WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 16, 2008

น้ำดีกลายพันธุ์ หรือ คานอำนาจมาร [16 มี.ค. 51 - 00:04]

วุฒิสภาชุดใหม่ เริ่มเดินเครื่องทำงานเต็มรูปแบบแล้ว

โดยในการประชุม วุฒิสภา นัด แรกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่ประชุมได้ประเดิมงานแรก ด้วยการเลือกประธาน และ รองประธานวุฒิสภา

ผลปรากฏว่า นายประสพสุข บุญเดช ส.ว.สรรหา ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ประธานวุฒิสภา

โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทรา และนางทัศนาบุญทอง ส.ว.สรรหา เป็นรองประธานวุฒิสภา

สำหรับอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาชุดนี้ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายที่ผ่าน ความเห็นชอบจากสภา ผู้แทนราษฎรแล้ว

รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดให้วุฒิสภามีบทบาทหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบ ถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ

รวมไปถึงมีอำนาจหน้าที่ในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ ี่ในองค์กรอิสระต่างๆ และองค์กรอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ

ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชน แห่งชาติ

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ตุลาการศาลปกครอง

รวมทั้งยังให้วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองและ ข้าราชการระดับสูง

ไล่ตั้งแต่ นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธาน ศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด

ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิด ปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ มีพฤติกรรมส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

มีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหรือไ ม่ปฏิบัติตาม มาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

ใครออกนอกลู่นอกทาง วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนได้

ชัดเจนว่า วุฒิสภามีบทบาทและมีอำนาจมาก

เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะสามารถให้คุณให้ โทษกับผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูงได้

สำหรับที่มาของวุฒิสภาชุดนี้ แตกต่างไปจากวุฒิสภาชุดที่ผ่านมา

เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. จำนวน 150 คน โดยให้มีที่มาจาก 2 ระบบ

ส่วนแรก คือ ส.ว.ที่มาจากจากสรรหา จำนวน 74 คน

โดยกระบวนการในการสรรหา กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ที่ประกอบ ด้วย

ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย และตุลาการในศาล ปกครองสูงสุด ที่ที่ประชุมใหญ่ในตุลาการศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย

รวมเป็น 7 อรหันต์ทองคำ

ดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ทั้งใน ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ

คัดสรรให้เหลือ 74 คน เข้ามาเป็น ส.ว.ระบบสรรหา

อีกส่วนหนึ่ง ก็คือ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน

โดยรัฐธรรมนูญมีการกำหนดคุณสมบัติข้อห้ามในการลงสมัครเลือกตั้ง ไว้อย่าง เข้มข้น นั่นก็คือ

ห้าม พ่อ แม่ คู่สมรส และบุตร ของบรรดา ส.ส.และผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการ เมืองลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.

รวมทั้งห้ามบุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคหรือมีตำแหน่งอยู่ในพรรค การเมืองลงสมัคร เว้นแต่ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วเกิน 5 ปี

การที่รัฐธรรมนูญต้องกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติข้อห้ามของผู้สมัคร ส.ว. เอาไว้อย่างเข้มข้น

ก็เพื่อเป็นการปิดช่อง แก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในวุฒิสภาชุดก่อนที่ถูก วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น

“สภาผัวเมีย”

ที่สำคัญ การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ว.มีที่มาจาก 2 ระบบ คือ มาจากการเลือก ตั้งและการสรรหา ผสมกัน

ก็เพราะต้องการป้องกันไม่ให้วุฒิสภาตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง เหมือนใน อดีตที่ผ่านมา

จากจุดนี้ทำให้วุฒิสภาชุดปัจจุบัน มีสภาพเป็น “วุฒิสภาลูกผสม”

มีทั้ง ส.ว.ที่มาจากการสรรหาและ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง เข้ามาทำงาน ร่วมกันฝ่ายละครึ่งต่อครึ่ง

ทำให้กลายเป็นประเด็นถกเถียงตั้งแง่ใส่กัน

ฝ่าย ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งก็อ้างศักดิ์ศรีว่าเป็นตัวแทนของประชาชน เหยียด ส.ว.ที่มาจาก การสรรหา ว่าไม่ได้มาตามกระบวนการ ประชาธิปไตย

ส่วน ส.ว.ที่มาจากการสรรหาก็ออกมาอ้างว่าตัวเองเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เป็น ตัวแทนจากกลุ่ม สาขาอาชีพ เข้ามาตามกระบวนการสรรหาของรัฐธรรมนูญ

เริ่มออกอาการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย

อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เดินมาถึงวันนี้ ก็คงต้องให้โอกาส ส.ว.ชุดนี้ ใช้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวเอง

ไม่ว่าจะเป็น ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย หรือ

ส.ว.ที่มาจากการสรรหาตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ

ต้องพิสูจน์กันด้วยผลงานว่าจะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของประเทศชาติและประชาชน เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด

“ทีมข่าวการเมืองไทยรัฐ” ขอบอกว่า การดำรงความ เป็นกลางในการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา ถือเป็นเจตนารมณ์ หลักของรัฐธรรมนูญ


ที่ต้องการให้วุฒิสภาทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ถ่วงดุล คานอำนาจฝ่ายการเมือง ที่เข้ามาใช้อำนาจรัฐ

โดยเฉพาะในยุคที่สถานการณ์บ้านเมืองแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เกิดความหวาดระแวง กลัวการโค่นล้มกันทางการเมืองกลัวการทุจริตคอรัปชันโกงกิน

วุฒิสภาถือเป็นที่หวังของสังคมในการที่จะเข้ามาช่วยบรรเทาแก้ไขปัญหาเหล่านี้

การทำหน้าที่ของ ส.ว.ทั้ง 150 คน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อระบอบ ประชาธิปไตย

ทั้งนี้มีบทเรียนให้เห็นมาแล้วว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยต้องสะดุดก็เพราะ วุฒิสภาถูกครอบงำ

ตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจทางการเมือง

โดยเฉพาะการแต่งตั้งบุคคลเข้าไปในองค์กรอิสระที่คนของฝ่ายการเมือง เข้าไป คุมหมด จนทำให้องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจ ของฝ่าย การเมือง ถูกแทรกแซงจนอยู่ในสภาพพิกลพิการ

พูดง่ายๆว่า ใครคุม ส.ว.ได้ ก็เท่ากับคุมกลไกในการตั้งคนเข้าสู่องค์กรอิสระ และกลไกการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ประพฤติมิชอบ เอาไว้ได้ทั้งหมด

การตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็จะไร้ความหมาย

อย่างไรก็ตาม การทำงานของวุฒิสภาชุดนี้เพิ่งเริ่มต้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมืองหรือไม่

แต่เมื่อวุฒิสภาเริ่มต้นทำงาน ก็ควรเอาบทเรียนที่ผ่านมาเป็นกรณีศึกษา

และเป็นเรื่องที่สังคมต้องติดตามจับตากันต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากร่องรอยในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา

เห็นได้ชัดว่า สมาชิกวุฒิสภามีการแบ่งกลุ่มแบ่งพวก ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย อาทิ

กลุ่ม ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง กลุ่ม ส.ว.ที่มาจากการสรรหากลุ่ม ส.ว. สายเอ็นจีโอ กลุ่ม ส.ว.หญิง รวมไปถึงกลุ่ม ส.ว.ที่อิงอยู่กับนักการเมือง

ซึ่งก็ถือว่า เป็นธรรมชาติของการล็อบบี้

แต่ในช่วงก่อนการประชุมนัดแรกเพื่อโหวตเลือกประธานวุฒิสภา ได้มีสมาชิก วุฒิสภาบางคนออกมาระบุว่า

มีอดีตนักการเมืองโทรศัพท์มาขอเสียงสนับสนุน เพื่อให้ คนของตัวเองได้นั่ง ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา

โดยได้เสนอเงินก้อนจำนวนหนึ่งและจะจ่ายเป็นเงินเดือนให้อีกด้วย แต่ได้ ปฏิเสธไป

ปรากฏการณ์ตรงนี้ ชี้ให้เห็นว่า

มีความพยายามจากฝ่ายการเมืองที่จะเข้ามายึดกุมอำนาจในวุฒิสภา

พยายามใช้อำนาจแฝงเข้ามาแทรกแซง เพื่อหวังผลที่จะเข้าไปครอบงำองค์กร อิสระ

ดังนั้น เป็นเรื่องที่ภาคสังคมต้องช่วยกันจับตาว่าการทำงานของสมาชิกวุฒิสภา จะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน เข้าอีหรอบเดิมอีกหรือไม่

ที่สำคัญ ส.ว.ทุกคนที่ประกาศตัวว่าเป็น ส.ว.น้ำดี จะต้องพิสูจน ์ตัวเองว่า ดีจริงหรือไม่

ถ้ามีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นในวุฒิสภา ต้องช่วยกันตีแผ่ออกมาให้สังคมรับรู้ ต้องออก มาฟ้องประชาชน

อย่าให้น้ำดีถูกเจือจาง ถูกปิดปาก

จนกระทั่งกลายพันธุ์

เพราะจากปรากฏการณ์ในอดีตที่ผ่านมา มักจะเป็นอย่างนี้ ซะด้วย.

"ทีมการเมือง"

คอลัมน์ ข่าวการเมือง(วิเคราะห์)