ฤดูกาลอดตาหลับขับตานอนของบรรดาหนุ่มๆ หรือสาวๆ ที่รักกีฬาฟุตบอลทั้งหลาย มาถึงอีกครั้ง คนที่ตื่นเต้นก็ตื่นเต้น คนที่ไม่ตื่นเต้นก็ไม่ตื่นเต้น เพราะไม่มีบอลถ้วยยุโรป หรือยูโร ก็ยังมีบอลถ้วยอื่นๆ เวียนมาให้ได้ลุ้นกันทุกปีทุกสองปี
อาจไม่บ่อยเท่ากับ “ม็อบ” ในประเทศแถวๆ นี้ แต่ก็ถือว่าถี่ใช้ได้ แตกต่างกันบ้างก็ตรงที่คนดูบอลถ้าไม่บ้าพนันก็มักดูด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้นระทึกใจ เพราะขึ้นชื่อว่า “ลูกกลมๆ” อะไรที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นได้เสมอ...
ไม่เหมือน “การเมือง” ในประเทศแถวๆ นี้ (อีกแล้ว) ที่ถ้าติดตาม จับตา และเทียบเคียงศึกษากับอดีตให้ดีๆ จะพบว่ามีลักษณะบางอย่างที่ย่ำซ้ำรอยเดิมเสมอ เพียงแต่เปลี่ยนเลขที่ พ.ศ. เปลี่ยนตัวละคร (บางเรื่องก็ตัวละครเดิม) แต่นอกนั้นก็หาได้มีพัฒนาการอะไรแปลกใหม่ให้น่าตื่นตาตื่นใจแต่อย่างใด
ที่สำคัญ ดูบอลอย่างน้อยก็มี “กติกา” ที่ทั้งผู้ดูและผู้เล่นรับทราบร่วมกัน ใครเล่นนอกกติกาก็โดนลงโทษอย่างสมน้ำสมเนื้อ
ต่างจากการเมืองของบางประเทศที่ “กติกา” ถูกยึดถือเพียงบุคคลเฉพาะกลุ่ม หากมีอีกกลุ่มที่ไม่ชอบใจกติกา ก็สามารถเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามเสียดื้อๆ โดยอีกส่วนใหญ่ที่ยึดถือกติกาก็ทำอะไรไม่ได้ เผลอๆ บางคนยังต้อง “ยกมือไหว้” แทบกราบกรานคนที่นอกกติกา ให้หันมาเคารพกติกาด้วยเสียอีก...
ดังนั้นใครพร้อมจะทุ่มเทใจให้กับการดูกีฬาฟุตบอลมากกว่าสนใจการเมือง ก็อย่าไปว่าเขาเลย...เพราะอย่างน้อยในเกมฟุตบอลก็ยังมีเรื่องสมเหตุสมผลมากกว่ากันเยอะ
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการเมืองในบ้านเรา เร็วๆ นี้ก็ยังมีบางท่านพยายามเสนอ “ทางออก” ที่เชื่อว่าจะนำไปสู่การคลี่คลายความตึงเครียดขัดแย้งตามที่เราๆ เห็นกันอยู่
“ยุบสภา” เป็นหนึ่งในทางออกที่อดีต “ตัวละคร” ทางการเมืองผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งแนะนำไว้ ด้วยเหตุว่าจะได้ให้ประชาชนตัดสินกันไปอีกครั้งว่าจะเลือกใคร
หาก “ผู้ชนะ” ยังเป็นฝ่ายเดิม อีกฝ่ายก็สมควรหุบปากไป ไม่มีสิทธิ์ออกมาโวยวายนอกสภาอีก
แต่อย่าลืมว่า ทางออกที่ให้ประชาชน “เลือก” อีกครั้ง...และอีกครั้งนั้น มันก็เกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งหลังรัฐบาลครบวาระ 4 ปี หรือการเลือกตั้งหลังการยุบสภา
แม้แต่การเลือกตั้งทั่วไปภายหลังถูกคณะรัฐประหารยึดอำนาจ ผลการเลือกตั้งก็ยังออกมาชัดเจนว่าใครเป็นฝ่ายชนะ ชนะภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่ฝ่ายตรงข้ามวางกรอบมาให้แล้วทั้งสิ้นด้วยซ้ำ
ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเลือกจากประชาชนมาอย่างเพียงพอหรือไม่...เพราะคำตอบคือ มากพอ
แต่เป็นเพราะอีกฝ่ายหนึ่งที่แพ้จากการต่อสู้ในระบบ พยายามตะเบ็งเสียงให้ดังกว่า และฟาดงวงฟาดงาในทุกครั้งที่ผลการเลือกตั้งออกมาไม่ถูกใจตัวเอง (ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย)
หากรัฐบาลจะต้องคอย “สปอย” ตามเอาอกเอาใจคนกลุ่มนี้ด้วยการยุบสภา ก็เห็นทีคงต้องยุบกันเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าอีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเหนื่อยและปลง ขนของกลับบ้านไปเองนั่นแหละ
ยุบสภาจึงเป็นทางออกที่ยังไม่ใช่ทางออกในขณะนี้...
อาจไม่บ่อยเท่ากับ “ม็อบ” ในประเทศแถวๆ นี้ แต่ก็ถือว่าถี่ใช้ได้ แตกต่างกันบ้างก็ตรงที่คนดูบอลถ้าไม่บ้าพนันก็มักดูด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้นระทึกใจ เพราะขึ้นชื่อว่า “ลูกกลมๆ” อะไรที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นได้เสมอ...
ไม่เหมือน “การเมือง” ในประเทศแถวๆ นี้ (อีกแล้ว) ที่ถ้าติดตาม จับตา และเทียบเคียงศึกษากับอดีตให้ดีๆ จะพบว่ามีลักษณะบางอย่างที่ย่ำซ้ำรอยเดิมเสมอ เพียงแต่เปลี่ยนเลขที่ พ.ศ. เปลี่ยนตัวละคร (บางเรื่องก็ตัวละครเดิม) แต่นอกนั้นก็หาได้มีพัฒนาการอะไรแปลกใหม่ให้น่าตื่นตาตื่นใจแต่อย่างใด
ที่สำคัญ ดูบอลอย่างน้อยก็มี “กติกา” ที่ทั้งผู้ดูและผู้เล่นรับทราบร่วมกัน ใครเล่นนอกกติกาก็โดนลงโทษอย่างสมน้ำสมเนื้อ
ต่างจากการเมืองของบางประเทศที่ “กติกา” ถูกยึดถือเพียงบุคคลเฉพาะกลุ่ม หากมีอีกกลุ่มที่ไม่ชอบใจกติกา ก็สามารถเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามเสียดื้อๆ โดยอีกส่วนใหญ่ที่ยึดถือกติกาก็ทำอะไรไม่ได้ เผลอๆ บางคนยังต้อง “ยกมือไหว้” แทบกราบกรานคนที่นอกกติกา ให้หันมาเคารพกติกาด้วยเสียอีก...
ดังนั้นใครพร้อมจะทุ่มเทใจให้กับการดูกีฬาฟุตบอลมากกว่าสนใจการเมือง ก็อย่าไปว่าเขาเลย...เพราะอย่างน้อยในเกมฟุตบอลก็ยังมีเรื่องสมเหตุสมผลมากกว่ากันเยอะ
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการเมืองในบ้านเรา เร็วๆ นี้ก็ยังมีบางท่านพยายามเสนอ “ทางออก” ที่เชื่อว่าจะนำไปสู่การคลี่คลายความตึงเครียดขัดแย้งตามที่เราๆ เห็นกันอยู่
“ยุบสภา” เป็นหนึ่งในทางออกที่อดีต “ตัวละคร” ทางการเมืองผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งแนะนำไว้ ด้วยเหตุว่าจะได้ให้ประชาชนตัดสินกันไปอีกครั้งว่าจะเลือกใคร
หาก “ผู้ชนะ” ยังเป็นฝ่ายเดิม อีกฝ่ายก็สมควรหุบปากไป ไม่มีสิทธิ์ออกมาโวยวายนอกสภาอีก
แต่อย่าลืมว่า ทางออกที่ให้ประชาชน “เลือก” อีกครั้ง...และอีกครั้งนั้น มันก็เกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งหลังรัฐบาลครบวาระ 4 ปี หรือการเลือกตั้งหลังการยุบสภา
แม้แต่การเลือกตั้งทั่วไปภายหลังถูกคณะรัฐประหารยึดอำนาจ ผลการเลือกตั้งก็ยังออกมาชัดเจนว่าใครเป็นฝ่ายชนะ ชนะภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่ฝ่ายตรงข้ามวางกรอบมาให้แล้วทั้งสิ้นด้วยซ้ำ
ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเลือกจากประชาชนมาอย่างเพียงพอหรือไม่...เพราะคำตอบคือ มากพอ
แต่เป็นเพราะอีกฝ่ายหนึ่งที่แพ้จากการต่อสู้ในระบบ พยายามตะเบ็งเสียงให้ดังกว่า และฟาดงวงฟาดงาในทุกครั้งที่ผลการเลือกตั้งออกมาไม่ถูกใจตัวเอง (ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย)
หากรัฐบาลจะต้องคอย “สปอย” ตามเอาอกเอาใจคนกลุ่มนี้ด้วยการยุบสภา ก็เห็นทีคงต้องยุบกันเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าอีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเหนื่อยและปลง ขนของกลับบ้านไปเองนั่นแหละ
ยุบสภาจึงเป็นทางออกที่ยังไม่ใช่ทางออกในขณะนี้...