WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 29, 2008

นักวิชาการตอกลิ่ม 2 ปีรัฐประหาร“อำมาตยาธิปไตย” กลัวคนฉลาด


คอลัมน์ : Cover story

รศ.ดร.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช ตอกลิ่ม 2 ปีรัฐประหาร คมช. ประเทศเกิดผลเสียมากมาย ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ย้ำชัด “อำมาตยาธิปไตยกลัวประชาชนฉลาด กลัวประชาชนรู้ทัน” พลิกแพลงเกมการเมืองไปสู่มือตุลาการภิวัตน์ ชี้นำและตัดสินคดีความการเมืองในเชิงอบรมสั่งสอน ซึ่งไม่มีประเทศใดในโลกนี้ทำเป็นแบบอย่าง ติงการให้สิทธิการชุมนุมจนเกินขอบเขตกว่าที่สังคมโลกจะยอมรับแล้ว!!!

เรื่องที่ผมจะพูดคล้ายกับที่คนอื่นๆ พูด ก่อนอื่นผมเห็นด้วยว่ารัฐบาลควรจะทำแต่ไม่ได้ทำคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นยังมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายจากการทำรัฐประหาร เพื่อตีแผ่ความเลวร้ายความเสียหาย ซึ่งถ้าตั้งแล้วออกสมุดปกขาว ปกเหลือง แล้วแต่ เพื่อประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจ หลักนิติรัฐ นิติธรรม เพื่อเป็นการตอกย้ำกับประชาชนว่าการทำรัฐประหารไม่ใช่หนทางในการแก้ปัญหา และเป็นการทำเพื่อตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เลวร้าย ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรดึงเอานักวิชาการ การเมืองภาคประชาชน องค์กรอิสระ ที่เป็นฝ่ายรักประชาธิปไตย เป็นคณะกรรมการ

ประการที่ 2 รัฐธรรมนูญระบอบอำมาตยาธิปไตย ผลพวงจากการยึดอำนาจ คือเราได้รัฐธรรมนูญฉบับรื้อฟื้นอำนาจของประชาธิปไตย แต่ที่ผมอยากเน้นคือ คณะกรรมาธิการสรรหา ส.ว. ซึ่งเป็นวิธีคิดแบบอำมาตยาธิปไตยโดยแท้ โดยมีคณะกรรมการ 7 คน ซึ่ง 3 คนมาจากศาล อีก 4 คน เป็นคณะกรรมการจากองค์กรอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักกฎหมาย ซึ่งผมมองว่าแม้การเลือกตั้งจะมีปัญหาในตัวมันเอง จะเป็นสภาผัวเมีย หรืออะไรตาม ต้องแก้ที่การเลือกตั้ง ไม่ใช่ล้มการเลือกตั้ง และผมไม่รู้ว่าโมเดลนี้จะนำมาใช้กับการเมืองใหม่ 70 : 30 หรือ 50 : 50 นี่เป็นการตั้งโจทย์ผิดในสังคมไทย และทำให้ประชาธิปไตยถูกบิดเบือน คือมีการโจมตีการเลือกตั้งผิดว่าการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย ไม่เป็นประชาธิปไตย

ผมคิดว่าเราต้องเริ่มต้นก่อนว่าประชาธิปไตยคือความเสมอภาค ทุกคนเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย คือความเท่าเทียมต่อหน้ากฎหมาย คือทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน ฉะนั้นขณะนี้เราไม่ได้พูดถึงการเลือกตั้ง เราพูดถึงความเสมอภาคต่างหาก ทุกท่านไม่ว่าจะรวยจน โง่ฉลาด เราต่างมี 1 เสียงเท่ากัน การยกเลิกระบบการเลือกตั้งเป็นการลิดรอนสิทธิและเสียงของเรา ผมคิดว่าเราควรรณรงค์การเลือกตั้ง อย่าให้เขาลิดรอนสิทธิของเรา ผมว่าสังคมไทยละเลยประเด็นนี้

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องตุลาการภิวัตน์ ผมมองว่าฝ่ายอำมาตย์เริ่มฉลาดที่จะไม่มีการรัฐประหารโดยกองทัพ แต่มีการใช้กลไกทางกฎหมายมาจัดการ ตั้งแต่คดียุบพรรค ซึ่งหากมองในคำพิพากษามีข้อวิจารณ์ทางนิติศาสตร์มากมาย เช่น เรื่องการใช้กฎหมายย้อนหลังในคดียุบพรรค ปราสาทเขาพระวิหาร ที่มีการออกคำสั่งชั่วคราว รัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวช ปฏิบัติตามคำสั่ง น่ากลัวมาก แต่กรณีของพันธมิตรฯ กลับไม่กระทำ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก ตอนนี้ผมมองว่าการบังคับใช้กฎหมายเกิดการเลือกปฏิบัติ หรืออย่างกรณีของศาลปกครองกลางที่คุ้มครองเอเอสทีวี ก็น่าสงสัยว่าทำไมต้องคุ้มครอง

อย่างกรณีชิมไปบ่นไปของนายกฯ สมัคร ซึ่งหากตีถ้อยคำทางกฎหมาย มันต้องมีความหมายทางกฎหมาย คำว่า “ลูกจ้าง” ผมมองว่ามันเป็นศัพท์ทางกฎหมาย คุณต้องเข้าใจในบทตัวกฎหมาย ไม่ใช่ไปเปิดพจนานุกรม ตามความเห็นของผมนะ ผมสงสัยว่าถ้าสังคมไทยยังคงมีปัญหาในการตีความกฎหมาย คิดว่าจะต้องมีปัญหามาก

คดีปราสาทเขาพระวิหาร ในตัวบท 190 กำหนดเลยว่าหนังสือสัญญาที่จะผ่านสภาต้องเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทย พูดง่ายๆ ว่าหนังสือที่ทำให้มีผลของดินแดนเพิ่มขึ้นหรือลดลงต้องผ่านสภา แต่ศาลรัฐธรรมนูญเองตีความว่า “อาจจะ” โดยที่ไม่แน่ใจว่าหนังสือสัญญานี้จะมีผลเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้าเราไปดูในคำวินิจฉัยใช้คำว่า อาจจะ ถึง 3 ครั้ง 3 ครา ซึ่งหากอ่านอย่างละเอียดจะรู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงอำนาจการทำงานของฝ่ายบริหารมาก ผมรู้สึกว่าต่อไปเราจะเห็นคำพิพากษาเป็นช่องทางการอบรมสั่งสอน การตำหนิ ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของคำพิพากษา คำพิพากษาเป็นการตัดสินข้อกฎหมาย แต่ใม่ใช่ช่องทางที่อบรมว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้

การเมืองภาคพลเมืองแม้จะดี แต่ผมกลัวว่าการเมืองภาคพลเมืองไม่มีขอบเขตว่าจะทำได้แค่ไหนอย่างไร โดยเฉพาะสิทธิการชุมนุม ผมคิดว่าเราต้องมีกฎหมายการชุมนุมแล้วล่ะ ทุกวันนี้การชุมนุมเป็นการอ้างมาตราเดียวแต่ละเมิดกฎหมายอื่นอีก 10 มาตรา เราต้องทำเป็นกฎหมายการวางระเบียบเงื่อนไข ข้อกำหนด กลับมาที่การเมืองใหม่ 70 : 30 ผมมองว่ามันเป็นการรื้อฟื้นระบบอำมาตย์ รู้สึกว่าเหมือนเดินกลับมาที่จุดเดิมเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้ว หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ การเสนอให้งดใช้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จนต้องมีการทำรัฐประหาร เพื่อให้มีการเปิดสภา มีมาแล้ว สุดท้ายผมคิดว่ารัฐบาลคุณทักษิณเป็นจุดเปลี่ยนที่ให้มีประชาธิปไตย หรือสิทธิของคนต่างจังหวัด แต่ทำให้กลุ่มอำมาตยาธิปไตยเกิดความกังวล ซึ่งเกิดเหตุการณ์ 19 กันยายนขึ้น ผมสงสัยนะว่า 70 : 30 กลุ่มพันธมิตรฯ คิดเอง หรือว่าคนอื่นคิดแล้วทางกลุ่มมาเป็นกระบอกเสียงให้

ผมว่าถ้าปล่อยให้การเมืองเป็นอย่างนี้ไป ระบบอำมาตย์อาจไม่สามารถเข้ามามีอำนาจทางการเมืองได้ เพราะมีการเลือกตั้งกี่ครั้งกี่ครั้ง...ก็แพ้พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย อะไรว่าไป เลยต้องมีตรงนี้มาทำลาย แล้วเป็นทัศนคติที่มองว่าคนต่างจังหวัดไม่มีวิจารณญาณ เห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้า ซึ่งเป็นทัศนคติแบบอภิสิทธิ์ชน ซึ่งรองผู้บริหารของบริษัทโทรศัพท์แห่งหนึ่งมองว่าคนจบปริญญาตรีเท่านั้น คนเสียภาษีเท่านั้นที่ควรจะมีสิทธิเลือกตั้ง ผมคิดว่าระบบอุปถัมภ์ศักดินาเป็นปัญหารากเหง้าของประเทศไทย นี่เป็นการดิ้นรนของอำมาตยาธิปไตย ที่จะกลับมามีอำนาจแบบ 70 : 30 ซึ่งถ้าเรามาดูปูมหลัง มีกลุ่มราชนิกูลสตรีผู้สูงศักดิ์ ไม่แปลกใจ แล้วเครือข่ายอำมาตยาธิปไตยมันซึมแทรกหลายองค์กร มหาวิทยาลัย กองทัพ

ผมคิดว่าการต่อสู้นี้เพิ่งเริ่มต้น และต้องยืดยื้ออีกพักใหญ่ ซึ่งหากรัฐบาลชุดใหม่ทำการเจรจาแบบวินวิน ผมไม่เห็นด้วย ถ้าเป็นการเจรจาแบบสมานฉันท์ โดยลืมหลักกฎหมาย ผมว่าให้พันธมิตรฯ ยึดทำเนียบต่อไปดีกว่า ประชาชนจะได้เรียนรู้อะไรสนุกๆ

ถามว่าข้อดีของพันธมิตรฯ มีไหม ผมเห็นคล้ายกับ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ คือ 19 กันยายนให้ประชาชนเห็นอะไรหลายอย่าง ผมว่าจุดๆ หนึ่งต้องมีแรงประชาธิปไตยออกมาสร้างปฏิกิริยา จะเกิดการต่อสู้เรียนรู้ของประชาชน แต่ถ้ามีการเจรจาอย่างที่บอก ผมว่าประชาธิปไตยไม่ได้อะไร ผมคิดว่าถ้าจะเอาชนะอำมาตย์ อาวุธที่สำคัญคือความรู้ ปัญญา การจัดเวทีอย่างนี้ดีมากๆ มีการสื่อสารทางประชาธิปไตย พูดแต่วิชาการหนักๆ จะเป็นการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในต่างจังหวัด ถามว่าอำมาตย์กลัวอะไร ผมว่า “กลัวประชาชนฉลาด...กลัวประชาชนรู้ทัน” ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย นี่เป็นการติดอาวุธทางปัญญาที่สำคัญที่สุด ผมอยากให้ประชาชนรวมตัวเกาะกลุ่ม และหวังพึ่งตนเอง ผมคิดว่าประชาชนบางคนมีหัวทางการเมืองดีกว่านักการเมืองบางคน อย่าท้อแท้ หรือเบื่อกันเสียก่อน