WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 8, 2009

ยุทธการ “ทักษิณ” ดิ้นอีกเฮือก

ที่มา ไทยรัฐ

เข็น เฉลิม ขึ้นเก้าอี้นายกฯนำศึกซักฟอกล้ม อภิสิทธิ์

หลังจากประกาศตีปี๊บโหมโรงมาเป็นแรมเดือน

ล่าสุด ฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทยก็ได้มีมติอย่างเป็นทางการที่จะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในวันที่ 11 มีนาคมนี้ เป้าหมายชัดเจนเตรียมเล่นงานตั้งแต่หัวขบวน

ด้วยการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

พ่วงด้วยรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีกอย่างน้อย 3 คน ได้แก่ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

พร้อมทั้งมีมติส่งรายชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส. ระบบสัดส่วน และประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นนายก-รัฐมนตรี แนบญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ

ชูโรงให้ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นนายกฯคนต่อไป ถ้าโค่นรัฐบาลได้สำเร็จ

งานนี้ บรรดา ส.ส.พรรคเพื่อไทยต่างประโคมโหมกระแสกันเต็มที่ว่า มีข้อมูลเด็ดถึงขั้นน็อกรัฐบาลกลางเวทีสภาฯ

โดยเฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิมในฐานะหัวหน้าทีมทำศึกอภิปรายฯ ถึงกับประกาศเปรี้ยง แสดงความมั่นอกมั่นใจข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ในมือ

ท้าเดิมพันตำแหน่ง หากฟังการอภิปรายฯแล้วเห็นว่าไม่ได้เรื่องจะลาออกจากตำแหน่งประธาน ส.ส.พรรค

เพื่อไทยทันที

ปลุกขวัญ เรียกความฮึกเหิมกันเต็มที่

แน่นอน หลักการในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา

ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเฉพาะ ส.ส.ฝ่ายค้าน มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบการทำงาน การใช้อำนาจรัฐ และ

งบประมาณแผ่นดินของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล

เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา

แต่การเมืองไทยในระยะหลังค่อนข้างสลับซับซ้อน ยิ่งมีการช่วงชิงอำนาจรัฐกันอย่างรุนแรง

ก็ยิ่งทำให้มาตรการตรวจสอบควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือห้ำหั่นฟาดฟันกันทางการเมืองมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นกระทู้สด ญัตติทั่วไป รวมถึงญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ

โดยเฉพาะการตรวจสอบรัฐบาลด้วยการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในยุคที่ผ่านๆมา ปกติแล้วทางฝ่ายค้านจะเปิดโอกาสให้เวลารัฐบาลได้ทำงานบริหารประเทศไประยะหนึ่งก่อน 3-4 เดือน หรือหนึ่งสมัยประชุม

เมื่อพบว่ามีปัญหาการทุจริตคอรัปชัน หรือความผิดพลาดบกพร่องในการบริหารราชการ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ

ถึงตอนนั้นจึงจะใช้มาตรการตรวจสอบระดับรุนแรง ด้วยการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ

แต่มาคราวนี้ การเมืองมีการพลิกขั้ว พรรคประชา-ธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล หลังมีการยุบพรรคพลังประชาชน โดยมี ส.ส.จากพรรคแกนนำและพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ฉีกขั้วมาสนับสนุน

ไม่ใช่รัฐบาลหลังการเลือกตั้งธรรมดา แต่เป็นรัฐบาลที่เกิดจากการหักดิบกันมา

แน่นอน ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย ที่โดนพวกเดียวกันหักหลัง พลิกขั้วให้หลุดจากอำนาจ ย่อมเจ็บแค้นฝังลึก

ตรงนี้จึงเป็นตัวเร่งที่ทำให้มีการเปิดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบในระบบ เพื่อควบคุมการบริหารของรัฐบาลไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ถือเป็นเรื่องที่ดี

โดยเฉพาะถ้ารัฐบาลมีพฤติการณ์ทุจริตคอรัปชัน หรือบริหารราชการผิดพลาดบกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ฝ่ายค้านต้องทำหน้าที่ตรวจสอบทันที ช้าไปวันเดียวก็ไม่ได้

ยิ่งถ้าการตรวจสอบของฝ่ายค้าน ทำหน้าที่โดยสุจริต ข้อมูลหลักฐานแน่นหนา ประชาชนยิ่งได้ประโยชน์

ไม่ใช่มีข้อมูลแค่นิดหน่อย แต่ตีปี๊บโหมกระแสเอามัน ถึงเวลาจริงไม่ได้เนื้อได้หนัง ฝ่ายค้านก็จะเสียเครดิต เสียความน่าเชื่อถือจากสังคม

ขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลทั้งตัวนายกฯอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีที่โดนจับขึ้นเขียงอภิปรายฯ ก็ต้องพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบ

เพราะในยุคนี้คนที่มาเป็นรัฐบาลต้องทำงานอย่างเปิดเผย ท่ามกลางการตรวจสอบจากหลายฝ่าย เหมือนต้องทำงานท่ามกลางสปอตไลต์

โดยสรุปแล้ว มาตรการตรวจสอบด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นเรื่องที่ดี แม้จะมีการเชื่อมโยงแฝงการชิงอำนาจทางการเมืองอยู่ลึกๆก็ตาม

เพราะการตรวจสอบจะช่วยทำให้การเมืองไทยสะอาดขึ้น

ที่สำคัญ ทุกฝ่ายต้องยอมรับการตรวจสอบ ไม่ว่าจะมีอะไรแฝงเร้น แต่ก็ยังถือว่าเล่นกันในเกมกติกา เล่นกันในระบบ

ฝ่ายค้านมีสิทธิอภิปรายตั้งข้อกล่าวหา รัฐบาลมีหน้าที่ต้องตอบชี้แจงแสดงเหตุผลแก้ข้อกล่าวหา

สุดท้ายตัดสินกันด้วยเสียงในสภาฯ

ถ้าเสียงโหวตไม่ไว้วางใจนายกฯเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.ในสภาฯ รัฐบาลก็ต้องล้มไปทั้งชุด

ถ้าเสียงโหวตไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีกระทรวงใดเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภาฯ รัฐมนตรีคนนั้น ก็ต้องหลุดจากตำแหน่ง แต่ถ้าเสียงโหวตไม่ไว้วางใจไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ก็อยู่บริหารประเทศต่อไปได้

ขณะเดียวกัน ประชาชนที่รับฟังข้อมูลการอภิปรายฯของฝ่ายค้าน และคำชี้แจงจากฝ่ายรัฐบาล ก็ถือเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินว่าจะเชื่อถือข้อมูลของฝ่ายใดมากกว่า

ถ้าประชาชนเห็นว่าข้อมูลฝ่ายค้านชัดเจน แม้รัฐบาลจะอาศัยเสียงข้างมากเอาตัวรอดไปได้ในสภาฯ แต่กระแสสังคมก็จะกดดันจนทำให้ต้องปรับ ครม. เหตุการณ์อย่างนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต

นี่คือภาพรวมของการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านๆมา ในกรณีที่ฝ่ายค้านมีข้อมูลหลักฐานแน่นหนา แต่แพ้เสียงโหวตในสภาฯ

อย่างไรก็ตาม สำหรับการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นการอภิปรายฯในห้วงที่การต่อสู้ทางการเมืองกำลังร้อนแรง

รัฐบาลที่มาจากการพลิกขั้ว ต้องเผชิญกับแรงกระแทกจากฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ยืนเป็นเงาทะมึนอยู่เบื้องหลัง

เพราะชัดเจนว่า ในห้วงเตรียมข้อมูลเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ส.ส.และแกนนำพรรคเพื่อไทยหลายคนได้เดินทางไปพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณที่ฮ่องกง

พร้อมออกมายอมรับว่า ได้นำข้อมูลที่จะอภิปรายฯไปหารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และได้รับไฟเขียวให้เปิดอภิปรายฯ

ขณะเดียวกัน คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้กำหนดยุทธศาสตร์การเมืองเป็น 3 จังหวะ

จังหวะแรก ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะใช้เวที นปช. และม็อบเสื้อแดง เคลื่อนไหวทั่วประเทศ กดดันรัฐบาลนอกสภาฯ และให้เป็นเวทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณโฟนอินเพื่อวิจารณ์ การบริหารงาน ตอกย้ำความผิดพลาดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยตั้งเวทีในจังหวัดหลักๆแต่ละภาค

จังหวะสอง ช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจปลายเดือนมีนาคม ฝ่ายค้านอภิปรายฯถล่มในสภาฯ ม็อบเสื้อแดงกดดันนอกสภาฯ

จังหวะสาม หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะให้ ส.ส.

เดินสายลงพื้นที่พบปะหัวคะแนนและสมาชิกพรรคทั่วประเทศ เพื่ออธิบายถึงมาตรการแก้ปัญหาที่ล้มเหลวของรัฐบาล และเน้นภาพลักษณ์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจสำเร็จ

ตบท้ายด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์การเมืองของพรรคในการนำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ โดยเน้นการทำการเมืองภาคชนบททั่วประเทศ เพื่อรักษาฐานเสียงของพรรค ชูแคมเปญ เอาทักษิณกลับบ้าน

ที่สำคัญ มีการกำหนดการเคลื่อนไหวยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 11 มีนาคม ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีคิวปาฐกถาผ่านระบบวีดิโอลิงค์ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในฮ่องกง วันที่ 12 มีนาคม

กำหนดวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ 25-26 มีนาคม ในขณะที่ม็อบเสื้อแดงประกาศนัดชุมนุมใหญ่ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลรอบใหม่ปลายเดือนมีนาคม

ช่วงเวลาคาบเกี่ยว สอดรับกันหมด เหมือนกำหนดปฏิทินเคลื่อนไหวไว้ล่วงหน้า

แน่นอน การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นสิทธิของฝ่ายค้าน ขณะเดียวกันก็เป็นสิทธิของ พ.ต.ท.ทักษิณที่จะวางยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมือง เพื่อให้ตัวเองได้กลับเข้าประเทศ

ขณะที่รัฐบาลก็มีหน้าที่ในการชี้แจงในสภาฯ และบริหารประเทศแก้ปัญหาของประชาชน

ทั้งนี้ ตามกติกาของรัฐธรรมนูญ เมื่อฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกฯจะต้องเสนอชื่อบุคคลที่จะมาเป็นนายกฯด้วย โดยงานนี้พรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม

การที่รัฐธรรมนูญกำหนดเช่นนี้ เพราะมีเจตนารมณ์ ให้การเมืองเปลี่ยนแปลงกันในระบบ

ถ้ารัฐบาลถูกคว่ำด้วยญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขั้วตรงข้ามที่เป็นฝ่ายค้าน ก็จะได้เป็นรัฐบาลแทน

ฉะนั้น บุคคลที่ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ต้องมีภาพลักษณ์โดดเด่น มีศักยภาพความรู้ความสามารถ มีความเหมาะสมกับตำแหน่งผู้นำประเทศ

ไม่ใช่เสนอชื่อออกมาแล้ว แม้แต่คนในซีกฝ่ายค้านด้วยกันก็ยังไม่ยอมรับ

การเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นนายกฯ แนบญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ จึงทำให้มองได้ว่าเป็นเพียงการเสนอเพื่อให้เป็นไปตามกติการัฐธรรมนูญเท่านั้น

และเมื่อสำรวจเสียงรัฐบาลแล้วยังแน่นปึ้ก ขณะที่ฝ่ายค้านเองกลับขาดความเป็นเอกภาพ

เพราะพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง และกลุ่มของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ในพรรคเพื่อแผ่นดิน ไม่เอาด้วยกับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งนี้

โอกาสที่จะล้มรัฐบาลกลางสภาฯจึงยังมองไม่เห็น

แต่สิ่งที่เห็นกันชัดๆก็คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การต่อสู้ของ พ.ต.ท.

ทักษิณ

ทักษิณยังขับเคลื่อนการเมืองเต็มที่

เหมือนเป็นผู้นำฝ่ายค้านตัวจริง.

ทีมการเมือง