WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 26, 2007

คณบดีนิติศาสตร์ มช.ชี้คนนอกพรรคการเมืองงุบงิบตั้งรัฐบาลคือการตบหน้าประชาชน

เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ให้สัมภาษณ์ช่วงข่าวภาคเที่ยงทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ถึงสถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง 23 ธ.ค. 2550


โดย ผศ.สมชาย เห็นว่ารัฐบาลที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งจะเป็นรัฐบาลผสม แต่หากรวมพรรคการเมืองได้เสียงข้างมากแบบปริ่มๆ คือระหว่าง 240-270 ที่นั่ง คงไม่เกิดเสถียรภาพ คงต้องมีเสียงมากกว่านั้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในรัฐบาล และไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบที่พรรค พปช. หรือ ปชป. เป็นพรรครัฐบาลต้องเผชิญปัญหาสามเรื่อง คือ


หนึ่ง รัฐบาลผสม ต้องมีการพิจารณาตำแหน่งรัฐมนตรีให้พรรคอื่นมาก ยิ่งมีพรรคร่วมรัฐบาลมากพรรคยิ่งมีปัญหามาก สอง การเลือกตั้งครั้งนี้ ตั้งอยู่ฐานเสียงทางสังคมการเมืองที่แบ่งเป็นสองฝ่ายชัดเจน ไม่ว่าฝ่ายใดขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็จะมีฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ สาม รัฐบาลที่เกิดขึ้นอาจทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันตัดแขนขาพรรคการเมืองเยอะ ทำให้พรรคการเมืองอยู่ภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตย ดังนั้นแม้เสียงของรัฐบาลจะมั่นคงแต่ก็อาจจะไม่สามารถผลักดันนโยบายที่ได้นำเสนอไว้กับประชาชนในการเลือก รัฐบาลไม่ว่าจะโดยพรรคใดเป็นแกนนำก็ก็จะต้องเผชิญกับสามปัญหานี้


ผู้สื่อข่าวถามว่าถ้าเป็นคนฟอร์มรัฐบาลจะมีรูปแบบอย่างไร ผศ.สมชาย ตอบว่า สมมติว่าหากผมจะจัดตั้งรัฐบาล คงออกแบบให้มีพรรคร่วมรัฐบาลน้อยที่สุด และมีเสียงมากอยู่พอสมควร นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลผสมปรารถนามากที่สุด แต่ถ้ารัฐบาลผสม มีพรรคร่วมรัฐบาลมาก จะยิ่งมีโอกาสล่มสูงมาก


ผู้สื่อข่าวถามว่าตามที่หลายฝ่ายกังวลว่าหากพรรคพลังประชาชนสามารถตั้งรัฐบาลจะเกิดความวุ่นวายนั้น อาจารย์จะอธิบายทางวิชาการอย่างไร ผศ.สมชายตอบว่า การเลือกตั้งเป็นการแข่งขันเชิงนโยบาย พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมมากจะได้รับเสียงข้างมาก และที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าก็จะได้รับเสียงน้อยรองลงมา ดังนั้น การที่เกรงว่าพรรคพลังประชาชนได้รับการเลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะวุ่นวายนั้น ตรงกันข้ามการที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้เสียงรองลงมาได้ตั้งรัฐบาล แล้วคนที่ลงคะแนนให้พลังประชาชนก็มีเยอะไม่ใช่หรือครับ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราน่าจะจับตามองคือ ใครจะรวมกับใคร ทั้งหมดควรจะรวมโดยเปิดเผยและโปร่งใส


การที่ประชาชนไปหย่อนบัตร แล้วพรรคการเมืองมางุบงิบกับคนอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจนอกระบบมางุบงิบตั้งรัฐบาล ถือว่าเป็นตบหน้าประชาชน


รัฐบาลชุดที่เข้ามาหลังการเลือกตั้งมีสองเรื่องที่ต้องคิดถึงอย่างมาก คือหนึ่งเศรษฐกิจ ที่มีหลายเรื่องรุมเร้า เช่น ราคาน้ำมัน อีกเรื่องที่สำคัญคือจะทำอย่างไรให้เกิดระบบการเมืองที่ได้รับการยอมรับกว้างขวาง การเลือกตั้งครั้งนี้ หลังเลือกตั้งก็วุ่นวายในการจัดตั้งรัฐบาล ผมเตือนว่ามันเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ผมคิดว่าเราต้องคิดถึงเรื่องนี้ ในการสร้างระบบการเมืองที่จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นฉบับที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคมไทย จะทำให้ประชาธิปไตยกับคืนสู่สังคมไทยอย่างมั่นคงขึ้น


ผู้สื่อข่าวถามว่าเกรงว่าจะเกิดการรัฐประหารซ้ำอีกหรือไม่ ผศ.สมชาย ตอบว่าผมคิดว่าการพูดถึงการปฏิวัติซ้ำ จะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นอีกนั้น คงบอกได้อย่างหนึ่งว่าปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าข้ออ้างในการรัฐประหาร น่าจะตอบชัดเจนแล้วว่าล้มเหลว ทีว่ารัฐประหารเพื่อแก้ไขขัดแย้ง ความแตกแยก จริงๆ แล้วผมคิดว่าวันนี้คือวันที่ต่อจาก 19 ก.ย. 2549 การยึดอำนาจที่ผ่านมาไม่ได้ช่วยทำให้อะไรดีขึ้นเลย จนในที่สุดเราก็กลับเข้าสู่กติกาการเลือกตั้งเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ บนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่แม้จะยังไม่สมบูรณ์ก็ตาม


ใครทำรัฐประหารคิดอย่างไรผมไม่รู้ แต่ผมจะบอกว่ารัฐประหารไม่แก้ไขปัญหาอะไรเลย และจะทำให้ปัญหาของสังคมไทยยุ่งยากมากขึ้นไปอีกผศ.สมชายกล่าวในที่สุด


จาก http://www.prachatai.com/