WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 30, 2008

นศ.ยี้ 24 อธิการฝักใฝ่พันธมิตร

* ซัด‘ประเวศ-ระพี-ปชป.’พวกเดียวกันหมด
“นักศึกษา” ดาหน้ายี้ข้อเสนอ 24 อธิการบดี จวกแนวคิดไร้สาระ ปกป้องม็อบพันธมิตร-ขานรับการเมืองใหม่ ระบุตัวละครที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้ง “หมอประเวศ-ศ.ระพี-ปชป.” ล้วนมีแนวคิดไปทางเดียวกัน เป็นพวกเอียงกระเท่เร่ ทั้งสนับสนุนรัฐประหาร มีจิตใจฝักใฝ่พันธมิตรฯ ไม่มีทางสร้างสมานฉันท์ในบ้านเมืองได้สำเร็จ ชี้ต้องยึดหลักการประชาธิปไตย ที่สำคัญทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน ถอนหงอก! อย่าคิดว่าเป็นนักวิชาการแล้วเสียงจะดังกว่าคนอื่น “ความจริงวันนี้” อัดซ้ำเด็กนักศึกษายังมีสมองคิดได้มากกว่า น่าให้ 24 อาจารย์สลับไปเรียนหนังสือใหม่

* ถูกเด็กย้อนอธิการบดีอย่าคิดว่าเสียงดังกว่า
หลังจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชนรวม 24 แห่ง ได้ออกมาเสนอทางออกวิกฤติการเมืองโดยตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการเมืองการปกครอง จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นกลางทางการเมืองโดยขอให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมชู นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสเป็นคนกลาง ปรากฏว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมายว่าแนวคิดดังกล่าวสอดรับกับความต้องการของกลุ่มพันธมิตรฯ ราวกับว่านั่งโต๊ะวางแผนมาด้วยกัน

โดยที่ล่าสุดเมื่อคืนของวันที่ 28 กันยายน บนเวทีพันธมิตรฯ ในทำเนียบรัฐบาล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย และ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ออกมารับลูกว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของ 24 อธิการบดี โดยพันธมิตรฯ ยังมีความเห็นตรงกับแนวทางอารยะประชาธิปไตย ที่เสนอโดย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ที่เห็นว่าการปฏิรูปการเมืองใหม่ต้องเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันพัฒนา และการรณรงค์ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพันธมิตรฯ เห็นว่าแนวทางของ 24 อธิการบดี ที่ระบุว่าจะต้องมีการปฏิรูปการเมืองนั้นเป็นความหมายเดียวกับการเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ

พล.ต.จำลอง อ้างด้วยว่า การเมืองในปัจจุบันนี้เป็นการเมืองเก่าที่ไม่มีอนาคต พร้อมขอเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการเมืองโดยเร็วที่สุด

ด้าน พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 ก็ออกมาให้สัมภาษณ์รับลูกในทำนองว่าควรเร่งเจรจาในเรื่องของการเมืองใหม่และให้ได้ข้อยุติ เพราะเป็นแนวทางหนึ่ง ที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ

ซัดแนวคิดใหม่แต่สาระเก่า
อย่างไรก็ดี รายการความจริงวันนี้ ดำเนินรายการโดยนายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ออกอากาศคืนวันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา ทางสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที ได้วิจารณ์แนวคิดการเมืองใหม่ที่กลุ่มพันธมิตรฯยังคงทำการหารือเพื่อสร้างความเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้นายจตุพร ได้นำเอาหัวข้อการหารือแนวทางการเมืองใหม่ของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ระบุว่า 1. ห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับอำนาจบริหาร 2. นักการเมืองที่อยู่ในพื้นที่จะเข้าสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ 3. ส.ส.อีก 50 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเป็นตัวแทนในแต่ละสาขาอาชีพจะต้องไม่สังกัดพรรคการเมืองอย่างเด็ดขาด

4 . ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยสามารถยื่นถอดถอนนักการเมืองได้โดยตรง 5. ร่วมปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด องค์กรอิสระไม่ให้มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และให้กระบวนยุติธรรมมีการกำหนดกรอบเวลาสืบสวนสอบสวนคดีของนักการเมือง

นายวีระ ได้ทำการวิจารณ์แนวคิดดังกล่าวเป็นข้อๆ โดยระบุว่า ประการที่ห้ามมิให้ส.ส.ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับตำแหน่งบริหาร ตนบอกได้เลยว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ 2511 ที่มีการประกาศใช้ จากนั้นก็มีการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2512 ซึ่งจอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคสหประชาไทย คราวนั้นได้สั่งส.ส.ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง คนที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็คือ จอมพลถนอม จอมพลประภาส และปลัดกระทรวงต่างๆ ที่เป็นข้าราชการประจำโดยการนำคนที่เกษียณมาร่วมด้วยเพื่อแต่งตั้ง แต่ผลสุดท้ายแนวความคิดดังกล่าวก็ล้มเหลวในระยะเวลาเพียง 2 ปี เพราะสภากับรัฐบาลไม่มีความเกี่ยวข้องกันทำงานด้วยความยากลำบาก

ชี้ ส.ส.ไม่สังกัดพรรคแย่กว่าเดิม
นายวีระ กล่าวถึงข้อที่ 2.ที่ระบุว่านักการเมืองที่อยู่ในพื้นที่จะเข้าสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้นั้น ซึ่งที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ยอมให้มีกฎหมายมาตราแบบนี้เด็ดขาด เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ต่อสู้มาตลอดเวลากว่า 30 ปีว่า นักการเมืองต้องสังกัดพรรคการเมือง ฉะนั้นถ้ามีต้องได้ยินเสียงค้านมาจากพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่ามีการจัดตั้งรัฐบาลที่ยากลำบาก เว้นแต่ว่า ก็ได้เปลี่ยนเป็นพันธมิตรฯ ซึ่งหากมีการเมืองระบบดังกล่าวจริงสุดท้ายก็จะเป็นระบบสภาที่ไม่มีพรรคการเมือง ส.ส.อิสระก็ต้องเป็นอย่างในอดีตคือรับสินบนกันอย่างถ้วนหน้า

นอกจากนี้ ที่กลุ่มพันธมิตรฯ ร ะบุว่า ส.ส.ที่เป็นตัวแทนจากสาขาอาชีพ ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง นั่นก็หมายถึงกลุ่มของตนเอง ที่ไม่ต้องการสังกัดหรือตั้งพรรคใดอยู่ตั้งแต่ต้น และข้ออ้างที่ว่าจะไม่ให้องค์กรอิสระถูกแทรกแซงจากการเมือง ตนเสนอว่าอันดับแรก ต้องมีการพิจารณาตรวจสอบบุคคลในองค์กรอิสระทุกคนว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งถ้าใครไม่ตรงตามคุณสมบัติก็ต้องพิจารณาให้ออกจากตำแหน่งไป

“แบบนี้จะเป็นระบบรัฐสภาที่ไม่มีพรรคการเมือง ผมจะบอกในฐานะที่เคยมีประสบการณ์ให้ฟังว่าถ้าส.ส.ไม่สังกัดพรรคการเมือง สมมติว่ามี ส.ส. 300 คน เท่ากับมีพรรคการเมือง 300 พรรค สุดท้าย ส.ส.อิสระในอดีตเป็นยังไร จ่ายเงินกันในห้องน้ำสภาเนี่ยแหละ ให้ซองขาวกันเพราะว่าไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง มันผ่านมาแล้วทั้งนั้น” นายวีระกล่าว

ด้าน นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ล่าสุดที่ตนทราบแนวคิดการเมืองใหม่คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประกาศว่าแนวคิดการเมืองใหม่ที่กลุ่มพันธมิตรฯกำลังเสนออยู่ตอนนี้จะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคพระศรีอาริย์ รวมทั้งมีการอ้างอารยะประชาธิปไตยของ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ซึ่งดูแล้วจะเลยเถิดไปกันใหญ่ ซึ่งข้อเสนอที่กล่าวมาล้วนไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในทางปฏิบัติ โดยจากการประเมิน การเมืองใหม่ที่กำลังผลักดันนี้คือการปฏิเสธระบบพรรคการเมืองอย่างสิ้นเชิง

ชม สนนท.เลือกนายกฯตรง
อย่างไรก็ดี นายจตุพร ยังได้นำแถลงการณ์แนวทางการปฏิรูปการเมืองของสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และกลุ่มประกายไฟ ที่ได้มีการนำเสนอต่อสื่อมวลชนเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 28 กันยายน พร้อมกับกล่าวคำชื่นชมแนวความคิดดังกล่าว ผ่านทางรายการว่า ตนเห็นด้วยกับแนวความคิดที่เสนอว่า ให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยที่ผ่านมาการเมืองระดับชาติยังไม่เป็นในรูปแบบนี้

เช่นเดียวกับนายวีระ ที่ระบุสอดคล้องกันว่า ตนเห็นด้วยทุกประการและเล็งเห็นว่านี่คือการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอในการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ระบุว่า ควรยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค โดยเน้นการรวมศูนย์จากส่วนกลาง ซึ่งจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปกครองตนเอง ผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา

ทั้งนี้ อยากเรียกร้องให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ใส่ใจกับการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ให้มากขึ้น และมั่นใจว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี จะสามารถพัฒนาตรงนี้ได้ด้วยเช่นกัน เพราะนโยบายเก่าๆ ที่ท่านเคยทำไว้ น่าจะส่งผลต่อยอด รวมทั้งตนมองว่า พล.อ.ชวลิต เป็นเจ้าแห่งการปกครองส่วนท้องถิ่น

ฉะ! อธิการกลับไปเป็นนศ.ใหม่
นายวีระ กล่าวว่า ตนสนับสนุนแนวคิดของ 3 เครือข่ายเพราะมีความคิดความอ่านที่พัฒนามากยิ่งกว่าอธิการบดี 24 สถาบันที่ร่วมกันลงนามสนับสนุนการเมืองใหม่ที่ยังคงไม่เห็นความเป็นรูปธรรมของกลุ่มพันธมิตรฯเสียด้วยซ้ำ ซึ่งน่าจะให้สนนท. เป็นอาจารย์สอนอธิการบดีทั้ง 24 สถาบันมากกว่า ส่วนจะมีการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการเมืองฉบับนี้หรือไม่คงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่ทำการเสนอมากกว่า ซึ่งตนขอเป็นผู้ให้กำลังใจน่าจะดีที่สุด เพราะไม่อยากให้กลายเป็นประเด็น

“สนนท.สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และกลุ่มประกายไฟ มีความคิดเหนือกว่าอธิการบดี มหาวิทยาลัย 24 สถาบัน ยังเทียบกันไม่ติด ต้องเอาพวกนั้นมาเป็นนักศึกษาแล้วเอาพวกนี้มาสอน ผมเชียร์สุดขาดใจและจะไปอยู่กลุ่มนี้ เพราะนี่คือการปฏิรูปการเมือง รายนี้ต้องรับไว้พิจารณาเลย การกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น ทุกวันนี้พูดก็พูดเถอะ ไม่จริงใจกันหลอก ขยักกันไว้เรื่อย ถ้ามีโอกาสพูดกับคุณสมชาย จะบอกว่า ให้ท่านให้ความใส่ใจในการปกครองส่วนท้องถิ่น และบังเอิญเจ้าแห่งการปกครองส่วนท้องถิ่น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ตอนนี้มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ผมจะเรียนว่า นโยบายที่ท่านเคยทำไว้ ครึ่งๆกลางๆ ดำเนินการไม่เต็มที่”

สงสัยอธิการป้องพันธมิตร
ด้าน นพ.เหวง โตจิราการ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวโดยตั้งข้อสังเกตุว่า 1.อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องการที่จะออกมาปกป้องกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่ เพราะว่าตอนนี้กลุ่มพันธมิตรฯ กำลังประสบปัญหาอยู่เนื่องจากกำลังถูกหมายจับในข้อหากบฏ แกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯ ต้องเข้ามอบตัว และการชุมนุมปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลก็เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ไม่มีรัฐธรรมนูญใดให้การยอมรับ จะปล่อยให้คนที่ทำผิดกฎหมายมาเบี่ยงเบนเพื่อต้องการปกป้องรักษากลุ่มพันธมิตรฯ หรือเปล่า

2.อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เองก็ไปให้การสนับสนุนในช่วงของการเกิดรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549ที่ผ่านมา รวมถึงยังสนับสนุนให้มีการเกิด มาตรา 7 ในการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีด้วย ในเมื่อตัวท่านเองมีจิตวิญญาณในความเป็นพวกรัฐประหารนิยม อำนาจนิยม อำมาตยาธิปไตยนิยม เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะมีจิตวิญญาณในความเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร

ซัดหมอประเวศสุดอำมหิต
ส่วนเรื่องที่มีกระแสของการสนับสนุนให้ นพ.ประเวศ วะสี เป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูประบบการเมืองการปกครองนั้น นพ.เหวงกล่าวว่า การเสนอชื่อ นพ.ประเวศ ตนเกิดความสงสัยว่า ตั้งแต่สมัยที่เกิดคาร์บอมบ์นั้น ท่านได้เขียนบทความและตนก็ได้อ่านบทความชิ้นนั้น ท่านบอกว่าถ้าจะฆ่าก็ให้ฆ่าทักษิณแค่คนเดียว เหมือนเป็นการส่งเสริมให้คนออกมาฆ่ากัน

“ในช่วงรัฐประหารที่ผ่านมา ตัวท่านเองก็ไม่ได้ออกมาต่อต้าน หรือออกมามีความเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวเลย ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ท่านคิดว่าการออกมาทำรัฐประหารจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือการที่ท่านไม่ออกมาเคลื่อนไหวเป็นเพราะว่าไม่กล้าต่อต้าน เป็นการแสดงออกว่านพ.ประเวศ ไม่มีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง”

นพ.เหวง กล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วมองว่าตัวท่านคงจะไม่มีความเหมาะสม เพราะอาจจะทำให้มีความเป็นเผด็จการมากยิ่งขึ้น และไม่ว่าจะเป็นระบอบไหน ก็ย่อมมีคนดีของแต่ละในระบบ แต่คำว่า คุณธรรม ความดี ที่เรามองนั้นต้องดูว่าอยู่บนพื้นฐานของระบอบแบบไหน

จี้พันธมิตรฯ รับโทษก่อนเรียกร้อง
อย่างไรก็ตาม กรรมการ คปพร. ตั้งข้อสังเกตว่าในส่วนของการนำเสนอความเห็นของอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั้ง 24 แห่งนั้น ไม่ทราบว่ามีการแสดงความเห็นแบบใด เป็นการแฟกซ์ขอความเห็น ซึ่งตนสงสัยว่าที่ออกมาพูดนั้นจะเป็นมติองค์รวมของอธิการบดีฯ จริงหรือไม่

“ข้อเสนอนี้เป็นเหมือนการออกมาปกปิดความผิดและเปิดช่องทางให้กลุ่มพันธมิตร นำระบอบทาสมาครอบงำประเทศไทยหรือเปล่า ผมอยากเรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรฯ ถอนตัวออกมาจากการยึดทำเนียบฯ และให้แกนนำเข้ามอบตัวเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อน ที่จะมาคิดปฏิรูปการเมือง เราต้องรักษาและนำพาให้บ้านเมืองไปสู่ความถูกต้อง เพราะว่าบ้านเมืองมีขื่อมีแป”

นอกจากนี้ นพ.เหวงกล่าวต่อไปว่า การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องที่ดี แต่จะต้องมีความเป็นลักษณะของประชาธิปไตยยิ่งในมาตรา 309 ควรเร่งให้มีการแก้ไข และการที่กลุ่มพันธมิตรฯ จะเสนอแนวทางเลือกเพื่อเป็นทางออกของปัญหานั้นควรที่จะนำตัวเองเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตย เพื่อต่อสู้กันทางกฎหมาย มีการสลายม็อบแล้วค่อยมาพูดคุยกัน

สนนท.ถอนหงอก 24 อธิการบดี
ด้านนายพงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา คณะกรรมการกลางสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่อธิการบดีของมหาวิทยาลัยทั้ง 24 แห่งออกมาเคลื่อนไหวนั้นทั้งอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต ต่างก็เป็นคนที่เคยออกมาเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรฯ และเคยออกมาเรียกร้องให้ใช้มาตรา 7 ในช่วงของการเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

“การออกมานำเสนอคณะปฏิรูปฯ ของทางอธิการบดี เป็นเหมือนการเสนอแนวทางเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ได้มีการแถลงก่อนหน้านี้ เพราะว่าตัวอธิการบดีบางท่านก็เคยขึ้นเวทีของกลุ่มพันธมิตรฯ และบางท่านก็เคยเป็นอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์”

ส่วนประเด็นเรื่องการนำเสนอชื่อ นพ.ประเวศ วะสี เป็นหนึ่งในคณะกรรมการชุดดังกล่าวนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะเท่าทราบที่ นพ.ประเวศได้มีการออกมาเคลื่อนไหวทั้งการสนับสนุนการเกิดรัฐประหาร และการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 เป็นสิ่งที่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตย เป็นแนวทางของกลุ่มอำมาตยาธิปไตยมากกว่า ที่ว่าประชาชนจะไม่สามารถเลือกผู้แทนของตัวเองได้

ทั้งนี้ พวกตนอยากเห็นแนวทางการดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย สภาผู้แทนฯ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ การออกมาเสนอแนวทางเรื่องการปฏิรูปจะต้องเป็นเรื่องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

“การเสนอแนวทางการเมืองใหม่ของกลุ่มพันธมิตรฯ ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะไม่รู้ว่าการนำเสนอแนวคิดนั้นอยู่บนพื้นฐานอะไร ในฐานะของประชาชน หรือในแนวทางของกลุ่มการเมืองหนึ่ง”

ยี้ข้อเสนอแฝงประโยชน์ส่วนตัว
ด้าน น.ส.สุลักษณ์ หลำอุบล นักศึกษาปี 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การนำเสนอคณะกรรมการปฏิรูประบอบการเมืองการปกครองของอธิการบดีมหาวิทยาลัย ทั้ง 24 แห่ง ต้องรอดูว่าแนวทางดังกล่าวจะเสนอรูปแบบในเรื่องใดบ้าง หรือว่าจะมีทิศทางออกมาอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ โดยส่วนตัวแล้วมองว่าตัวท่านอธิการบดีบางท่านไม่มีความเป็นกลาง เพราะว่าบางท่านก็เคยเข้าไปร่วมในกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นกลาง 100% ส่วนประเด็นเรื่องการเสนอ นพ.ประเวศ วะสี นั้น ตนมองว่า ท่านเคยเป็นคนที่เสนอ มาตรา 7 ในช่วงของการเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แค่นี้ก็ชัดเจนอยู่แล้ว

“การที่จะเสนอบุคคลเข้ารับตำแหน่งโดยอ้างเรื่องคุณธรรม ความดี แต่ความเป็นจริงไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ของประชาชน อย่างแท้จริงการที่ประชาชนเสียงไม่ดังพอ ไม่ได้หมายความจะไม่มีสิทธิ มีเสียง เพราะว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน การที่อธิการบดี จะเอาตำแหน่งของนักวิชาการ ปัญญาชนชั้นสูงมาพูดหรือเสนอเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ถ้าจะคิดว่าตัวเองจะเสียงดังพอ”

ทั้งแนวทางการเสนอทางเลือก และ นพ.ประเวศ และประชาชนทุกคนต่างมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน การเกิดการปฏิรูปต้องฟังเสียงจากประชาชน เพราะว่าท้ายที่สุดแล้วแนวทางที่เสนอขึ้นมาก็อาจจะเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

ชี้ต้องรู้จักฟังเสียงส่วนใหญ่
ขณะที่ ตัวแทนกลุ่มเยาวธาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวช่วงการเกิดรัฐประหาร จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า การเสนอแนวทางดังกล่าว ไม่ใช่วิถีทางรัฐสภา การดำเนินการเสนอแนวทางต่างๆ ต้องเป็นไปตามหลักประชาธิปไตย การเสนอแนวคิดที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามกระบวนการดังกล่าว

“ผมมองว่าถ้าออกมาในลักษณะนี้ ดูจากกระแสการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาในช่วง 19 กันยายน 2549 ทั้งกลุ่มพันธมิตร ฯ กับการเสนอรัฐบาลแห่งชาติของ นพ.ประเวศ วะสี เป็นเรื่องที่มีความสอดคล้องกัน”

อย่างไรก็ตาม การที่จะมีแนวคิดในการเสนอคณะกรรมการดังกล่าวก็จะต้องฟังเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน แต่โดยส่วนตัวมองว่าไม่เหมาะสมเพราะว่ากระบวนการดังกล่าวจะต้องมาจากการเลือกตั้ง

เผยการเมืองไม่ได้สุญญากาศ
ทางด้านนายคณิต กำลังทวี เลขาธิการสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ภาคอีสาน กล่าวว่า การนำเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากตอนนี้การเมืองไม่ได้อยู่ในภาวะสุญญากาศที่จะต้องที่จะมีคณะกรรมการที่มาจากการแต่งตั้ง ยังมีคณะรัฐบาลที่บริหารประเทศ

ส่วนแนวคิดของการนำเสนอ นพ.ประเวศ วะสีมาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนั้น แนวคิดที่บอกว่าใครมีความดี ความชอบธรรมที่มาจากการแต่งตั้งนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องของนามธรรม และไม่มีความชอบธรรมด้วย นอกจากนี้ทางกลุ่มยังคงเดินหน้าในเรื่องของการประชาสัมพันธ์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนภาคการศึกษามหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่งในภาคอีสานด้วย