WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 13, 2008

เมืองไทย คงไม่นองเลือด แต่คงไม่มีสันติและสงบสุข

บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

วิกฤตการณ์การเมืองไทยครั้งนี้ หลายคนคิดว่าอาจจบลงด้วยการนองเลือดอย่างแน่นอน แต่หลังจากที่มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ที่สะพานมัฆวานฯ แล้ว แม้จะมีการปะทะกับฝ่ายตรงข้าม หัวร้างข้างแตกไปบ้าง แต่ไม่ถือว่าเป็นการนองเลือดแต่อย่างใด

ดังนั้น ผมจึงคิดว่าว่าเมืองไทย คงไม่นองเลือดแล้ว แต่การเมืองไทยจะไม่สงบ ผมเรียกว่าภาวะนี้ว่า "ภาวะที่ไม่มีสงคราม แต่ไม่มีสันติภาพ" ซึ่งก็เหมือนยุคสงครามเย็นระหว่างโลกทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 1950-1990 นั่นเอง ซึ่งมหาอำนาจทั้งสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียด ต่างก็กลัวถูกทำลายไปด้วยสงความนิวเคลียร์หากรบกันเอง และก็ไม่มั่นใจในชัยชนะหากเกิดสงคราม ก็เลยอยู่ในสภาพที่ยันกันอยู่นาน จนพลังของพวกคอมมิวนิสต์อ่อนลงและล่มสลายลงในที่สุดในทศวรรษ 1990 กำแพงเบอร์ลินพังทลายลง

สงครามการเมืองไทยก็คงเป็นอย่างนั้นครับ คงไม่นองเลือด มีแต่หัวล้างข้างแตกไปบ้าง แต่ไม่สาหัสอะไร แต่ผมคิดว่าพลังอำนาจทางการเมืองของพวกอนุรักษ์นิยมนั้นจะอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ เพราะแกนนำของคนเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นคนแก่อายุ 70-90 ปีทั้งสิ้น เวลาจะทำลายคนแก่เหล่านี้ไปเอง แต่ในช่วงที่กาลเวลายังส่งผลไม่ทันที บ้านเมืองก็ยังคงวุ่นวายต่อไป ไม่มีสงคราม แต่ไม่มีสันติภาพ ไม่มีนองเลือด แต่ไม่มีความสงบสุข เรียกว่า ภาวะสงครามเย็นทางการเมือง

แต่อย่างไรก็ตาม วิกฤการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ หากเราวิเคราะห์อย่างถ่องแท้แล้ว เราจะเห็นว่า มีสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือ "คนรากหญ้าตื่นขึ้นแล้ว และพวกเขาตระหนักในอำนาจของตน ดังนั้น ต่อไปนี้ใครจะยิ่งใหญ่มีบารมีแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่พ้นต้องกลับไปหาคนรากหญ้า เพราะหากคนรากหญ้าไม่สนับสนุนเขาต่อไป อำนาจบารมีนั้นก็ไม่จีรัง

เมื่อคนรากหญ้าตื่นขึ้น สิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างชัดเจนจากภาคการเมือง คือ "นโยบายที่เป็นรูปธรรม" ไม่ใช่อุดมการณ์ที่เลื่อนลอย คำกล่าวที่เป็นนามธรรม คนรากหญ้าใน พ.ศ.นี้ ไม่เหมือนกับคนรากหญ้าในปี
2520-2530 พวกเขาไม่ใช่ชาวนาทั่วไปอย่างที่คนกรุงเทพฯ และคนเมืองหลวงเข้าใจ และติดภาพดังเดิม

ปัจจุบันเขาคือ นักธุรกิจการเกษตรรายย่อย เพราะปัจจบันเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ เช่น รถไถนา รถดำนา รถเกี่ยวข้าว ทำให้ระบบการทำนาเปลี่ยนไป หากใครไปดูแถวอยุธยา สุพรรณบุรี หรือแหล่งผลิตข้าวสำคัญในภาคกลาง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงน้อย่างชัดเจน

เมื่อชาวรากหญ้า ตระหนักถึงพลังอำนาจของพวกเขา ดังที่เราเห็นในการเลือกตั้งหลังปี 2540 หรือการเลือกตั้งใหญ่ สองสามครั้งในเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นเสียงของชาวรากหญ้าเป็นกลุ่มก้อนและชัดเจน ดังนั้นสุดท้ายนักการเมือง พรรคการเมืองทั้งหลายหากต้องการอยู่รอด จะต้องปรับตัวเข้าหา "ตลาดการเมืองขนาดมหึมานี้" ไม่อย่างนั้นก็ไม่ชนะเลือกตั้งอย่างแน่นอน


การหาเสียงในรูปแบบเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ เช่นการยกประเด็นเรื่อง เรื่องหมิ่นฯ เรื่องด่าคนอื่นว่าโกงโดยไม่มีหลักฐาน การหาเสียงพอเพียง จะไม่สามารถจูงใจคนรากหญ้าได้อีกต่อไป เพราะที่จริงแล้วประเด็นเหล่านี้ใช้หาเสียงได้แต่กับคนชั้นกลางเท่านั้น แต่คนชั้นกลางก็มีจำนวนไม่มากนัก จนไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ สื่อต่างๆ ก็มีผลกับคนชั้นกลางเท่านั้น แต่ไม่ส่งผลถึงคนรากหญ้าแต่อย่างใด วิถีการใช้กลยุทธทางการเมืองแบบยุคปี
2520-2540 จะไมได้ผลอีกต่อไป

สมัยก่อนปี
2540 นั้นเสียงของรากหญ้าไม่สำคัญ เพราะขึ้นกับอิทธิผลของ สส. ท้องถิ่น การแจกเงิน สิ่งของ หากรวบรวม สส. ได้ ก็จะชนะเลือกตั้ง

แต่หลังปี 2540 เป็นต้นมา ความจริงไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว คนชั้นกลาง ที่ไม่เคยสัมผัสคนรากหญ้า จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม จะประณามว่า รากหญ้าขายเสียงหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะนั้นไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด

ปัจจุบันพรรคการเมืองที่เด่นๆ มีเพียงสองพรรคเท่านั้น จะคิดว่าคนรากหญ้าเลือก พปช.. คือการขายเสียงอย่างนั้นหรือ หากเลือก ปชป. ถือว่ามีอุดมการณ์อย่างนั้นหรือ หากคิดตื้นๆ แค่นี้วิกฤตการณ์ทางการเมืองก็ไม่มีวันจบ การพูดว่าจะต้องให้การศึกษาคนรากหญ้า นั้นหมายถึงเมื่อชาวรากหญ้ามีการศึกษาสูงขึ้นจะฉลาดและหันไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์อย่างนั้นหรือ ซึ่งสมมุติฐานมั่วๆ แบบนี้ไม่เป็นจริงอย่างน้อยก็ผมนายลูกชาวนาไทย ที่มีการศึกษาจากต่างประเทศ ก็ไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ลือกพรรคพลังประชาชน

ในเมื่อนโยบายของ พปช. เอื้อต่อคนรากหญ้า แต่นโยบายของ ปชป. เอื้อต่อคนชั้นกลางสอดคล้องกับความต้องการของคนชั้นกลาง แล้วจะให้คนรากหญ้าขายวิญญาณให้พรรคของคนชั้นกลางได้อย่างไร นั่นไม่ใช่เป็นการทรยศต่อคนชั้นรากหญ้าเองไม่ใช่หรือ เขาต้องเลือกพรรคที่มีนโยบายสนับสนุนและเอื้อต่อคนรากหญ้ามากที่สุดนั่นเอง

การหาเสียงกับคนรากหญ้าปัจจุบันจะต้องมีอะไรที่หยิบยื่นให้คนรากหญ้าอย่างเป็นรูปธรรมเช่น โครงการชลประทานทางท่อ เป็นต้น

ที่จริงรากหญ้าไม่ใช่พวก Royalist แต่พวกเขาทำให้เชื่อว่าเป็น Royalist ดังนั้น ประเด็นการหาเสียงที่ทำลายสิทธิของเขา เพื่อเชิดชูสิ่งที่เป็นนามธรรม จะไม่มีทางใช้ได้ผลอีกต่อไป พวกเขาไม่ใช่ลูกเสือชาวบ้านเหมือนปี 2520 อีกต่อไปแล้ว


ในวันออกเสียงกาบัตรเลือกตั้ง นาทีที่ต้องกาบัตร คนรากหญ้าเขาจะพิจารณาว่าพรรคใด นโยบายเอื้อประโยชน์ต่อพวกเขามากที่สุด จับต้องได้มากที่สุด และเชื่อว่าจะทำได้ด้วย

ส่วนเรื่องนามธรรม ผมว่าที่บ้าๆ อยู่ก็มีแต่กลุ่มพวกขวาจัดในเมืองหลวงเท่านั้น พวกนี้ไม่มีความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ประเด็นการตัดสินใจจึงไม่ใช่เรื่องปากท้อง แต่เป็นเรื่องความเชื่อทางการเมือง แต่คนกว่า 70% ของประเทศยังยากจน ประเด็นการตัดสินใจจึงเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องนามธรรม ว่าใครจะล้มใคร เพราะจริงๆ แล้วก็ไม่มีใครต้องการล้มใคร เป็นแต่การปลุกระดมทางการเมืองเท่านั้น

ผมว่าตอนนี้คนรากหญ้าไม่สนเรื่องนามธรรมด้วยซ้ำไป แต่เขาไม่พูดเท่านั้นเอง เพราะถึงอย่างไรใช่เป็นปัจจัยที่เขาเอาไปใช้ในการลงคะแนนอยู่ดี ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาบอกได้อย่างชัดเจน

ในที่สุดแล้ว พวกอนุรักษ์นิยม ก็จะไม่มีทางไปรอด ภายใต้สภาวะการเลือกตั้ง ที่เสียง "รากหญ้า" ตื่นขึ้นจากหลับไหลเช่นนี้

ความวุ่นวายทางการเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้นั้น หากวิเคราะห์ลึกลงไปแล้ว จะพบว่า ส่งผลกระทบต่อคนในเมืองใหญ่คือ คนชั้นกลางและคนจนในเมืองเท่านั้น ที่ค่อนข้างรุนแรง แต่คะแนนเสียงเลือกตั้งของคนกรุงเทพฯ ก็ไม่กระทบต่อโครงสร้างทางการเมืองมากนัก

ผลกระทบทางเศรษฐกิจปัจจุบันกับชาวนาชาวไร่แล้ว ส่งผลกระทบไม่มากนัก เพราะวิกฤตการณ์อาหารโลกนั้น ชาวนาไทยกลับได้ประโยชน์จากราคาข้าวที่แพงขึ้น ทำให้แรงกดดันในภาคชนบทต่อรัฐบาลน้อยกว่าที่คิด วิกฤตการณ์น้ำมันแพงก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชาวนาชาวไร่ ในชนบทมากนัก เพราะอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหัว ของคนชนบทต่ำมาก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่อหัวของชาวชนบทก็น้อยมาก แทบจะไม่มีนัยสำคัญ แม้ต้นทุนราคาน้ำมันจะส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรทางการเกษตร แต่ราคาข้าวที่แพงขึ้น ก็ชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้นหากคนชั้นกลาง ยังไปสนับสนุน "กลุ่มพันธมิตร" สร้างความปั่นป่วนให้กับสังคมต่อไป คนชั้นกลางจะได้รับความทุกช์ยากนั้นเอง เพราะหากรัฐบาลอยู่ได้ได้ ก็จะยุบสภา และผลการยุบสภา พรรค พปช. จะได้ที่นั่งเข้ามาอีก และหากคนชั้นกลางยังป่วนไม่หยุด ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ และคนชั้นกลางก็จะได้รับผลจากการกระทำของพวกเขาเอง แต่พวกเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทางการเมืองได้อย่างแน่นอน

สุดท้ายพวกเขาก็ต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับเสียงส่วนใหญ่ เพราะมันไม่มีทางอื่น

เมื่อชาวรากหญ้าตื่นขึ้น จำนวนคนที่มากกว่า ย่อมทำให้พลังอื่นด้อยความหมายไปโดยสิ้นเชิง

จาก thaifreenews