WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 30, 2008

ที่มาและแนวทางของระบอบ “อำมาตยาภิวัตน์”

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

ทฤษฎีการเมืองใหม่ที่เสนอโดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ยึดทำเนียบรัฐบาล ใช้เป็นฐานกำลังในการโค่นล้มรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ จนถึงขณะนี้ถึงแม้จะยังไม่มีรูปธรรมชัดเจนว่าต้องการอะไรกันแน่ แต่ข้อเรียกร้องที่ให้จัดสัดส่วนระหว่าง ส.ส. ที่มาจากการสรรหากับ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ในอัตรา 70 : 30 และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้นำมาขยายผล แต่เปลี่ยนสัดส่วนเป็น 50 : 50 หรือแม้แต่โมเดลใหม่ล่าสุดที่ให้ ส.ส. มาจากการเลือกตั้งตามเขตพื้นที่ 50 เปอร์เซ็นต์ และเลือกตั้งจากตัวแทนกลุ่มอาชีพอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับการที่แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เปลี่ยนชื่อเรียกจากคำว่า “ประชาธิปไตย” เป็น “ประชาภิวัตน์” นั้น

เมื่อพิเคราะห์และต่อจิ๊กซอว์ให้ครบแล้ว เราก็จะมองเห็นภาพการเมืองใหม่ที่ว่าได้อย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำมาเรียกชื่อเสียใหม่ได้ว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาภิวัตน์” ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบดั้งเดิม กับระบบ “โปลิตบิวโร” ในระบอบคอมมิวนิสต์ สมัยใหม่ที่ประธานเหมาได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในประเทศจีน เมื่อเกือบ 60 ปีที่แล้ว และใช้สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง ทั้งนี้ โดยจะดูได้จากที่มาจำนวน 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
1.1 มาตรา 35 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 9 คน ซึ่งไม่ใช่ศาล แต่มีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำความผิดภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว

1.2 มาตรา 36 บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทุกฉบับ ที่ออกระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

1.3 มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลายในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่อง หรือได้รับมอบหมาย หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมาย อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะให้มีผลบังคับทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง

2.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)
2.1 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549
- ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
2.2 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
2.3 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน
2.4 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
2.5 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
- ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคที่ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค มีกำหนด 5 ปี
2.6 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549
- ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จำนวน 12 คน เพื่อให้ใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อำนาจของคณะกรรมการ ปปง. และอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรในเวลาเดียวกัน

3.บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
3.1 มาตรา 68 วรรคสี่ และมาตรา 237 วรรคสอง ซึ่งเป็น “มรดกทางอำนาจ” ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 35 และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่โดน กกต. ให้ใบแดงฐานฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง อันนำไปสู่การเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย อันจะส่งผลให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกสั่งยุบพรรคนั้น ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 5 ปีด้วย

3.2 มาตรา 265 (1) (2) และวรรคสาม ซึ่งห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รวมทั้งคู่สมรส และบุตร ไปดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

3.3 มาตรา 267 ซึ่งห้ามมิให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี มีตำแหน่งในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด ซึ่งลักษณะต้องห้ามดังกล่าวก็ได้กำหนดไว้ในมาตรา 207 (3) ที่จะใช้บังคับกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการ ป.ป.ช. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรรมการการเลือกตั้งด้วย แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็คงใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรทั้งห้าเหล่านั้นไม่ได้ เพราะผู้ที่มีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าใครจะต้องพ้น หรือไม่พ้นจากตำแหน่งเพราะเป็นลูกจ้างใครหรือไม่ ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ นั่นเอง

3.4 มาตรา 162 วรรคสอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระที่จะลงมติเลือกใครหรือไม่เลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ โดยไม่ต้องฟังมติพรรค หรือตกอยู่ใต้อาณัติมอบหมายใดๆ

4.บทเฉพาะกาลที่ “ไม่เฉพาะกาล”
4.1 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งใช้อำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 252 และบทเฉพาะกาลมาตรา 301) ไปจนกว่าจะครบวาระตามบทเฉพาะกาล

4.2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 5 คน ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 235 มาตรา 236 และบทเฉพาะกาลมาตรา 299) ไปจนกว่าจะครบวาระ 7 ปี ในวันที่ 19 กันยายน 2556

4.3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 3 คน ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 244 และบทเฉพาะกาลมาตรา 299) ไปจนกว่าจะครบวาระ 6 ปี ของแต่ละคน

4.4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 9 คน ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 (มาตรา 250 และบทเฉพาะกาลมาตรา 299) ไปจนกว่าจะครบวาระ 9 ปี ในวันที่ 21 กันยายน 2558

4.5 คณะกรรมการสรรหา ส.ว. ตามมาตรา 113 จำนวน 7 คน ซึ่ง 4 ใน 7 คนดังกล่าว ประกอบด้วย ประธานของ 4 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ และใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 และบทเฉพาะกาลตามข้อ 1-4 ข้างต้น เป็น “เสียงข้างมากเด็ดขาด” ในการที่จะชี้ขาดว่าผู้ใดจะได้เป็น ส.ว. ประเภทสรรหา จำนวน 74 คน

4.6 บทเฉพาะกาลมาตรา 309 มีผลทำให้องค์กรและคณะบุคคลทั้ง 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้นอยู่ในฐานะที่ “ทำอะไรไม่ผิด” ไปตลอดอายุการใช้บังคับของรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะบทเฉพาะกาลมาตราดังกล่าวได้ “นิรโทษกรรมล่วงหน้า” ไว้ให้แล้ว
4.7 บทเฉพาะกาลมาตรา 306 มีผลทำให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมและพนักงานอัยการ ซึ่งครบเกษียณอายุราชการตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป สามารถดำรงตำแหน่ง “ผู้พิพากษาอาวุโส” และ “อัยการอาวุโส” ในชั้นศาล และในตำแหน่งที่ตนเกษียณได้จนกว่าจะอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากที่มาของ “ลายแทง” การสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน ทั้ง 4 ข้อข้างต้น จึงสรุปได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 มาเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับ คมช. แอนด์โก” และด้วยการช่วยเหลือส่งเสริมจากบทเฉพาะกาลที่ “ไม่เฉพาะกาล” จึงกลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ “จตุรมาตยาธิปไตย” ซึ่งหมายถึง ระบบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองตกอยู่ในมือของ “ขุนนางชรา 4 เหล่า” อันได้แก่ ขุนนางกองทัพ ขุนนางข้าราชการ ขุนนางตุลาการ และขุนนางอำนาจที่สี่ และทันทีที่มีข้อเสนอเชิงรุกของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นฐานต่อสู้เพื่อล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยในเรื่องการเมืองใหม่

โดยกำหนดสัดส่วนระหว่าง ส.ส. ที่มาจากการสรรหา กับ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ในอัตรา 70 : 30 ซึ่งต่อมา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับลูกมาเล่นต่อ และเสนอเป็นอัตรา 50 : 50 รวมทั้งการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจาก ส.ส. เลือกตั้ง ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93 และมาตรา 171


ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ระบบการเมืองใหม่ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาภิวัตน์” อย่างเต็มรูปแบบ เพราะตามระบบดังกล่าว ส.ส. และ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาจะเข้ายึดตำแหน่งผู้นำทั้งของรัฐสภา และของฝ่ายบริหารไว้ในมือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา จะเหลือไว้บ้างก็คงเพียงแค่ตำแหน่ง “ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร” เท่านั้น

ที่เรียกว่าเป็น “ระบอบอำมาตยาภิวัตน์” ก็เพราะเป็นการผสมพันธุ์กันระหว่างระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบเก่า กับระบบ “โปลิตบิวโร” ของคอมมิวนิสต์สมัยใหม่ ซึ่งภายใต้ระบบการเมืองเช่นนี้ ส.ส. ส.ว. และพรรคการเมือง ก็จะเป็นได้แค่ “ลูกจ้าง” ของระบบเท่านั้น และเป็นเสมือนลูกไก่ในกำมือ เพราะถ้าแสดงท่าทีกระด้างกระเดื่องเมื่อไร จะถูกปลดออกจากตำแหน่ง หรือถูกยุบพรรค และถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ง่ายๆ

ส่วนผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือแม้แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการในองค์กรอิสระทั้งหมด ก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก “โปลิตบิวโร” ซึ่งประกอบด้วยบรรดาบุคคลระดับหัวกะทิของขุนนางชรา 4 เหล่า นั่นแหละ เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด และที่คล้ายกันมากกับระบอบคอมมิวนิสต์คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศคือ “ประธานกรรมาธิการทหาร” ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าทั้งฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ และตำแหน่งนี้จะไม่มีเกษียณอายุ จนกว่าจะตาย ซึ่งเมื่อตายไปแล้ว “โปลิตบิวโร” ก็จะคัดเลือกคนหนึ่งในโปลิตบิวโรขึ้นมาดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ดี ผู้มีอำนาจในระบบการเมืองใหม่นี้จะยังคงให้มีรัฐธรรมนูญ และใช้คำว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” อยู่ต่อไป เพื่อหลอกคนไทยและหลอกชาวโลก

คณิน บุญสุวรรณ