WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 17, 2008

ปธ.รัฐสภาลากตั้งความอัปยศของประชาธิปไตย

ความอัปลักษณ์อย่างหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ที่คนรักประชาธิปไตยรับไม่ได้ คือ ย้อนกลับไปยอมให้มีสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งมาจากการลากตั้ง ด้วยการเรียกอย่างสวยหรูว่า ระบบคัดสรร ทั้งที่ตลอดมาประชาชนผู้รักประชาธิปไตย พยายามเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เพราะต้องการให้ ส.ส. และ ส.ว. มาจากการเลือกของประชาชน เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ

ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้หมกเม็ดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการลากตั้ง อย่างมีเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจของคนบางกลุ่ม ที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคพลังประชาชนที่ได้รับเลือกเข้ามาบริหารประเทศ

ข้ออ้างของผู้ออกแบบรัฐธรรมนูญ คือ ไม่ต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาตกอยู่ในอำนาจของพรรคการเมือง เข้าไปรับหรือให้การสนับสนุนพรรคการเมือง เกรงจะถูกแทรกแซง ไม่มีอิสระในการทำงาน

แต่เมื่อดูหน้าตาแต่ละคนที่ได้รับการสรรหาเข้ามา คนที่พอมีต้นทุนทางประวัติศาสตร์การเมือง และไม่อ่อนหัดจนเกินไป ก็จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่า สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหานั้น เป็นเด็กในคาถาของใคร เข้ามาเพราะโควตาการสนับสนุนของกลุ่มการเมืองใด

ใครจะรับประกันได้ว่า สิ่งแปลกปลอมในระบอบประชาธิปไตยเหล่านี้ จะไม่ถูกแทรกแซงโดยกลุ่มคนเหล่านั้น การทำงานของพวกเขาจะเป็นอิสระจริงหรือ

และที่สำคัญ มีคำถามที่ไม่มีคำตอบว่า 7 คนที่คัดสรร ดีกว่า ศักดิ์สิทธิ์กว่าการหย่อนบัตรเลือกตั้งของประชาชนอย่างไร

นักวิชาการที่ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิดหลายท่าน ออกมาให้ความเห็นอย่างปรามาสว่า วุฒิสภาจะกลายเป็นสภาพันธมิตรฯ อย่างช่วยไม่ได้ เพราะหลายท่านที่มาจากการสรรหา อิงแอบใกล้ชิดกันมานาน

จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชี้ควร “โละทิ้ง” สภาสูง เพราะไม่มีประโยชน์ ชำแหละ ส.ว. ในต่างประเทศเป็นเพียงสถานะให้ขุนนาง เสนาบดี อำมาตย์ หรือเป็นตัวแทนมลรัฐ ให้ได้มีที่ยืนในสังคม ขณะที่เหตุผลของประเทศไทยยังคงเอาไว้ เพราะ สสร. ในอดีต “กลัว” รัฐธรรมนูญโหวตไม่ผ่าน ชี้มี ส.ว. ลากตั้ง ทำให้ประชาชน 62 ล้านคนเสียเปรียบกรรมการ 7 คน นับเป็นหมื่นเปอร์เซ็นต์

“วันที่ 14 มีนาคม 2551 นี้จะมีการเปิดประชุมวุฒิสภาเป็นครั้งแรก มีการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ซึ่งเฉพาะหน้า ตำแหน่งประธานวุฒิสภาจะมีความสำคัญมากๆ ต่อการเมืองไทยในช่วงเดือนสองเดือนต่อไปนี้ เพราะเหตุว่าตำแหน่งประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา เมื่อประธานรัฐสภาไม่อยู่ หรือทำหน้าที่ไม่ได้ จะต้องให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่แทน เวลานี้ คุณยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานรัฐสภา ประกาศหยุดทำหน้าที่ เพราะฉะนั้นประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภา จะทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภา ที่จะมากำหนดทิศทางการทำงาน หรือความเป็นไปของรัฐสภาไทย ที่ประกอบด้วย 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพราะฉะนั้นตำแหน่งนี้สำคัญ

ผมได้เคยเขียนเอาไว้ว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานวุฒิสภา เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว เมื่อคุณยงยุทธประกาศไม่ทำหน้าที่ หยุดทำหน้าที่ เนื่องจากประกาศหยุดทำหน้าที่ ประธานรัฐสภาก็ตกไปอยู่ที่นายมีชัย ซึ่งนายมีชัยไม่รู้กี่เรื่อง แต่เรื่องหนึ่งคือ ได้ออกคำสั่งตั้งสภาพัฒนาการเมือง ตามพระราชบัญญัติที่ผ่านกฎหมายและบังคับใช้แล้ว เขาให้ประธานรัฐสภาเป็นคนแต่งตั้งสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองชั่วคราวก่อน 12 คน ปรากฏว่า นายมีชัยแต่งตั้งไปแล้ว 12 คน เรียกว่า เรียบร้อยโรงเรียนบวรศักดิ์ (นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ) เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เป็นเลขานุการของสภาพัฒนาการเมือง และโรงเรียน นายมีชัย ฤชุพันธ์ ไปแล้ว

สภาพัฒนาการเมืองมี 12 คน คนที่เป็นประธานชั่วคราวคือ อ.นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ข่าวว่ามีอดีต ส.ว. ครูหยุย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ และมีบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัย จำรัส สุวรรณเวลา คณบดีรัฐศาสตร์จุฬาฯ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อะไรต่างๆ

ที่นำเรื่องนี้มาเกริ่นเพื่อชี้ให้เห็นว่า ประธานวุฒิสภาที่เขาจะเลือกกันนี้ เฉพาะหน้านี้เป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก เพราะทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภา เป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฉะนั้นถ้าจะได้ผู้ใด ได้ใคร มันจะมีความหมายต่อการเมืองที่มีการต่อสู้ทางความ ระหว่างฝ่ายพวกเราคือ ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กับอีกฝ่ายหนึ่ง

ระบบของรัฐสภา ประเทศต่างๆ โดยทั่วไปมี 2 ระบบ 1.ระบบสภาเดียว 2.ระบบ 2 สภา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่จะใช้ 2 สภา ที่เคยใช้สภาเดียวใกล้บ้านเราคือ กัมพูชา สมัยเฮงสำริน สมเด็จฮุนเซน เวลานี้มีวุฒิสภาแล้ว เพื่อนผม 2-3 คน ได้เป็นวุฒิสภา ประเทศเราความจริงมีสภาเดียวมาหลายครั้งแล้ว แต่เป็นสภาปฏิวัติ หากเป็นสภาปฏิวัติ ถ้าเป็นสภาของคณะรัฐประหารเขาจะเรียกสภาของระบบทหารว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ...”

อ.จรัล ยังเล่าประวัติของการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาให้ฟังอย่างน่าสนใจทีเดียว
“รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่ส่วนใหญ่คนร่างจะเป็น อนุรักษนิยม อำมาตยาธิปไตย ทีแรกเขาอยากให้มีวุฒิสภา แทบไม่มีใครพูดถึงว่าไม่เห็นด้วยให้มีสภาเดียวดีกว่า แล้วไม่เพียงแค่ให้มีเท่านั้น ทีแรกเขาจะให้มาจากการสรรหา หรือจากการแต่งตั้ง จากการเลือกตั้งไม่เอา เพราะมันจะกลายเป็นสภาผัวสภาเมีย ในทำนองที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ สุดท้ายมีเสียงคัดค้านจากประชาชนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ตกลงจะประนีประนอม คือ ให้มาจากการเลือกตั้ง และจากการสรรหา หรือลากตั้งนี่แหละครับ
ทีนี้ ที่เราตั้งหัวข้อว่า ลากตั้ง และ เลือกตั้ง ใครได้ ใครเสีย คนที่ได้ก็คือ ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย คือพวกฝ่าย อนุรักษนิยม อำมาตยาธิปไตย คนชั้นสูง จะได้ประโยชน์เพราะมีคนของเขา เขาส่งคนของเขา หรือคนมีแนวคิด อุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกับเขา แต่ที่เสียแน่ๆ เขาเรียก เสียเปรียบประมาณ 10,000% ไอ้ 7 คน ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 45 ล้านคน เลือกได้ 76 คน เท่านั้นนะ เสียเปรียบคน 7 คน เลือกตั้ง 74 คน คิดคณิตศาสตร์ดูว่าเสียเปรียบกี่เปอร์เซ็นต์ ไอ้นี่เสียแน่ๆ”



ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ชี้ การเมืองสองขั้วทำสังคมแตกเป็นเสี่ยง เพราะมีพวกนอกรีตในระบอบประชาธิปไตย เล่นไม่เลิก ชี้ทางออกชาติ บทบาท ส.ว. ถูกต้อง และเป็นประชาธิปไตย เคารพเสียงส่วนใหญ่ ชี้ “หลักการ” สำคัญกว่า “ฮีโร่” ตัวบุคคล จี้ให้เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หลายมาตรา ซึ่งมีเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย
“ผมอยากจะบอกว่า พวกเรานั้นหัวใจเดียวกัน คือยึดหลักการประชาธิปไตย ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ต้องขอบอกว่า ยึดมั่นในหลักการตรงนี้ไม่เปลี่ยนแปลง และการที่ตัดสินใจลงสมัคร ส.ว. กทม. นั้นก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ควรจะมาจากประชาชน ควรจะมาจากการเลือกตั้ง แม้ประเมินแล้วก็รู้ว่าโอกาสที่จะชนะมีไม่สูงนัก และเป็นการเลือกตั้งครั้งแรก ฉะนั้นผมก็ไม่ได้รู้สึกอะไร นอกจากรู้สึกสบายใจที่ได้อาสาและได้ทำหน้าที่ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่รักชาติบ้านเมืองและระบอบประชาธิปไตยพึงกระทำ เมื่อมีโอกาสสามารถที่จะกระทำได้ ฉะนั้นไม่มีเลือดไหล และมีอุเบกขา คือวางเฉย ไม่ว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไรต้องยอมรับ...
ทีนี้สิ่งที่ผมเสนอในการเลือกตั้งคือ ความเป็นกลางและความเที่ยงธรรม เพราะผมมองว่าปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นมันจะไม่จบ ถ้า ส.ว. ไม่ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางและเที่ยงธรรม ทั้งสองคำเลย ทั้งเป็นกลางและเที่ยงธรรม เพราะว่าทั้งสองฝ่ายที่เขาขัดแย้งกันอยู่เนี่ย คือความขัดแย้งปกติในสังคม
ส.ว. มีทั้งจาก “สรรหา” หรืออาจจะเรียกว่า “ลากตั้ง” มีทั้งจากการเลือกตั้งจากประชาชน คน 7 คน ซึ่งผู้มีอำนาจจากผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้น เชื่อว่าเป็นคนดี 7 คนเนี่ย เป็นคนเลือก ส.ว. ลากตั้ง 74 คน ซึ่งน่าจะ ตั้งสมมติฐาน ว่าน่าจะเลือกคนดีมาเป็น ส.ว. คือการตั้งสมมติฐานแบบนี้เท่ากับว่าไม่เชื่อในประชาชน แล้วในที่สุดแล้ว ส.ว. สรรหา เป็นเรื่องของพรรคพวกอยู่ดี แน่นอนผมไม่ได้บอกว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศไทยนั้น บริสุทธิ์ ยุติธรรม หรือดีที่สุด เรามีปัญหาเหมือนกัน แต่ถ้าเราเชื่อในระบอบประชาธิปไตยนั้น เราต้องมีเลือกตั้ง เราต้องทำให้การเลือกตั้งนั้นบริสุทธิ์ยุติธรรมขึ้นเรื่อยๆ ให้สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นคือสิ่งที่เราต้องทำ เราต้องอดทน และเราต้องปล่อยให้ประชาธิปไตยมีพัฒนาการต่อไป...”
รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช แฉ เอกสารจากสำนักงานศาลยุติธรรม ที่ส่งถึง สสร. ให้ตัดวงจร อย่านำศาลไปเกี่ยวข้องกับ “กระบวนการสรรหาวุฒิสภา” โดยชี้เหตุผลว่า ศาลมีงานมาก และอาจจะทำให้มองว่าศาลไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่คณะผู้ยกร่างไม่ยอมทำตามข้อเสนอ ส่งผลให้เกิด “วงจรอุบาทว์” โดยอำนาจหน้าที่ ส.ว. ถอดถอนผู้พิพากษาศาลที่เป็นคนสรรหาตัวเองได้
“ประเด็นที่จะหยิบยกคือ ปัญหาในกรรมการสรรหาที่มีอยู่ เพราะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญเอากรรมการสรรหามา 7 ท่าน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ นักกฎหมาย ตุลาการ อย่างน้อยๆ 7 ท่านเป็นตุลาการแน่ๆ 3 ท่าน 4 ท่านอาจจะเป็นนักกฎหมายหรือตุลาการอีก เช่น ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นนักกฎหมาย เป็นอดีตตุลาการ เพราะฉะนั้นจะมีนักกฎหมาย หรือตุลาการ 4-5 ท่าน ประเด็นผมคือว่า ส.ว. เป็นองค์กรทางการเมือง มีบทบาทที่จะเกี่ยวข้องกับนักการเมืองแน่ๆ แต่ทำไมเราจะต้องใช้นักกฎหมาย หรืออดีตตุลาการมาทำหน้าที่ตรงนี้ พูดง่ายๆ ก็คือว่า กำลังจะดึงสถาบันตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมือง ทั้งที่ ส.ว. เป็นองค์กรทางการเมืองแน่ๆ มีอำนาจในการถอดถอน มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบ อำนาจในการพิจารณากลั่นกรองอะไรต่างๆ ซึ่งตุลาการอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการสรรหา เพราะมันต่างกับการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ซึ่งตุลาการมีความถนัด มีความเชี่ยวชาญ แต่กรณีนี้ไม่ใช่...ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญกำหนดด้วยว่า ผลการสรรหาเป็นไปด้วยเสียงข้างมาก 7 เสียง คือ 4 เสียงได้เป็น ส.ว. แล้ว ในขณะที่คุณอนุสรณ์ (ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ) ได้คะแนน 1-2 แสนคะแนน ไม่ได้เป็น แต่อีกคน 4-5 เสียง...คณะกรรมการมีปัญหาเรื่องที่มาจาก 7 ท่าน อันนี้มีปัญหาแล้วนะครับ ยังมีปัญหาต่อไป คือการทับซ้อนของตำแหน่ง ในกฎหมายการเลือกตั้งบอกให้ประธานกรรมการเลือกตั้ง เป็นผู้ตรวจสอบกรณีมีปัญหาเกิดขึ้น แต่ประธานกรรมการเลือกตั้งเป็นกรรมการสรรหาด้วย และเป็นผู้สืบสวนสอบสวนเอง มันจะดูกระไรอยู่นะครับ จะเห็นได้ว่าหลายส่วนหลายอย่างมันจะมีความทับซ้อนกัน...”
อ่านความเห็นทั้งหมดของนักวิชาการเหล่านี้ได้ จากประชาทรรศน์ รายสัปดาห์ ฉบับที่ 59 ประจำวันเสาร์ที่ 15 – วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2551 ตามหน้าปกที่ประกอบในคอลัมน์นี้เลยครับ รวบรวมทรรศนะประชาธิปไตย เอาไว้ไล่ต้อนกากเดนเผด็จการครับท่าน อย่าช้า หาได้ตามแผงทั่วไป