WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 3, 2008

คนจนถูกซื้อเสียงหรือซื้อเสียงคนจนไม่ได้


คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

ฟัง นายสุริยะใส กตะศิลา เสนอระบบการเมืองใหม่ โดยใช้ระบบ ส.ส. 70 : 30

ทีแรกคิดว่าเป็นเพียงการพูดเล่นๆ ของเด็กช่างพูด แต่ปรากฏภายหลังว่าไม่ใช่เช่นนั้น

เป็นแนวทางที่เรียกได้ว่าเตรียมจัดทำพิมพ์เขียว ที่ฝ่ายพันธมิตรฯ และเหล่าอำมาตย์ที่อยู่เบื้องหลังได้กำหนดไว้ เพื่อรองรับการเมืองในอนาคต ภายหลังกลุ่มตนสามารถยึดอำนาจรัฐได้ด้วยวิธีการต่างๆ ตามขั้นบันไดที่ได้ดำเนินการกันมา

มีการรับลูกจากบรรดาเหล่าตัวแทนอำมาตย์ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ ขุนทหาร นักธุรกิจบางคน ต่างดาหน้าออกมาขานรับโดยพากันสร้างเหตุผลขึ้นมารองรับว่า “ปัญหาการเมืองไทยหลักๆ วันนี้อยู่ที่การศึกษาของพลเมืองไทย ตราบใดที่ยังมีการซื้อเสียงกันอยู่ ปัญหาต่างๆ จะไม่ได้รับการแก้ไข”

ถึงกับมีผู้บริหารสื่อมือถือบางค่ายเสนอความเห็นว่า “ให้คนจบปริญญาตรีเท่านั้นมีสิทธิเลือกตั้ง”

ความหมายของเหล่าอำมาตย์ที่สำคัญว่าพวกตนเป็นคนชั้นสูง เป็นคนฉลาด มีจริยธรรมสูง ย่อมมีวิจารณญานในการเลือก ส.ส. ได้ดีกว่าชนชั้นอื่น โดยเฉพาะคนจน คนรากหญ้า ที่นอกจากไม่มีวิจารณญานในการเลือก ส.ส. แล้ว ยังถูกซื้อเสียงได้ด้วย

คนจนถูกซื้อเสียงเป็นปัญหาหลักของการเมืองไทยจริงหรือ?

ย้อนหลังไปประมาณ 40 ปี แทบไม่มีการเสนอข่าวสาร หรือพูดคุยกันเกี่ยวกับการเมืองเรื่อง ส.ส. ซื้อเสียง ชาวบ้านขายเสียงกันเลย

เป็นการเลือกตั้งที่เรียบร้อย บริสุทธิ์ยุติธรรมใช่หรือไม่?

เปล่าเลย! เพราะมีข่าวคราวในยุคนั้นเล่าถึงหลายหน่วยเลือกตั้งที่ทหารเข้าคิวกันยาวเหยียด มีการเวียนเทียน หย่อนบัตรเลือกตั้ง โดยมีนายทหารถือปืนกำกับอยู่ คำ “พลร่ม” “ไพ่ไป” ถูกนำมาใช้สำหรับการเลือกตั้งยุคนั้น ถึงกระนั้นก็ยังมีการนับคะแนนกันนานถึง 7 วัน 7 คืน ทั้งๆ ที่จำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งมีจำนวนน้อยกว่ายุคปัจจุบันมาก

แน่นอน พรรคที่ทหารหนุนหลังคือ พรรคเสรีมนังคศิลา ชนะขาด ยุคนี้จึงไม่มีความจำเป็นเสียเงินซื้อเสียงให้โง่

มายุคหลัง 14 ตุลาคม 2516 ประชาธิปไตยทำท่าจะเบ่งบาน ภายหลังประชาชนพากันลุกขึ้นเพื่อทวงอำนาจคืนจากคณะเผด็จการทหารได้สำเร็จ

แต่ประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งตามครรลองก็ชะงักงัน ภายหลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

คณะทหารเริ่มแฝงตัวเข้ามามีอำนาจอีก แต่ไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และโจ่งแจ้งเช่นก่อน โดยอาศัย ส.ส. ที่ผ่านการเลือกตั้งเข้ามาเป็นฐานรองรับความชอบธรรม โหวตเลือกขุนทหารที่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในยุคนั้น จะเห็นได้ว่า ส.ส. ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของนายกรัฐมนตรีที่มาจากทหาร และแน่นอนว่านายกรัฐมนตรีดังกล่าวต้องเป็นกลุ่มอำมาตยาธิปไตย

คำถาม: การเลือกตั้ง ส.ส. ในยุคนั้นมีการซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่
คำตอบ: มีการซื้อเสียงกันอย่างมโหฬาร เอิกเกริก และโจ่งแจ้ง

เมื่อประมาณ 30 ปีมานี้ ผู้ที่ติดตามข่าวสารทางการเมืองคงยังจำกันได้ดีที่เกิดเชื้อโรคใหม่ขึ้นในประเทศไทย นั่นคือ โรคร้อยเอ็ด ซึ่งต่อมาโรคดังกล่าวได้ระบาดไปทั่วภาคอีสาน และรุกรานไปทั่วภูมิภาคของประเทศในเวลาต่อมา

พวกเรายังจำกันได้ กรณีนายทหารใหญ่ เชี่ยวชาญแกงเขียวหวานไก่ใส่บรั่นดี หิ้วกระเป๋าใบเดียว (แต่ใหญ่มาก ภายในกระเป๋าอัดแน่นไปด้วยธนบัตร) เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปสมัครเป็น ส.ส. ที่ จ.ร้อยเอ็ด โดยที่ไม่เคยมีความผูกพันใดๆ กับ จ.ร้อยเอ็ด มาก่อน ปรากฏว่าสอบผ่าน ได้เป็น ส.ส. สมใจนึก จึงกลายเป็นที่มาของ “โรคร้อยเอ็ด” ดังกล่าว

ต่อมาจึงมีพ่อค้าวาณิชย์ นายธนาคาร และข้าราชการ พากันดำเนินตามร้อยเอ็ดโมเดล ยอมถูกประณามว่าเป็น “หมาหลง” หิ้วกระเป๋าเงินจากกรุงเทพมหานครไปสมัคร ส.ส. ในจังหวัดต่างๆ ของภาคอีสาน และภาคอื่นๆ โดยอาศัยคนท้องถิ่นมาร่วมทีมด้วยช่วยกัน

เมื่อทีมอื่นพรรคอื่น ทราบว่าพรรคนั้น ทีมนั้น ขนเงินมาซื้อเสียง ก็เป็นธรรมดาของผู้สมัครแข่งขันการเลือกตั้งที่ไม่มีฝ่ายใดปรารภว่าเป็นผู้แพ้ จึงมีการทุ่มเงินซื้อเสียงชนิดไม่มีใครยอมใคร

ชาวบ้านร้านตลาดไม่ว่าจนหรือไม่จน ต่างได้รับการหยิบยื่นเสนอผลประโยชน์ขณะที่นอนเล่นอยู่บ้าน อย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งยังมีคนจำนวนมากที่ตกกระไดพลอยโจน หรือตามน้ำไปด้วยก็มี

ประการสำคัญ ประชาชนต่างซึมซับว่า ทุกๆ ส.ส. ทุกๆ พรรคการเมือง ทุกๆ รัฐบาล ล้วนเหมือนกันหมด คือดีแต่พูดตอนมาหาเสียง รับปากตอนหาเสียง แต่ไม่เคยแก้ปัญหาใดของประชาชน เลือกไปก็เท่านั้น

จึงนำไปสู่ “เงินไม่มา กาไม่เป็น”

ถือเป็นความผิดของประชาชนเป็นด้านหลักหรือ?

แล้วบรรดา ส.ส. พรรคการเมือง ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง ที่ใช้วิธีแข่งกันทุ่มเงินซื้อเสียงเพียงเพื่อหวังชัยชนะ และได้เป็นรัฐบาล ไม่มีส่วนผิดเลยหรือ

และวิธีการที่ทำให้พรรคการเมืองหรือผู้ที่อยู่เบื้องหลังพรรคการเมือง มีโอกาสประสบชัยชนะในการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งคือ ไปเชิญชวนขอร้องเจ้าพ่อ ผู้มีอิทธิพลในจังหวัดนั้นๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรค และขอให้ส่งบุตรหลาน หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนของเจ้าพ่อลงสมัคร ส.ส. และมักจะได้รับความร่วมมือ เพราะได้ประโยชน์ร่วมกัน

เจ้าพ่อบางรายสามารถบันดาลให้ผู้สมัคร ส.ส. ในจังหวัดได้รับชัยชนะโดยการใช้กลยุทธ์ 3G คือ
G ที่ 1 คือ Gold คือ ทุ่มเงินซื้อเสียงไม่อั้น เพราะสามารถถอนคืนได้ง่าย
G ที่ 2 คือ Goon คือ ใช้นักเลงข่มขู่ กรณีใช้เงินซื้อเสียงไม่สำเร็จ
G ที่ 3 คือ Gun คือ หากชาวบ้านไม่รับเงินซื้อเสียง และไม่กลัวเกรงต่อการข่มขู่ของนักเลง ทำตัวเป็นอุปสรรคต่อกลุ่มเจ้าพ่อ ก็อาจโดนกระสุนได้

จะเห็นได้ว่า ตลอดเวลากว่า 20 ปี หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ปัญหาหลักของการเมืองไทยก็ได้ดำเนินมาในลักษณะนี้คือ มี ส.ส. จำนวนหนึ่ง อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นจำนวนมากด้วย ที่ได้รับการเลือกตั้งจากวิธีการเหล่านี้ “ซื้อเสียงหรือใช้นักเลงข่มขู่”

ทำไมพวกเขารู้สึกช้าจัง?

พวกเขาที่ว่านี้คือ บรรดาชนชั้นสูง นักวิชาการ ขุนทหาร และนักธุรกิจบางคน ที่ออกมาแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นว่า ปัญหาหลักการเมืองไทยนั้นเป็นเพราะ ส.ส. ไร้คุณภาพ อันเนื่องมาจากประชาชนโดยเฉพาะในระดับรากหญ้าไร้คุณภาพ จึงขาดวิจารณญาณในการเลือก ส.ส. ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ได้รัฐบาลไทยรักไทย สืบมาจนถึงพรรคพลังประชาชน
พวกเขาเหล่านี้ (เหล่าอำมาตยาธิปไตย) คิดช้าจริงหรือ?

คงเป็นไปไม่ได้ เพราะพวกเขาล้วนเป็นชนชั้นที่มีการศึกษาสูง มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีคลังข้อมูลประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจของประเทศอย่างพร้อมมูล

ส่วนความเป็นไปได้ ที่พอจะวิเคราะห์ได้จากข้อเท็จจริงก็คือ ภายหลังพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้บริหารประเทศตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ จนประสบความสำเร็จอย่างไม่เคยมีรัฐบาลที่ผ่านมาทำได้

เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคไทยรักไทยจึงได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นอีก สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อย่างไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมาก่อน ด้วยเหตุผลสำคัญและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย คือ ประชาชนเลือกพรรคไทยรักไทยเข้ามาบริหารประเทศรอบสองก็เพราะประชาชนพอใจในผลงาน ซึ่งแม้แต่พรรคตรงข้ามก็นำนโยบายประชานิยม (ทั้งๆ ที่เคยโจมตี) มาเป็นนโยบายของตนในการหาเสียงแข่ง

นั่นหมายความว่า พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในครั้งนั้น เป็นผลมาจากนโยบายและผลงานตลอด 4 ปีที่บริหารประเทศมา หาใช่มาจากการซื้อเสียงตามที่เหล่าอำมาตยาธิปไตยกล่าวหาไม่

ด้วยเหตุนี้กระมัง ที่พรรคการเมืองแบบเก่า และผู้สนับสนุนเหล่าอำมาตยาธิปไตย ที่เคยให้ตัวแทน “หิ้วกระเป๋าใบเดียว” ใช้เงินซื้อเสียงได้ จึงหมดโอกาสดังอดีต

จึงมีหนทางเดียวคือ ไปผลักดัน ส.ส. แบบสัดส่วน 70 : 30 หรือต่อมาเป็น 50 : 50 มาใช้เพื่อกรุยทางให้กลับมามีอำนาจรัฐได้อีกครั้ง แต่แทนที่จะพูดความจริงว่าตน “ไม่สามรถซื้อเสียงจากคนจนได้” กลับมาหาเหตุ “คนจนถูกซื้อเสียง” โยนบาปให้ประชาชนที่เป็นคนรากหญ้าแทน อนิจจา สังคมไทย!

โดม แดนดิน