WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 4, 2008

แถลงการณ์ของ 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

แถลงการณ์ของ 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมือง

ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงปิดคดีในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 โดยหลังจากที่มีการแถลงปิดคดีแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในวันเดียวกันให้ยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค พร้อมทั้งสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคทั้งสามพรรคนั้น
ระหว่างรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป เรา กลุ่ม 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความคิดเห็นเบื้องต้นต่อคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. ความยุติธรรมเป็นคุณค่าสูงสุดที่องค์กรตุลาการจำต้องรักษาไว้ให้มั่นคงและแสดงออกให้สาธารณชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่ว่าความขัดแย้งภายในสังคมจะเป็นอย่างไร องค์กรตุลาการจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นว่าการพิจารณาคดีและการวินิจฉัยคดีจะเป็นไปตามกรอบของกฎหมายบนพื้นฐานแห่งความเป็นธรรม
2. ความน่าเชื่อถือต่อองค์กรตุลาการ แท้ที่จริงหาได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล หรือการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว ซึ่งเราทุกคนจำต้องเคารพแต่อย่างใดไม่ ตรงกันข้าม เรื่องดังกล่าวนี้จำต้องเกิดมาจากความสมเหตุสมผลในเหตุผลประกอบคำพิพากษา ความเป็นภววิสัยของเหตุผลประกอบคำพิพากษา อีกทั้งความเป็นอิสระและการดำรงตนอย่างปราศจากอคติของผู้พิพากษาเท่านั้น คำพิพากษาของศาลจะมีคุณค่าหรือไม่ อย่างไร นอกจากเพราะกฎหมายกำหนดให้คำพิพากษามีค่าบังคับแล้ว ก็ยังต้องอาศัยความเชื่อถืออันกอปรด้วยเหตุผลของสาธารณชนประกอบกัน
3. ในการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อนำไปสู่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้ข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 32 และข้อ 37 จะกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีดุลพินิจในการงดไต่สวนพยานหลักฐาน หากศาลเห็นว่าคดีหนึ่งคดีใดมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญจะปฏิเสธการรับฟังพยานหลักฐานทั้งหมดอย่างสิ้นเชิงจากผู้ถูกร้องตลอดจนจากบุคคลที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำวินิจฉัยได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมจะกล่าวไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำวินิจฉัยได้มีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่แล้วตามหลักการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม

4. ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็คือ แม้ศาลจะเปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องในคดีได้แถลงปิดคดีก็ตาม แต่ในวันที่มีการแถลงปิดคดี เมื่อผู้ถูกร้องได้แถลงปิดคดีเสร็จสิ้นแล้ว ถัดจากนั้น ด้วยระยะเวลาเพียงเล็กน้อย ศาลรัฐธรรมนูญก็อ่านคำวินิจฉัยในทันที และปรากฏความผิดพลาดในคำวินิจฉัยซึ่งทำให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องแก้ไขคำวินิจฉัยในขณะที่อ่าน อันเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป การอ่านคำวินิจฉัยของศาลโดยรีบด่วนเช่นนี้ คำวินิจฉัยที่ศาลอ่านจะเป็นคำวินิจฉัยที่ผ่านการพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบกอปรด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ วิญญูชนย่อมพิจารณาได้เอง
ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น ในสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังขาดความไว้วางใจระหว่างกันอย่างรุนแรงของผู้คนในสังคม เราเห็นว่าความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ย่อมมิใช่เพียงเพราะว่าศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้แล้วจึงสมควรยอมรับ หากทว่ายังจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดของเรื่องประกอบกันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมหรือความอยุติธรรม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรคดังกล่าวนี้ จะก่อให้เกิดความยุติธรรมอันควรแก่การสมานฉันท์หรือไม่ หรือมีคุณค่าควรแก่การยอมรับนับถือในฐานะที่เป็นคำวินิจฉัยในทางตุลาการหรือไม่ คำตอบย่อมขึ้นอยู่กับเสียงแห่งมโนธรรมสำนึกของแต่ละบุคคล

รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อ.ธีระ สุธีวรางกูร
อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3 ธันวาคม 2551