WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 29, 2007

ที่สุดแห่งปี 2550 ในมุมมองการเมือง

ที่สุดแห่งปี 2550 ในมุมมองการเมือง [29 ธ.ค. 50 - 01:14]

ตลอด 365 วัน ของปี 2550 ได้เกิดปรากฏการณ์สำคัญ ทางการเมืองขึ้นในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อชาติบ้านเมือง และประชาชนในหลายๆด้าน โดยทีมข่าวการเมืองไทยรัฐ ได้สรุปเหตุการณ์ สำคัญๆที่น่าสนใจ ในรอบปีที่ผ่านมาไว้ 10 เหตุการณ์ ดังนี้

ถูกทาบทามให้มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยคณะรัฐประหาร หวังจะใช้ภาพความซื่อสัตย์สุจริตของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มา แก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ นำพาประเทศผ่านช่วงวิกฤติไปให้ได้ แต่กลับไม่สามารถทำได้อย่างที่คนทำปฏิวัติมุ่งหวัง สภาพสังคมยังแบ่งเป็น 2 ฝ่ายและการบริหารของรัฐบาลที่เชื่องช้า จนได้รับฉายา “ฤาษีเลี้ยงเต่า” ข้าราชการใส่เกียร์ว่าง รัฐมนตรีมีปัญหาทะเลาะกันเอง จน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ต้องลาออกจากรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ตามด้วย นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมแล้วต้องปรับ ครม.ถึง 6 รอบ ส่วน นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกฯ และ รมว.การพัฒนาสังคมฯ ก็เดี้ยงกลางวง ครม. ต้องหิ้วปีกส่งโรงพยาบาลกันโกลาหล

หนำซ้ำพิษเศรษฐกิจยังรุมเร้า ถึงจะเอานักวิชาการอย่าง นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ มาคุมคลัง เศรษฐกิจก็ไม่ฟื้น ชาวรากหญ้ายังช้ำหนัก สุดท้ายมาเจอพิษน้ำมันแพง ค่าเงินบาทแข็ง รัฐบาลขิงแก่ ที่สังคมคาดหวังไว้สูง แต่ทำงานมา 1 ปี 3 เดือน กลับสร้างผลงานไม่สมราคา

กลายเป็นขิงแก่ที่ไม่มีความเผ็ดร้อนไปซะงั้น...

“ลับ ลวง พราง” คือกลยุทธ์ที่ “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึด เป็นหลักขณะทำหน้าที่ ผบ.ทบ.และประธาน คมช. จึงถูกจับตามองว่าจะมีการต่อท่ออำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะหลังเกษียณอายุราชการ และทันทีที่พ้นจากตำแหน่งใน คมช. “บิ๊กบัง” ก็ กระโจนเข้านั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง พร้อมกับถ่างขาเป็นประธาน คณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์ และแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (ครส.) เพื่อควบคุมการเลือกตั้งด้วยมือตัวเอง แต่ต้องเสียฟอร์มเมื่อถูกขั้วอำนาจเก่านำเอกสารลับ คมช.มาแฉว่า มีการสั่งการให้กองทัพสกัดกลุ่มอำนาจเก่า ไม่ให้ฟื้นคืนสู่อำนาจได้ จึงถูกโจมตีว่าไม่มีความเป็นกลางในการทำหน้าที่จริง

บทบาทใหม่ใน ครส.ที่ “บิ๊กบัง” เขียนและกำกับบทเอง แล้วก็เล่นเอง แต่มักเล่นนอกบท จ้องสกัดกลุ่มอำนาจเก่าอย่างเดียว ทำให้ถูกมองว่าใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บางฝ่าย แต่ไปทำลายอีกฝ่าย

จึงเป็นที่มาของฉายา ลิเกหลงโรง!!

การเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจของ ครม.ขิงแก่ ทำให้ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติต้องห้ามของ รัฐมนตรี ให้รอบคอบ จึงเกิดปัญหา พิษหุ้น เล่น งานเสถียรภาพรัฐบาลจนระส่ำ เป็นผลมาจากรัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทเอกชนเกินกว่าร้อยละ 5 โดยไม่แจ้งต่อคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จนถูกสังคมตั้งคำถามถึง จริยธรรม และ ความโปร่งใส ที่ รมต.ขิงแก่ยึดเป็นหลักในการทำงาน โดยช่วงแรกมีเพียง นายสิทธิชัย โภไคยอุดม เท่านั้นที่แสดงสปิริตลาออกจากตำแหน่ง รมว.ไอซีที ขณะที่ รมต.คนอื่นขอรอดูกระแสสังคม แต่พอถูกกดดันอย่างหนักจึงทยอยลาออกตามกันไป

แต่ นายอารีย์ วงศ์อารยะ ก็ยังเกาะเก้าอี้ รมว.มหาดไทยแน่น แต่ในที่สุดก็ต้องยอมคายเก้าอี้ เพราะจำนนด้วยหลักฐานว่าไปถือหุ้นในบริษัทปลากระป๋อง ที่ทำสัญญาซื้อขายกับ กระทรวงมหาดไทย ที่ตัวเองนั่งอ้าซ่าอยู่ เรื่องนี้ทำเอา นายกฯสุรยุทธ์ ถึงกับหัวเสีย พาลข้องใจการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่ไม่ยอมแจ้งเรื่องให้ ครม.ทราบล่วงหน้า แต่กลับชิงแถลงข่าวให้สื่อมวลชนทราบก่อน

กลายเป็นปัญหาคาใจ ระหว่างนายกฯ กับ ป.ป.ช.มาจนทุกวันนี้...

โผโยกย้ายทหารปลายปีที่ผ่านมา เก้าอี้ร้อนๆในตำแหน่ง ผบ.ทบ. เป็นที่จับตามองมากที่สุดปีหนึ่งก็ว่าได้ ตัวเก็งที่ขับเคี่ยวกันมีอยู่ถึง 3 คน “บิ๊กเปย” พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่า-จินดา และ “บิ๊กแดง” พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ 3 คนนี้กอดคอร่วมโค่นอำนาจระบอบทักษิณมาด้วยกัน แต่ละคนมีจุดเด่นต่างกัน “บิ๊กเปย” เป็นเต็งหนึ่งมาแต่ต้น ด้วยสไตล์บู๊ ล้างผลาญ มีแรงหนุนจากกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะที่ “บิ๊กป๊อก” แม้จะเก็บเนื้อเก็บตัว แต่มีกำลังภายในหนุนจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สายตรงบ้านสี่เสา ส่วน “บิ๊กแดง” เป็นตัวเลือกที่อยู่ในใจของ “บิ๊กบัง” เพราะเป็นรุ่นน้องที่ให้ความไว้วางใจสูง

แต่เวลานานวันไปชื่อ“บิ๊กเปย” กลับหลุดวงโคจรไปเฉยๆ เหลือคู่แคน-ดิเดตเพียง 2 ราย สุดท้ายก็เป็น “บิ๊กป๊อก” ที่คว้าเก้าอี้ไปครองสมใจ ปล่อยให้ “บิ๊กเปย” ต้องผิดหวังซ้ำซาก นอกจากจะวืดเก้าอี้ ผบ.ทบ.แล้ว ยังถูกเตะโด่งไปนั่งตบยุงที่กระทรวงกลาโหม ขณะที่ “บิ๊กแดง” ก็ไปเป็นรอง ผบ.ทหารสูงสุด จากที่กอดคอร่วมปฏิวัติกันมา สุดท้ายแทบมองหน้ากันไม่ติด

กลายเป็นศึก 3 เส้า...แห่งปี!!

อานิสงส์ที่ทำไว้กับกลุ่มพันธมิตรฯ ส่งผลให้ “บิ๊กบัน” พล.ร.อ. บรรณวิทย์ เก่งเรียน คว้าเก้าอี้ประธานกรรมาธิการการคมนาคม สนช. ส่วน พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เพื่อนรัก ได้นั่งถ่างขาเป็นประธานบอร์ด ทอท.และ ทีโอที แรกเริ่มก็ตั้งใจเข้าไปกวาดล้างการทุจริต แต่ทำไปทำมา กลับเข้าไปจุ้นจนหน่วยงานต่างๆ อึดอัดปั่นป่วนไปตามๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปยกเลิกสัญญาสัมปทานร้านค้าปลอดอากร ของบริษัทคิงส์เพาเวอร์ ในสนามบินสุวรรณภูมิ การขอบริจาคจากทีโอที 800 ล้านบาท จัดซื้อเครื่องดักฟัง เพื่อใช้ในงานความมั่นคง

ขณะที่เพื่อนเกลอก็ไม่น้อยหน้า เข้าไปรื้อสัญญาเช่าพื้นที่สามเหลี่ยมพหลโยธิน ของการรถไฟฯกับบริษัทเซ็นทรัลพัฒนาฯ ใช้อำนาจแทรกแซงสั่งระงับการก่อสร้าง ในโครงการสุวรรณภูมิ จน พล.อ.สุรยุทธ์ ต้องทำหนังสือถึง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. เพื่อตักเตือนการเข้ามาแทรกแซง อำนาจฝ่ายบริหาร แต่ไม่ได้ทำให้ “บิ๊กบัน” สิ้นฤทธิ์ ยังออกมาฟาดงวงฟาดงาวิจารณ์โผทหาร เมื่อเพื่อนรักไม่ได้เป็น ผบ.ทบ. จนถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย สุดท้ายโดนเด้งไปนั่งบี้สิว เป็นประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม

ปิดฉากความอหังการของคู่หูคู่ป่วน...

เป็นองค์กรเฉพาะกิจที่คณะปฏิวัติ ตั้งขึ้นมาเพื่อไล่เบี้ยเอาผิดการทุจริต 13 โครงการ ของรัฐบาลทักษิณ แต่ครบกำหนด 1 ปี คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กลับไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน จน สนช.ต้องชงกฎหมายต่ออายุออกไปอีก 9 เดือน ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 51

แต่ผ่านไปแล้ว 1 ปี 3 เดือน คตส.ส่งสำนวนให้อัยการฟ้องศาลได้เพียง 2 คดีเท่านั้น คือ คดีการซื้อขายที่ดินย่านรัชดา ของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร กับคดีหลีกเลี่ยง การเสียภาษีของการขายหุ้นชินคอร์ปของ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์

ส่วนคดีอื่น เช่น คดีแอร์พอร์ตลิ้งค์ คดีซีทีเอ็กซ์ ที่ตั้งแท่นมาเป็นลำดับแรกๆ กลับไม่มีอะไรในกอไผ่ ยิ่งนานวันยิ่งถูกสังคมตั้งข้อสงสัย ถึงการทำงานที่ส่อไปทำนอง 2 มาตรฐาน โดยเฉพาะคดีทุจริตการจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง สอบแล้วสอบอีกก็ทำได้เพียงแจ้ง ข้อกล่าวหากับอดีตผู้บริหารในหน่วย-งานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลชุดที่แล้ว เท่านั้น แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะแจ้งข้อกล่าวหา นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่ ในฐานะเป็นผู้เปิดแอลซี ทำให้สัญญา ซื้อขายมีผลโดยสมบูรณ์

ถ้ามาตรฐานการทำงานยังเป็นอย่างนี้ ทำได้แค่โชว์ลีลาขู่รายวัน

แล้วจะฟันทุจริตได้ยังไง...

เมื่อใดมีการปฏิวัติก็มักจะต้องเอารัฐธรรมนูญขึ้นมาฉีกเพื่อหลีกเลี่ยง ความผิด ดังนั้น การปฏิวัติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือที่เรียกกันติดปากว่า คมช. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็ต้องทำตามประเพณีที่รุ่นพี่ปฏิบัติกันมา

ไม่นานนักกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็เริ่มขึ้น เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือก 35 อรหันต์มาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ

คณะอรหันต์ที่มี “บุรุษคาบไปป์” น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ข้าม ห้วยจาก สนช.มานั่งเป็นพระประธาน เพื่อบรรเลงรัฐธรรมนูญให้เกิดความกลมกล่อมด้วยการตั้งธงในการร่าง รัฐธรรมนูญเพื่อสกัด “ระบอบทักษิณ” เป็นหลัก จนทำให้รัฐธรรมนูญปี 2550 เกิดสภาพพิกลพิการ

เริ่ม จากการถอยหลังเปลี่ยนวิธีเลือกตั้งจากเขตเดียวเบอร์เดียวมาเป็นเขตใหญ่ เรียงเบอร์ เพิ่มระบบสัดส่วนคิดตามกลุ่มจังหวัดแทนระบบปาร์ตี้ลิสต์ กำหนดที่มาของ ส.ว. มาทั้งจากแต่งตั้งและเลือกตั้งจำนวนใกล้เคียงกัน รวมทั้งฟรีโหวตเลือกนายกฯ ชนิดไม่ต้องสนมติพรรค และอื่นๆอีกมากมาย

ผลจากสิ่งเหล่านี้ทำให้ผลการลงประชามติเขียวกับแดงแทบแบ่งกันไม่ออก จนเซียนการเมืองตั้งฉายาให้อย่างแสบสันว่าเป็น “รธน.ฉบับหน้าแหลมฟันดำ”

และเมื่อเหลือบไปมองบรรยากาศที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติเหมือนกันก็ยังยุ่ง เหยิงไม่หยุดหย่อน นั่นคือ สนช.ที่พอใกล้วันจะหมดวาระก็เร่งเครื่องกันใหญ่ ยอดผ่านกฎหมายบางวันเบิกบานกว่า 30 ฉบับ โหวตกันอยู่ไม่ถึง 40 คน

จน “จอน อึ๊งภากรณ์” ส.ว.เก่า ต้องปลุกม็อบปีนรั้วสภาบุกเข้ามาสามัคคีชุมนุม ถึงหน้าห้องประชุม เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สภาไทย

วุ่นวายที่สุดในโลก

เป็นผลผลิตที่ค้างท่อมาจากวุฒิสภาชุดอื้อฉาว แต่กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 5 คนในชุดปัจจุบัน ยังคงได้รับความไว้วางใจจากคณะปฏิวัติ ให้เข้ามาทำหน้าที่ต่อ เพราะมีที่มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งสังคมให้ความไว้วางใจสูง ซึ่งการทำงานในช่วงแรกก็ไม่ทำให้ผิดหวัง แต่นานวันเข้าชักเริ่มแปร่งๆ เห็นได้ชัดเจนเมื่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ปี่กลองเริ่มรัว กกต. ก็แผลงฤทธิ์ ออกกฎระเบียบหยุมหยิม คุมเข้ม พรรคการเมือง นักการเมือง ไม่เว้นแม้กระทั่ง สื่อมวลชน ห้ามไปหมดตั้งแต่ การติดป้ายหาเสียงได้เฉพาะสถานที่ที่ทาง กกต.จัดไว้ให้ ห้ามผู้สมัครฯจัดตั้งเวทีหาเสียงเอง ขึ้นได้เฉพาะเวทีที่ กกต.จัดให้เท่านั้น ขึ้นรถแห่ก็ห้ามพูด ห้ามสื่อมวลชนเชิญหัวหน้าพรรคหรือผู้สมัครฯมาแสดงวิสัยทัศน์ ทำเอาบรรยากาศการเลือกตั้งกร่อยไปสนิทใจ แต่ในที่สุดก็ต้องกลับลำ ยกเลิกกฎเหล็กทั้งหลายไป

บรรยากาศภายใน กกต.เองก็คุกรุ่น เมื่อ กกต.หญิงเหล็กหนึ่งเดียวอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม มักแสดงความเห็นสวนทาง แหลมกว่าคนอื่นเสมอ เกือบจะขัดใจกันหลายครั้ง จน นางสดศรี ต้องขอลาพักร้อนไปตั้งหลัก 15 วัน ก่อนกลับมาทำงานใหม่ แต่พอ 5 เสือตั้งลำได้ ก็มุ่งหน้าสู่การจัดเลือกตั้งอย่างเข้มงวด

ใครที่โกงเลือกตั้ง เตรียมตัวนอนคุกสถานเดียว..!!

กลายเป็นบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย กับการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 50 ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานสำหรับ วงการเมืองไปตราบนานเท่านาน จากพรรคที่เคยใหญ่ที่สุด ครองเสียงจัดตั้ง รัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นครั้งแรก ต้องถึงคราวล่มสลายไปพร้อมกับนักการเมือง แถวหน้าของประเทศ ในนาม กลุ่มบ้านเลขที่ 111

พวกที่ล้มล้างระบอบทักษิณมา ต่างก็คิดว่านักการเมืองเหล่านี้จะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ผีที่กำลังจะถูกฝังลงหลุม ดิ้นรนหนีตายแตกกระจายไปตั้งกลุ่มก๊วนของตัวเอง เพื่อเลี่ยงการตกเป็นเป้าล่อของ คมช. ขณะที่คนในบ้านเลขที่ 111 ส่วนใหญ่ยังคงปักหลัก ในนามกลุ่มไทยรักไทย ก่อนจะแปลงร่างมาเป็นพรรคพลังประชาชน โดยไปขุดเอา “ลุงหมัก” นายสมัคร สุนทรเวช มาชูธงนำพลพรรคลุยสู้กับพลังอำนาจสีเขียวในสนามเลือกตั้ง โดยมีกำแพงพิงหลังชั้นดีคือ กลุ่มรากหญ้าทั้งภาคเหนือและอีสานหนุนเต็มที่

ผีที่กำลังจะลงหลุมกลับลุกขึ้นมาหลอกหลอน จนศัตรูขวัญผวากันไปหมด...

ฉากน้ำเน่าในละคร ยังไม่เหม็นเน่าเท่าวงการเมือง หลังระบอบทักษิณล่มสลาย ทำให้กลุ่มก้อนการเมืองแตกกระสานซ่านเซ็น แยกกันไปตั้งป้อมค่ายของตัวเอง บรรยากาศจึงเหมือนจับปูใส่กระด้ง อดีต ส.ส.วิ่งกันพล่าน จนเกิดกระแสข่าวการตั้งค่าตัว-ซื้อตัว ส.ส. สูงถึง 30-40 ล้านบาท

และที่ปั่นกระแสได้มากที่สุดคือ กลุ่มเพื่อแผ่นดิน โดยการประสานของ “สุรเกียรติ์ เสถียรไทย” รวบรวมเอากลุ่มมัชฌิมาของ “สมศักดิ์ เทพสุทิน” พรรคประชาราชของ “เสนาะ เทียนทอง” กลุ่มสมานฉันท์ของ “พินิจ จารุสมบัติ-ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ” กลุ่มปากน้ำของ “วัฒนา อัศวเหม” แต่ชั่วข้ามคืนก็วงแตกเพราะผลประโยชน์ไม่ลงตัว “สมศักดิ์” จึงแยกไปอยู่กับพรรคประชาราช “สุรเกียรติ์-พินิจปรีชา” ไปตั้งพรรค เพื่อแผ่นดิน ขณะที่กลุ่มชาติพัฒนาของ “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ยังปักหลักแน่น กับกลุ่มรวมใจไทยของ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์-ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์”

แต่ ปาหี่การเมือง ยังไม่จบแค่นั้น เมื่อเกิดการหักดิบ “สมศักดิ์” ดึงนายทุนใหญ่ “เสี่ยประชัย เลี่ยวไพรัตน์” ออกจากอก “ป๋าเหนาะ” ไปตั้งพรรคมัชฌิมาธิปไตย จนท่านผู้เฒ่าฉุนขาดถึงกับลั่นวาจาว่า เสี่ยทีพีไอเป็นอนุบาลการเมือง แต่ ฉากที่เน่าสุดๆคงหนีไม่พ้นบทละครที่ “กร ทัพพะรังสี” เขียนขึ้นมา แล้วดึงเอา “ป๋าเหนาะ-สมศักดิ์-ประชัย” มารวมตัวกันที่บ้านราชครูอ้าง “ผีน้าชาติ” อยากให้รวมกันใหม่ พร้อมกับทำท่าขนลุกซู่ประกอบให้น่าเชื่อถือ แต่ไม่ทันข้ามคืน แผนปลุกผีน้าชาติก็พังครืน

ขณะที่บรรยากาศการเลือกตั้ง มาถึงวันนี้ไม่ต้องไปนั่งดูหมอที่ไหนแล้ว เพราะพรรคพลังประชาชนชนะอย่างท่วมท้น แต่คำถามสำคัญก็คือ

จะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ ต่างหาก!!!


จาก ไทยรัฐ 29 ธค 2550