WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 23, 2008

วิกฤติการเงินโลก (คอลัมน์ : วิเทศทรรศน์)


คอลัมน์ : วิเทศทรรศน์

แล้วก็ต้องตระหนักรู้ในพระไตรลักษณ์อีก เมื่อเราได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเกิดขึ้นในระบบการเงินของโลก จนกิจการขนาดมหึมาชนิดที่ไม่มีใครเชื่อว่าจะเกิดอะไรขึ้นแม้แต่รอยขีดข่วนกลับถึงแก่กาลอวสานลงอย่างไม่เป็นท่า ไม่ต่างอะไรกับเรือไททานิคที่ทุกคนเซ็งแซ่กันว่าเป็น “เรือที่ไม่มีวันจม”

ผมกำลังพูดถึงการประกาศล้มละลายของ เลแมน บราเธอร์ส ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนและการเงินของโลก ผู้ยิ่งใหญ่อันดับสี่ของสหรัฐอเมริกา และการขายกิจการ เมอร์ริล ลินช์ ให้กับธนาคารแห่งอเมริกา (ซึ่งไม่ใช่ธนาคารชาติ แต่เป็นธนาคารเอกชนรายใหญ่รายหนึ่ง) ซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกัน

มิหนำซ้ำ กิจการประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ คือ เอไอจี ก็กำลังซวนเซอย่างหนักชนิดจะม้วนเสื่อได้ทุกเวลาอีกด้วย

เหตุการณ์ขนาดมโหฬารนี้กำลังเกิดขึ้นกับประเทศที่ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ต้องยอมรับว่าเขาคือพญาอินทรีของโลกในด้านนี้

ทั้งสามบริษัทเป็นมาตรฐานด้านการเงินและการลงทุนของโลกมานานนักหนา ขนาดนักวิเคราะห์ของสามบริษัทนี้มีความเห็นอย่างไร โลกก็แทบจะหมุนตาม ราวกับเป็นผู้วิเศษอย่างไรก็อย่างนั้น

วันนี้ “ผู้วิเศษ” โผล่พรวดมาประกาศว่าเอาตัวเองไม่รอด โลกก็ตะลึงลานกันไป

ปฏิกิริยาแห่งความตระหนกนั้นก็ชัด อย่างปัญหา เลแมน บราเธอร์ส ที่เกิดอย่างฉับพลัน เมื่อไม่สามารถระดมทุนใหม่มาแก้ไขปัญหาหนี้เสียของตนเองได้ทันท่วงที ความกระทันหันส่งผลให้ตัวเลขซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ตกกันระนาวกราวรูด โดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรปที่ได้สร้างสถิติวันซื้อขาย (trading day) ที่เลวที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 เป็นต้นมา

ตลาดนิกเคอิ 225 อินเด็กซ์ของญี่ปุ่น ตกทันที 4.7% หลังเปิดตลาด ในขณะที่ตลาดเกาหลีใช้เวลาเพียง 20 นาทีก็ตกลงไปทันกันที่ 5%

ตลาดไทยก็ตก แต่เพราะเมืองไทยกำลังเกิดวิกฤติในบทแรกๆ ของความเป็นประเทศกำลังเถียงกันว่ามวลอำมาตย์หรือประชาชนมีอำนาจชี้นำทิศทางของประเทศนี้มากกว่ากัน กระแสอนุรักษ์นิยมล้าหลังทำให้เรายังก้าวไม่ถึงบทหลังๆ อย่างของเขา ก็เลยไม่มีใครสนใจนักว่าวิกฤติการเงินของโลกเที่ยวนี้จะนำเราไปสู่อะไร

ทั้งที่เป็นเทวทูตที่จรมาเตือนให้เตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมประเทศกันได้แล้ว

ตราไว้เลยนะครับ การล้มคว่ำหรือใกล้ล้มคว่ำของบริษัททั้งสามไม่ใช่ปัญหาของประเทศเดียวคือสหรัฐอเมริกา แต่เป็นปัญหาของระบบการเงินโลกทั้งหมด เหตุผลก็ง่ายๆ คือทั้งสามบริษัทเป็นกิจการที่ดูดเอาเงินตราและทรัพย์สินของโลกไปรวมกันไว้มากมายมหาศาล เพราะลูกค้าที่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือประเทศเขาไว้วางใจว่ามีความสามารถในการวิเคราะห์และพยากรณ์เศรษฐกิจโลกมากที่สุดและอยู่ในประเทศที่มีฐานเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุด เชื่อกันเหลือเกินว่าเป็น “เรือที่ไม่มีวันจม”

วิกฤตการณ์ที่เขาเรียกกันว่า “การบดขยี้ทางเครดิต” หรือ “Credit Crunch” ครั้งนี้ ดูจะเกินกำลังของรัฐบาลสหรัฐไปมาก เพิ่งเห็นประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ออกมาแถลงเสียงอ่อยๆ หน้าตาเคร่งเครียดว่าขอให้ชาวอเมริกันและชาวโลกอย่าได้เป็นกังวล รัฐบาลจะทำทุกอย่างเต็มกำลังเพื่อไม่ให้เหตุการณ์นี้ลุกลามใหญ่โตไปเป็นเศรษฐกิจล้มละลายในวงกว้าง แต่แล้วก็ไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมหรือน่าเชื่อถือใดๆ ออกจากปากของคนที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศนั้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เฮนรี่ โพลสัน ก็ออกมาย้ำว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่นำภาษีอากรของคนอเมริกันไปอุดหนุนการขาดทุนของ เลแมน บราเธอร์ส เป็นอันขาด เพราะเห็นว่าเป็นความล้มเหลวของบริษัทเป็นการส่วนตัวและจะไม่ส่งกระทบในวงกว้าง

ส่วน เบ็น เบอร์นานกี้ ประธานกองทุนสำรองสหรัฐหรือผู้ว่าการธนาคารแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบทบาทอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ยังไม่แสดงจุดยืนอะไรชัดเจนนักในจังหวะแรกนี้

ถามว่าเรื่องจะกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ก็ต้องบอกว่าจะกระทบมาก เช่นเดียวกับผลที่ทั่วโลกจะได้รับ แต่มีเหตุผลบางประการที่เตือนว่าเศรษฐกิจของราชอาณาจักรไทยอาจได้รับความเสียหายมากกว่าเขา

ส่วนที่กระทบในลักษณะเดียวหรือคล้ายกับเศรษฐกิจโลกนั้น ก็คือบริษัทและประเทศลูกค้าที่สูญเสียเงินลงทุนและรายได้ที่พึงมีพึงเป็น อย่างน้อยก็คือค่าเสียโอกาส เพราะถ้าลงทุนอยู่ที่อื่นก็อาจจะไม่เป็นเช่นนี้ ลูกค้าเหล่านี้ซึ่งล้วนเป็นผู้เล่นหลักๆ ในเกมเศรษฐกิจโลก อาจจะถูกบังคับโดยกระเป๋าที่เบาโหวงให้วางแผนการลงทุนอย่างระมัดระวังยิ่งขึ้น ไปลงทุนทำการค้าในประเทศใดก็จะลงเงินเพื่อประกันความเสี่ยงมากขึ้น ประเทศไหนที่เสี่ยงเกินไปก็จะระงับหรือเลื่อนการลงทุนไปโดยไม่มีกำหนด

ประเทศที่ “เสี่ยง” เกินไปในขณะนี้ นักลงทุนโลกเขาได้รวมเมืองไทยเข้าไปด้วยแล้วนะครับ

การส่องกล้องมาที่เมืองไทยแล้วก็เมินหน้า กลับหันไปทางจีน เวียดนาม หรือแม้แต่อินโดนีเซีย ในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเสียแล้ว แต่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง

ผู้มีอำนาจในประเทศที่ออกจะมั่นใจในอิทธิพลบารมีของตนเองว่าสามารถกวาดล้างศัตรูทางการเมืองได้อย่างเกลี้ยงเกลาหมดจด โดยใช้นักกฎหมายโสเภณีบ้าง พรรคการเมืองวิสัยทาสบ้าง ฝูงชนบ้าคลั่งบ้าง สื่อมวลชนและนักวิชาการที่เล็มกินอาหารจากมือ (ที่มองไม่เห็น) ของเขาบ้างเป็นเครื่องมือนั้น ต้องหัดส่องกระจกดูเงาตัวเองให้เกิดความสำนึกขึ้นเสียบ้างว่า ความตกต่ำของประเทศในสายตาของอารยชนโลกนั้นมันเริ่มที่จุดไหน

บอกให้ก็ได้ครับ เมื่อทำให้เกิดการทำลายประชาธิปไตยเมื่อวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 นั่นแหละ เพราะก่อนหน้านั้นประเทศนี้เติบโตมาตลอดไม่มีทีท่าว่าจะตกต่ำเลย แต่มาตกต่ำเพราะท่านผู้มีใจสูงทั้งหลายควบคุมโทสะจริตและโมหะจริตของตนไม่อยู่

วิกฤตการณ์สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาเที่ยวนี้จะกระทบไทยมากกว่าหลายประเทศเพราะผู้มีอำนาจจริงในเมืองไทยมีปัญหาเฉพาะตัวอย่างแรง

นั่นคือโลกแคบและเห็นแก่ตัวสูงเกินไป

จักรภพ เพ็ญแข