WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 27, 2008

1 ปี รธน.50การเมืองไทยถอยหลังลงคลอง

งานเสวนาเรื่อง “1 ปี รัฐธรรมนูญ 50 : การเมืองอยู่กับที่หรือถอยหลัง” เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ถือเป็นวันครบรอบ 1 ปีของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 โดยมีการแสดงทรรศนะในเชิงหลักการวิชาการของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างละเอียด และเข้มข้นด้วยแนวคิดทางวิชาการ ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 พวกเขาก็พาประเทศย้อนหลังกลับไปประมาณเมื่อปี 2400 กว่าๆ แล้วที่มันเกิดรัฐธรรมนูญ 2550 นั้น ก็เพราะว่าโลกนี้มันบังคับว่า ประเทศไทยจะปกครองโดยที่ขาดรัฐธรรมนูญนั้นมันไม่ได้ เขาก็เลยต้องมีรัฐธรรมนูญ ต้องมีเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นต้องถือว่า ก้าวหน้ากว่าเมื่อตอน 19 กันยายน แต่ว่ามันไม่ได้ก้าวหน้าขึ้นมาเป็นปี 2550 นะ แต่มันยังคงเป็นปี 2400 กว่าๆ อยู่ดี นับจาก 19 สิงหาคม วันที่มีรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ละวันๆ มันก็ถอยหลังไป ประเทศไทยเป็นอย่างนี้นะ คือประเทศอื่นนั้นพอพรุ่งนี้มันก็ก้าวหน้าไปอีกขั้น แต่ของเรานั้นพอวันนี้อยู่ตรงนี้ พรุ่งนี้ก็ถอยหลังกลับไปอีกแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เขาบัญญัติไว้อย่างนั้น คือต้องการให้บ้านเมืองมันถอยหลัง ความเป็นประชาธิปไตยมันจะต้องลดน้อยลง อันนี้คือสาระของรัฐธรรมนูญที่หลายๆ คนพยายามพูดกันตลอด ทำไมผมพูดอย่างนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขาเขียนไว้เพื่อให้อำนาจจะต้องไม่อยู่ในมือของคนที่มาจากการเลือกตั้ง อำนาจที่ได้รับรากมาจากประชาชน ก็จะต้องไม่มีอยู่จริง แต่อำนาจจะต้องไปอยู่กับผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทั้งมาจากข้าราชการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ฝ่ายตุลาการ ทั้งในรูปที่เป็นองค์กรที่สรรหากันมา ทั้งในรูปที่เป็น ส.ว. ที่สรรหากันมา ซึ่งก็เชื่อมโยงกันระหว่างข้าราชการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายตุลาการบางส่วนกับผู้ที่มาจากการสรรหา แล้วก็ให้ผลัดกัน สรรหากันไปสรรหากันมา คือ อำนาจอยู่ในมือของกลุ่มคนเหล่านี้ เสร็จแล้วก็มามีอำนาจในการกำหนดบทบาทในความเป็นมาเป็นไปของบ้านเมือง ผ่านกติกาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และผ่านกลไกที่ถูกรัฐธรรมนูญสร้างขึ้น
อย่างเรื่องการยุบพรรคกำลังจะเกิดขึ้น อันนี้มันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนไว้แล้ว เขาต้องการให้เกิดอย่างนี้ อันนี้ไม่ได้พูดว่าอยากให้เป็นแบบนี้ แต่รัฐธรรมนูญมันเขียนแบบนี้ คนบอกว่าพรรคพลังประชาชนยุบไหม ถูกเพิกถอนสิทธิไหม ผมบอกเลยว่าถูกถอนสิทธิล้านเปอร์เซ็นต์ ส่วนพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ ไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะรัฐธรรมนูญมันเขียนไว้แบบนี้ ล่าสุดนี้เห็นข่าวว่า พรรคบางพรรคจะไม่ถูกยุบแล้ว ทำไมถึงไม่ถูกยุบ ทำไมถึงไม่ได้ใบแดง เหตุผลเดียวกับพรรคไทยรักไทย ตอนยุบไทยรักไทยบอกว่า ถ้าไม่ยุบไทยรักไทยแล้วจะปฏิวัติไปทำไม ยึดอำนาจมาเสียแรงเปล่า อันนี้ก็เหมือนกัน อันนี้ต้องไม่ยุบพรรคที่กำลังโดนตรวจสอบอยู่ เพราะถ้ายุบพรรคนี้เขาก็ยึดอำนาจมาเสียแรงเปล่าสิ
ทั้งหมดนี้มันไม่ใช่เป็นอุบัติเหตุอะไร แต่มันเป็นเรื่องที่เขาออกแบบมาโดยเฉพาะ ต้องการให้เกิดอย่างนี้ ต้องการให้มีรัฐบาลอ่อนแอ พรรคการเมืองอ่อนแอ ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ ผู้มาจากการเลือกตั้งทั้งหลาย ทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติ ทำอะไรไม่ได้ อยู่ในอุ้งมือของผู้ที่มาจากการสรรหาแต่งตั้ง เป็นคนกำหนดได้หมด ใครจะอยู่ ใครจะไป ใครจะเป็นรัฐบาลต่อไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้หมด เมืองไทยถ้าจะพัฒนาต่อไปได้ ไม่ใช่ถอยหลังไปเรื่อยๆ ก็คือ จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าเราไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ข้อเสียที่เห็นชัดๆ ก็คือ 1.บ้านเมืองจะเสียหายไปเรื่อยๆ และในที่สุดวันข้างหน้าสังคมไทย ประชาชนจะเดือดร้อนมาก แล้ววันนั้นทุกคนก็จะเข้าใจว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงวันนั้นก็จะเกิดความขัดแย้งในสังคมยิ่งกว่าทุกวันนี้ อีกข้อหนึ่งก็คือ ถ้าเราไม่แก้ด้วยเหตุผลที่ว่า กลัวว่าพันธมิตรฯ จะมาชุมนุม แล้วจะเกิดความรุนแรง แล้วเราต้องยอมพันธมิตรฯ ก็เท่ากับว่าเราได้ยกประเทศให้กับพันธมิตรฯ ไปแล้ว ก็จะมากำหนดอะไรได้หมด ตกลงประเทศไทยจะปกครองโดยใครกันแน่ เพราะฉะนั้นถ้าเรายังยืนยันในหลักการว่า อำนาจจะต้องอยู่ที่ประชาชน บ้านเมืองต้องเป็นประชาธิปไตย ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ว่าจะแก้อย่างไรที่ไม่ไห้เกิดความรุนแรง อันนี้ต้องช่วยกันคิดนะครับ

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่ม คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.)
ปัญหาที่ตั้งไว้ว่า การเมืองเดินหน้าหรือถอยหลังในกรอบของรัฐธรรมนูญ 2550 คือมันมีคำตอบชัดมาตั้งแต่ต้นแล้วนะครับว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่สามารถทำให้การเมืองก้าวไปข้างหน้าได้ มีแต่ทำให้การเมืองถอยหลัง ก้าวหน้าไม่ได้เลยครับ คือการรัฐประหารครั้งที่แล้ว เราต้องทำความเข้าใจนะครับว่า เป้าหมายเราอย่าไปมองแคบๆ ว่านายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ออกไปเท่านั้น เป็นเป้าหมายเบื้องต้น แต่ที่แท้จริงเขาต้องการโค่นล้มระบอบประชาธิปไตยลงไป แล้วสร้างระบอบอำมาตยาธิปไตย คณาธิปไตย และเผด็จการอำนาจนิยมขึ้นมา ถ้าเราเข้าใจชัดๆ อย่างนี้แล้ว 1 ปีที่ผ่านมา เป็น 1 ปีที่สำแดงฤทธิ์เดชของอำมาตยาธิปไตย คณาธิปไตย และเผด็จการอำนาจนิยม แต่ว่าพวกนี้เขาฉลาด นอกจากจะสร้างองค์กรต่างๆ ก็ยังสร้างกฎกติกา ให้องค์กรของเขาดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปได้ รัฐประหารได้มีประกาศฉบับที่ 19 บอกว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. ยังคงใช้งานต่อไปได้ ยกเว้นกระบวนการสรรหา เมื่อเป็นเช่นนี้ ป.ป.ช. ต้องเคารพ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 6 มาตรา 12 พูดชัดเจนว่า ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เนื่องจากวันนั้นถึงวันนี้ไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดังนั้นพวกคุณไม่ถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายของพวกรัฐประหารเอง ผมขอเตือนด้วยความเคารพนะครับว่า ป.ป.ช. ควรตระหนักในเรื่องนี้ และออกไปดีกว่า เหมือนอย่างที่ คุณวีระ มุสิกพงศ์ บอก ออกไปเลย เพราะว่าคุณไม่มีกฎหมายใดคุ้มครอง
แต่ท่านดูนะครับว่า ตัวอันตรายที่สุดและได้ผล บางเรื่องของเขามีปัญหา และบางเรื่องของเขาได้ผล บางเรื่องของเขาที่ได้ผลกำลังทิ่มแทงกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศไทยให้สั่นคลอน ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น ทิ่มแทงอย่างไรครับ รัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ มาตรา 309 ครับ ท่านคิดดูนะครับว่า รัฐธรรมนูญทั่วโลกจะไม่มีปรากฏ ไอ้ 309 มันถอยหลังไปยิ่งกว่าสมัยกรีกเสียอีก ลำพังแค่มาตรา 309 อย่างเดียวเราก็ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว เอาเป็นว่าในโลกปัจจุบันมี 2 ทางเลือก คือ ประชาธิปไตย หรือไม่ใช่ประชาธิปไตย ไอ้พวกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีชื่อเล่นว่า คณาธิปไตย อำมาตยาธิปไตย เผด็จการอำนาจนิยม ไอ้เรื่อง 70:30 ที่เขาตั้ง พวกมัฆวานฯ เราต้องเรียกว่าพวก “ลัทธิมัฆวาน” เพราะฉะนั้นในวันนี้เราต้องจำกัดวงให้แคบ หัวโจกของ “ลัทธิมัฆวาน” แค่ 6 คนเขาจะบอกให้ประชาชน 63 ล้านคนได้รู้ว่า หัวโจก 6 คนกำลังสาธยาย “ลัทธิมัฆวาน” ที่ทำลายประชาธิปไตยอย่างไร ผมเชื่อว่าคน 63 ล้านคนไม่เอา “ลัทธิมัฆวาน” คอยดูแล้วกันวันที่ 26 นี้จะมีคนเข้าร่วมสักกี่คน
ผมอยากสรุปให้ฟังว่า 1 ปีที่ผ่านมา มันเป็นฤทธิ์เดชของพวกเผด็จการอำนาจนิยมของระบอบคณาธิปไตย แล้วยังส่งผลและกัดกร่อนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และตอนนี้ประชาชนยังทำอะไรไม่ได้ เพราะดูคณะกรรมการ กกต. ชุดนี้สิครับ จะมาแก้ปัญหาเรื่องใบแดง ใบเหลือง ก็เป็นเรื่องที่ยาก ผมไม่เข้าใจที่เพชรบูรณ์ 1,300,000 โดนใบเหลือง แต่โคราชกับบุรีรัมย์ เงินแค่ 200 บาท โดนใบแดง ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจ และท่านก็ไม่ออกมาแถลง เรื่องนี้มันชัดเจนอยู่แล้วว่า 1,300,000 ไปซื้อเสียงทำไมให้ใบเหลือง ผมไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องที่ผิด แต่ผมไม่เข้าใจ ประชาชนเราใช้สิทธิตามมาตรา 291 เพราะมาตรา 291 อนุญาตให้ประชาชนเข้าชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แล้วเราก็ได้มากว่า 200,000 รายชื่อ แล้วนำไปยื่นถูกต้องกว่า 70,000 รายชื่อ เพราะฉะนั้นเราทำถูกต้อง แล้วในวันจันทร์นี้พวกเราจะไปตรวจร่างฉบับสุดท้าย ตรงนี้ผมอยากให้พี่น้องประชาชนช่วยไปพูดกรอกหู ส.ส. ทั้งพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยกันยกมือให้ผ่านวาระที่ 1 ได้ไหมครับ ไม่ต้องมีม็อบนะครับ เจอที่ไหนพูดที่นั่น อันนี้เป็นข่าวดีของเรา ถ้าร่างที่แก้ไขโดยประชาชนมากกว่า 50,000 รายชื่อ เข้าไปสู่รัฐสภาแล้ว ถ้าเราคิดในแง่ดีพวก ส.ส. ก็มีสำนึกประชาธิปไตย แล้วเขาก็จะยกมือให้ผ่านวาระที่ 1 และเป็นโอกาสที่เราจะไปชำระสะสางพวกโสโครกทั้งหลายที่เขาทำไว้
นายคณิน บุญสุวรรณ อดีต สสร. 2540
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผมได้เขียนหนังสือมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “ฉีกรัฐธรรมนูญ ประเทศได้อะไร” เป็นการสรุปถึงระบบกฎหมายไทย ซึ่งสูญเสียดุลยภาพไปหมดหลังจากการรัฐประหารเป็นต้นมา วันนี้คือวันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นวันครบรอบ 1 ปี ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้ แทนที่จะเป็น 1 ปีแห่งการปรับปรุงสู่ความเป็นประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และความสมานฉันท์ของคนแห่งชาติ ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้สัญญาไว้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 แต่กลับกลายเป็น 1 ปีที่สืบทอด ที่ผมเรียกว่า มรดกทางอำนาจและเจตนารมณ์การปฏิวัติของคณะปฏิรูปการปกครองฯ เอง รวมทั้งผู้อยู่เบื้องหลัง เสียมากกว่า
ข้อ 1.ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามวรรคสี่ มาตรา 237 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ไม่เคยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะฉะนั้นอย่ามาอ้างว่าได้นำแบบอย่างมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะไม่เคยมีบัญญัติเอาไว้ในมาตรา 68 ตามวรรคสี่ มาตรา 237 วรรคสอง เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์การปฏิวัติ ตามมาตรา 35 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว 2549 ที่ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะ 1 ที่มี 9 คน ซึ่งไม่ใช่ศาล และให้มีอำนาจกระทำการแทนศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกยกเลิกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีอำนาจในการสั่งยุบพรรคการเมือง ข้อที่ 2.ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 นี่เป็นการบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อรองรับบทบัญญัติในมาตรา 35 เพื่อที่จะให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นโทษประหารชีวิตทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แก่บรรดาบุคคล หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และที่ร้ายก็คือ เป็นการสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งที่มีผลย้อนไปครับ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อนในระบบหรือกระบวนการที่ถูกต้อง ถามว่าเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องหรือไม่ ตอบก็คือ เป็นกระบวนการยุติธรรมซึ่งสืบทอดมาจากระบบและกลไก ซึ่งสืบทอดมาจากอำนาจรัฐประหาร ฉะนั้นจะอ้างว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้
ข้อต่อมา มาตรา 242 และ 243 ประกอบกับบทเฉพาะกาล มาตรา 299 วรรคหนึ่ง เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์การปฏิวัติ ของประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 24 กันยายน 2549 ที่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของสภา ซึ่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิรูปฯ ฉบับดังกล่าว เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมกับใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญใหม่ ให้เลือกกันเอง 1 คน เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งเป็น 1 ใน 7 คณะกรรมการสรรหา ส.ว. จำนวน 74 คน ทั้งนี้ของบทเฉพาะกาลดังกล่าวเท่ากับเป็นการระงับใช้มาตรา 242 และ 243 ที่ว่าด้วยการสรรหา โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง และวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ตรวจการแผ่นดินไปโดยปริยาย ถามว่า เมื่อตอนที่เอารัฐธรรมนูญปี 2550 ไปให้ประชาชนออกเสียงลงประชามตินั้น ไปบอกกับประชาชนหรือเปล่าว่า ถ้าประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว บทเฉพาะกาล มาตรา 299 วรรคหนึ่งนั้น จะระงับใช้มาตรา 242 และมาตรา 243 ที่ประชาชนไปออกเสียงลงประชามติ คำตอบก็คือ ไม่ได้บอก
เพราะฉะนั้น จากคำตอบนี้ก็คือว่า สามารถบอกได้ว่า การเขียนบทเฉพาะกาลและไปให้อำนาจกับบางกลุ่มบางองค์กร เพื่อให้สืบทอดอำนาจต่อไป โดยจุดประสงค์อะไรก็แล้วแต่ เท่ากับเป็นการระงับใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ความจงใจที่จะให้ใช้รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับในเวลาเดียวกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของการจัดสร้างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ในที่นี้ ฉบับแรกคือ การใช้ตามตัวบท 291 มาตรา ใช้บังคับกับประชาชนทุกคนทั่วประเทศ แบบลุ่มๆ ดอนๆ แต่ว่าบทเฉพาะกาล 18 มาตรา ที่บังคับใช้กับกลุ่มคนกลุ่มเดียว องค์กรต่างๆ เพียงไม่กี่องค์กร และให้อำนาจและผลประโยชน์ตกกับคนกลุ่มนี้เพียงแค่หยิบมือเดียว ฉะนั้น 1 ปีที่ผ่านมา เป็นการสืบทอดมรดกอำนาจที่เลวร้ายที่สุด
รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตอนนี้เหมือนสังคมไทยไม่ค่อยยึดหลักกฎหมาย ไม่ค่อยมีเหตุผล ไม่ค่อยยึดหลักการ ดูจะมีอารมณ์และเอากระแสมาตัดสิน อย่างประเด็นการสรรหา และอำนาจของ ส.ว. คือในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ องค์คณะในการสรรหา ส.ว. ที่มาจากการสรรหา ซึ่งในองค์คณะ 7 คน เอามาจากศาลถึง 3 ท่าน คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และก็ศาลฎีกา คือไม่มีความจำเป็นที่จะเอาตัวผู้พิพากษามาเป็นตัวสรรหา ส.ว. เพราะว่า ส.ว. เป็นองค์กรทางการเมือง ใช้อำนาจทางการเมือง ในขณะที่ผู้พิพากษาใช้อำนาจตุลาการ เป็นการดึงเอาผู้พิพากษามาเกี่ยวข้องทางการเมือง ถามว่า ตรงนี้ประชาชนทั่วไปสามารถร้องขัดขวางดุลพินิจของ ส.ว. ได้หรือเปล่า คำตอบคือว่า ไม่ได้...พูดง่ายๆ ว่าระบบการสรรหา ส.ว. มันตัดขาดจากอำนาจของประชาชนไปเลย และการสรรหาถือเป็นที่สุด คือจะไปตรวจสอบการสรรหามิได้ ส่วนอำนาจของ กกต. อำนาจ กกต. เป็นอำนาจค่อนข้างจะเบ็ดเสร็จ ก็คืออำนาจการออกระเบียบ หรือนิติบัญญัติ อำนาจในการบริหารในการจัดการการเลือกตั้ง ก็คือฝ่ายบริหาร และอำนาจในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ คือการให้ใบเหลือง และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง หรือการให้ใบแดง อันนี้เป็นอำนาจกึ่งตุลาการ และรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า คำวินิจฉัยของ กกต. ถือเป็นที่สุด ก็คือถูกทบทวนแก้ไขไม่ได้ ก็คือยุติตามนั้น ตรงนี้ผมคิดว่าต้องแก้ไขหรือเปล่า และทำไมถึงให้ กกต. มีอำนาจค่อนข้างมาก
ประเด็นต่อไป การวินิจฉัยการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในรัฐธรรมนูญมาตรา 82 เกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ มาตรา 82 เขาบอกว่า รัฐบาลต้องทำตามสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ปรากฏว่า ประเทศไทยเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ผมเรียกย่อว่า ICCR ในมาตรา 14 อนุมาตรา 5 บอกว่า คนทุกคนที่ต้องพิพากษาลงโทษในความผิดคดีอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไป พิจารณาทบทวนการลงโทษ และคำพิพากษา โดยเป็นไปตามกฎหมาย
ที่ยกตัวอย่าง 3 มาตรามาประกอบกันคือ มาตรา 82 ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 14 ของ ICCR และมาตรา 237 ในรัฐธรรมนูญไทย ทีนี้รัฐธรรมนูญของไทยเกี่ยวกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญา เช่น คดีที่ดินรัชดาฯ ประเด็นของผมคือว่า รัฐธรรมนูญของไทยเนี่ย ขัดหรือแย้งกับ ICCR หรือไม่ และสิทธิในการพิจารณาคดีใหม่ เมื่อค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ เป็นคนละสิทธิกัน เป็นคนละอย่าง ที่ผมพูดหมายความว่า แม้ไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ จำเลยก็มีสิทธิได้รับการอุทธรณ์ฎีกาจากศาลที่สูงกว่า เพราะชัดเจนว่า ถ้าพิจารณาคดีเกิน 3 เดือน อาจมีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเกิดจากข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย ข้อ 14 ของ ICCR ก็เป็นหลักประกันได้ว่า จำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีจากศาลที่สูงกว่า เพื่อที่จะมาคุ้มครองในประเด็นข้อกฎหมาย หากนักการเมืองกระทำความผิดจริง ก็อาจมีการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง แต่ประเด็นของผมก็คือว่า ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งกำหนดว่า กรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรคการเมือง นอกจากจะถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองแล้ว ยังต้องดำเนินคดีอาญาด้วยนะครับ หมายความว่า ให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นี้ แต่พอตอนเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก็ไม่มีคำว่าผู้นั้น นั่นคือเพิกถอนทั้งหมด ประเด็นนี้ผมว่าน่าจะมีการศึกษาพูดคุยกันในทางวิชาการว่า โทษอย่างนี้มีความเหมาะสมหรือไม่ คือจะยุบพรรคก็ยุบไป จะเพิกถอนก็ทำไป แต่ต้องไม่เหมารวมกับคนที่ไม่มีส่วนในการกระทำความผิด
ส่วนการทำหนังสือสัญญา ในมาตรา 190 ที่เกิดปัญหาอยู่ ที่อยู่ในมือของผมคือหนังสือเกี่ยวกับมาตรา 190 เป็นหนังสือเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 19 ประเทศ เกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญา ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.2005 ผมเทียบมาตรา 190 กับรัฐธรรมนูญของ 19 ประเทศแล้วเนี่ย ไม่พบข้อความที่บัญญัติไว้เหมือน 190 ของเราเลย ไม่มี ฉะนั้นการที่ไปควบคุมมาตรา 190 อย่างมาก ถ้าไม่แก้ 190 การทำหนังสือระหว่างประเทศของฝ่ายบริหารจะเป็นอัมพาต ผมว่ารายละเอียดของมาตรา 190 ควรนำไปใส่ในบทพระราชบัญญัติ ส่วนมาตรา 309 ซึ่งเป็นบทกฎหมายนิรโทษกรรม หลักกฎหมายนิรโทษกรรมโดยส่วนใหญ่แล้วจะนิรโทษกรรมเหตุการณ์ในอดีตที่มันเกิดขึ้น และสิ้นสุดไปแล้ว แต่มาตรา 309 หมายความว่า บรรดาการกระทำทั้งหมด ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 19 กันยายน ที่มีการตระเตรียมดำเนินการ มีการนิรโทษกรรม วันที่มีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 นิรโทษกรรมเรื่อยมาจนกระทั่งหลังจากวันทำรัฐประหาร ก็ได้รับการนิรโทษกรรม ทันทีที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้ประกาศใช้ หลังจากที่รัฐธรรมนูญอันนี้ประกาศใช้เนี่ย บรรดาการกระทำหลังจากนี้จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม มันสิ้นสุดแค่ตรงนั้น แต่ศาลสูงก็บอกว่า ก่อนการทำรัฐประหาร เรื่อยมาจนถึงวันทำรัฐประหาร เรื่อยมาจนถึงหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อเดือนสิงหาคม เรื่อยมาจนถึงวันนี้ และก็จะสืบทอดไปเรื่อยๆ จนถึงอนาคต ก็ยังไม่ได้รับการนิรโทษกรรม ตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นการบิดเบือนหลักกฎหมายนิรโทษกรรม แล้วขอบเขตของมันก็ไม่มีใครทราบว่าจะใช้กับอะไร สรุปมาตรา 309 นี่ใช้กับใคร และเรื่องอะไรแน่ หรือว่าใช้กับทุกเรื่อง ทุกองค์กรหรือเปล่า หรือองค์กรทั้งหลายที่ คมช. แต่งตั้ง ขอบเขตอยู่ตรงไหน และคุ้มครองใครบ้าง สืบเนื่องเวลาแค่ไหน ถึงจะยุติในการคุ้มครอง...