WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 14, 2008

การก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย: วิเคราะห์กลุ่มก่อความไม่สงบ

ถึงแม้ว่าปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา และความเชื่อ หรืออัตลักษณ์ นับเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความแปลกแยกโดยพื้นฐานไปจากประชาชนในส่วนอื่นๆ ของประเทศ แต่ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้พื้นที่แถบนี้ไม่มีความสงบมาโดยตลอด เกิดจากกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันต่อต้านอำนาจรัฐในรูปองค์การกู้ชาติปัตตานี โดยกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

1.กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปัตตานี (The Barisan National Pember-Basan Pattani/ BNPP หรือ Pattani National Liberation Front)

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2502 โดย Tengu Abdul Jalal หรือ นายอดุลย์ ณ สายบุรี วัตถุประสงค์ของกลุ่มต้องการได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์จากประเทศไทย ไม่ยอมรับการปกครองตนเองหรือการเข้าไปรวมกับประเทศมาเลเซีย ขณะที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มเน้นการรบแบบกองโจร แต่ในปี พ.ศ.2533 กลุ่มได้ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์หันไปสนับสนุนการต่อสู้ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั่วโลก

พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น Barisan Islam Pember-Basan Pattani (BIPP) อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ.2532 กลุ่มได้ยุติความเคลื่อนไหวในประเทศไทยไประยะหนึ่งแล้วกลับมาเคลื่อนไหวใหม่เมื่อปี พ.ศ.2545 ภายหลังมีการประชุมแกนนำของกลุ่ม ที่บริเวณภาคเหนือของมาเลเซีย ทั้งนี้นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงเชื่อว่า BIPP มีส่วนร่วมในการโจมตีหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี 2545 แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่า มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ.2547 หรือไม่

2.กลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายู (The Barisan Revolusi National/BRN หรือ National Revolutionary Front)

ก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ.2503 ผู้ร่วมก่อตั้งขบวนการมีจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ นายหะยีอามีน โต๊ะมีนา เตงกูยาลาล์ นาเซร์ อดุลย์ ณ สายบุรี อุสตาซการิม หะยีการิม ฮาซัน อดีตโต๊ะครูปอเนาะในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และ นายอับดุลกายม ผู้บุกเบิกก่อตั้งกลุ่มดาวะห์ในประเทศไทย และได้ก่อตั้งหน่วยทหารขึ้นเมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ.2511 โดยใช้ชื่อว่า กองกำลังติดอาวุธปลดแอกปัตตานี หรือ Angkatan Bersenjata Revolusi Patani : ABRIP (เลียนแบบชื่อย่อของกองทัพอินโดนีเซีย ซึ่งใช้คำว่า ABRI : Angkatan Bersenjata Republic Indonesia) อุดมการณ์เริ่มแรกของ BRN ยึดแนวความคิดในการปกครองแบบสังคมนิยม แต่ต่อมาหันมาชูอุดมการณ์ด้านศาสนา

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดความแตกแยกภายในขึ้นหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนแตกเป็น 3 กลุ่มคือ BRN Congress (สายกองกำลังติดอาวุธ) BRN ULAMA (สายศาสนา) และ BRN Coordinate (สายการเมืองและศาสนา) แต่ในปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงขบวนการเดียว และมีบทบาทมากที่สุดคือ ขบวนการ BRN Coordinate ซึ่งหลักการสำคัญของกลุ่มนี้คือ การยึดมั่นแนวคิดแบ่งแยกดินแดนไม่เจรจากับฝ่ายรัฐ และใช้วิธีการรุนแรงในการปฏิบัติการโดยไม่เลือกว่าเป็นไทยพุทธหรือไทยมุสลิมที่ให้ความร่วมมือกับรัฐ

3.องค์กรปลดปล่อยรัฐปัตตานีหรือองค์การสหปัตตานีเสรี (Pesatuan Pember-Basan Pattani Bersatu/PPPB หรือ Pattani United Liberation Organization/PULO)

ก่อตั้งเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ.2511 เป็นองค์กรจัดตั้งที่มีรูปแบบสมบูรณ์ที่สุด ผู้ริเริ่มก่อตั้งคือ ตนกูบีรอ กอตอนีรอ และ นายกาบีร์ อับดุลเราะห์มาน ทั้งนี้แม้ว่าได้เกิดความแตกแยกหลายครั้งภายในกลุ่ม PULO ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 จนเกิดการแยกตัวออกเป็น PULO เก่า และ PULO ใหม่ แต่ล่าสุดมีรายงานยืนยันว่า ขบวนการดังกล่าวได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 และปัจจุบัน PULO ได้เข้ารวมเป็นพันธมิตรกับแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือเบอร์ซาตู (BERSATU) แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ของ PULO ในปัจจุบันเน้นงานด้านการเมืองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนกองกำลังของกลุ่มใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีน้อยมาก และแทบไม่พบความเคลื่อนไหวในด้านการใช้กำลังตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านความมั่นคงยังคงจับตากลุ่ม PULO อย่างใกล้ชิด เนื่องจากในกลางปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา เริ่มปรากฏความเคลื่อนไหวของกองกำลัง PULO อีกครั้งอย่างผิดสังเกต

4.ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี (Therakan Mujahideen Islam Pattani/GMIP)

มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม เริ่มจากการก่อตั้งแนวร่วมมูจาฮีดีนปัตตานี หรือ BBMP (Barisan Bersatu Mujahideen Patani) ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2528 โดยมีแนวคิดที่จะรวบรวมขบวนการต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้มีเอกภาพและความเข้มแข็งในการต่อสู้ และอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการปลดแอกจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ร่วมก่อตั้งมี นายหะยีอามีน โต๊ะมีนา แกนนำของ BRN Coordinate หะยีอับดุลเราะห์มาน (โต๊ะครูพ่อมิ่ง นักวิชาการทางศาสนา) ตนกูบีรอ กอตอนีรอ แกนนำ PULO นายแวหามะ แวยูโซะ แกนนำ BNPP/BIPP อุสตาซการิม บินฮาซัน แกนนำ BRN ULAMA และ นายบือราเฮง กูทาย (บือราเฮงขนส่ง) แกนนำ BNPP/BIPP

แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2529 เริ่มปรากฏการเคลื่อนไหวของอีกขบวนการหนึ่งชื่อ “ขบวนการมูจาฮีดีนปัตตานี” GMP (Gerakan Mujahideen Pattani) ซึ่งเชื่อว่าแยกตัวจากขบวนการ BIPP และ BBMP โดยมีแกนนำคนสำคัญประกอบด้วย นายวันอาหมัด วันยูซุฤ/แวหามะ แวยูโซะ อดีตสมาชิก BNPP/BIPP นายอาวัง/อาแว บินอับดุลเลาะห์ กาบีร์/อาแวยะบะ นายมูฮัมหมัด/มะ โดล์/อุสตาซมะ โดล์ นายแจ๊ะกูแม กู/อับบัส บินอาหมัด ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้เน้นงานด้านการเมืองอยู่ในมาเลเซีย บทบาทสำคัญของ GMP คือ เป็นหนึ่งในแกนนำที่รวบรวมขบวนการต่างๆ ก่อตั้งเป็นขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือเบอร์ซาตู (BERSATU) เมื่อปี พ.ศ.2532 (ยกเว้น BRN Coordinate ที่ไม่ได้เข้าร่วมขบวนการ แต่ก็อยู่ในฐานะที่เป็นพันธมิตร)

5.กลุ่มแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (The United Front for the Independence of Pattani/BERSATU)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 โดยความเห็นชอบร่วมกันของแกนนำกลุ่ม BIPP BRN GMP และ PULO โดยมีจุดมุ่งหมายจะรวมขบวนการต่อสู้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในระยะเริ่มต้น แกนนำของทั้ง 4 กลุ่ม ตกลงให้จัดตั้ง “องค์การร่วม” หรือ “องค์การปายง” หรือ Umbrella Organization ขึ้นเพื่อความเป็นเอกภาพ และให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันต่อสู้เพื่อปลดแอกปัตตานี ใช้หลักการต่อสู้เพื่อศาสนา (ญิฮาด) ด้วยกำลังติดอาวุธ ต่อต้านหลักการและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ประเทศอิสลามทั้งหลายสนับสนุนการต่อสู้ แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี” หรือ BERSATU โดยปัจจุบันมี ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน เป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ตามข้อเท็จจริงที่หน่วยงานด้านความมั่นคงรับทราบ BERSATU ไม่มีอำนาจสั่งการกลุ่มต่างๆ ที่เป็นสมาชิก เพียงแต่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หรือแนวทางการปฏิบัติกว้างๆ เพื่อให้การดำเนินงานของแต่ละกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกลุ่มสมาชิกยังคงมีการเคลื่อนไหวเป็นเอกเทศ แต่มีการประสานความร่วมมือกันมากขึ้นเท่านั้น

6.กลุ่มเยาวชนกู้ชาติปัตตานี (Pemuda Merdeka Pattani/PMP)
ก่อตั้งโดยขบวนการ BRN Coordinate ซึ่งสมาชิกระดับแกนนำส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา (Ulama) และได้พัฒนาการต่อสู้ในมิติใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยการฝึกอบรมเยาวชนทหารตามโครงการและจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ด้วยการปลุกกระแสการต่อสู้ในแนวทางญิฮาด (Jihad) หรือสงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเตรียมการทำสงครามประชาชน หรือการรบแบบกองโจร การดำเนินงานจะแฝงกิจกรรมอยู่ในตาดีกาและในปอเนาะ ตลอดจนในสถาบันการศึกษาของรัฐบาลบางแห่ง รวมทั้งบริเวณมัสยิดประจำหมู่บ้าน โดยได้ปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญหลายครั้งในลักษณะการปล้นอาวุธ ลอบยิง/สังหารเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 และเชื่อว่ากลุ่มดังกล่าวมีการเชื่อมโยงและแสวงหาแนวร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น PULO BRN Congress และ GMIP เป็นต้น

7.สภาอูลามาปัตตานีดารุสลาม (Ulama Pattani Daruslam)
เป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาหรือปราชญ์มุสลิม (อูลามา) ถือเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จบการศึกษาด้านการศาสนาในระดับสูงมาจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอินโดนีเซีย แล้วกลับมาทำงานเป็นครูสอนศาสนา โต๊ะครู อิหม่าม และเจ้าของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม/ปอเนาะ แต่ละคนมีลูกศิษย์มากมาย และเป็นที่ศรัทธาเคารพของประชาชนมุสลิม

จึงเป็นตัวแปรหลักของสถานการณ์ในพื้นที่อย่างแท้จริง เพราะเป็นผู้ชี้นำและกำหนดทิศทางการต่อสู้ของมุสลิมได้โดยตรง ผู้ที่เป็นแกนหลักสำคัญในการจัดตั้งกลุ่ม Ulama คนแรกก็คือ หะยีสุหลง อัล-ฟาตอนี หรือ นายสุหลง บิน อับดุลกอเดร์ ซึ่งได้เดินทางไปศึกษาด้านการศาสนาที่เมืองเมกกะ ซาอุดิอาระเบีย นานถึง 20 ปี ภายหลังเดินทางกลับปัตตานี เมื่อปี พ.ศ.2470 ได้นำแนวความคิดมาวางรากฐานในการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาจากระบบปอเนาะมาเป็นระบบโรงเรียน โดยในปี พ.ศ.2476 ได้เปิดอาคารเรียนชื่อ “Madrasah Al Maarif Al Wataniah Fatani” ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนมาหะอัดดารุลมาฮาเรฟ อยู่ที่เดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และนับเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรกในปัตตานีและในประเทศไทย

ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา กลุ่ม Ulama มีบทบาทในทางเปิดลดลงไปมาก จนกระทั่งเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ.2545 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันก่อตั้งสภาอูลามาปัตตานีดารุสลาม ตั้งอยู่ที่โรงเรียนมูลนิธิสมบูรณ์ศาสน์ดาลอ หรือปอเนาะดาลอ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี สมาชิกประกอบด้วยผู้นำศาสนา โต๊ะครู นักวิชาการอิสลามในพื้นที่จำนวน 29 คน โดยคัดเลือกจากผู้นำศาสนา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (อิหม่าม โต๊ะครู โต๊ะบิหลั่น หรือผู้จบด้านการศาสนาชั้นสูง) และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

8.สมาคมนิสิตนักศึกษาชาวไทยมุสลิมในอินโดนีเซีย (Persatuan Mahasiswa Papani [Selatan Thailand] Indonesia/PMIPTL)

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2511 โดยกลุ่มนิสิตนักศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สำเร็จการศึกษาด้านการศาสนาจากประเทศอินโดนีเซีย เพื่อประสานงานด้านการศึกษาและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ภายหลังแกนนำของกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยเฉพาะ BRN ได้แทรกซึมเข้าไปและบิดเบือนเป้าหมายขององค์กรให้หันมาดำเนินกิจกรรมการปลุกระดม การฝึกอบรมด้านการทหาร และเชื่อมโยงกับองค์กรต่อสู้ทางศาสนาในต่างประเทศหลายองค์กร เพื่อความมุ่งหมายในการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันสมาคมดังกล่าวมีสมาชิกไม่ต่ำว่า 3,000 คน ส่วนใหญ่เป็นโต๊ะครู อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ครูสอนศาสนา (อุสตาซ) กรรมการอิสลามระดับจังหวัด รวมทั้งบางส่วนเป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบด้วย หรือเป็นทายาทของสมาชิกหรือแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ ที่บาดเจ็บหรือสูญเสียจากการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ และเนื่องจากประเทศอินโดนีเซีย การต่อสู้ของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง เช่น ขบวนการเจมาห์ อิสลามิยาห์ (JI) และขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM) จึงเอื้ออำนวยให้สมาคมดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องตลอดมา ในลักษณะการฝึกร่วม หรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน PMIPTI ในปัจจุบันจึงมีสถานะเป็นหนึ่งในองค์กรแนวร่วมขององค์กรกู้ชาติปัตตานี

9.ขบวนการเยาวชนแห่งชาติปัตตานี (Pattani National Youth Movement/PANYOM หรือ Gerakan Pemuda Kebangsaan Pattani)

เป็นกลุ่มที่หน่วยงานด้านความมั่นคงเชื่อว่าก่อตั้งมานานแล้ว เพียงไม่ได้ดำเนินงานอย่างเปิดเผยหรือมีชื่อเสียงมากนัก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2540 เริ่มปรากฏการเคลื่อนไหวครั้งแรก โดยการทิ้งจดหมายข่มขู่กรรโชกทรัพย์ที่ จ.ปัตตานี และได้เงียบหายไประยะหนึ่ง จนกระทั่งเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ.2541 ได้ปรากฏการเคลื่อนไหวอีกครั้ง ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีเนื้อหาปลุกระดมมวลชนโฆษณาชวนเชื่อ โดยใช้ประเด็นด้านศาสนา เชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ปัตตานีในอดีต มาเป็นสิ่งปลุกเร้าให้ชาวไทยมุสลิมลุกขึ้นมาต่อสู้รัฐบาลไทย รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารการต่อสู้ของกลุ่มก่อการร้ายขบวนการต่างๆ ซึ่งนับเป็นการพัฒนาบทบาทของกลุ่มไปสู่การต่อสู้ทางการเมือง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

10.สภาองค์กรนำ (Dewan Pimpinan Parti/DPP)
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และตัดสินใจ รวมทั้งเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์/แผนการปฏิวัติ 7 ขั้นตอน หรืออาจกล่าวให้ชัด DPP มีสถานภาพเสมือนส่วนมันสมองหรือรัฐบาลของกลุ่มก่อความไม่สงบนั่นเอง โดยโครงสร้างการจัดองค์กรมีลดหลั่นกันลงไป ตั้งแต่ระดับเขต จังหวัด ถึงระดับหมู่บ้าน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก/แนวร่วม การปฏิบัติทางยุทธวิธีของสมาชิก/แนวร่วม อีกทั้งมีการจัดแบ่งหน้าที่ในองค์กรย่อยอย่างชัดเจน ทั้งในด้านการปฏิบัติการจิตวิทยา/โฆษณาชวนเชื่อ ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจ และด้านการทหาร (การใช้กำลังปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ) โดยมีเป้าหมายสูงสุดเมื่อการปฏิวัติตามขั้นตอนดังกล่าวสำเร็จ จะสถาปนารัฐปัตตานีขึ้นใหม่ โดยมีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และบางส่วนของ จ.สงขลา และสตูล โดยมีการจัดโครงสร้างดังต่อไปนี้

10.1 โครงสร้างของรัฐปัตตานีที่จะสถาปนาขึ้นใหม่
จากข้อมูลจะพบว่า องค์กรมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขต ได้แก่

1) เขตปัตตานีอูตารา (ปัตตานีตะวันออก) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของ จ.นราธิวาส และบางส่วนของ จ.ปัตตานี โดยใช้แม่น้ำสายบุรีเป็นเส้นแบ่งเขต ตั้งแต่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ไปถึง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส

2) เขตปัตตานีตือเงาะ (ปัตตานีกลาง) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และบางส่วนของ จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา ตามแนวภูมิประเทศตั้งแต่ อ.เทพา จ.สงขลา ไปถึง อ.กาบัง จ.ยะลา

3) เขตปัตตานียาโต๊ะ (ปัตตานีตะวันตก) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.เทพา อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย อ.นาทวี อ.สะเดา อ.ควนโดน และ อ.เมือง จ.สตูล

10.2 โครงสร้างระดับบริหาร (ส่วนกลาง)
มีประธานและรองประธาน DPP เป็นผู้นำ และมีฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องหลักๆ อีก 7 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายทหาร (งานด้านกำลังรบ) ฝ่ายเยาวชน (งานด้านกำลังพล) ฝ่ายปฏิบัติการจิตวิทยา/ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายศาสนา (อูลามา) ฝ่ายเศรษฐกิจ และฝ่ายเขต/พื้นที่ (ดูแลงานด้านการปกครองท้องที่) ซึ่งมีลักษณะคล้ายงานปกครองของกระทรวงมหาดไทย

10.3 โครงสร้างในระดับเขต/จังหวัด ไปจนถึงระดับกลุ่ม/หมู่บ้าน (การปกครองส่วนท้องถิ่น)
มีการจัดโครงสร้างเลียนแบบระดับบริหาร โดยระดับเขตประกอบด้วย

1.ฝ่ายปฏิบัติการจิตวิทยา ทำหน้าที่ปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นอุสตาซ (ครูสอนศาสนา) ที่สอนอยู่ตามสถานการศึกษา/ปอเนาะ/ตาดีกา

2.ฝ่ายศาสนา ทำหน้าที่สร้างความเชื่อถือและศรัทธา โดยนำหลักการทางศาสนาอิสลามมาบิดเบือน รวมถึงการสร้างความเชื่อทางไสยศาสตร์ และการสาบานตน ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นผู้นำศาสนา

3.ฝ่ายเหรัญญิก ทำหน้าที่ด้านการเงิน ทั้งการหารายได้ และจัดทำรายการรายรับและรายจ่าย โดยมีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิก/แนวร่วม เป็นรายวันหรือรายเดือนบ้าง และจัดตั้งกลุ่มอาชีพหรือสหกรณ์ของกลุ่มเพื่อบังหน้า

4.ฝ่ายเลขานุการ ทำหน้าที่ด้านงานธุรการ การจัดหาสมาชิก/แนวร่วม และประสานงานด้านการปลุกระดม การฝึก ในฝ่ายนี้ยังมีผู้มีความรู้หรือผู้อาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพยำเกรง มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้มีอิทธิพลจากธุรกิจผิดกฎหมาย

10.4 ที่ตั้งและพื้นที่อิทธิพลหรือพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ
จากการวิเคราะห์เอกสารที่ทางการได้มานั้น พอจะพิสูจน์ทราบที่ตั้งและพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบได้ดังนี้

10.4.1 ระดับบริหาร (โครงสร้างส่วนบทของ DPP) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.ปัตตานี พื้นที่หนึ่ง ระหว่างเมือง อ.ยะหริ่ง หรือ อ.หนองจิก

10.4.2 ระดับเขตหรือจังหวัด คาดว่า

1) ปัตตานีอูตารา (ปัตตานีตะวันออก) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.นราธิวาส พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งระหว่าง อ.เมือง อ.เจาะไอร้อง หรือ อ.ระแงะ

2) ปัตตานีตือเงาะ (ปัตตานีกลาง) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.ปัตตานี พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งระหว่าง อ.ยะรัง หรือ อ.มายอ

3) เขตปัตตานียาโต๊ะ (ปัตตานีตะวันตก) น่าจะอยู่ในพื้นที่ จ.ยะลา พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ระหว่าง อ.เมือง อ.บันนังสตา หรือ อ.ยะหา

ดร.สุรชาติ บำรุงสุข