WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 26, 2007

ภาคธุรกิจขานรับรัฐบาลพปช.

ภาคธุรกิจดาหน้าขานรับรัฐบาล พลังประชาชน เชื่อหลังตั้งรัฐบาลต่างชาติจะมองไทยดีขึ้น และจะเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ทั้งยังไม่คิดว่าจะเข้ามาเอื้อประโยชน์ใคร ชี้ 1-3 เดือนแรกเศรษฐกิจอาจจะยังนิ่ง แต่หลังไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไปทุกอย่างจะไปได้สวย ระบุพรรคอันดับ 1 ย่อมมีความชอบธรรมในการตั้งรัฐบาล ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง


นายวรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.)

กล่าวว่า หากพรรคพลังประชาชน (พปช.) เข้ามาเป็นรัฐบาลชุดใหม่ ต่างประเทศจะยอมรับได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เนื่องจากสิ่งที่นานาประเทศโดยเฉพาะนักลงทุนต้องการจะเห็น และพร้อมจะลงทุนด้วยก็ต่อเมื่อไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และน่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้น แต่จะยั่งยืนและยาวนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของรัฐบาล และความสามารถในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

ถ้า พปช. เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะจบ หรือจะสามารถทำทุกอย่างได้ตามอำเภอใจ เช่น จะเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือใครบางคน โดยเฉพาะตนเชื่อว่ารัฐบาลนั้นๆ ก็คงไม่สามารถอยู่ได้ เพราะเชื่อว่าเวลานี้ประชาชนไม่ได้สนใจว่าใครจะอยู่ใครจะกลับมา แต่เขาสนใจว่าครอบครัวจะมีกินมีใช้เพียงพอหรือไม่ นี่คือหน้าที่ที่ พปช. จะต้องรับมือให้ได้ ไม่เช่นนั้นความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีให้จะหมดอย่างรวดเร็ว และโอกาสที่จะนำกลับมาได้ก็ยาก

ด้าน นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญว่าพรรคที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลจะต้องเป็นพรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคพลังประชาชน (พปช.) เพราะพรรคที่เป็นแกนนำจะเป็นพรรคไหนก็ได้ แต่เมื่อเข้ามาแล้วขอให้เร่งทำงาน เพราะสิ่งที่เอกชนคาดหวังจากรัฐบาลคือ ขอให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภายใต้ 3 เรื่องหลัก คือ 1.บริหารจัดการเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค อย่าให้เงินบาทแข็งค่ากว่าค่าเงินในภูมิภาค เพราะจะมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

2.ต้องการให้รัฐบาลเปลี่ยนสถานะจากผู้ปกครอง มาเป็นผู้คิดในลักษณะกัลยาณมิตรกับนักธุรกิจ มองความเดือดร้อนของเอกชนเป็นความเดือดร้อนของรัฐบาล ไม่ควรออกกฎข้อห้ามในลักษณะที่ว่า เมื่อราคาน้ำมันที่เป็นต้นทุนหลักในการผลิตสินค้าขึ้นราคาแล้ว ห้ามผู้ประกอบการปรับขึ้นราคาสินค้าตาม

3.รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร โดยข้อมูลที่สำคัญมากที่สุด ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องภาวะตลาดการแข่งขัน แต่ยังมีเรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคและผู้ค้าในแต่ละประเทศ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการค้า การลงทุน และวางแผนธุรกิจ

ไม่ว่าพรรคไหนจะขึ้นมาเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล หากทำ 3 ข้อนี้ได้ เชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นได้ ไม่ใช่ไม่ยอมรับกติกาที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ว่าพรรคที่มีเสียงข้างมากมีสิทธิ์ในการจัดตั้งรัฐบาล แต่หากพรรคที่มีเสียงข้างมากจัดตั้งไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่พรรคที่มีคะแนนรองลงมาจะจัดตั้งรัฐบาล แต่ก็ไม่ควรตั้งกติกาว่าไม่เอา พปช. หรือ ปชป. เพราะเท่ากับว่าไม่เคารพกติกา และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของประเทศ และมีผลกับเสถียรภาพทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด

ส่วน นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย กล่าวว่า ต้องขอดูนโยบายที่ชัดเจนหลังพรรคพลังประชาชน (พปช.) เมื่อรวมกับพรรคการเมืองอื่น เพื่อร่วมจัดตั้งรัฐบาล ว่าจะออกมาอย่างไร แต่เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและผสมนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ และการเป็นพรรคใหญ่น่าจะมีข้อดีในแง่เสถียรภาพการเมือง น่าจะบริหารประเทศได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ นักธุรกิจกังวลในเรื่องการใช้นโยบายประชานิยม ควรมีการปรับปรุงบางส่วน โดยเฉพาะความรอบคอบต่อการใช้งบประมาณ จนกระทบต่อภาวะหนี้ประชาชนและประเทศชาติในอนาคต

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า พรรคการเมืองใดเข้ามาทำงานก็ได้ แต่ต้องคำนึงสิ่งแรกในเรื่องทำอย่างไรไม่ให้เกิดความแตกแยกขึ้นอีก ขณะนี้นักธุรกิจกลัวเรื่องไม่มีความสงบในประเทศมากที่สุด เพราะจะกระทบต่อเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น และการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคนที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีทัศนคติที่เป็นผู้นำ ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ผู้นำต้องสร้างความปรองดอง และสงบเสงี่ยม ต้องเปลี่ยนการพูดจาที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการสร้างความเข้าใจผิด หรือเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่

ภาพรวมเศรษฐกิจน่าจะเริ่มดีขึ้นหลังประเทศไทยจัดการเลือกตั้ง และต่างชาติมองว่าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อภาพชัดเจนและการเมืองมีเสถียรภาพ ไม่มีความขัดแย้ง และเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ การลงทุนและการค้าก็จะดีขึ้น ด้านนโยบายนั้นเห็นว่าคล้ายๆ กัน ต่างเป็นนโยบายประชานิยม เพื่อการกระตุ้นรากหญ้าและเศรษฐกิจ แต่ไม่ควรให้แต่เงิน ต้องสอนให้อยู่รอดและลดต้นทุน โดยเฉพาะประชาชนระดับกลางและรากหญ้า เพราะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

เชื่อว่าเสถียรภาพรัฐบาลคงไม่ยาวนัก จากองค์ประกอบรวมกันหลายพรรค ความหลากหลายจะทำให้แตกสลายง่ายค่อนข้างสูง รัฐบาลน่าจะมีอายุไม่เกินปีครึ่ง-2 ปี

ส่วน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เห็นว่า หากพรรคพลังประชาชน (พปช.) รวมพรรค และได้จัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และไม่เกิดความแตกแยกในภาคสังคม หรือหากจะเกิดเหตุการณ์การคัดค้านก็คงเพียงระยะเวลาสั้นๆ 1-3 เดือน เศรษฐกิจไทยก็น่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังไตรมาส 2 ของปี 2551 และขยายตัวได้ 4.5-5%

ในเรื่องของนโยบาย ประชาชนและภาคธุรกิจกำลังจับตาในเรื่องทีมเศรษฐกิจที่จะเข้ามาบริหารประเทศ ว่ามีความเหมาะสมและเร่งแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดของปัญหา คือไม่ถือว่าเป็นจุดอ่อนของ พปช. ขณะนี้ โดยประเด็นเปราะบางต่อเสถียรภาพทางการเมืองของพรรคพลังประชาชนคือ คะแนนพรรคการเมืองที่จะเข้าร่วมมีเพียงพอหรือไม่ และกระแสสังคมด้านความคิด นโยบาย หรือการนิรโทษกรรม 111 นักการเมือง ควรเป็นไปตามกระบวนการที่เหมาะสม และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศ

นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า เมื่อพรรคพลังประชาชนได้มาตามกลไกของการเลือกตั้ง และประชาชนให้คะแนนเสียงมามาก ย่อมมีความชอบธรรมต่อการจัดตั้งรัฐบาล แต่จะส่งผลดีหรือผลเสียต่อเศรษฐกิจต้องดูนโยบายหลังตั้งรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารประเทศ ภายใน 1 ปีนับจากนี้ รัฐบาลต้องพิสูจน์การทำงานและแก้ไขปัญหาในเรื่องออกมาตรการดูแลปัญหาผลกระทบจากค่าบาทแข็ง และรักษาเสถียรภาพค่าบาทไม่ให้แข็งเกินกว่าปัจจุบัน ฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพราะที่ผ่านมาลดลงมาก นโยบายดูแลสถานการณ์ราคาน้ำมันและพลังงาน ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน และการค้าระหว่างประเทศต้องใช้เชิงรุก ไม่ใช่ตั้งรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

การเมืองไทยนั้นนิ่งยาก ยังอยู่ในภาวะกดดันรุนแรงในหลายเรื่อง ไม่ว่าใครจะเข้ามาบริหารประเทศขอให้นึกถึงความสามารถปรองดอง และใช้เวลา 1 ปีบริหารงานให้เป็นรูปธรรม

ทางด้าน นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า พรรคไหนจะเป็นรัฐบาลก็คงมีค่าเหมือนกัน คือต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมาศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศไทยลดลง ขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุน จึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

ส่วนกรณีที่หลายคนเกรงว่า หากพรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลจะเกิดความวุ่นวายนั้น ก็อยากให้คนยอมรับผลการเลือกตั้ง เมื่อเลือกเข้ามาแล้วก็ต้องยอมรับ จะมาคัดค้านกันอีกก็คงไม่ไหว อยากให้รัฐบาลลองทำงานก่อนแล้วค่อยว่ากัน ส่วนเอไอเอสยืนยันว่าไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด พรรคใดเข้ามาก็ถือว่าดีหมด

ส่วน นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ใครจะได้เป็นรัฐบาลก็ถือว่าดีกว่าเดิมมาก เพราะต้องรับฟังเสียงประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่ทำอะไรสุ่มสี่สุ่มห้าเหมือนรัฐบาลที่แล้ว แต่หากเป็นพรรคพลังประชาชน แม้ว่าจะวุ่นวายบ้าง แต่ก็ถือว่าดี ต่างชาติให้ความเชื่อมั่นประเทศไทยเหมือนเดิม เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หากสามารถแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจได้ กระแสการคัดค้านอื่นๆ คงลดลงด้วย

สำหรับผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นผู้นำประเทศ ก็คงต้องปรับตัวมากขึ้น อย่างเช่นกรณี นายสมัคร สุนทรเวช คงต้องนิ่งมากขึ้น หากเป็นนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่หากจะเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ต้องเฉียบขาดมากกว่านี้ โดยรวมแม้ใครจะเป็นรัฐบาลก็เป็นไปในทางบวก เพราะแม้จะตั้งรัฐบาลได้ ก็ทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ เพราะมีการรวมกันหลายพรรค

นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า พรรคการเมืองที่อยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลผสม ควรจะคำนึงถึงเสถียรภาพของรัฐบาล เพื่อให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะนโยบายส่วนใหญ่ของพรรคการเมืองเกือบทุกพรรคจะเน้นด้านประชานิยม หากวางนโยบายใช้จ่ายด้านประชานิยมแล้วรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ก็จะทำให้การใช้จ่ายตามนโยบายเป็นการสูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ นอกจากนั้น หากรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพก็จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติด้วย

สำหรับผู้ที่จะมารับตำแหน่ง รมว.คลัง นั้น นางพรรณี กล่าวว่า สมมติว่าผู้ที่จะมารับตำแหน่งอาจไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่หากเป็นนักบริหาร ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ขึ้นกับการเลือกใช้คนให้ถูกกับงาน และมีทีมงานที่มีความสามารถ ถือเป็นสิ่งสำคัญ