WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 23, 2008

ตุลาการ (Magazine) (คอลัมน์ : ฤๅจะเป็นเมืองนอกกฎหมาย)


คอลัมน์ : ฤๅจะเป็นเมืองนอกกฎหมาย

ดูเหมือนว่าประเทศไทยในห้วง 3 ปี ที่ผ่านมาตุลาการจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยในการบริหารราชการแผ่นดิน และอีกไม่นานนับจากนี้ บทบาทของตุลาการก็จะยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้น เนื่องด้วยสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องและเกิดขึ้น จะต้องนำไปสู่การใช้อำนาจของตุลาการอีกครั้ง และแน่นอนว่าบทบาทและการใช้อำนาจของสถาบันแห่งนี้ ย่อมจะทำให้เป็นจุดเปลี่ยนอันสำคัญอีกครั้ง

ตามหลักสากลตุลาการมีหน้าที่ตัดสินของพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยนำหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ให้เข้ากับรูปคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแกคู่กรณีอย่างที่สุดดังนั้นตุลาการจึงเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยหวังว่าเมือมีคดีความเกิดขึ้นแล้ว จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม

ในศตวรรษที่ 18 แนวคิดทางปรัชญาต่างๆ ได้ทำให้บทบาทของตุลาการเด่นชัดขึ้น โดยกำหนดว่าตุลาการจะต้องเป็นบุคคลที่ไร้มลทินและเป็นคนตรงตามแนวคิดแบบเสรีนิยมและเรียกอำนาจดังกล่าวว่าอำนาจตุลาการ ตั้งอยู่บนข้อสมมติฐานแห่งความยุติธรรม โดยอยู่ภายใต้หลักแห่งความเป็นอิสระของตุลาการในการวินิจฉัยข้อพิพากว่า ไม่มีองค์กรอื่นใดมาแทรกแซงการใช้อำนาจดังกล่าวได้ และตุลาการจะต้องนำกฎหมายมาใช้ปรับแก่คดีเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม

กฎหมายตามแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่ยุติธรรมและเป็นผู้ปกป้องแก้เสรีภาพ ดังนั้นตุลาการจึงเปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของกฎหมายและเป็นหลักประกันที่ดี สำหรับเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น โดยหลักการแล้วจะเห็นได้ว่าจากกฎเกณฑ์ของกฎหมายไปยังการตัดสินหรือคำพิพากษาของศาล ซึ่งก็คือการใช้อำนาจของตุลาการในการตีความกฎหมายและปรับข้อเท็จจริงแห่งคดีกับตัวกฎหมายจะต้องปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรอื่น ซึ่งเป็นไปตามหลักความเป็นอิสระของตุลาการ ดังนั้นสถาบันตุลาการจึงเป็นองค์กรที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันสำคัญที่สุด เพราะองค์กรตุลาการไม่ว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ มีความสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายเป็นหลักประกันได้ดีกว่าระบบอื่นๆ ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้

1.ศาลหรือองค์กรตุลาการมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

2.เมื่อราษฎรได้ยื่นคำฟ้องอย่างถูกต้อง ศาลมีหน้าที่ต้องพิจารณาและพิพากษาคดีเสมอ จะปฎิเสธไม่พิจารณาพิพากษาคดีไม่ได้

3.วิธีพิจารณาคดีของศาลเป็นไปอย่างเปิดเผยเปิดโอกาสให้สาธารณชนฟังการพิจารณาได้

4.ศาลต้องให้เหตุผลประกอบคำพิพากษาเสมอ

ศาลรัฐธรรมนูญ นับเป็นศาลที่มีบทบาทสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่วินิฉัยว่ากฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการพิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการตรากฎหมายของรัฐ ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดถึงการดำรงอยู่หรือการยุติของสภาบันการเมือง เช่น พรรคการเมือง ตำแหน่งสำคัญของสถาบันการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินคดี “ชิมไปบ่นไป” ของอดีตนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ปรากฏขึ้น ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตามอารมณ์และหลักการทางวิชาการ

กรณีที่มีความเห็นกันอย่างเป็นนัยยะสำคัญก็คือการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะนักนิติศาสตร์ หลายคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าการตีความของศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะชอบตามหลักการตีความกฎหมาย ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นก็คงจะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในแวดวงวิชาการ

แต่ดูเหมือนว่า จากการตีความของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเอง กลับเป็นเหมือนคมหอกที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงเอากับศาลรัฐธรรมนูญเสียเอง เพราะเมื่อต่อมามีการหยิบยกกิจวัตรปฏิบัติของตุลาการบางคนที่ดูเหมือนจะไม่ต่างไปกับตัวผู้ถูกตัดสิน คือ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าว คือ ตุลาการคนนั้น ไปเป็นลูกจ้างตามความหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความไว้นั้น และเมื่อคุณสมบัติของคนจะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เหมือนกับคนจะเป็นนายกรัฐมนตรีสังคมจึงตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจนวันนี้ยังไม่ได้รับคำตอบใดๆ จากตุลาการคนนั้น

ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ตุลาการจะต้องเป็นบุคคลที่ไร้มลทินและเป็นคนตรง แต่กรณีที่ปรากฏตุลาการดังกล่าวถูกตั้งข้อสังสัยว่าทำผิดกฎหมายอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรงหากจะให้ดำรงตำแหน่งอันสำคัญเช่นนี้ต่อไป

อย่าปล่อยให้ข้อสงสัยยืดเยื้อยาวนาน เพราะยิ่งนานวัน เกียรติยศเกียรติศักดิ์ของเอกบุรุษก็จะเสื่อมทรามลง พิสูจน์ความจริงเสียแต่วันนี้ เพื่อปกป้องสถาบันอันสำคัญมิให้มัวหมองเพราะคนคนเดียว

ศุภชัย ใจสมุทร