WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 29, 2008

ปปช.ส่อฟัน‘อภิรักษ์’พลิกคดีเปิดแอลซี

* เปิดหลักฐานใหม่มัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง

ประเด็นความอื้อฉาวของการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง กทม. มูลค่า 6,687 ล้านบาท เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง เพราะต้องถือว่าเป็นการทุจริต และเป็นมหกรรมการแหกตาประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ โดยมีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับตัวบุคคลสำคัญหลายคน รวมถึงนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่เป็นผู้ลงนามใน แอลซี (Letter of credit) จนเป็นผลให้เกิดการผูกพันและเกิดปัญหาต่อเนื่องนั้น

ล่าสุดเว็บไซต์ “ประชาไท” http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=723748 ได้ตั้งข้อสงสัยถึงการออก แอลซี ดังกล่าว พร้อมกับเสนอเอกสารที่ชวนให้เกิดข้อสงสัย 4 ชิ้นด้วยกัน โดยระบุว่าสิ่งที่ยังเป็นข้อสงสัยและยังไม่มีความกระจ่างก็คือ ทำไมต้องมีการออก แอลซี และตั้งข้อสังเกตว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. ไม่อาจปัดความรับผิดชอบได้ เพราะในสัญญาที่ทำกันไว้นั้น ข้อ 9.1 ระบุไว้ชัดเจนว่า...This Agreement will come into force with opening of L/C in a favour of and acceptable for the Seller.

ซึ่งแปลตามตัวก็คือ... “สัญญาฉบับนี้จะมีผลบังคับเมื่อมีการเปิดแอลซี ให้กับผู้ขาย และผู้ขายยอมรับ”

จากหลักฐานดังกล่าวเป็นการยืนยันว่า บริษัท สไตเออร์ฯ มีการทำหนังสือตรงถึงนายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 (เอกสารหมายเลข 1) ซึ่งระบุชัดเจนเลยว่า สัญญามีผลบังคับทันทีที่มีการเปิด แอลซี หากนายอภิรักษ์ไม่เปิดแอลซี สัญญานี้ก็จะยังไม่มีผล และสิ่งที่ตามมาคือ จะไม่มีการส่งมอบรถดับเพลิงที่เป็นปัญหาดังกล่าว

ซึ่งกรณีดังว่ายังถูกตั้งข้อสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมจึงมีการเปิดแอลซี ทั้งที่รู้ว่าอาจจะมีปัญหา เพราะมีการทักท้วงกันแล้ว แม้แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์อย่าง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ก็ยังได้มีการตั้งข้อท้วงติงแล้ว แต่นายอภิรักษ์ก็อ้างถึงคำยืนยันของกระทรวงมหาดไทยว่า การจัดซื้อดังกล่าวไม่สามารถยกเลิกได้

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่ถูกมองข้าม คือ ทำไมถึงต้องมีการแก้ไขแอลซี เพราะเดิมในสมัย นายสมัคร สุนทรเวช นั่งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้ขอเปิดแอลซีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 โดยระบุให้...”ส่งมอบสินค้าได้ที่ท่าเรือในยุโรป หรือสนามบินยุโรป หรือสถานที่ใดๆ ในประเทศไทย” (European Portland or European airport and / or any place in Thailand for transportation to Thailand)

แต่พอมาถึงสมัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน กลับมีการเสนอขอแก้เงื่อนไขในแอลซีใหม่เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ให้เป็น... “ให้ส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือหรือสนามบินในยุโรปเท่านั้น” (Any European port and / or any European airport) โดยไม่ได้ระบุว่า... “ต้องมีสถานที่ใดๆ ในประเทศไทย”

จากนั้นอีกเพียง 11 วันคือวันที่ 21 มกราคม 2548 นายอภิรักษ์ก็ขอแก้ไขแอลซีอีก โดยกลับมาเพิ่มข้อความ “ให้มีการส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ใดๆ ในประเทศไทย” (Please insert: and / or any place in Thailand) เข้าไปใหม่อีกครั้ง

ซึ่งเหตุผลหลักที่มีการกลับไป-กลับมา ถูกตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นเพราะ รู้ว่าสินค้าที่สั่ง ไม่ได้ผลิตที่โรงงานของสไตเออร์ฯ ที่ประเทศออสเตรีย ตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงมีความพยายามที่จะหาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้จากเอกสารที่ นายนิยม กรรณสูต ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ กทม. ทำถึงบริษัท สไตเออร์ฯ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 (เอกสารหมายเลข 2) ที่ระบุชัดถึงการปฏิเสธการตรวจรับเรือดับเพลิง ว่า...After the Fire and Rescue Department, as the department in charge, inspected the Purchase / Sale Agreement and the company’s letters, we found that the fireboat is not manufactured at the Seller’s factory as indicated in the Purchase / Sale Agreement. We, therefore, request the company to proceed according to the Agreement.

ซึ่งแปลตามความหมายก็คือว่า...”หลังจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ได้ตรวจสอบสัญญาการซื้อขายแล้ว พบว่า เรือดับเพลิงไม่ได้มีการผลิตที่โรงงานของบริษัท สไตเออร์ฯ ตามที่ระบุไว้ชัดเจนในสัญญา ดังนั้นจึงขอให้บริษัทสไตเออร์ฯดำเนินการตามข้อตกลงในสัญญาด้วย”

โดยที่ก่อนหน้านั้นมีการเปิดโปงกันว่า เรือดับเพลิงดังกล่าว ผลิตกันที่พัทยา โดยว่าจ้างให้บริษัท เซียทโบ๊ท พัทยา ประเทศไทย จำกัด เป็นผู้ผลิต และกลายเป็นการสอดรับกับข้อสงสัยเรื่องการแก้ไขแอลซี เพื่อเปิดทางให้มีการส่งมอบสินค้าในประเทศไทยได้

อย่างไรก็ดีเอกสารอีกชิ้นก็ยืนยันว่า บริษัท สไตเออร์ฯ เองก็ไม่ได้ใส่ใจกับคำท้วงติงของ นายนิยม กรรณสูต ที่ปฏิเสธการตรวจรับเรือดับเพลิง เพราะต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม 2548 ทางบริษัท สไตเออร์ฯ ได้ทำหนังสือตรงถึง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ( เอกสารหมายเลข 3) เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการจะส่งมอบเรือดับเพลิงครั้งที่ 2 ที่พัทยา ในวันที่ 28 ธันวาคม 2548 โดยไม่สนใจกับคำท้วงติงของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ซึ่งเป็นต้นสังกัดที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง

การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวระบุด้วยว่าทั้งหมดนั้น ยิ่งสร้างความสงสัยให้กับนายอภิรักษ์ มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันกลับไม่มีคำตอบ หรือคำชี้แจงที่ชัดเจนจากนายอภิรักษ์ในเรื่องดังกล่าวเลยแม้แต่ครั้งเดียว

ด้าน นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ทางคณะกรรมการได้นำเอาประเด็นของการเปิดสัญญาแอลซีมาเป็นหนึ่งในการพิจารณาด้วยแล้ว ซึ่งตอนนี้คณะกรรมการกำลังเร่งพิจารณาอยู่

“ทางคณะกรรมการก็ได้มีการตรวจสอบเอกสาร และดำเนินการสอบพยานไปเรื่อยๆ ซึ่งจะรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ อาจจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งอาจจะประมาณ 1-2 เดือน เนื่องจากว่าคดีดังกล่าวมีพยานเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก”

นายวิชา กล่าวต่อไปว่า กระบวนการดำเนินการสอบเกี่ยวกับการเปิดสัญญาแอลซี ก็เป็นกระบวนการเดียวกับการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่สอบ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการตรวจสอบไปพร้อมๆ กัน