WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 12, 2008

ทรรศนะของ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน: ทำไมต้องแก้รัฐธรรมนูญ 2550 (จบ)

6.เสนอทำประชามติให้ประชาชนเลือกระหว่างรัฐธรรมนูญ 2540 กับ 2550

การที่กลุ่มซึ่งล้มรัฐธรรมนูญ 2540 กระทำไปโดยไม่ได้รับฉันทามติใดๆ จากประชาชนเลยในการล้มล้าง แล้วนำเอารัฐธรรมนูญ 2550 มาใช้ จนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ดร.อุกฤษ เสนอทางเลือกอีกทางหนึ่งแทนการแก้ไขมาตราบางมาตรา และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น นั่นคือการนำเอารัฐธรรมนูญ 2 ฉบับมาเป็นตัวตั้ง แล้วให้ประชาชนเลือกเอาฉบับใดฉบับหนึ่งไปเลยด้วยการลงประชามติ

มิฉะนั้น ความขัดแย้งก็จะไม่มีวันจบสิ้น ให้มีการนำเอารัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับมาตีแผ่ในแต่ละมาตราในรายละเอียด ให้เวลาที่เท่าเทียมกัน เช่น 3 เดือน สำหรับการให้โอกาสในการรณรงค์ชี้แจงความเหมาะสมของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ

โดยผู้สนับสนุนฉบับใดก็ออกไปเคลื่อนไหวชี้แจงรายละเอียดความดีงามเหมาะสมของฉบับนั้นให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่วิธีนำ 309 มาตรา ที่น้อยคนนักจะได้ทำการศึกษาครบถ้วน เอาไปให้ประชาชนลงมติ แล้วก็ลงประชามติยอมรับกันไปเพื่อให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว หรือรับเพราะกังวลว่าคณะรัฐประหารจะนำรัฐธรรมนูญฉบับไหนก็ได้มาใช้ หรือด้วยการให้คำมั่นว่าจะแก้ไขภายหลัง หรือแม้แต่การใช้อำนาจรัฐกดดันให้ยอมรับอย่างที่กระทำมาในครั้งก่อน

การลงประชามติให้เลือกฉบับใดฉบับหนึ่งนั้นชัดเจนที่จะแสดงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยว่า สนับสนุนหลักการใดในการปกครองประเทศ ระหว่างรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญและอำนาจแก่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญและอำนาจแก่กลุ่มอำมาตย์ ที่ใช้อำนาจที่มาครองเมืองโดยไม่ได้รับฉันทานุมัติใดๆ จากประชาชน

จากนั้นก็นำเอาจุดบกพร่องที่พบในรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเลือก มาทำการปรับปรุงแก้ไขด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้น เอาส่วนดีที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่ผ่านการลงประชามติ มาปรับเข้ากับฉบับที่ประชาชนลงประชามติให้เลือกใช้ เช่น เรื่องการแสดงทรัพย์สินหนี้สิน ซึ่งต้องครอบคลุมทุกคนที่เข้ามามีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง หรือราชการอื่นใด ทั้ง นายกรัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา รัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในทางนโยบาย คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นตรวจสอบผู้อื่นก็ต้องแสดงทรัพย์สินด้วยเพื่อเป็น Fair Play ของทุกฝ่าย

การเลือกแก้เป็นบางมาตรานั้น ทำให้เกิดความขัดแย้งและวิกฤติ แก้ก็แก้ทั้งหมด หรือเลือกฉบับใดฉบับหนึ่งไปเลย เพราะทีละมาตราก็ต้องใช้เวลายาวนาน อาจมีการถ่วงเวลาในการแก้ ถ้าในสภามีการสงวนคำแปรญัตติกันเป็นร้อยมาตราแล้ว คงต้องใช้เวลานานเป็นปีในการแก้ แต่ถ้าแก้ยกฉบับ เพียง 3 เดือนก็อาจจะเสร็จสมบูรณ์ได้

ส่วนข้ออ้างเรื่องค่าใช้จ่าย 2,000 ล้านบาทในการทำประชามติที่ นางสดศรี สัตยธรรม นำขึ้นมาอ้างนั้นฟังไม่ขึ้น บริษัทธุรกิจบางแห่งที่มียอดขายเพียง 5,000 ล้านบาท ยังพร้อมที่จะใช้เงิน 2,000 ล้านบาท ยกเครื่องเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิตทั้งหมด เพราะเมื่อทำแล้วจะทำให้ยอดขายสูงเป็นหมื่นล้านบาท การเสียค่าใช้จ่าย 2,000 ล้านบาท แลกกับการตัดสินอนาคตของประเทศว่าจะปกครองด้วยรัฐธรรมนูญที่ประชาชนยอมรับนั้นอาจจะถูกเกินไปเสียด้วยซ้ำ เพราะในขณะนี้ประเทศชาติกำลังสูญเสียโอกาสไปแล้วหลายแสนล้านบาท

จากการที่รัฐบาลติดอยู่กับปลักตมของรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากประชาชน จนไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างคล่องตัวแม้แต่น้อย ที่สำคัญก็คือ ต้องนำงบประมาณ 2,000 ล้านบาทนั้น มาอธิบายข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญให้กระจ่างชัด อย่างการชี้ให้ประชาชนได้เห็นชัดเจนว่า ประชาธิปไตยคืออะไร หลักนิติธรรมคืออะไร รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ที่จะนำมาให้ประชาชนลงมติเลือกนั้น ฉบับไหนมีข้อเสียข้อดีอย่างไร

7.การนำมาให้ประชาชนเลือกระหว่าง 2 ฉบับจะแก้ปัญหาได้หลายอย่าง
เพราะไม่จำเป็นต้องมาผจญปัญหาการวิพากษ์วิจารณ์รายมาตราอย่างแก้เป็นมาตรา เช่น ไม่ต้องกล่าวถึงมาตรา 237, 309 เพราะมันจะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องวันแมนวันโหวต เลือกตั้ง 400 คน หรือ 2,000 คน ไม่ต้องมาวิพากษ์กันอีกว่า ทำไมจังหวัดเล็กๆ จึงมีสิทธิมีวุฒิสมาชิก 1 คนเท่ากับจังหวัดที่มีขนาดมหึมากว่า เพราะมันได้ยุติไปแล้วกับรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550

หากประชาชนเลือกรัฐธรรมนูญ 2540 และในทางกลับกัน ปัญหาการถกเถียงต่างๆ ก็จะยุติลง หากรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นที่ยอมรับของประชาชน การแก้ไขมาตราใดก็ทำได้ง่าย ไม่ต้องมาโต้แย้งกันอีกว่าที่มานั้นมาจากระบอบเผด็จการ หรือมีการบีบบังคับ และใช้เล่ห์กลในการลงประชามติครั้งแรก เพราะประชาชนตัดสินใจเองที่จะเลือกรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ควรเอาการแก้ทีละมาตรามาตั้งเป็นสมมติฐานขั้นต้น เพราะก่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์โดยการไม่ยอมกัน

8.ภาคการเมืองของประชาชนที่กล่าวอ้างกันนั้น กระทำกันถูกต้องหรือ ขอตรวจสอบนักการเมืองแต่พวกตัวเองแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเหมือนนักการเมืองหรือเปล่า

พึงเข้าใจว่า การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องล่มลงเพราะการรัฐประหารนั้น มาจากกลุ่มการเมืองที่เรียกตัวเองว่า ภาคประชาชน แต่ทำไมกลุ่มเหล่านี้ไม่เข้ามาทำการเมืองในระบบ มีการเลือกตั้งทุกระดับชั้นในสังคมไทยวันนี้ อบจ. อบต. เทศบาล ฯลฯ แล้วทำไมกลุ่มการเมืองที่อ้างตนว่าเป็นภาคประชาชน จึงไม่ยอมเข้ามาสู่การเมืองตามระบบและกระบวนการที่ถูกต้อง

หากการเมืองภาคประชาชนจะดำเนินต่อไป ก็ต้องมีภาคทหารของรัฐ ภาคทหารของประชาชน ภาคตุลาการของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ภาคตุลาการของประชาชน ฯลฯ ด้วยสิ จึงจะเป็นธรรม และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้ว ก็แน่นอนว่าวิกฤติความแตกแยกในประเทศชาติจะยิ่งขยายตัวกว้างขวางต่อไปอีก การเที่ยวไปตรวจสอบฝ่ายการเมืองในภาคต่างๆ ของกลุ่มที่อ้างว่าเป็นภาคการเมืองของประชาชนนั้นถูกต้องแล้วหรือ มีอำนาจอะไร เอามาจากไหน ถ้าต้องการตรวจสอบภาคการเมืองแล้ว ภาคประชาชนที่กล่าวอ้างกันนั้นก็ต้องกระทำตนเท่าเทียมกับภาคนักการเมือง ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน ของตัวเองก่อนไปตรวจสอบผู้อื่น เพราะนักการเมืองเขาต้องเปิดเผย และเขาพร้อมที่จะทำเช่นนั้นตามระบบ

9.การกล่าวอ้างว่าหากยกเลิกมาตรา 237 และ 309 เป็นการช่วยเหลือกลุ่มนักการเมืองที่ถูกลงโทษนั้น ขอถามว่าใครเป็นคนลงโทษเขา คนพวกนี้มาจากไหน มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารใช่ไหม ออกไปแล้ว หมดอำนาจแล้ว เพราะประชาชนยังยืนยันที่จะสนับสนุนกลุ่มเดียวกับที่ถูกลงโทษ แล้วทำไมจึงยังต้องทำตามสิ่งที่เกิดมาจากกลุ่มคณะรัฐประหารกันอยู่อีก

คนที่มาไล่คนที่ประชาชนเลือกตั้งมานั้นมาจากไหน เคยทำประโยชน์อะไรให้บ้านเมืองสักนิดบ้างไหม ทำไมมาถือสิทธิแทนประชาชน ตัวเองมาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือเปล่า เที่ยวไปกล่าวหานักการเมืองว่าเลวร้าย เคยกล่าวหาสภาสองสภาว่าเป็นสภาผัวเมีย ตอนนี้ผัวไม่ได้เป็น รมต. เมียก็ยังเป็น รมต. ได้ ถ้ายุบพรรคเขาอีก ลูกเขาก็มาเป็น รมต. ได้ ยุบพรรคนี้เขาก็ไปเข้าพรรคอื่นทำอะไรได้หรือ ควรยอมรับว่าประชาชนไม่เห็นด้วยกับพวกตนได้แล้ว ให้ใบเหลืองผู้สมัครพรรคเขาไป 4-5 คนแล้วได้ผลอะไร

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งก็ได้กลับมาอีก คะแนนท่วมท้นกว่าครั้งแรกเสียด้วยซ้ำ การให้ใบแดงก็เหมือนกัน มีการให้ข้อสังเกต ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนที่จะได้ใบแดงมันเป็นส่วนที่มีการกระทำขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อยากทราบว่า การกระทำของคนคนเดียวนี้มันมีสาระสำคัญขนาดไหน กระทบกระเทือนอย่างมากต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจริงหรือ การกระทำของคนไม่กี่คนไม่ใช่มติพรรคเสียด้วยซ้ำ กลับไปยุบพรรคการเมืองทั้งพรรค นี่คือการกำหนดที่ขัดต่อหลักนิติธรรม หลักนิติศาสตร์ นี่ใช้ไม่ได้เลย สันนิษฐานหรือควรเชื่อได้ว่าเท่านั้นก็ยุบพรรค

10.จะใช้วิธีใดเพื่อนำระบอบประชาธิปไตยคืนมาสู่ประเทศไทย และต่อต้านการรัฐประหาร

นำหลักการของประเทศที่เคยล้มลุกคลุกคลานที่อื่นมาใช้ ประเทศไทยล้มลุกคลุกคลานมาตลอดก่อนการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เนื่องจากปัญหาสารพัดทั้งภัยนอกประเทศ ภัยคอมมิวนิสต์ ในตอนนั้นอาจจะพอยอมรับได้ แต่ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ประชาคมโลกไม่ยอมรับประชาธิปไตยนอกแบบอย่างนั้นอีกแล้ว ประชาธิปไตยแบบจารีตประเพณีไทยที่อ้างกันนั้นเขาไม่รับกันอีกแล้ว

หากนำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ แล้วกลัวว่าพรรคใดจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด แล้วมาทำการรัฐประหารกันอีก ก็ลองทำกันดู ในฝรั่งเศสเมื่อปี 2503 จอมพล ราอูล ซารอง คุมทหาร 1 ล้านคนในแอลจีเรีย ประกาศรัฐประหารให้รัฐบาล นายพลเดอโกลล์ ลาออกจากประธานาธิบดี นายพลเดอโกลล์ ไม่ได้ใช้กำลังทหารปราบปรามการรัฐประหารครั้งนั้นเลย ใช้การออกวิทยุทุกๆ 15 นาทีว่า นี่เป็นการทำลายล้างระบอบประชาธิปไตย ทำความเสียหายให้ประเทศชาติ ถ้าเอาเครื่องบินขนทหารมาลงที่สนามบิน ประชาชนก็ให้ไปนอนขวางสนามบินไว้ แล้วออกมาตามท้องถนน ไม่ให้กองทหารเข้ามาได้ ให้ต่อต้านและไม่คบค้าสมาคมกับทหารพวกนี้ รวมทั้งครอบครัวที่อยู่ในฝรั่งเศสด้วย หากคนไทยทำอย่างนี้ได้ ก็ไม่มีใครกล้าทำรัฐประหาร