ในการประชุมเชิงวิชาการในหัวข้อ "10 ปีกกต. ก้าวต่อไปเพื่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืน " ทูตสวิสฯชี้หากม็อบทำตามใจชอบประเทศเสียหาย ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์พาร์ค กทม. วันที่ 11 มิ.ย. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้จัดการประชุมเชิงวิชาการในหัวข้อ "10 ปีกกต. ก้าวต่อไปเพื่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืน " เนื่องในโอกาสครบรอบสิบปีการสถาปนาสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.เป็นประธานในการเปิดงาน
นายโรดอล์ฟ เอส .อิมฮอฟ ( Mr.Rudolphe S.Imhoof ) เอกอัครราชทูสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย ได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมการการเสวนา โดยได้ปาฐกถาในหัวข้อ " การเลือกตั้งกับประชาธิปไตย " ว่า การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ประชาธิปไตยทำงานได้เต็มรูปแบบ เพราะประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการเลือกตั้ง เนื่องจากต้องมีภาคประชาสังคมที่แข็งแกร่งด้วย เสียงส่วนมากไม่ใช่จุดมุ่งหายของนักการเมือง แต่ต้องการสร้างฉันทามติที่แข็งแกร่ง ไม่มีนักการเมืองคนไหนจะประสบความสำเร็จได้ถ้าไม่มีความคิดเช่นนี้
นายโรดอล์ฟ กล่าวถึงการลงประชามติว่า การลงมติเป็นการออกเสียงรับหรือไม่รับซึ่งจะเป็นการกำหนดทิศททางของสังคม สวิสมีประชาธิปไตยทางตรงมากที่สุด คือทำประชามติในเรื่องต่าง ๆ ประชาชนมีสิทธิแสดงความเห็นความชื่นชอบในเรื่องต่าง ๆ หากเราจะลงประชามติว่าชื่นชอบนายกฯหรือไม่ก็ทำได้เพียงแต่เปลี่ยนเป็นคำถามว่า เห็นด้วยกับทิศทางนี้ของสังคมหรือไม่
ตนได้อ่านบทความของศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ระบุว่า ประชาธิปไตยของไทยจำเป็นต้องหามุมมองอื่นนอกจากการแสดงออกทางท้องถนน ศ.นิธิพูดเรื่องนี้ถูกต้อง การที่ยอมให้คนจำนวนมากมาชุมนุมอาจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำงานได้ และการชุมนุมอาจทำให้เกิดสถานการณ์ ทำตามใจชอบและอาจะทำให้เกิดการเสียหายได้ ประชาธิปไตยตามท้องถนนนั้นเป็นประชาธิปไตยได้ แต่คนกลุ่มน้อยที่มาชุมนุมนั้น จะสิ้นสุดอิสรภาพลงเมื่ออิสรภาพคนอื่นเริ่มต้น
ขณะที่นายโรเบิร์ต ดาห์ล( Mr.Robert Dahl ) ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสมาคมระหว่างประเทศเพื่อระบบการเลือกตั้ง ( IFES ) ปาฐกถาในหัวข้อ (การดำเนินการเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง : การศึกษาเปรียบเทียบจากประสบการณ์ประเทศไทยและต่างประเทศ) ว่า การที่ให้ระยะเวลา กกต. พิจารณารับรองผลการเลือกตั้งให้เสร็จภายใน 30 เท่านั้นจึงเป็นระยะเวลาท่สั้นและกดดันจนเกินไปสำหรับการให้ใบเหลืองใบแดงจึงควรยืดเวลาออกไปเป็น 60 วัน เพื่อให้เวลาในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน
นอกจากนี้การให้อำนาจ กกต. ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน อาจเป็นการให้อำนาจมากเกินไปกับหน่วยงานที่จัดการเลือกตั้ง ทำให้กกต.มีบทบาททั้งการเป็นตำรวจ ศาล และลูกขุนในเวลาเดียวกัน และทำให้กกต. มีบทบาทในการจัดการเลือกตั้งไม่ดีเท่าที่ควรและเป็นเป้าในการทุจริตได้ง่าย จึงเสนอให้มีศาลเลือกตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียน โดยอาจให้มีองค์คณะผู้พิพากษาจำนวนห้าคนที่เลือกจากศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลชั้นต้น โดยให้มีหน้าที่พิจารณาคดีเลือกตั้งทั้งหมดและให้ถือว่าคดีถึงที่สุด
ทั้งนี้การแจกใบเหลืองใบแดงดูเหมือนจะไม่ค่อยได้ผลเพราะ ผู้สมัครที่ได้ใบเหลืองละได้รับเลือกตั้งกลับมาใหม่ ขณะที่หากได้ใบแดง คนที่มาจากพรรคเดียวกันก็มักจะได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งดูเหมือนว่าไม่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าพอ จึงเห็นว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเลิกการเลือกตั้งใหม่และเลื่อนผู้สมัครที่ได้คะแนนลำดับถัดไปขึ้นมาแทน
นายอภิชาต กล่าวถึงข้อเสนอแนะขององค์กรต่างประเทศว่า มีหลายเรื่องที่มีแนวคิดตรงกับ กกต. เช่น การขยายเวลาพิจารณาตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงของกกต.ให้เป็น 60 วัน แทนที่จะเป็น 30 วันเช่นทุกวันนี้ เพราะเวลาที่สั้นนั้นเป็นการกดดัน กกต. ส่วนแนวคิดที่จะตั้งศาลเลือกตั้งนั้น กกต.ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า ควรให้มีศาลเลือกตั้ง รับผิดชอบในคดีที่เกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งโดยตรง
"นอกจากนี้เรายังเห็นด้วยกับกรณีที่มีการเสนอว่าผู้สมัครที่ได้รับใบเหลืองหรือใบแดงจาก กกต. ควรเลื่อนลำดับผู้ที่มีคะแนนเป็นอันดับสองขึ้นมาแทน ซึ่งทำให้ไม่ต้องมีการเลือกตั้งใหม่หลาย ๆ ครั้ง ทั้งนี้การแก้ในหลาย ๆ ข้อต้องแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่าหากมีการแก้รัฐธรรมนูญในอนาคต กกต ก็จะเสนอประเด็นเหล่านี้เช่นกัน" ประธานกกต.กล่าว
เพื่อไทย
Thursday, June 12, 2008
ต่างชาติอัดยับม็อบป่วนประเทศชาติเสียหาย
thai-grassroots