WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 27, 2008

คอลัมน์ : สวัสดีวันจันทร์

“...ตามธรรมดา อำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งอำนาจตุลาการถูกจัดเป็นไข่ในหินอยู่แล้ว ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา เพราะอำนาจตุลาการไม่ได้มีที่มาจากประชาชน และไม่เคยถูกตรวจสอบด้วยอำนาจของประชาชนตามหลักประชาธิปไตย ต่างกับอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร อย่างสิ้นเชิง...”
ฟังมาว่า มีกฎหมายฉบับหนึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรขณะนี้คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ...
ตามข่าวปรากฏว่ามี ส.ส. พรรคพลังประชาชนไม่ค่อยยินดีที่จะให้ผ่านเป็นกฎหมายมาบังคับใช้ เหตุเพราะว่า ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญไว้ด้วย ดังปรากฏในมาตรา 16 และมาตรา 17
มาตรา 16 ความว่า “นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้นำบทบัญญัติที่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และเมื่อมีการละเมิดอำนาจศาล ให้ศาลมีอำนาจลงโทษได้ดังนี้
(1) ตักเตือน โดยจะมีคำตำหนิเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือไม่ก็ได้
(2) ไล่ออกจากบริเวณศาล
(3) ลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การสั่งลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล พึงใช้อย่างระมัดระวังและเท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี และศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำละเมิดลงประกาศตาม (1) ทางหนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือหลายฉบับ เป็นระยะเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้ผู้กระทำละเมิดเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย”
มาตรา 17 ความว่า “ผู้ใดวิจารณ์การพิจารณาหรือการวินิจฉัยของศาลโดยสุจริต ด้วยวิธีการทางวิชาการ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือดูหมิ่นศาลหรือตุลาการ”
บทบัญญัติ 2 มาตราเท่าที่ยกมานี้ ถ้าสามารถผ่านมาประกาศใช้ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิประชาชนอย่างเข้มข้นเพิ่มขึ้นอีกฉบับหนึ่ง
ตามธรรมดา อำนาจอธิปไตยซึ่งเราแบ่งเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ นั้น อำนาจตุลาการถูกจัดเป็นไข่ในหินอยู่แล้ว ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา เพราะอำนาจตุลาการไม่ได้มีที่มาจากประชาชน และไม่เคยถูกตรวจสอบด้วยอำนาจของประชาชนตามหลักประชาธิปไตยที่แท้จริง ต่างกับอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร อย่างสิ้นเชิง
อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารมาจากประชาชนเลือกตั้งแท้ๆ เป็นเรื่องของการเมืองแท้ๆ จึงถูกตรวจสอบได้ด้วยองค์กรต่างๆ และวิธีการต่างๆ นานานับไม่ถ้วน
อำนาจนิติบัญญัติของไทยนั้น ทุกวันนี้ (หรือแต่ไหนแต่ไรมา) ถูกประณามหยามเหยียด ถูกวิพากษ์วิจารณ์จนจะไม่เป็นผู้เป็นคนอยู่แล้ว คำว่า เสือ สิงห์ กระทิง แรด นั้นก็ถูกนำมาใช้เยาะเย้ยถากถางนักการเมืองที่นั่งอยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติอยู่เสมอๆ จนเคยชินเสียแล้ว
ฝ่ายบริหารนั้นเล่าก็ถูกตรวจสอบด้วยองค์กรมากมาย โดยเฉพาะจากฝ่ายค้านและสื่อ เวลานี้กำลังถูกวิพากษ์จาก ม็อบ ว่าเป็นรัฐบาลหุ่นเชิด รัฐบาลขายชาติ และรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีก็ถูกเรียกว่า ตัวเงินตัวทอง ซึ่งเข้าใจว่าไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกัน
แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยไทย ซึ่งไม่มีการเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์เสื้อเกราะหรือเครื่องป้องกันใดๆ ให้ 2 อำนาจนี้แม้แต่น้อย ต่างกับอำนาจที่ 3 คือศาลยุติธรรม
การละเมิดอำนาจศาล เป็นกฎหมายที่คุ้มครองศาลยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไหนแต่ไรมา การวิพากษ์วิจารณ์ศาลเป็นสิ่งต้องห้ามที่ทนายความ คู่ความ และประชาชนทั่วไปรู้เป็นอย่างดีว่า กระทำไม่ได้
(มีทนายความคุณภาพอย่าง นายฟัก ณ สงขลา อดีต ส.ส.อุตรดิตถ์ เท่านั้น ที่กล้าประท้วงความอยุติธรรมของศาลในศาล ด้วยการถอดเสื้อครุยทนายโยนทิ้งหน้าบัลลังก์ศาลแล้วรับโทษละเมิดอำนาจศาล และไม่ยอมขึ้นว่าความบนศาลอีกตลอดชีวิต คงเป็นแต่เพียงที่ปรึกษาของสำนักงานทนายความใหญ่อย่าง ชมพู อรรถจินดา และต่อมาก็ลาออกไปเป็นที่ปรึกษาสำนักงานทนายความเล็กๆ ชื่อ ธรรมรังสี ที่มี นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.นครพนม เป็นผู้อำนวยการ)
ตามธรรมดา (อีกที) ศาลรัฐธรรมนูญนั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ใช่ ศาลสถิตยุติธรรม ซึ่งเป็นอำนาจตุลาการอันเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตย ศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญ หรือตีความถ้อยคำในรัฐธรรมนูญที่คนเห็นไม่ตรงกัน
ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญนั้นคืออะไรเล่า? ถ้าไม่ใช่ศาลเรื่องของการเมือง และเรื่องของการเมืองนั้นถ้าห้ามคิด ห้ามเถียง ห้ามวิจารณ์เสียแล้ว ความแตกฉานจะเกิดได้จากที่ไหน และความเจริญวัฒนาจะมีได้อย่างไร? หรือถ้าจะพูดให้ตรงกว่านั้นก็ต้องถามว่า แล้วเราจะปกครองกันด้วยระบอบประชาธิปไตยกันทำไม?
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลการเมืองแท้ๆ ข้าพเจ้าจึงไม่เข้าใจว่าเหตุไฉนจึงจะลากศาลรัฐธรรมนูญให้ขึ้นหิ้งไปเป็น ศาลสถิตยุติธรรม ซึ่งแตะต้องไม่ได้เสียอีกแล้ว
อย่ามาเถียงเลยว่า มาตรา 17 ให้อำนาจอยู่แล้ว หากใครวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ โดยสุจริต และ ด้วยวิธีการทางวิชาการ เพราะเวลาเอาเข้าจริง การพิสูจน์ว่าสุจริตหรือไม่สุจริตไม่ใช่เรื่องง่าย และการตีความว่าอย่างไหนเป็นวิชาการ อย่างไหนไม่ใช่วิชาการ ก็เป็นเรื่องของพวกท่าน-คือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั่นเอง ใช่ใครอื่น
ดังนั้นหนทางที่ตาสี ตาสา ยายมา ยายมี และคนอย่าง นายวีระ มุสิกพงศ์ นี้เอง จะต้องติดคุกและเสียค่าปรับเพราะละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ จึงเปิดโล่งเป็นอย่างยิ่ง
ใคร-พรรคการเมืองไหน ที่ยังเห็นว่าการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและนักการเมืองยังมีไม่มากพอสำหรับสังคมไทย ก็เชิญสนับสนุนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญกันเถิด
ข้าพเจ้าไม่ได้สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ก็เห็นด้วยกับ ส.ส. พรรคนี้ที่จะตัดมาตรา 16 และ 17 ออกไปเสีย หรือมิฉะนั้นก็คว่ำกฎหมายนี้เสียให้สิ้นเรื่องสิ้นราว อย่าปล่อยให้ซากเดนเผด็จการอาศัยสภาของประชาชนทำร้ายประชาชนต่อไปเลย
ท่านผู้อ่านต้องไม่ลืมว่า แม้อำนาจเผด็จการ คมช. จะผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2550 แต่เครื่องมือ เครื่องไม้ และลูกสมุนของเขายังอยู่ครบ
คนที่เป็นเผด็จการหรือแม้แต่สมุนเผด็จการย่อมไม่ต้องการให้ใครวิจารณ์ และคนพวกนี้มักกลัวการตรวจสอบ จึงชอบออกกฎหมายมาคุ้มครองตัวเองไว้เสมอ
การตัดทอนฤทธิ์เดชของเผด็จการหรือสมุนเผด็จการ จึงเป็นหน้าที่ของ ส.ส. ดีๆ ทั้งหลาย
การสร้างประชาธิปไตยไม่ต้องเกรงใจเผด็จการครับฌป็นฃ็เป็นเรอง