WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 29, 2007

วีรบุรุษหลงสนาม



พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร รองปลัดกระทรวงกลาโหม และรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กลายเป็นที่รู้จัก และสนใจของผู้คนขึ้นมา ก็เมื่อหนังสือ พิมพ์ลงข่าวว่าเขาเรียกตัวเองว่า วีรบุรุษ

วีรบุรุษ ในความหมายของ พล.อ.สพรั่ง ไม่ใช่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงตายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

แต่หมายถึงตัวเขาเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องตอบคำถามกับนักข่าวในเรื่องที่ ถูกโจมตีว่า เขาเบิกงบราชการไปสูงถึง 7.2 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ นำบอร์ด 13 คน พร้อมลูกเมีย รวมถึงครอบครัวตัวเอง เดินทางไปดูงานด้าน การรักษาความปลอดภัย และการแบ่งการจราจรทางอากาศระหว่างท่าอากาศยานในประเทศ กับท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่เยอรมนี และอังกฤษ หลังจากที่เพิ่งจะเข้าไปเป็นประธานบอร์ดบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้เพียงไม่กี่เดือน

ในขณะที่ผู้บริหารสนามบินที่ถูกอ้างถึงไม่ได้อนุญาตให้พวกเขาเข้าไป เสาะแสวงหาข้อมูลตามที่ต้องการ หรือแม้แต่ในกรณีที่จะขอไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า ก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิมีการลอกเลียนแบบสนามบินจากประเทศเยอรมนีมาจริง หรือไม่

ความเป็นคนพูดจาโผงผาง และออกจะมีบุคลิกพิเศษของ พล.อ.สพรั่ง ดึงดูดให้ สื่อมวลชน และผู้คนทั่วไปต้องหันมาให้ความสนใจในตัวเขา และงานที่เขาทำมากขึ้น เมื่อเขาได้ แต่งตั้งผู้คนจำนวนมากเข้าไปเป็นคณะทำงาน และที่ปรึกษา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นบอร์ด ทอท. หรือบอร์ดบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่เขานั่งเป็นประธานอีกตำแหน่ง แต่ละบอร์ดล้วนแต่มีวาระต้องดำเนินการตามธงที่ได้ตั้งไว้หลายเรื่องด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า พล.อ.สพรั่ง และบอร์ดทั้งหมดจะดูกระตือรือร้นกับงานในภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ทำอย่าง ไร แต่ผลการดำเนินงานของ ทอท. และทีโอที กลับออกมาในทางตรงกันข้าม

เส้นกราฟที่น่าจะวิ่งฉิวขึ้นไปสร้างสถิติใหม่ กลับดิ่งลงตามลำดับจากต้นปีจนถึงปลายปี

ว่าแต่เป็นเพราะอะไร? ทีมเศรษฐกิจ ขออนุญาตประเมินภาพรวม และผลงานในแต่ละด้านเป็นอนุสนธิว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อรัฐวิสาหกิจต้องกลับไปอยู่ในมือทหาร หรือในมือของผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกิจการนั้นๆ เหมือนเมื่อยี่สิบปีก่อน...ผลที่ได้จะเป็นเช่นไร

ขยันฟันเบี้ยประชุมแห่งปี

อย่างที่เกริ่นไว้แต่ต้นว่า นอกจากจะแต่งตั้งบุคคลจำนวนมากเข้าไปเป็นคณะทำงานในบอร์ด ทอท. และบอร์ดทีโอที แล้ว พล.อ.สพรั่ง ยังแต่งตั้ง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหม และประธานกรรมาธิการคมนาคม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) “เพื่อนรัก” เข้าไปทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาประธานบอร์ด มีอำนาจเรียกตรวจสอบ และสั่งการกำกับดูแลกิจการภายในของ ทอท.แทนประธานบอร์ดได้ด้วย

ที่ ทอท.นับแต่วันที่ พล.อ.สพรั่งเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 17 พ.ย. 2549 พบว่า บอร์ด 15 คน ประชุมกันจนถึงวันที่ 17 ธ.ค. 2550 รวมแล้วกว่า 43-45 ครั้ง เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือเดือนละ 4 ครั้ง จากเดิมที่เคยมีการประชุมกันเดือนละครั้งเฉลี่ยทั้งปี 12-14 ครั้ง

ทั้งนี้ ทอท.จะต้องจ่ายค่าตอบแทนบอร์ดเป็นรายเดือน คนละ 20,000 บาท บวกค่าเบี้ยประชุมที่ขอปรับขึ้นอีกคนละ 15,000 บาทต่อครั้ง หากประชุมกันถี่ ทอท.ก็ต้องจ่ายถี่ จึงมีการทำข้อตกลงกันว่า ถ้าประชุมเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน ให้จ่ายค่าเบี้ยประชุมแค่เบี้ยประชุมเพียง 2 ครั้ง บอร์ดแต่ละคนจึงได้เงินเดือนรวมเบี้ยประชุมกันเดือนละ 50,000-60,000 บาท

15 คน ทอท.ต้องจ่ายเดือนละ 750,000-900,000 บาท

ยังไม่นับคณะทำงานด้านต่างๆที่แต่งตั้งกันเข้ามาอีกกว่า 5-6 คณะ และคณะอนุกรรมการทั้งจากคนในบอร์ด และคนนอกที่เข้ามาทำหน้าที่กลั่นกรองเรื่องต่างๆให้อีก 10-20 ชุด คนเหล่านี้มีค่าเบี้ยประชุมเฉลี่ยคนละ 3,000-5,000 บาทต่อการประชุมแต่ละครั้ง แต่ละเดือนมีการประชุม 2 ครั้ง คนเหล่านี้ก็จะได้ค่าตอบแทนอีก เฉลี่ยเดือนละ 6,000-10,000 บาท

ล่าสุด บอร์ดยังได้มีมติให้จ่ายเงินรางวัลหรือโบนัสแก่ตัวเองอีกคนละ 216,000 บาท เฉพาะประธานบอร์ดตั้งได้เพิ่มอีก 25% ก็จะตก 270,000 บาท ขณะ ที่รองประธานได้ 243,000 บาท ถ้านับรวมปี 2549 ที่เพิ่งเข้าไปนั่งเก้าอี้ได้ไม่นาน

ถ้าปี 2550 ทอท.มีรายได้ และกำไรดีเหมือนปี 2549 บอร์ดก็คงจะได้รับเงินรางวัลไปเต็มๆคนละ 1,200,000 บาท

เช่นเดียวกับบอร์ดทีโอทีที่ พล.อ.สพรั่งเรียกประชุมบอร์ดถี่ยิบไม่แพ้กันรวม 40 ครั้งใน 10 เดือน นับตั้งแต่เข้าไปรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2550 หรือเฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง ครั้งละ 10,000 บาท ตกเดือนละ 40,000 บาท ยัง ไม่นับคณะกรรม- การย่อยที่บอร์ด แต่ละคนเข้าไปร่วมเป็นกรรมการด้วยอีก 5 ชุด แต่ละชุดได้เบี้ย ประชุมครั้งละ 10,000 บาท ประชุมกัน5 ครั้งใน 1 เดือน ก็ตก 50,000 บาท

ทีนี้ถ้ารวมกับการประชุมบอร์ดชุดใหญ่ด้วย บอร์ดแต่ละคนอาจ มีรายได้เหยียบเดือนละถึง100,000บาท

ชำเราสนามบินสุวรรณภูมิ

กลับมาที่ผลงานของบอร์ด ทอท.ที่ทำงานกันอย่างหัวปัก หัวปํา แต่สิ่งที่ได้รับนับแต่เริ่มภารกิจแรกของ พล.อ.สพรั่ง และบอร์ดที่เขาแต่งตั้งเข้าไป ก็คือ มีมติให้สัญญาสัมปทานที่ทำกับคิงเพาเวอร์ทั้งในส่วนที่ให้บริหารพื้นที่ เชิงพาณิชย์ และร้านค้าปลอดภาษี เป็นโมฆะ!

หลังจากนั้นก็ปฏิเสธไม่ยอมมีนิติ สัมพันธ์ใดๆ นับตั้งแต่ ไม่ยอมต่ออายุบัตรเข้า-ออกให้แก่เจ้าหน้าที่สาขาธนาคารไทยพาณิชย์ และทหารไทยที่ได้พื้นที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ รวม ถึงพนักงานร้านค้าทั้งหมด พร้อมปฏิเสธไม่ยอมรับรายได้ ค่าเช่ารายเดือนที่คิงเพาเวอร์จัดเก็บจากร้านค้าไปส่งมอบให้

ในขณะที่สัญญาสัมปทานซึ่งมีอายุ 10 ปีดังกล่าว ระบุผลตอบแทนขั้นต่ำที่จะ ได้รับจากร้านค้าปลอดภาษี รวมตลอดสัญญา 16,700 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งผลตอบแทนจากรายได้ในอัตรา 15-20% โดยคิงเพาเวอร์ได้ชำระค่าสัมปทานล่วงหน้าไปแล้ว 2 ปี เป็นเงิน 2,500 ล้านบาท

ส่วนสัญญาบริหารพื้นที่ร้านค้าเชิงพาณิชย์อายุ 10 ปี ระบุผลตอบแทนขั้นต่ำต่อปี เป็นเงิน 1,400 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งผลประโยชน์อีก 15% ของรายได้ โดยสัญญานี้ คิงเพาเวอร์ได้ชำระค่าสัมปทานล่วงหน้าไปแล้ว 2,000 ล้านบาทเช่นกัน ประเมินมูลค่าผลตอบแทนโดยรวมในระยะ 10 ปีไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท

ตามด้วยการฮาราคีรีตัวเองอีกครั้งด้วยการประกาศฉีกสัญญาสัมปทานที่ทอท. มอบให้แก่คิงเพาเวอร์ จนเป็นผลให้คิงเพาเวอร์ต้องนำเรื่องขึ้นฟ้องร้องต่อศาลของความเป็นธรรมต่อ ศาลแพ่ง พร้อมเรียกค่าเสียหายกับ ทอท.เป็นมูลค่าสูงถึง 68,000 ล้านบาท

ผลจากการไม่ยอมรับรู้รายได้ ทำให้ฐานะการเงินของ ทอท.ประสบภาวะขาดสภาพคล่องกำไรสุทธิในปี 2550 ลดลงอย่างฮวบฮาบจากปี 2549 ที่มีกำไรกว่า 9,379 ล้านบาท เหลือ เพียง 1,094 ล้านบาท

ในขณะที่รายได้ซึ่งควรจะได้จากหลายทาง เช่น ค่าเช่าพื้นที่ภายในศูนย์ขนส่งสาธารณะเพื่อสร้างช็อปปิ้ง มอลล์ รวมตลอดถึงค่าเช่าอาคารสำนักงาน และคลังสินค้า และค่าเช่าโครงข่ายระบบโทรคมนาคม ที่ควรจะบริหารจัดการรายได้อย่างเต็มรูปแบบ และจัดเก็บจากผู้ประกอบการรายอื่นๆได้

ก็กลับไม่ได้มีการจัดเก็บ หรือติดตามให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแก่ ทอท.อย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วย แต่กลับปล่อยทิ้งค้างไว้ให้เป็นภาระในอนาคต แทนที่จะเปิดให้รายอื่นที่มีศักยภาพกว่าเข้าไปเช่าพื้นที่ทำธุรกิจต่างๆ เหล่านั้นแทน

แปลว่า รายได้หลักก็ไม่เอา รายได้รองก็ไม่มีปัญญาจัดเก็บ!

นี่ยังไม่นับความพยายามบอร์ดของ พล.อ.สพรั่ง บอร์ดและที่ปรึกษาร่วมมือกันก่อการร้าย และกระทำชำเราสนามบินสุวรรณภูมิด้วยกรรมวิธีต่างๆ

ตั้งแต่กล่าวหาว่า การก่อสร้างสนามบินมูลค่ากว่า 130,000 ล้านบาท ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล และกฎของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) มีการทุจริตกันอย่างมโหฬาร จนเป็นเหตุให้รันเวย์ร้าว แท็กซี่เวย์ทรุดตัว หลังคา รั่ว ร้านค้าเกะกะทางเดิน ตลอดจนถึงเครื่องตรวจระเบิดไม่ทำงาน และสายการบินโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ไม่ประสงค์จะลงจอด

ขณะที่ส้วมในอาคารยังสกปรก และมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอรองรับผู้คนที่แห่ไปเยี่ยมชมสนาม บินหลายหมื่นคนในช่วงเปิดสนามบินแรกๆได้ ไม่เท่านั้น ยังมีการตามไปข่มขู่จะยกเลิกสัญญาบริหารโรงแรมโนโวเทลในสนามบิน

กระทั่งถึงการข่มขู่ว่า จะเปลี่ยนบริษัทรักษาความปลอดภัยในสนามบิน แต่จนแล้วจนรอด ก็กลับต่อสัญญาให้บริษัทเดิมออกไปอีก 5 ปี แถมยังเพิ่มกะของ รปภ.ให้ได้รับเงินมากขึ้นด้วย เป็นต้น

ไม่ใช่แต่เท่านี้ บอร์ด รวมถึงที่ปรึกษาประธานบอร์ด ยังผลักดันให้ ครม.มีมติให้เปิดใช้สนามบินดอนเมือง เป็นสนามบินคู่แฝด เพื่อให้เครื่องบินที่มีเส้นทางบินในประเทศ และสายการบินต้นทุนต่ำสามารถลดต้นทุนการบินมาใช้สนามบินดอนเมืองได้ ก่อนจะเตรียมการผลักดันให้เปิดดอนเมืองเป็นสนามบินนานาชาติ แข่งกับสุวรรณภูมิอีกครั้งในเวลาต่อมา

ยึดคืนสัมปทานโทรคมนาคม

หันมาดูทีโอที ที่ พล.อ.สพรั่ง นั่งเป็นประธานบอร์ดอยู่ หลังจากที่เข้าไปรับตำแหน่ง ในวันที่ 6 ก.พ. 2550 พล.อ.สพรั่งได้นำเสนอยุทธศาสตร์การผนวกรวมโครงข่ายสื่อสารทุกระบบเข้าด้วย กัน เรียกชื่อสั้นๆว่า “เทเลคอมพูล” ครั้งนั้น พล.อ.สพรั่งมองว่าโครงข่าย โทรคมนาคมเป็นเรื่องของความมั่นคง ไม่ควรจะตกไปอยู่ในมือเอกชน หากแต่ควรเป็น ของรัฐ จึงคิดจะเอาโครงข่ายที่มีอยู่ทั้งหมดกลับมารวมไว้ในที่เดียวกันยังทีโอที ตามเดิม

ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้หมายความว่า สัมปทานมือถือของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่ายของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เครือข่ายของบริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค จะต้องถูกดึงกลับคืนมาเป็นของรัฐ

แม้สัญญาสัมปทานเหล่านี้จะยังไม่หมดอายุ แต่ พล.อ.สพรั่งก็คิดว่า อย่างไรเสียก็ต้องหมดสัญญาอยู่ดี จึงไม่ต่างตรงไหน ถ้าจะดึงกลับคืนมาก่อน

นี่ไม่เฉพาะแต่สัมปทานมือถือเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปจนถึงสัมปทาน โทรศัพท์พื้นฐานที่ให้แก่บริษัททรู และทีทีแอนด์ทีไปทำด้วย

ว่าแต่ยุทธศาสตร์นี้มีอันต้องคว้าน้ำเหลว เพราะไม่มีเอกชนรายใดเห็นด้วย ที่แน่ๆ พล.อ.สพรั่งและบอร์ด อาจถูกเอกชนเหล่านี้ยื่นฟ้องต่อศาลได้ เช่นเดียวกับที่ถูกคิงเพาเวอร์ฟ้องมาแล้ว

อีกผลงานก็คือ โครงการจ้างเหมาติดตั้งอุปกรณ์ชุมสายเพื่อรองรับการให้บริการ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) มูลค่า 976 ล้านบาท ซึ่งเสนอให้มีการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ และเป็นรายการที่ พล.อ.สพรั่งขอมา ภายใต้ข้ออ้างเพื่อความมั่นคง และความจำเป็นเร่งด่วนที่จะนำไปใช้ในภาคใต้ เช่นเดียวกับที่ขอเครื่องซีทีเอ็กซ์ จากสุวรรณภูมิไปใช้ตรวจระเบิดที่ภาคใต้นั่นแหละ!!

จริงๆเดิมทีหน่วยข่าวกรองทางทหารได้ขอบริจาคเงินจากทีโอทีเพื่อ จัดซื้อ อุปกรณ์ดังกล่าว ถูกโจมตีมากว่า ทีโอทีมีกำไรเพียงปีละ 1,000 ล้านบาท ไม่สมควรจะบริจาคเงินในวงเงินที่สูงขนาดนั้นแก่ทหารได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม บอร์ดก็ยังคงยืนกรานต้องการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวให้ จึงมีมติให้ทีโอทีจัด

ซื้อโดยวิธีพิเศษโดยการเปิดเจรจากับเอกชนเป็นการด่วน และตกลงจ้างเหมาไปเป็นเงินทั้งสิ้น 860 ล้านบาท

ผลงานของ พล.อ.สพรั่ง และบอร์ดทีโอที ยังไม่จบเท่านี้ หากแต่ในวันที่ 16 พ.ย. 2550 บอร์ดยังมีมติให้ทีโอทียื่นฟ้องร้องศาลแพ่งเรียกค่าเสียหายกรณีที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดีแทค และทรูมูฟ ได้หยุดจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (Access charge) ในแบบเก่า ซึ่งเป็นการจ่ายในลักษณะที่ กสท และเอกชน เป็นผู้จ่ายอยู่ฝ่ายเดียว เพื่อจะไปจ่ายค่าเชื่อม โยงในแบบใหม่ (Interconnection charge) ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการทุกรายเปลี่ยนระบบมาใช้ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายที่ให้ ทั้ง ทีโอที กสท และเอกชน ต่างคนต่างจ่ายเมื่อโทร.เข้าหากัน ทั้งยังจ่ายในราคาที่ต่ำกว่าเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคด้วย

แต่เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายดังกล่าว ทำให้ ทีโอทีสูญรายได้ในช่วงปี 2550 ไปเป็นจำนวนถึง 14,000 ล้านบาท

ขณะที่รายได้จากการให้บริการของทีโอที มีแนวโน้มจะลดลงตามลำดับด้วยเหตุที่คุณภาพการให้บริการต่ำ ไม่มีเลขหมายใหม่ๆเพิ่มแก่ลูกค้า อีกทั้งผู้บริโภคยังหันไปใช้บริการโทรศัพท์มือถือของเอกชนเพิ่มขึ้น ทำให้ทีโอทีต้องดิ้นทุกทางเพื่อให้รายได้ของตนกลับมา ขณะเดียวกันก็เพื่อจะรักษาสถานภาพของตนไว้ให้ได้ด้วย

หลังเลือกตั้ง และมีรัฐบาลใหม่เข้ามา เราต่างก็หวังว่า พล.อ.สพรั่ง และบอร์ดที่เขากอดคอเข้ามาด้วยกันในรัฐวิสาหกิจสำคัญข้างต้นนี้ จะเก็บกระเป๋ากลับบ้านไปด้วยดี หลังจากที่ “หลงสนาม” มานานเต็มทนแล้ว.


จาก ไทยรัฐ 29/12/50