WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 25, 2008

จับกระแส ‘ยุบ’

แม้จะคาดเดาตัดสินกันไปต่างๆ นานา แต่สุดท้ายก็ไม่วายอยากลุ้นผลการลงมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะส่งเรื่องยุบพรรคพลังประชาชนหรือไม่ในวันที่ 2 ก.ย. อยู่ดี เพราะนี่คืออีกหนึ่งวันที่ต้องบันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์

การเมือง ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง หากต้องมีพรรคใดพรรคหนึ่งถูกยุบ! โดยเฉพาะพรรคใหญ่สายตรงอำนาจเก่าที่กลายร่างจาก “ไทยรักไทย” มาเป็น “พลังประชาชน” ซึ่งล่าสุด พลังประชาชนแทบไม่ขอรอลุ้นจะถูกยุบหรือไม่ เพราะมั่นใจชะตาไม่รอดจึงเตรียมย้ายรังใหม่กันอย่างเอิกเกริก ประหนึ่งมั่นใจว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุบพรรคภาค 2 แน่หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์การเมืองครั้งยุบพรรคการเมืองภาค 1 ซึ่งมีพรรคถึง 5 พรรคการเมืองที่ถูกเสนอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค ประกอบด้วย พรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรค

พัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย2 พรรคการเมืองใหญ่ กับ 3 พรรคการเมืองเล็กวันที่ 30 พ.ค.2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตาวินิจฉัยยุบเรียบ 4 พรรคการเมือง ยกเว้น พรรคประชาธิปัตย์ รอดเพียงลำพังณ วันนั้นต้องถือว่าพรรคที่เป็นตัวแปรสำคัญมีเพียง 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ ไทยรักไทยกับประชาธิปัตย์ ซึ่งงานนี้รอด 1 ตาย 1 แต่พรรคใหญ่แค่พรรคเดียว ยังทำการเมืองไทยเปลี่ยน ขณะที่การยุบพรรครอบ 2 ดูยังไงเงื่อนไขความวุ่นวายที่ต้องแก้โจทย์นั้นยากกว่าอดีตแน่นอน ทั้งจำนวนพรรคที่มีมากถึง 4 พรรค ประกอบด้วย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคเพื่อแผ่นดิน

(พรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตย อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของอัยการสูงสุดจะเสนอสำนวนยุบพรรคให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาหรือไม่ หลังก่อนหน้านี้ได้นำสำนวนกลับมารวบรวมใหม่โดยคณะทำงานร่วมระหว่าง กกต. และอัยการสูงสุด ขณะที่พรรคพลังประชาชนรอลงมติโดย กกต. ในวันที่ 2 ก.ย. ว่า ส่งเรื่องยุบพรรคให้อัยการสูงสุดหรือไม่ ส่วนพรรคเพื่อแผ่นดินอยู่ระหว่างดำเนินการทำสำนวนส่งให้ศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง ชี้ขาดการให้ใบแดงเช่นเดียวกับกรณีใบแดงของนายยงยุทธ)

แม้จำนวนพรรคน้อยกว่าภาคแรกไป 1 แต่อย่าลืมว่าแต่ละพรรคที่เข้าชิงครั้งนี้ ล้วนอยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น! แถมยังมีพรรคที่ถือเป็นสถาบันการเมืองอย่างพรรคชาติไทยของ “ผู้เฒ่าการเมือง” นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย รวมอยู่ด้วยคดียุบพรรคครั้งนี้จึงเล็กไม่ได้แล้ว ยิ่งเมื่อพิจารณาการทำหน้าที่ของ กกต.ชุดปัจจุบัน ภายใต้กฎหมายใหม่ที่ทั้งเข้มทั้งงวดกว่าอดีต โดยเฉพาะมาตราสังหารอย่าง 237 ของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 103 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. เมื่อนำมาประกอบกับกรณีพลังประชาชนที่ศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง พิพากษาว่าการกระทำของ นายยงยุทธ

ติยะไพรัช อดีต ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน มีความสัมพันธ์กับพรรคและให้ประโยชน์กับพรรคชัดเจน ดังนั้น การกระทำดังกล่าวพรรคต้องร่วมรับผิดชอบ
น่าจับตาสุดอีกประเด็น คือ ทีท่า กกต. ตั้งแต่ต้นกระทั่งปัจจุบัน มีทิศทางเดียวกันตลอดว่าไม่มีสองมาตรฐาน ดูตัวอย่างการตัดสินจากพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยได้ จับกระแสยุบพรรคภาค 2 บรรดานักฟันธงทั้งหลายจึงเห็นว่า น่าจะโดนกันถ้วนหน้า ขณะที่สถานการณ์ของนักการเมืองเดาว่าอาจไม่เดือดร้อนมากมายอย่างที่คิด โดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่างพรรคพลังประชาชน ซึ่งแสดงตนไม่สนมติ กกต. เพราะได้วางแผนเตรียมการล่วงหน้าเกินผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วด้วยซ้ำ

คิดการรอบคอบ ข้ามช็อตไปกันขนาดนี้ เพื่อเหตุผลเดียว คือ ป้องกันการเมืองสะดุด อย่างไรก็ตาม ล่าสุด มีเพียงพรรคพลังประชาชนที่ออกตัวเคลื่อนทัพหน้าไปก่อน ขณะที่พรรคขนาดย่อมลงมายังนิ่ง แต่คงเห็นอาการขยับอย่างชัดเจนมากขึ้นเมื่อสถานการณ์จวนตัวกว่านี้สังเกตจากคำเปิดใจของนายบรรหารเนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบ 76 ปี วันที่ 19 ส.ค. เมื่อมีคำถามถึงการเตรียมรับมือยุบพรรคเช่นเดียวกับพลังประชาชนไว้หรือไม่“ยัง แต่ตรงนี้ถือเป็นวิถีทางที่ถูกต้องเขาต้องเตรียมการไว้ก่อน ซึ่งพรรคชาติไทยคงต้องเริ่มคิดว่าต้องทำอย่างไร มันหนีไม่พ้นหากมีการถูกยุบ ในรัฐธรรมนูญเขาก็ให้ย้ายก็คงต้องหาที่ไป”

และเมื่อถามว่า ได้เตรียมพรรคสำรองไว้หรือให้ย้ายไปสังกัดพรรคอื่น
“ยังไม่เริ่มคิด ผมก็ยังไม่รู้ แต่อะไรที่ดีกว่าก็คงจะเอาอย่างนั้น”ถือว่าเริ่มตื่นตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ส่วนเมื่อถึงสถานการณ์จริงแล้วจะลุกขึ้นสู้หรือไม่ หรือเลือกสู้แบบไหน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเมื่ออย่างน้อยการที่พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคใหญ่นำร่องเตรียมการไปก่อน ก็ทำให้พรรคขนาดย่อมลงไปนอนใจได้บ้างว่า สุดท้ายหากไม่มีตัวเลือกจริง การย้ายสังกัดพรรคไปอยู่ร่วมกันก็เป็นโอกาสที่รัฐธรรมนูญเปิดทางรอดไว้ให้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็น 1 ในกรรมการบริหารพรรค ไม่ถูกตัดสิทธิการเมือง 5 ปี สามารถไปเริ่มชีวิตใหม่โดยย้ายสังกัดภายใน 60 วัน หลังต้องคำพรรคถูกยุบพรรค