WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 3, 2008

กีฬาสี - การเมือง

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

โดย วิภาพ คัญทัพ


ชื่อเรื่องบทความนี้ออกจะแปลกอยู่ เพราะคำว่า “กีฬาสี” กับคำว่า “การเมือง” เหมือนไม่ค่อยเกี่ยวข้องกัน
แต่แท้จริงแล้วเกี่ยวข้องกันเหลือเกิน

กีฬาสีนั้นเกิดขึ้นในโรงเรียน เพื่อปลูกฝังความรักหมู่คณะและแข่งขันกันดี เป็นกิจกรรมที่สอนคนให้รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ไม่เหยียดหยันย่ำยีกัน ไม่ว่าตนจะอยู่ในสถานการณ์ไทย ไม่ต่างจากบทเพลงกราวกีฬา ประพันธ์คำร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ว่า กีฬาเป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน ซึ่งประพันธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2437 เพื่อใช้ในการแข่งกีฬาสีของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) ต่อมาเพลงนี้ได้รับความนิยมและแพร่หลายออกไปสู่การแข่งขันกีฬาทั่วไป

กิเลสนั้น ย่อมหมายถึงการรักตน รักพวกพ้อง เพราะคิดถึงแต่เพียงแง่ตน แง่พวกพ้องมากเกินไป เพราะถ้าหากคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก ปัญหาการช่วงชิงอำนาจ ทำลายล้างกัน ก็ไม่น่าจะเกิด

ปัญหาทางการเมืองของประเทศในขณะนี้ ฟันธงได้ว่าอยู่ที่ตัวบุคคล อยู่ที่นิสัย โดยเฉพาะนิสัยของผู้นำประเทศ
บ้านเราหาคนที่รักประเทศ รักประชาชนไทย โดยไม่หวังประโยชน์สวนตนได้ยาก ผู้ครองอำนาจเก่า กำลังยื้อแย่งอำนาจไว้ เพราะยึดติด เหมือนไม่คิดตาย และไม่หวังสร้างสรรค์อะไรไว้ให้คนรุ่นหลัง เช่นนั้นจึงไม่ต้องการให้อำนาจหลุดออกจากวงจรชีวิตของตนไปโดยง่าย
อำนาจประชาธิปไตย ไปไม่ถึงประชาชนเสียที

บทบาทของสื่อมวลชนไทย ไม่ได้ช่วยให้เกิดภาวะปัญญากระจ่างแจ้ง กลับเสนอข่าวด้านเดียวตามนโยบายที่ถูกครอบงำโดย อำนาจมืด ที่เรียกว่ามืดเพราะชักใยอยู่เบื้องหลัง ไม่แสดงตัวชัดเจนว่า เป็นอำนาจ ณ แห่งหนตำบลใด แต่ปรากฏเคลื่อนไหวและออกมาเป็นท่าทีในเบื้องหน้าสื่อนั้นๆ บุคลากรในองค์กรสื่อ ต่างทำงานอย่างไม่เป็นตัวของตัวเอง แม้จะมีความคิด แต่เป็นได้แค่กลไกชิ้นหนึ่งที่เคลื่อนไหวไปตามๆ กัน

ตัวอย่าง เช่น เมื่อมีข่าวศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้พันธมิตรฯ ออกจากพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ แต่สื่อตั้งใจเสนอข่าวในลักษณะศาลเป็นแค่ตัวประกอบ การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เป็นตัวเอก แทนที่จะรุมประณามว่า กลุ่มพันธมิตรฯ พยายามจะขัดคำสั่งศาล

สื่อกลับให้ท้ายพันธมิตรฯ อย่างชัดเจน แทนที่จะเชิดชูสถาบันศาล อันทำหน้าที่ซึ่งสถิตไว้ด้วยความยุติธรรม
มีนักธุรกิจออกมากล่าวว่า อยากให้พันธมิตรฯ เคลื่อนไหวในที่สาธารณะ ที่เหมาะสม แทนที่จะรุกรานหน่วยการงาน ซึ่งมีความหมายต่อผลงานระดับประเทศ แน่นอน ข้อเสนอนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะการเข้าไปรุกรานสนามบิน แทนที่

สาธารณะนั้น ก็เพราะต้องการจะสร้างแรงบีบคั้นอย่างรุนแรงไปสู่การทำงานของรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบถึงคนกลุ่มใดใด เช่น กลุ่มอิสลามิกชนซึ่งกำลังจะเดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเมกกะ ตลอดจน กลุ่มนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว และนักกีฬา ทั้งไทยและเทศที่มีความต้องการเดินเข้าออกประเทศไทย ฯลฯ เป็นต้น

สื่อมวลชน รวมไปถึงนักวิชาการบางคน รายงานข้อมูลเหมือนความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของรัฐบาลฝ่ายเดียว ทำนองว่าเป็นเพราะรัฐบาลดื้อ นายกฯ ไม่ยอมลาออก และไม่ยอมยุบสภา สื่อยังอุตส่าห์ย้ำเน้นอีกว่า นั่นเป็นหนทางแก้ปัญหาทางเดียว

กลุ่มกดดันสร้างสรรค์วิธีการแปลกๆ ที่เรียกด้วยศัพท์สวยหรูว่า อารยะขัดขืน แต่พฤติกรรมนั้นไม่ผิดอะไรกับการขัดขืนของอันธพาล

ขณะเดียวกัน เชื่อหรือคิดเอาเองในทันทีว่ากลุ่มกดดันรัฐบาลในนามพันธมิตรฯ จะยุติการชุมนุมและเคลื่อนไหววุ่นวายลงได้ในทันที ทั้งที่ความจริงที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนผู้นำประเทศแล้วและเปลี่ยนอีก เช่น จากอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช จนถึง นายกรัฐมนตรี คนปัจจุบัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปรากฏการณ์นั้นๆ ผ่านไป ก็ไม่ทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มกดดันยุติลงได้ และน่าสังเกตอีกว่าเคลื่อนไหวในทันที โดยไม่เปิดจังหวะให้ผู้บริหารประเทศได้ทำงานนานนัก นั่นหมายถึง ข้อน่าสงสัย หรือชวนให้ตั้งคำถามขึ้นได้ว่า

การเคลื่อนไหวของคนกลุ่มนี้มีเป้าหมายเพื่ออะไรแน่ ที่คนพยายามมองโดยโยงเข้าไปสู่หลักการประชาธิปไตยนั้น ถูกหรือไม่ อย่างไร

รศ.ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ คณบดีวิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งข้อสังเกตผ่านรายการข่าวทางโทรทัศน์ว่า เพราะอำนาจอยู่ในส่วนกลางมากเกินไป ทำให้เกิดการช่วงชิงไม่หยุดหย่อน แบ่งเป็นฝักฝ่ายไม่ยอมลงให้กันได้โดยง่าย มีผู้บอกกล่าวแก่ผู้เขียน โดยพูดภาษาง่ายๆ ว่าฝรั่งต่างชาติงุนงงตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในประเทศของยู เมื่อฝรั่งเห็นคนแต่งเสื้อเหลืองแดงรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนบ่อย และขยายความคำถามต่อไปอีกว่า ประเทศของยูกำลังแข่งกีฬาสีกันหรือ ภาพที่เห็นโดยสายตาอาจหมายถึง คนที่จัดตั้งเป็นสีแดง-สีเหลือง กำลังแข่งขันอะไรกันสักอย่างหนึ่ง ซึ่งประเพณีในใจฝรั่งคนนั้นทำให้เข้าใจไปว่าเกิดกีฬาสีอย่างในโรงเรียนหรืออย่างไร ซึ่งดูๆ ก็พิกลอยู่เพราะไม่ใช่สนามการแข่งกีฬาสีจริงๆ

เนื่องเพราะเป็น กีฬาสี-การเมือง ที่ไม่ได้แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน แต่ดูจะเป็นการกระตุ้นหรือก่อกองกิเลสเสียมากกว่า ถ้าหากคนกลุ่มใดชนะใจตัวเองได้ ก็ย่อมจะมองเห็นปัญหาที่แท้จริง
และรวมพลังกันเพื่อแก้ปัญหาได้ถูกจุด

คำกล่าวทำนองว่า ตนเองจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงประเทศนี้ด้วยอาวุธสงคราม แล้วตนจะใหญ่ที่สุดในประเทศหรือในโลกนี้ จึงเป็นคำกล่าวของคนที่จมปลักอยู่กับความโง่เขลา ทั้งๆ ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว คำกล่าวเช่นนี้ย่อมไม่เข้าหูผู้คนปัจจุบันในโลกนี้ ที่ได้พัฒนานิสัยใจคอ จนล่วงพ้นจากความเป็นสัตว์

ดังนั้น หากกล่าวอย่างสั้นที่สุด การจะเสนอตัวเสนอไปสู่ระดับนานาชาติ ที่เรียกว่ากลุ่มอารยะประเทศได้อย่างสง่าภาคภูมิ จำเป็นต้องพัฒนานิสัยคนในประเทศตนให้ดีเสียก่อนเป็นส่วนมาก

อบรมฝึกหัดไว้แต่ตัวน้อยๆ เริ่มจากแข่งกีฬาสีในโรงเรียนกันนั่นเทียว และต้องมีครูสอนให้เข้าถึง เข้าใจปรัชญาของกีฬาสีอย่างแท้จริง ที่ว่าแบ่งเป็นคณะหรือเป็นกลุ่มก้อนนั้น มิใช่เพื่อแยกขาดจากกัน แต่เพื่อช่วยกั้นขัดเกลาจิตใจจากคนดิบไปสู่ความเป็นมนุษยชาติโดยสมบูรณ์