหตุว่ามาจากสาขาอาชีพใด หรือไม่ได้เลือกตั้งเพราะเหตุถูกบังคับให้เลือกผู้หญิงหรือผู้ชาย และว่าวิธีการเลือกตั้งจากกลุ่มสาขาอาชีพ ได้เคยถูกนำมาใช้โดยพรรคนาซีของฮิตเลอร์อดีตผู้นำประเทศเยอรมนี และพรรคฟาสซิสต์ของมุโสลินีในประเทศอิตาลี โดยผู้แทนไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน แต่เป็นการเลือกตั้งผ่านกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วนาซีและฟาสซิสต์ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและคัดเลือกการส่งรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

"การเลือกตัวแทนสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น อาชีพเกษตรกร หรือแรงงาน เราก็ไม่มีทางได้ผู้แทนที่เป็นเกษตรกรหรือผู้ใช้แรงงานแท้ๆ อยู่ดี เพราะผู้ที่มีโอกาสลงสมัครหรือได้รับเลือกตั้งก็คงเป็นผู้นำของแต่ละสาขาอาชีพไม่ใช่ผู้ประกอบอาชีพตัวจริง ที่สำคัญคือไม่มีหลักประกันว่าการเลือกผู้แทนแบบนี้จะดีกว่าการเลือกตั้งทั่วไปอย่างไร อีกทั้งหากผู้แทนสำนึกอยู่เสมอว่าตัวเองเป็นตัวแทนของคนกลุ่มใด ก็จะไม่คำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ขณะที่ในรัฐธรรมนูญระบุว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นผู้แทนของเขตพื้นที่จังหวัดหรือกลุ่มอาชีพใดๆ หลักการนี้มีการถกเถียงกันมาเมื่อ 200 ปีที่แล้วในประเทศอังกฤษ และสุดท้ายถือว่าผู้แทนต้องเป็นผู้แทนของปวงชนทั้งประเทศ"

เช่นเดียวกับ นพ.เหวง โตจิราการ กรรมการสมาพันธ์ประชาธิปไตย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็มีแนวความคิดเห็นที่สอดรับกันว่า การเมืองที่พันธมิตรฯ เสนอไม่ใช่การเมืองใหม่ แต่เป็นการเมืองยุคกรีก สมัยทาส เป็นการเมืองระบอบเจ้าทาส ดูเหมือนมีประชาธิปไตย องค์กรรัฐ ต้องตอบคำถามเพราะวันนี้มีบางคนที่อยู่เหนือกฎหมาย บางคนทำลายหลักการประชาธิปไตย

ทั้งนี้ นพ.เหวง ยังมีความกังวลในบทบาทของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าต้องการความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นภายในบ้านเมือง จนอาจหลงลืมแก่นแท้ของความเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่อยากให้หลงลืมความเป็นประชาธิปไตย เพราะที่ผ่านมาไม่เห็นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานความมั่นคง ทั้งยังปล่อยให้พวกโจรเข้ามายึดสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดนที่ไม่ทำอะไรเลย มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.สุทธิสาร เท่านั้นมาดูแล

ครั้นเมื่อรัฐบาลประกาศพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่เห็นมีใครดำเนินการตามกฎหมาย ในทำเนียบรัฐบาลก็ยังคงชุมนุมกันอยู่ คนบางกลุ่มบางพวกอยู่เหนือกฎหมายบ้านเมือง อยู่เหนืออำนาจศาลตรงนี้ไม่อยากให้รัฐบาลใหม่ประนีประนอมจนทำลายหลักการประชาธิปไตย เราเป็นคนไทยเหมือนกันมีสิทธิเท่าเทียมกันจึงต้องเคารพกฎหมายบ้านเมืองเคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญทุกมาตรา แท้จริงแล้วพันธมิตรฯ เป็นเครื่องมือการเมืองของพวกอภิชนาธิปไตยหรือการเมืองระบอบเจ้าทาส ที่ต้องการให้อภิสิทธิ์ชนเท่านั้นขึ้นมาปกครองประเทศ เราเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทำไมจึงต้องตัดสิทธิ์ทางการเมือง นี่หรือการเมืองใหม่ที่กำลังพาเราย้อนกลับไปสมัยกรีกโบราณ

ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรเอง ก็ยังไม่แน่ใจความเป็นรูปธรรมของการเมืองใหม่ โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เล็งเห็นว่า ขณะนี้การเมืองเริ่มเข้าสู่ระบบของรัฐสภาและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ควรยุติการชุมนุม เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ ที่ผ่านมาได้พยายามตั้งคณะทำงานร่วม แต่ทางฝ่ายพันธมิตรฯ ก็ไม่เอาด้วย จึงไม่ทราบเหตุผลที่จะชุมนุมต่อ ซึ่งการเสนอแนวทางการเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ ว่า ไม่ทราบ และไม่เห็นว่าพันธมิตรฯ จะทำให้คน 60 ล้านคนทั่วประเทศทำตามได้อย่างไร

การคัดสรรมาจากในแต่ละสาขาอาชีพ ถามตรงๆ ใครคือคนสรรหา ใครคือคนลงมือสนตะพาย จูงคนพวกนี้ออกมาบริหารประเทศ นั่งหน้าแป้นอยู่ในสภาถ้าไม่ใช่พวกสายเส้นพันธมิตรฯ ที่วางกำลังแฝงเข้ามาในซอกหลืบ คือความ “หมกเม็ด” ที่ “เจตนา” เหยียบย่ำการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของชาติไทย ที่วีรบุรุษได้สังเวยเลือดเนื้อจนนองถนนเมื่อครั้งอดีต...

เป็นเจตนาที่ส่อความหื่นกระหาย...ใคร่อยากกลืนกินประเทศ โดยใช้ประชาชน เป็นสะพานทอดไปสู่ขุมเงินขุมทอง... เกินจะหาถ้อยคำมาบรรยายได้จริงๆ