WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 16, 2009

แง่คิดต่อผลการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. และผู้ว่าฯ กทม.

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย


เมื่อผลการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 26 เขต จำนวน 29 คน และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกมาทุกเขต ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทุกกลุ่มตั้งแต่สื่อมวลชน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นักธุรกิจนายทุน ฯลฯ ต่างไชโยโห่ร้อง พากันตีความชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาลว่า เป็นชัยชนะต่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และคนเสื้อแดง ว่าประชาชนอยากให้พรรค ปชป. เป็นรัฐบาลบริหารประเทศยาวนาน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ฉวยโอกาสสรุปผลการเลือกตั้งครั้งนี้ว่ายังสะท้อนความคิดของประชาชนที่ไม่ชอบความขัดแย้ง แตกแยก และต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหา เศรษฐกิจ ผมขอเสนอแง่คิดต่อผลการเลือกตั้งสัก 2 ประการ หวังว่าคงไม่สาย

ประการแรก ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใครๆ ก็คาดว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ คงจะได้รับเลือกตั้งอย่างแน่นอน แล้วก็จะได้คะแนนเสียง 8-9 แสนคน แต่ไม่เท่ากับที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน คะแนนดังกล่าวมิได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนคนกรุงเทพว่า อยากให้พรรค ปชป. เป็นรัฐบาลต่อไปหรือไม่ ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่พรรค ปชป. มาเป็นรัฐบาล เป็นฝ่ายได้เปรียบ พรรคพลังประชาชนถูกยุบ กลายมาเป็นพรรคเพื่อไทย เป็นพรรคฝ่ายค้าน อยู่ในช่วงปรับตัว และพลังเสื้อแดง แม้จะเติบใหญ่อย่างก้าวกระโดดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อมีผู้สมัคร 2 คน คือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี และ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ซึ่งโดดเด่นไปคนละอย่าง นายยุรนันท์เป็นผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยซึ่งมีความคิดและพูดได้ดีมาก ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ต่อต้านพันธมิตรฯ และวิพากษ์วิจารณ์ ปชป. มาตลอด คนเสื้อแดงจึงแบ่งคะแนนให้ทั้ง 2 คน ว่ากันตามตรรกะของสถานการณ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ควรได้คะแนนมากกว่าล้าน จึงจะสะท้อนความคิดของชาว กทม. ดังกล่าว

ประการที่สอง การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 29 คน จาก 26 เขต แม้มีผล พรรค ปชป. ได้ ส.ส. เพิ่ม 7 คน พรรคร่วมรัฐบาล พรรคชาติไทยพัฒนาได้ 10 คน พรรคเพื่อแผ่นดินได้ 3 คน ส่วนฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทยได้เพียง 5 คน พรรคประชาราชได้ 4 คน ดูจากตัวเลข ถือว่าพรรครัฐบาลได้ชัยชนะอย่างท่วมท้นถึง 20 คน แต่หากวิเคราะห์ในแต่ละเขต แต่ละจังหวัด ผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่มิได้สะท้อนสภาพทางการเมืองระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพลังคนเสื้อแดงมากนัก เริ่มจากภาคกลาง ซึ่งกระแสคนเสื้อแดงน้อย และเป็นฐานเสียงของพรรคชาติไทยเดิมและพรรคประชาธิปัตย์ เช่นที่ จ.สุพรรณบุรี 4 เขตเลือกตั้ง ผู้สมัครของพรรคชาติไทยพัฒนา ร่างใหม่ของพรรคชาติไทยย่อมได้รับเลือกตั้งเหมือนกับที่ จ.อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานี พรรคนี้จะชนะในการเลือกตั้งค่อนข้างแน่นอน ที่พอพูดได้ว่าเป็นชัยชนะต่อเสื้อแดง มีที่เดียวคือสมุทรปราการ ส่วนที่ราชบุรี นครปฐม และสระบุรี เป็นฐานเสียงของ ปชป. ประชาชนที่นั่นย่อมกลับมาสนับสนุนพรรคนี้

การเลือกตั้งในภาคเหนือ 2 จังหวัด 2 เขตเลือกตั้งใน จ.ลำปาง และลำพูน แม้โดยทั่วไป จะเป็นการต่อสู้ทางความคิดการเมืองของฝ่ายเสื้อแดง-ปชป. ซึ่งผลการเลือกตั้งออกมา ชนะกันคนละจังหวัด แต่มีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก เช่น ตัวผู้สมัครและการทุ่มเงินของฝ่ายหลัง ส่วนในภาคอีสานเป็นที่ที่มีคนนิยมอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ และกระแสเสื้อแดงสูง พรรคเพื่อไทย และฝ่ายคนเสื้อแดงได้รับเลือกตั้งมาเพียง 4 คน จากมหาสารคาม อุดรธานี และร้อยเอ็ด อันเป็นจำนวนค่อนข้างน้อย แต่พูดไม่ได้ว่าพรรคอื่นๆ ที่ได้รับเลือกตั้งมาจำนวน 6 คน คือ พรรคประชาราช 3 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 2 คน ชาติไทยพัฒนา 1 คน มาจากคนไม่นิยมคนเสื้อแดงหรือมนต์ทักษิณเสื่อม เพราะประชาชนที่ลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครพรรคประชาราช 3 คน ส่วนหนึ่งเป็นคนเสื้อแดง ด้วยคิดว่าพรรคนี้เป็นฝ่ายค้านร่วมกับพรรคเพื่อไทย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไม่เป็นที่น่าพอใจของคนเสื้อแดง แต่ส่วนใหญ่มิได้รู้สึกอะไรมากนัก เพราะความคิดทางการเมืองของพวกเขาสูงกว่าการต่อสู้ทางรัฐสภา แล้วก็เสถียรภาพของรัฐบาลไม่ได้ขึ้นกับจำนวน ส.ส. ในสภา ความจริงข้อนี้ประจักษ์ให้เห็นอยู่บ่อยโดยเฉพาะในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง

รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร มี ส.ส. 387 คน รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีส.ส. กว่า 320 คน ยังพังพาบด้วยพันธมิตรฯ ทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ

ในนั้นมีพรรค ปชป. ด้วย ระวังกรรมที่ตนเองก่อไว้ให้ดี