WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 25, 2008

การเมืองใหม่ การโยนหินถามทางจากนายหน้าอำมาตยาธิปไตย การเมืองแบบย้อนยุค


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ช่วงนี้ผมได้อ่าน ได้ฟัง ได้ยิน การพูดวิจารณ์เรื่อง การเมืองใหม่ ของกลุ่มชนที่เรียกตัวเอง สวยหรูว่า นักวิชาการ แล้ว ผมรู้สึกตะครั่นตะคร้อ แบบคลื่นไส้ทุกที ผมว่าจะไม่พูดถึงเรื่องนี้แล้ว เพราะมันเป็นข้อเสนอย้อนยุค แต่ก็อดไม่ได้

ผมอยากจะเรียกว่า การเมืองย้อนยุค มากกว่าการเมืองใหม่ และนักวิชาการที่สนับสนุนเรื่องนี้ ผมอยากจะเรียกว่า นักวิชาการย้อนยุค เสียมากกว่า และส่วนใหญ่ก็เป็นพวกหลงยุค มาตั้งแต่ ปลายยุคสงครามเย็น

ช่วงหลัง มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามาร่วมแจมกับเขาด้วย หากใครศึกษาประวัติ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ให้ดี จะรู้ว่า คือ ศิษย์เอก ของ นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ตอนหลังแปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายทหาร และแนะนำวิธีการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ซึ่ง พล.อ.ชวลิต น่าจะรับเอาแนวคิดเกี่ยวกับ สภาที่คัดเลือกมาจากสาขาอาชีพ ซึ่งเป็นข้อเสนอแบบ Master piece ของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ตั้งแต่ยุคมาร์ก-เลนินส์มาแล้ว ระบบแบบนี้จึงไม่ได้ใหม่แต่อย่างใด เพราะเสนอกันมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 โน้นแล้ว

การเมืองใหม่ที่ไม่ได้ยืนอยู่บนพื้นฐานของการเลือกตั้งจากตัวแทนมหาชน คือ การปฏิเสธ หลักการของความเท่าเทียมกันของมนุษย์โดยสิ้นเชิง คนพวกหนึ่งคิดว่า ตัวเองมีอำนาจ มีสิทธิพิเศษในสังคมเหนือมนุษย์คนอื่น ตัวเองควรได้ปกครองคนอื่น ดังนั้น พวกเขาจึงเสนอสภาแต่งตั้งขึ้นมา เพราะหากมีการเลือกตั้ง พวกเขาก็ไม่อาจเข้ามาได้ เพราะพวกเขาไม่ใช่พวกเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ



สภาแบบนี้ หากจะเรียกตามระบบอังกฤษให้โก้หรูแบบโบราณก็ต้องเรียกว่า สภาขุนนาง นั้นแหละครับ ต่างกันตรงไม่ใช่เป็นขุนนางสืบตระกูลเท่านั้น แต่ระบบสภาขุนนางแบบอังกฤษก็มีขุนนางที่ไม่ได้สืบตระกูลอยู่ด้วย เช่น Life Peer เป็นต้น ตัวอย่างคือ นางมากาเร็ต แธตเชอร์ ซึ่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษแล้ว รัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยม ของนายจอห์น เมเจอร์ นายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็เสนอให้เป็น Baroness ตำแหน่งขุนนางที่มีสิทธิเป็นสมาชิกของสภาขุนนางตลอดชีพ แต่ไม่ได้สืบตระกูล เป็นตำแหน่งเฉพาะตัว ซึ่งปัจจุบัน Life Peer นี้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของสภาขุนนางอังกฤษ ดังนั้น ระบบแต่งตั้งไม่ว่าอย่างไร มันก็คือ สภาขุนนางนั้นเอง ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไรก็ตาม โดยเนื้อแท้ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก

ในเมืองไทยเอง ก็ไม่ใช่ไม่เคยมีสภาแบบนี้มาก่อน มันมีมาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว ที่มีการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง และเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง หรือในระยะเวลาอันใกล้นี้ คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ปี 2549 ที่มาจากการแต่งตั้งของ คมช. ทั้งหมด ไม่ใช่ ระบบ 70/30 ด้วยซ้ำ แต่มัน 100% เลยทีเดียว

ปี 2549 นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทั้งหลาย ก็มาจากผู้ที่คิดว่าตัวเอง สูงส่งทางจริยธรรม ทั้งสิ้น มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลลานนท์ ที่โฆษณากันนักหนาว่า จริยธรรมสูงส่ง สุดท้าย โดยวิจารณ์เรื่อง ที่ดินเขายายเที่ยง จนต้องออกมายอมรับสารภาพว่า ตัวเองเป็นโจรกลับใจไปโน้น ไม่ได้เปี่ยมจริยธรรมมากมายแต่อย่างใด

รัฐบาลจริยธรรมสูงส่งของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลลานนท์ กลายเป็นรัฐบาลที่ล้มเหลวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะรัฐบาลแบบนี้ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ที่มีมากมายหลายกลุ่ม ไม่ได้สะท้อนเสียงจากประชาชน สุดท้าย เมื่อประชาชน เข้าถึงรัฐบาลไม่ได้ เพราะไม่ใช่ตัวแทนของพวกเขา สังคมก็ต้องเกิดระเบิดขึ้นมาแน่นอน

ตอนนี้มีการเสนอ สิ่งที่เรียกว่าการเมืองใหม่ ขึ้นมาอีก ซึ่งโยนหินถามทาง โดย กลุ่มพันธมิตร ที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น รียกว่า ระบบ 70/30 ต่อมาขอลดและเพิ่มสัดส่วนกันไปเรื่อย

ผมไม่ได้คิดว่า พธม. เป็นกลุ่มอิสระของตนเอง แต่คนพวกนี้เป็นแค่ นักรบรับจ้าง ของพวก ศักดินาอำมาตยาธิปไตย เท่านั้น ข้อเสนอของ พธม. จึงเหมือนการโยนหินถามทางของคนที่อยู่เบื้องหลังขบวนการนี้นั่นเอง และเป็นการพยายามสร้างความชอบธรรม เพื่อจะได้นำระบบนี้มาใช้ เพื่อพวกอภิสิทธิ์ชนทั้งหลาย จะได้ครองอำนาจทางการเมืองสืบไปนั่นเอง



ข้อเสนอของสภา ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้ง หรือ ระบบเลือกจากตัวแทนสาขาอาชีพต่างๆ ผมไม่ได้คิดว่ามันใหม่แต่อย่างใด

เพราะระบบ ตัวแทนสาขาอาชีพ นั้น คือ ระบบที่ขบวนการคอมมิวนิสต์เสนอมานานแล้ว หากระบบนี้มันได้ผลจริง ป่านนี้พวกคอมมิวนิสต์คงครองโลกไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ล่มสลายแปรเปลี่ยนไปเป็นทุนนิยมหมดเหมือนทุกวันนี้ ไม่ว่า สหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก จีน เวียดนาม ก็ใช้ระบบนี้ทั้งนั้น แล้วมันเจริญทันประเทศทุนนิยมแบบโลกตะวันตกหรือไม่ มันเจริญทันญี่ปุ่น หรือสิงคโปร์ไหม



ข้อเสนอนี้ เกิดขึ้นมา เพราะพวกกลุ่ม คนชั้นนำ กำลังเข้าตาจน และจนตรอกนั่นเอง เพราะพวกเขาไม่สามารถครอบงำ คนรากหญ้า ได้อีกต่อไป หากขืนปล่อยให้มีการใช้ระบบเลือกตั้ง แบบทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน ชาวนามีเสียงเท่ากับพวกผู้ดีสูงศักดิ์ ขอทานมีเสียงเท่ากับมหาเศรษฐีหมื่นล้าน คนจบ ป.4 มีเสียงเท่ากับศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ หากเป็นเช่นนี้ คนพวกนี้ก็จะสูญเสียอำนาจควบคุมการเมืองของชาติไป

เพราะนักการเมือง ย่อมต้องตอบสนองต่อกลุ่มชนที่เลือกตั้งเขาขึ้นมากกว่า ที่จะไปตอบสนองต่อใคร ที่อ้างว่ามีบารมี แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการทำให้พวกเขาได้รับการเลือกตั้ง หากระบบนี้ดำเนินต่Thai Free Newsอไป อำนาจของคนชั้นสูงก็ต้องหมดสิ้นไปอย่างแน่นอน

เมื่ออับจนสิ้นหนทาง ก็เลยต้องคิดย้อนยุค กลับไปเอาแนวคิดในสมัยต้นศตวรรษที่ 19 กลับมาปัดฝุ่นใช้ แล้วอ้างว่านี่คือ การเมืองใหม่

มันจึงเป็นเรื่องที่ตลกสิ้นดี ในต้นศตวรรษที่ 21 นี้

ที่พวกนักวิชาการค้างยุคมาแต่ช่วงสงครามเย็น พยายามที่จะจูงใจ พลเมืองในต้นศตวรรษที่ 21 ให้เห็นดีเห็นงามกับระบอบที่ล้าหลัง ในตอนต้นศตวรรษที่ 19

นี่ประเมินได้เลยว่า พวกเขากำลังจะแพ้แล้ว พวกเขาไม่มีทางออกใดที่ดีกว่าในการเสนอต่อสังคม จึงหันกลับไปหาของเก่าเช่นนี้

หน้ากากของระบบการเมืองใหม่ ก็คือ การเมืองระบบแต่งตั้ง ของ ระบอบอำมาตยาธิปไตยนั่นเอง

จาก thaifreenews