WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 16, 2009

เวิร์ลแบงก์ยาหอมรัฐกระตุ้นศก.ระยะสั้นชี้ 2 พันแจกมนุษย์เงินเดือนไม่สูญเปล่า

ที่มา ประชาทรรศน์

ธนาคารโลกฟันธงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นรัฐบาลฉลุย มั่นใจช่วยลดปัจจัยด้านลบ คอนเฟิร์มแจก 2 พันให้มนุษย์เงินเดือนไม่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ มั่นใจจีดีพีขยายตัวอย่างน้อย 2% แนะทุกภาคส่วนปรับตัวรับการแข่งขัน หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นใน 2-3 ปีข้างหน้า

วันนี้ (16 ม.ค.) ที่ ร.ร.สยามซิตี้ ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ให้สัมภาษณ์การเข้าร่วมงานสัมมนารายงานการพัฒนาโลกปี 2552 ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร่วมกับธนาคารโลกถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ได้ประกาศออกมาแล้วนั้น เชื่อว่าช่วยบรรเทาผลกระทบทางลบทางเศรษฐกิจที่ไทยเผชิญอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลกระทบมาจากภายนอก ซึ่งมาตรการที่ออกมามีทั้งระยะสั้นและระยะปานกลางด้วย

"ถ้าจะให้สรุปก็สรุปได้ว่ามาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลประกาศออกมา เหมาะสมและออกมาได้ทันเวลา แต่ตอนนี้ที่สำคัญที่สุดต้องมองผลในระยะสั้นก่อนว่าจะบรรเทาได้อย่างไร มาตรการที่ออกมาหลายอย่างพยายามบรรเทาในระยะสั้น แต่อย่าลืมว่าระยะปานกลางอีก 2-3 ปี เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ไทยต้องพร้อมที่จะเข้าไปแข่งขันบนเวทีโลกอีกที จึงต้องมีมาตรการระยะกลางเข้ามาช่วย อย่างเช่น การลงทุนของภาครัฐในโครงการสาธารณูปโภค ที่จะส่งผลในระยะปานกลาง ขณะเดียวกัน ก็จะส่งผลในระยะสั้นด้วย เป็นการสร้างความมั่นใจ ช่วยกระจายเม็ดเงินให้ภาคเอกชนมีการลงทุน เข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น" ดร.กิริฎา กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีที่รัฐบาลเชื่อมั่นว่ามาตรการที่ออกมา จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ถึง 2% ดร.กิริฎา กล่าวว่า เป็นเรื่องยากมากว่าอัตราการโตจะเป็นเท่าใดแน่ เพราะขึ้นอยู่กับผลกระทบที่เข้ามา ต้องดูผลกระทบจากภายนอกที่เข้ามาก่อน ยังไม่แน่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน ถ้าแรงกว่าที่คิดก็คงต้องทบทวนประมาณการณ์กันใหม่ แต่ถ้าดูจากผลกระทบตรงๆ ที่เป็นอยู่ขณะนี้มาตรการรัฐคงช่วยผลักดันเศรษฐกิจขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 2% และไม่ติดลบอย่างที่หลายฝ่ายเกรงกัน

ผู้สื่อข่าวถามถึงมาตรการช่วยค่าครองชีพของรัฐบาล ดร.กิริฎา กล่าวว่า มองว่าเงิน 2 พันบาทที่ให้คนมีรายได้น้อยกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนที่อยู่ในระบบประกันสังคม สำหรับคนมีรายได้น้อยจริงๆ เงิน 2 พัน ในระยะสั้นถือว่ามีค่าและจำเป็นแก่การนำไปใช้ แต่ถ้าคนเงินเดือนใกล้ 1.5 หมื่นบาทอาจไม่ได้ใช้ทันที จึงอยากให้แยกว่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยในระดับบุคคลเงิน 2 พันบาทช่วยได้จริง แต่ในระดับประเทศ คงเป็นการสร้างกำลังใจ หรือสร้างบรรยากาศในการจับจ่ายใช่สอยให้ดีขึ้น มีผลกระทบทางจิตวิทยาที่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน เงินที่ลงไปคงจะไปหมุนเวียนในระบบ สร้างการผลิตที่ต่อเนื่องขึ้นมา คิดว่าที่ลงไปคงไม่ละลายหรือสูญเปล่า เพราะคนได้ประโยชน์ก็มีจริง คนมีเงินเดือนไม่กี่พันบาทเงิน 2 พันบาทถือว่ามีค่า

"ตอนนี้ยอมรับว่ายังไม่ได้ประเมินเป็นรายไตรมาสอย่างละเอียด แต่มองไตรมาสที่ 1 การใช้จ่ายภาครัฐอาจยังไม่ลงเร็วไม่ทันการส่งออกคงไม่ดี เนื่องจากไตรมาส 1 ปีก่อน ส่งออกไทยขยายตัวดี ดังนั้น ทั้งหมดคงทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 1 ปีนี้ขยายได้ไม่มาก ถ้าเศรษฐกิจโลกยังทรงๆ อยู่ แต่ไม่แน่ใจไตรมาส 2 กับ 3 เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐถ้าแย่ลงไปมากๆ อาจไม่แน่ว่าไตรมาสที่ 1 จะเป็นไตรมาสที่แย่ที่สุดหรือเปล่า"

นอกจากนี้ ดร.กิริฎา ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจว่า ในช่วงเศรษฐกิจขาลงการลดดอกเบี้ยไม่ใช่มาตรการที่ดีที่สุดในการกระตุ้นสินเชื่อ เพราะมีหลายปัจจัย อาทิ คนกลัวไม่กล้าลงทุน ทางธนาคารพาณิชย์อาจกลัวไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เพราะไม่รู้ว่าเป็นเอ็นพีแอลหรือเปล่า การลดดอกเบี้ยจึงอาจไม่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่ แต่มาตรการการคลังอาจเป็นช่วยเสริมสภาพคล่องต่อสายปาน

"เศรษฐกิจโลกซบเซานาน 2-3 ปี พอเศรษฐกิจโลกฟื้นขึ้นมา แม้จะไม่มีใครรู้ว่าจะตกต่ำสุดเมื่อไหร่ แต่คนพูดกันว่าประมาณ 2-3 ปีข้างหน้าที่แหละ แต่เราต้องซ้อมที่จะแข่งขันให้พร้อมบนเวทีโลก ถ้าเป็นบริษัทฐานะการเงินเราดีถ้าเราเก็บไว้ไม่นำมาพัฒนาปรับตัว ขณะที่ประเทศอื่นเขาทำกัน อีก 2-3 ปีหน้า พอเศรษฐกิจโลกฟื้น เราจะไปสู้เขาสู้ได้ไหมคุณภาพสินค้าเราจะดีไหม เอกชนควรใช้เวลาช่วงนี้ปรับตัวปรับคุณภาพสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทมีการเงินดีแค่ไหนที่จะทำ" ดร.กิริฎา กล่าวทิ้งท้าย