WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 25, 2007

ผู้แพ้ที่ไม่ยอมพ่ายชื่อ ประชาธิปัตย์

หลังการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการแล้ว พรรคพลังประชาชน เป็นฝ่ายได้ชัยชนะในการเลือกครั้งนี้ ได้รับเลือกเป็นส.ส.มากถึง 232 คน และ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกเป็นส.ส.จำนวน 165 คน

โดยมารยาททางการเมืองที่ ถือปฏิบัติกันเป็นสากลทุกประเทศทั่วโลก ก็คือ เมื่อทราบผลการลงคะแนนของประชาชนแล้ว พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่า ก็จะประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ และแสดงความยินดีกับพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนมากกว่า พร้อมทั้งสนับสนุนให้จัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศชาติ ต่อไป

กรณีการแข่งขันระหว่าง อัลกอร์ พรรคเดโมแครต กับ จอร์ ดับเบิลยู บุช พรรครีพับลิกัน เมื่อ ปี 2001 ถึงแม้จะมีผลต่างของคะแนนเพียงเล็กน้อย และมีข้อสงสัยว่าการนับคะแนนมีความผิดพลาดหรือไม่ แต่เมื่อมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ อัลกอร์ ก็ประกาศยอมรับการตัดสินใจของประชาชน ยอมรับความพ่ายแพ้ และแสดงความยินดีกับจอร์จ ดับเบิลยู บุช พร้อมทั้งกล่าวว่าการแข่งขันได้สิ้นสุดลงแล้ว พร้อมจะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เข้าบริหารประเทศ ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

เมื่อเปรียบเทียบมาถึงประเทศไทย ผู้แพ้อย่างพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากจะไม่แสดงอาการยอมรับความพ่ายแพ้กับผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของประ ชาชนเสียงส่วนใหญ่แล้ว ยังแสดงอาการประหนึ่งว่าเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะด้วยซ้ำไป เมื่อได้ทราบว่าพรรคพลังประชาชน ได้คะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส.ทั้งหมด คือ 240 เสียง ทั้งๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้จำนวนส.ส.น้อยกว่าพรรคพลังประชาชน 60 กว่าคน

คำแถลงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงให้เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่ยอมแพ้ แม้ว่าจะได้รับความไว้วางใจจากประชาชน น้อยกว่าพรรคพลังประชาชน มากกว่า 60 เสียง แต่ก็ยังแสดงออกอย่างเปิดเผยว่า จะพยายามจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีความพยามที่จะดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนจะรู้ผลการเลือกตั้งด้วยซ้ำไป โดยการล็อกพรรคการเมืองต่างๆ ไม่ให้ไปร่วมจัดรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน สะท้อนถึงการไม่ยอมรับกติกาประชาธิปไตย ไม่ยอมรับมติของประชาชน ไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน

นอกจากจะไม่แถลงยอมรับความพ่ายแพ้ อันเกิดจากการตัดสินของประชาชนแล้ว นายอภิสิทธิ์ ยังแสดงท่าทีเย้ยหยันพรรคพลังประชาชน ว่า “เป็นเรื่องที่น่าอายหากว่าพรรคพลังประชาชนซึ่งได้จำนวนส.ส.มากที่สุด ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้” แต่กลับปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนน้อยกว่า จะจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชาชน เป็นเรื่องที่น่าอายหรือไม่

ในขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พยายามที่จะนำเสนอตรรกะแบบเข้าข้างตัวเอง ว่า “การที่พรรคพลังประชาชนได้ส.ส.ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง แสดงว่าประชาชนไม่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล” แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะตอบว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับความไว้วางใจน้อยกว่าพรรคพลังประชาชน เป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์ จัดตั้งรัฐบาล อย่างนั้นหรือ จึงมีความคิดและความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชาชน ที่ได้ส.ส.มากกว่าถึง 60 กว่าคน

เป็นที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งจนแทบไม่น่าเชื่อว่าอายุ 61 ปี ของการดำเนินการทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้เป็นระยะเวลาอันยาวนานมากพอที่จะทำให้สมา ชิกพรรคประชาธิปัตย์ เรียนรู้และเคารพกติกาประชาธิปไตย มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และรู้จักมารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมการเมือง ที่จะต้องยอมรับการตัดสินของประชาชน ซึ่งเป็นการตัดสินที่สำคัญที่สุดที่นักการเมืองทุกคน พรรคการเมืองทุกพรรค ทั่วโลกต้องยอมรับ

ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ หลังทราบผลการลงคะแนนเสียงของประชาชนอย่างเป็นทางการแล้ว ไม่ได้บ่งบอกเลยว่า พรรคประชาธิปัตย์ “แพ้เป็น” ตรงกันข้ามกลับเป็นท่าทีอาการของคนไม่ยอมแพ้ มากกว่า นอกจากไม่ยอมแพ้ แล้ว ยังมีพฤติกรรมไม่แตกต่างจากผู้ไม่ยอม รับกฎกติกาประชาธิปไตย อีกด้วย

ภาพลักษณ์ของการเมืองไทยจะสวยงามอย่างยิ่ง ความตึงเครียด และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นมายาวนานกว่า 2 ปีของประเทศไทย และการเมืองไทย จะคลี่คลายมลายหายไปและยุติลงทันที หากว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ และสนับสนุนให้พรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ให้กับพรรคความหวังใหม่ และไม่จัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ทั้งๆ ที่แพ้ให้แก่พรรคความหวังใหม่ เพียง 2 เสียงเท่านั้น

แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์แพ้ต่อพรรคพลังประชาชนมากกว่า 60 เสียง แต่นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ กลับไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ และประกาศจัดตั้งรัฐบาลแข่งทันที โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนเสียงส่วนใหญ่ที่ได้ไปลงคะแนนเลือกตั้งและมอบความไว้วางใจให้แก่พรรคพลังประชาชนมากกว่าพรรคประ ชาธิปัตย์ ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองไทย ยังคงอยู่ในภาวะตึงเครียด และอยู่ในวิกฤติต่อไป อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีปัจจัยแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย

หากพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงดึงดัน ไม่ยินยอมน้อมรับความพ่ายแพ้ และไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน เช่นที่กำลังกระทำอยู่ในขณะนี้ ก็จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองใหม่เกิดขึ้นแก่การเมืองไทย ที่เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และความไว้วางใจที่ประชาชนมอบให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นผู้บริหารประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย และต้องยอมให้แก่ระบบพวกมากลากไป ที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังสร้างขึ้นในขณะนี้

เสียงของประชาชน จะมีความหมายได้อย่างไร หากว่าพรรคการเมืองไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน และยังคงแสดงพฤติกรรมต่อต้าน ท้าทายเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนเช่นที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังกระทำอยู่ในขณะนี้

พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ แสดงให้เห็นว่าพรรคการเมืองพรรคนี้ เป็นพรรคการเมืองที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่ากฎเกณฑ์กติกา และมารยาททางสังคม ตลอดจนผลประโยชน์ของประเทศชาติ และการดำรงอยู่ของระบบและความถูกต้องที่สืบทอดกันมากว่า 75 ปีของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในประเทศไทย

ถึงแม้จะไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ ไม่แสดงความยินดีกับผู้ชนะที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุด ไม่ยอมรับมติของประชาชนเสียงส่วนใหญ่ ไม่หยุดที่จะจัดรัฐบาลแข่ง ไม่เลิกราที่จะเอาชนะคะคานกัน โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ความดีงาม และประโยชน์ของส่วนรวม และมารยาททางการเมือง

แต่อย่างน้อยพรรคประชาธิปัตย์ ก็ควรจะมีสำนึกละอายแก่ใจบ้าง ว่า เมื่อประชาชนไม่ไว้วางใจให้เป็นรัฐบาล แล้ว แม้นว่าจัดตั้งรัฐบาลได้จริง ก็ไม่อาจจะบริหารประเทศได้ และจะนำการเมืองไทยเข้าสู่วิกฤติอีกครั้ง เพราะพรรคการเมืองที่ไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน พรรคการเมืองที่ประชาชนเสียงส่วนใหญ่ ไม่ต้องการให้มาบริหารประเทศ จะไม่มีวันเป็นรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ได้ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยประสบกับสถานการณ์นี้มาแล้ว ในกรณี สปก. 4-01 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ต้องหนีการลงมติไว้วางใจ ด้วยการยุบสภา เพราะไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน นั่นเอง

พรรคประชาธิปัตย์ อาจจะเป็นพรรคการเมืองที่เก่งและมีความสามารถมากมายหลายเรื่อง ทั้ง ด้านดีและร้าย ทั้งทางเทพและทางมาร แต่สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่มี และควรจะเริ่มต้นฝึกหัดให้มี ก็คือ มารยาททางการเมือง และ การแพ้เป็น

เพราะ ผู้ที่แพ้ไม่เป็น จะไม่มีวันที่จะพบกับคำว่าชัยชนะ ตลอดไป

เพราะ หลังจากแพ้เลือกตั้ง แล้ว ก็จะต้องแพ้ในการแข่งขันจัดตั้งรัฐบาล อีก

เพราะ จะเป็นการพ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แพ้อย่างที่ยังมองไม่เห็นโอกาสแห่งชัยชนะ

เพราะ นี่คือการพ่ายแพ้ครั้งที่ 5 ติดต่อกันของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง นับแต่ ปี 2538 เป็นต้นมา

เพราะ นี่คือพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศไทย ไม่เคยให้ความไว้วางใจเป็นผู้บริหารประเทศ อย่างน้อยก็เป็นเวลายาวนานต่อเนื่องกัน 12 ปี

เพราะ นี่คือผลของการ “แพ้ไม่เป็น” และ “ไม่ยอมแพ้” จึงทำให้ไม่เคยพบกับคำว่าชัยชนะ

เพราะ นี่คือผลของการไม่รู้จักแพ้ ไม่รู้จักชนะ และไม่รู้จักอภัย ของพรรคการเมืองที่ชื่อว่า ประชาธิปัตย์

จาก ประดาบ