WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 26, 2007

เปิดทางให้'พลังประชาชน'

การเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม เพิ่งผ่านพ้นไป โดยวันรุ่งขึ้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงยอดผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อย่างไม่เป็นทางการทั่วประเทศ จำนวน 480 คน แบ่งตามพรรคการเมืองต่างๆ ดังนี้ 1.พรรคพลังประชาชน ได้ ส.ส. 232 คน 2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส. 165 คน 3.พรรคชาติไทย ได้ ส.ส. 37 คน 4.พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส. 25 คน 5.พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ ส.ส.9 คน ส่วนอีก 12 ที่นั่งเป็นของพรรคประชาราช และพรรคมัชฌิมาธิปไตย

เหตุที่ยังไม่สามารถประกาศผลอย่างเป็นทางการได้ เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งจำเป็นต้องให้ระยะเวลาสำหรับผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง และรอเวลาในการพิจารณาการให้ "ใบเหลือง" และ "ใบแดง" ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ คณะกรรมการการเลือกตั้งคงจะทยอยประกาศรับรองผลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกมาได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือการเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีไปจัดตั้งรัฐบาล โดยมีกำหนดเวลาให้ไม่เกิน 30 วัน หลังการเลือกตั้ง

ภารกิจต่อไปทางการเมืองของประเทศไทย จึงเป็นการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารประเทศ โดยในขณะนี้ได้เกิดสูตรการจัดตั้งรัฐบาลหลายสูตร เพราะผลการเลือกตั้งที่ปรากฏออกมา ไม่มีพรรคการเมืองใดได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่า 240 คน หรือเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แม้ว่าพรรคพลังประชาชนจะมีเสียงถึง 232 เสียง แต่ก็มีกระแสข่าวออกมาอยู่เรื่อยๆ ว่าพรรคพลังประชาชนอาจจะไม่ได้เป็นรัฐบาลก็ได้ หากพรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคประชาราช และพรรคมัชฌิมาธิปไตย รวมตัวกันไปโหวตให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการปกครองที่ยึดเสียงส่วนใหญ่เป็นหลัก ดังนั้น เมื่อผลการเลือกตั้งครั้งนี้ที่มีประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 70 เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชนเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรจำนวนเกินกว่า 200 คน ย่อมแสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีเจตจำนงที่จะให้พรรคพลังประชาชนบริหารราชการแผ่นดิน โดยหวังว่าพรรคพลังประชาชนจะนำพาประเทศไทยให้พ้นจากวิกฤตความแตกร้าวขัดแย้ง ให้พ้นจากสภาพปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้า และให้พ้นจากภาวะทางสังคมที่เสื่อมทรุด

ขณะเดียวกัน พรรคพลังประชาชนเองก็ยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชนมีความเหมาะสมจะนั่งตำแหน่งผู้นำรัฐบาล โดยมีการประกาศมาตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้ง ขณะที่พรรคพลังประชาชนก็ประกาศสิ่งที่จะทำทางการเมือง 2 ประการใหญ่ๆ คือ 1.จะแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 แล้วยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่ และ 2.จะนิรโทษกรรมอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คน รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยให้พ้นผิด และสามารถกลับมาทำหน้าที่เป็นนักการเมืองได้อีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อเป็นเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ จึงไม่น่าจะมีเหตุผลอันใดที่จะไปปิดกั้นมิให้พรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และไม่น่าจะมีเหตุผลใดอีกเช่นกันที่จะปฏิเสธการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ยกเว้นแต่เพียงนายสมัครจะปฏิเสธไม่รับตำแหน่ง หรือคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนเล็งเห็นว่า นายสมัครไม่สมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีการนำเสนอรายชื่ออื่นแทน นั่นก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เมื่อผลการเลือกตั้งปรากฏออกมาเช่นนี้ กลุ่มก้อนใดที่คิดจะปฏิเสธเสียงประชามติก็ควรจะหยุดยั้ง และยอมรับผลการเลือกตั้งเสีย ปล่อยให้พรรคพลังประชาชนและนายสมัคร สุนทรเวช ได้ทำหน้าที่ตามที่ได้ลั่นวาจาและสัญญาไว้กับประชาชน โดยเฉพาะการประกาศนโยบายในหลายรูปแบบ ซึ่งพรรคพลังประชาชนมั่นใจว่าสามารถจะทำได้ เช่น การเพิ่มรายได้ 4 เท่า และการลดรายจ่ายลงอีก 4 เท่า ขณะที่พรรคการเมืองลำดับ 3 เป็นต้นไปก็ควรจะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชาชนประสบความสำเร็จ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยืนผงาดบนเวทีโลกได้อีกคำรบหนึ่ง