WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 11, 2008

ปชป.ปกป้อง รธน.50 ออกนอกหน้า เบี้ยวมติ 7 พรรคศึกษาแก้ รธน.

“ประชาธิปัตย์” ออกอาการปกป้องรธน.50 จนออกนอกหน้า ยื่นญัตติด่วนลวงโลก ขอตั้งกรรมาธิการศึกษาการใช้รัฐธรรมนูญเผด็จการ เบี้ยวแนวทางที่เคยหารือร่วมกัน

ท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างในรายละเอียดของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญตัวแทนทั้งจากฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลมาหารือกันเพื่อหาข้อยุติที่เห็นพ้องกันทุกฝ่าย

โดยคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ประกอบด้วยนายวิทยา บูรณะศิริ รองประธานวิปรัฐบาล และนายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาล และในส่วนของคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) มีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน นายวิทยา แก้วภารดรัย นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

หลังการหารือกัน ทุกฝ่ายต่างเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการเสนอญัตติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

รวมทั้งยังมีการกำหนดสัดส่วนกรรมาธิการวิสามัญฯ ไว้ 60 คน เป็นสัดส่วนของพรรคพลังประชาชน 29 คน พรรคประชาธิปัตย์ 21 คน พรรคชาติไทย 4 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 3 คน ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือจะมีตัวแทนพรรคละ 1 คน โดยเปิดทางให้แต่ละพรรคนำคนนอกเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการได้ นั้น

อย่างไรก็ดีในวันที่ 10 มิถุยายนที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์กลับมีการเสนอญัตติด่วนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการใช้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 โดยเนื้อหาสาระยุงคงเป็นการปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งผิดไปจากที่มีการคุยกันว่าจะตั้งกรรมาธิการร่วมกันศึกษาแนวทางในการแก้ไข

โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปค้าน) อ้างว่าการเสนอญัตติตั้งกรรมาธิ การวิสามัญเพื่อมาศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ของแต่ละพรรคการเมืองนั้น ส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่คล้ายกัน ยกเว้นแต่พรรคพลังประชาชน ที่มีการเพิ่มเติมว่า การศึกษาดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

พร้อมทั้งสร้างเงื่อนไขขึ้นมาอีกว่าคณะกรรมาธิการฯที่ตั้งขึ้นมา จะต้องพิจารณาศึกษาให้ครอบคลุม 3 เรื่องคือ

1.ศึกษาปัญหาในการบังคับใช้และปัญหาในการปฏิบัติ

2.ศึกษากลไกและการออกกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

3. ศึกษาว่ามีหลักใดบ้างที่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตย หรืออาจจะเสนอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง รวมทั้งสัดส่วนคณะกรรมาธิการฯที่มีการตกลงกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนหน้านี้ นายสาทิตย์ ก็ระบุว่า พรรคฝ่ายค้านเห็นว่าควรจะแบ่งสัดส่วนให้กับบุคคลภายนอกเข้าร่วมด้วย เพราะเดิมรัฐบาลเสนอให้มีคณะกรรมาธิการ 60 คน โดยแบ่งสัดส่วนของแต่ละพรรคการเมือง

โดยไม่มีคนนอกเข้าร่วม ซึ่งหากอยากให้คนนอกเข้าร่วม พรรคการเมืองก็ต้องเฉือนสัดส่วนของตัวเองออกไป ซึ่งตรงนี้อาจทำให้มองได้ว่าคนที่มาจากสัดส่วนของพรรคพลังประชาชน เป็นฝ่ายเดียวกับรัฐบาล และมองได้ว่าไม่มีความเป็นกลาง เหมือนกับคนที่มาจากฝ่ายค้านก็ได้

ดังนั้นหากมีการแบ่งสัดส่วนไว้สำหรับคนนอก ก็จะทำให้เกิดความสบายใจมากขึ้น ทำให้เกิดความหลากหลายมีความเป็นกลาง และไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง นอกจากนี้ในการเลือกประธานคณะกรรมาธิการฯ ก็จะได้มีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น แทนที่จะเลือกเสียงข้างมาก หรือเลือกฝ่ายค้านมาเป็น ซึ่งจะทำให้เกิดข้อครหาว่าไม่มีความเป็นกลาง ทางวิปฝ่ายค้านจึงขอเสนอให้นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯจัดประชุมร่วมกันระหว่างวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้าน เพื่อตกลงกันในเรื่องคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งคาดว่าน่าจะประชุมร่วมกันได้ในวันศุกร์ที่ 13 มิ.ย.นี้ และคาดว่าวิปรัฐบาลน่าจะเห็นด้วย เพราะไม่ต้องมีการเฉือนกรรมาธิการฯในสัดส่วนของตัวเอง

นายสาทิตย์ กล่าวว่า สำหรับสัดส่วนของคณะกรรมาธิการฯ ที่เหมาะสมนั้น เดิมตกลงกันไว้ที่ 60 คน ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสม หรือหากจะเพิ่มเป็น 70 คน ก็ไม่ถือว่าเยอะไป และเชื่อว่าการเสนอสัดส่วนคนนอกเข้ามานั้น จะไม่เกิดความยุ่งยาก เพราะอย่างไรการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ที่จะตั้งขึ้นมานั้น ก็จะเริ่มได้ประมาณเดือนกรกฎาคม ดังนั้นเวลา 2 สัปดาห์ในการให้บุคคลภายนอกสมัครเข้ามาเป็นกรรมาธิการฯน่าจะเหมาะสม

ส่วนความเห็นส่วนตัวคิดว่า สัดส่วนของคนภายนอกน่าจะอยู่ที่ 20 คน หรือ 1 ใน 3 ของกรรมาธิการฯ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดูตามความเหมาะสมว่า ได้บุคคลที่มีความเชียวชาญครบหรือไม่