WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 6, 2008

นักวิชาการหนุน“เพื่อนเนวิน”ดันรัฐบาลสมานฉันท์

ที่มา ประชาทรรศน์

ฝุ่นตลบจับจัดตั้งขั้วรัฐบาล! นักวิชาการเห็นพ้อง “เพื่อนเนวิน” หนุนนายกฯสเปกสมานฉันท์ ขวาง “สารวัตรเหลิม”ขึ้นแท่นผู้นำคนใหม่ เหตุสไตล์“ปะ-ฉะ-ดะ”อาจทำให้บ้านเมืองขัดแย้งอีกคำรบ “เจ้าพ่อวังน้ำเย็น”รับลูก ฟันธงกาชื่อ”เฉลิม”ทิ้งได้เลย

หลังจากตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน (พปช.) และอีก 2 พรรคการเมือง คือ พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย พลันให้เกิดกระแสการย้ายพรรคของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขณะที่กลุ่มการเมืองต่างๆ ได้มีการเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมมาเป็นตัวเลือก เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นไปอย่างคึกคัก

ด้านหนึ่งได้มี ส.ส.บางส่วนจากพรรคพลังประชาชนเดิม ทยอยกันสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว 180 คน และได้มีกระแสยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นคนสำคัญของพรรค มีความประสงค์ที่จะสนับสนุน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการ รมว.สาธารณสุข เป็นนายกรัฐมนตรี

ในขณะเดียวกัน กลับมี ส.ส.อีกส่วนหนึ่งแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ส.ส.ภาคกลางและภาคใต้ของพรรคพลังประชาชนที่มีอยู่เกือบ 10 คน ส.ส.กลุ่มนายสรอรรถ กลิ่นประทุม อีก 11 คน กลุ่มส.ส.บ้านริมน้ำอีก 12 คน และกลุ่มเพื่อนเนวินอีก 37 คน และส่งผลให้ ส.ส.เหล่านี้ ยังไม่ตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ทั้งนี้ ส.ส.กลุ่มดังกล่าวมองว่าการจับขั้วแบบเดิม และการนำเอา ร.ต.อ.เฉลิม มาเป็นนายกรัฐมนตรี จะยิ่งสร้างปัญหาและไม่สามารถยุติวิกฤติของบ้านเมืองได้

โดยล่าสุดได้มีการเจรจากับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยยังไม่ได้ลงรายละเอียดว่ากลุ่มเหล่านี้จะอยู่ในสังกัดพรรคใด ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไข นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ส.ส.กว่า 70 ชีวิตดังกล่าว ปฏิเสธที่จะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีพฤติกรรมที่น่ากังวลหลายประการ โดยเฉพาะแนวคิดตามระบอบประชาธิปไตย ว่าจะเป็นการเข้าไปแสดงท่าทีเสมือนสนับสนุนการรัฐประหาร สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ เคยปฏิเสธการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 และยังเคยเสนอเรื่องนายกพระราชทาน

ทั้งนี้ สูตรดังกล่าวเชื่อกันว่าเป็นทางออกทางการเมืองที่ดีที่สุดของทุกฝ่ายในขณะนี้ ซึ่งหากพรรคประชาธิปัตย์รับเงื่อนไข ก็จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ที่มี ส.ส. 164 คน มีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ขณะเดียวกันหากพรรคเพื่อไทยมีตัวบุคคลที่เหมาะสมและสามารถเข้ามาแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ ซึ่งไม่ใช่ ร.ต.อ.เฉลิม ก็อาจเป็นเงื่อนไขที่น่าสนใจเช่นกัน

สำหรับกรณีของ ร.ต.อ.เฉลิม นอกจากจะถูกปฏิเสธจากกลุ่ม ส.ส.แล้ว ก็ยังได้รับการคัดค้านจากบุคคลอื่นๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ 5 พรรคร่วมรัฐบาลที่มีมติตรงกันว่า จะไม่เอา ร.ต.อ.เฉลิม หรือ ส.ส.จากอดีตพรรคพลังประชาชน เพราะเกรงว่าจะสร้างความขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง

ทางด้าน นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช มองว่ารัฐบาลชุดใหม่คงไม่ใช่รัฐบาลแห่งชาติ แต่เป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชน นำคนกลางที่มีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งมีทั้งนายทหาร ตำรวจ และยามนี้สิ่งที่ต้องห้ามคือ คนจากพรรคพลังประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทุกคนต้องอยู่ในระบบ ขณะเดียวกัน ยืนยันว่ายังไม่มีใครทาบทามให้นั่งนายกรัฐมนตรี และที่ผ่านมาได้ปลดระวางตัวเองไปแล้ว แต่หากมีความจำเป็นก็ไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ

ส่วนกรณี ร.ต.อ.เฉลิม มีชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น นายเสนาะ กล่าวว่า คนนี้ตัดไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ร.ต.อ.เฉลิม เป็นคนไม่ดี แต่ถ้ามาก็เหมือนเอาไฟมาเผาบ้าน และยังมองว่าความพยายามของพรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนขั้วการเมือง เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

นายสุริชัย หวันแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะต้องเป็นคนที่ไม่ยั่วเย้าให้เกิดความขัดแย้งอีก เรื่องนี้สำคัญมาก ประเทศไทยต้องการนักการเมืองที่เป็นผู้ใหญ่ ที่ไม่เอาประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง คนที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องไม่ทำให้เกิดเรื่องขัดแย้ง และจะต้องเพิ่มพื้นที่ในการพูดคุยกันได้

เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ ร.ต.อ.เฉลิม จะได้มานั่งในตำแหน่งสำคัญตามกระแสข่าวลือ นายสุริชัย กล่าวว่า ก็เกิดปัญหาเก่าอีก เชื้อเชิญให้เกิดปัญหาอีก ทุกวันนี้บ้านเมืองยังไม่เจ็บป่วยกันอีกหรือ นายกรัฐมนตรีต้องเป็นคนที่ประชาชนให้ความเคารพในเรื่องความดีงาม

นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ไม่ขอวิจารณ์ตัวบุคคล แต่ขอเปรียบการเมืองที่ผ่านมาว่าเปรียบเสมือนทีมฟุตบอลซึ่งนักฟุตบอลของทีมเอมีผู้เล่นเด็กๆ ลงสนาม แล้วก็โดนใบแดง 111 คน เมื่อเลือกทีมบีมาลงสนามแทน ก็โดนใบแดงไปอีก ขณะนี้จึงเหลือผู้เล่นสำรองของตัวสำรองอีก ก็คือทีมซี ซึ่งก็ต้องหาผู้เล่นเกรดเอ ซึ่งก็ต้องสรรหาบุคคลที่จะไปรอด แต่ก็ต้องมาคิดอีกว่าจะหาผู้เล่นเกรดเอได้จากที่ไหนบ้าง

“จะเป็นจากคนในพรรคร่วมรัฐบาล จากพรรคฝ่ายค้าน หรือจากคนนอก แต่คนนอกนั้นจะต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ โดยให้เข้ามาตั้งหน้าตั้งตาบริหารอย่างเดียว แล้วใครจะบริหารพรรคก็ปล่อยให้สมาชิกพรรคได้บริหารไป ต้องเลือกทีมที่ดีที่สุด แต่ถ้ายังจะเสนอแต่ทีมซี ซึ่งครั้งที่แล้วทีมบี นายกฯเองก็เคยบอกว่าคณะรัฐมนตรีดูจะขี้เหร่ไปหน่อย แล้วทีมซีไม่ยิ่งขี้เหร่ไปใหญ่เหรอ” รศ.ดร.โคทมกล่าว

ด้านนายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม และอดีตรองโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวปฏิเสธตอบคำถามที่ว่าคิดเห็นอย่างไรกับ ร.ต.อ.เฉลิม ที่มีท่าทีจะได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี กล่าวเพียงว่ายังไม่ได้มีการคุยกับสมาชิกในกลุ่ม ว่าจะเลือกใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพียงแต่คุยกันเรื่องอนาคตของบ้านเมืองต่อจากนี้ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะทุกคนต้องการเห็นบ้านเมืองสงบสุข และโดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้มีชื่อของใครไว้ในใจ ยังคงคิดอยู่ ทั้งนี้ตนไม่เกี่ยงว่าจะเป็นใคร เท่าที่เห็นก็มีคนที่เหมาะสมอยู่หลายคน แต่ส.ส.ก็ยังไม่ได้มีการคุยกัน โดยตามมารยาทก็ต้องให้พรรคการเมืองใหญ่ที่มีเสียงอยู่ในสภามากเป็นพรรคเลือกบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ต้องดูความเห็นจากพรรคร่วมรัฐบาลด้วย

ทั้งนี้ ต้องการให้บรรยากาศเลือกบุคคลมาทำหน้าที่ดังกล่าว เป็นแบบการปรึกษาหารือกันมากกว่า ถ้าคนของพรรคพลังประชาชนเหมาะสมก็ดี แต่ถ้าคนในพรรคร่วมรัฐบาลเหมาะสมกว่าก็อาจจะปรึกษาให้เลือกคนนั้นดีหรือไม่

ด้านนายบุญจง วงศ์ไตรรงค์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ชื่อของ ร.ต.อ.เฉลิมปรากฏอยู่ในสื่อ แต่ ส.ส.ยังไม่ได้คุย หรือตัดสินใจกัน ที่จริงจะเป็นใครก็ได้ที่มีคุณสมบัติครบ ขณะนี้ตั้งสเปกไว้ว่าของให้บุคคลนั้นที่ได้เสนอชื่อตั้งมาแล้ว ไม่ใช่บุคคลที่จะสร้างความแตกแยกในประเทศ ไม่มีการปิดล้อมสนามบิน หรืออะไรก็ตามแต่ สิ่งเหล่านี้ต้องไม่เกิด ส่วนจะย้ายไปอยู่พรรคใดนั้น ยังไม่ได้ตัดสินใจ เรื่องนี้มองว่ายังพอมีเวลา 60 วันว่าจะไปสังกัดพรรคใด และหลังวันที่ 5 ธันวาคมจะมีการพูดคุยอย่างชัดเจนมากขึ้น

ทางด้าน นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเดียวกัน กล่าวว่า ไม่ได้มีชื่อของ ร.ต.อ.เฉลิมเพียงคนเดียว แต่ยังคงมีชื่อของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร และอีกหลายคน แต่ก็ยังไม่ได้มีข้อสรุป ยังเดาได้ยาก เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง คนที่จะถูกเลือกมานั้นนอกจากปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน แล้วยังมีปัจจัยของสังคมอีกหลายอย่าง ซึ่งตนเองก็ยังไม่ได้ประชุมกับเพื่อนในกลุ่ม แต่เท่าที่ทราบคือยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะเป็นใคร กำลังดูคนที่เหมาะสมอยู่ ถึงอย่างไร ในสถานการณ์เช่นนี้ คงจะหาคนที่ถูกใจ 100 เปอร์เซ็นต์ได้ยาก ก็ต้องเลือกจากคนเท่าที่มีอยู่

“แต่ละคนก็มีข้อดี ข้อด้อยต่างกัน แต่ใครก็ได้ แต่ขอให้เห็นตรงตามเอกภาพของพรรคร่วมด้วย ตัวคนไม่สำคัญ แต่ความเป็นเอกภาพของพรรคและพรรคร่วมต่างหากที่จะเห็นว่าใครเหมาะสมก็จะเป็นคนนั้น” นายสุทินกล่าว

เช่นเดียวกับ นายนิสิต สินธุไพร อดีตส.ส.ร้อยเอ็ด และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ที่กล่าวไม่ขอออกความเห็นกรณี ร.ต.อ.เฉลิม เป็นตัวเก็งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดยกล่าวว่าตนไม่สามารถโหวตเลือกใครได้ เนื่องจากถูกตัดสิทธิทางการาเมืองในฐานะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบพรรคไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา