WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 27, 2008

มหากาพย์ ปรส.ขุมทรัพย์ 8 แสนล้าน (ตอนจบ)

วันนี้มาต่อเรื่อง คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว เราได้พูดถึงเรื่องการส่อว่าจะมีการทุจริตเชิงนโยบาย ในการดำเนินนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน BIBF ซึ่งมีเรื่องการปริวรรตเงินตรา และนโยบายการขายทรัพย์สินจำนวน 8 แสนล้านนี้อย่างไม่ชอบมาพากล หรือไม่อย่างไร
วันนี้เราจึงขอเข้าสู่เนื้อหาที่เป็นข้อสงสัยว่าจะมี การทุจริตเชิงนโยบาย กันอีกประเด็นคือ การ ไม่ยอมให้ลูกหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น คนไทย เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินกลับในราคาถูกแสนถูก แบบที่ให้บริษัทฝรั่งต่างชาติเข้ามาซื้อบ้าง
แม้จะมีข้ออ้างกับสังคมว่าเป็นความไม่เหมาะสม เพราะคนพวกนี้จะต้อง ถูกลงโทษ เนื่องจาก บริหารธุรกิจผิดพลาด ทำให้รัฐต้องเข้ามาแบกภาระส่วนต่างของหนี้เหล่านี้แทนบ้าง หรือ การจะต้องการเงินตราต่างประเทศเข้ามาในเมืองไทย ในขณะนั้นอย่างรีบด่วน ซึ่งนโยบายที่มีข้ออ้างลักษณะนี้ ให้ความเป็นธรรมกับคนไทยได้มากน้อยเพียงใด เพราะที่สุดผลประโยชน์ไปตกอยู่กับนายทุนข้ามชาติหลายแสนล้านบาท
ดังจะเห็นได้จากกรณีที่กำลังเป็นคดีความกันอยู่ในขณะนี้คือ การขายสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน แบบคละทั้งสินทรัพย์ดีและไม่ดี เอามากองรวมกันเป็นกลุ่มๆ แล้วแยกจำหน่าย
ทรัพย์สินกองที่พบว่าเป็นปัญหา ซึ่งที่จริงน่าจะมีมากกว่านี้คือ ทรัพย์สินกองที่ บริษัท เลแมน บราเดอร์ส ได้ประมูลไป 2.46 หมื่นล้านบาท โดยถูกตั้งข้อสงสัย 3-4 ประการ
1.ที่มาของเลขานุการ นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นคณะกรรมการของธนาคารกรุงไทย ในขณะเดียวกันนั้น เป็นได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นกรรมการสถาบันการเงินที่ อาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกัน (Conflict of Interest) ได้
2.ราคาใน การประมูลทรัพย์สินก้อนนี้ได้มาเพียง 2.46 หมื่นล้านบาท นั้นเป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่
3.มีการ จ่ายเงินงวดแรกเพียง 2.4 พันล้านบาท แล้วไปตั้ง กองทุนรวม จากนั้น มีการโอนทรัพย์สินก้อน นี้ไปอยู่ใน กองทุนรวม ดังกล่าว เพื่ออำพราง และ ส่อเจตนาหลบเลี่ยงภาษี
ถามตามตรงว่า คนที่กำกับดูแลนั่นคือ นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยนั้น ได้กำกับดูแลกรมสรรพากร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่รู้ ไม่เห็น เป็นไปได้หรือไม่ หรือ คอยให้ท้ายแบ่งปันอะไรกันอยู่
มีความพยายามบอกกล่าวไปถึงรัฐบาลหลายครั้งหลายหน ให้มีการตรวจสอบเรื่อง การประมูลขายสินทรัพย์ของ ปรส. ให้ดี เพราะมันมีเงื่อนไขที่อาจจะก่อให้เกิดข้อคลางแคลงสงสัย เพราะมี รูโหว่ ช่องว่างกฎหมาย อย่างที่เรียกว่ามากมายก่ายกอง ทำกันเอาไว้
เบ็ดเสร็จในการประมูลทรัพย์สินของ ปรส. 8 แสนล้านบาท มีการแจ้งตัวเลขได้เงินกลับคืนมาเพียงแค่ 1.9 แสนล้านบาท หายไป 6.1 หมื่นล้านบาท
ฝรั่งหิ้วเงินกลับประเทศไป ไม่ต่ำกว่า 3-4 แสนล้านบาท ในการนำทรัพย์สินที่ได้จากการประมูลราคาถูกมาขายคืนให้คนไทยในราคาแพง แบบจับเสือมือเปล่า
Asset ของประเทศไทยจาก 8 แสนล้านบาท เหลือเพียง 1.9 แสนล้านบาท มันน่าตกใจไหม!!!