ที่มา ประชาทรรศน์
แนะรัฐอัดงบ3แสนล้าน-บริหารแบบไชน่าอิงค์
“หม่อมอุ๋ย” แนะการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเรื่องดีแต่ต้องหันมาดูแลทรัพยากรธรรมชาติด้วย ที่สำคัญต้องเร่งลดช่องว่าระหว่างคนจนกับคนรวย พัฒนาชุมนุมให้เทียบเท่าคนในเมือง ระบุไม่เห็นด้วยกับมาตราการแจกเงิน “ก่อศักดิ์” แนะรัฐบาลบริหารแบบ china inc. มอนิเตอร์ทั้งระบบไม่ใช่ปล่อยตามยถากรรมอย่างที่ผ่านมา ขณะที่คณบดีเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ชี้รัฐควรทุ่มเงินอีดฉีดอีก 3 แสนล้าน โพลลชี้ประชาชนไม่มั่นใจแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ กว่า 60% ระบุยังใช้จ่ายเงินเหมือนเดิม ในขณะที่นโยบายให้เรียนฟรี 15 ปี โดนใจ แต่การแจกเงิน 2 พัน กับให้เงินช่วยคนตกงานติดอันดับบ๊วย
โพลชี้ประชาชนไม่เชื่อมั่นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดอภิปราย 60 ปี เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1 โดยมี ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรมว.คลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปฐกถาเรื่อง “ประเทศไทย กับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์”
ศก.พัฒนาแต่ทำลายสิ่งแวดล้อม
มีใจความว่า เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ มีการพัฒนาการตามธรรมชาติโลกเสรีนิยมมีการพัฒนาเป็นซับพลายเชนเอเชีย และเอเชียตะวันออก ป้อนสินค้าระหว่างกันในประเทศ ที่รับผลประโยชน์จากเศรษฐกิจออกมาตามการดึงดูดการลงทุน อำนวยความสะดวกแก่บริษัทข้ามชาติ การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยที่ผ่านมาเกาะกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเดินตามประเทศ 4 เสือ คือ เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ เข้าไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออก เกิดการสร้างงาน มีการส่งออกพัฒนาการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ
ประเทศไทยมีการเจริญเติบโต มีคนทำงานมากขึ้น ในด้านสินค้าอุปโภค บริโภคที่ดีที่สุดในเอเชีย ทั้งข้าว อัญมณี มีการเติบโตเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพราะอุตสาหกรรม มีการขยายกิจการและใช้ทรัพยากรจนเกือบหมด เช่น ดีบุก ไม้ จนเริ่มขาดแคลน โรงงานอุตสาหกรรม มีผลทำลายสิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิต ทำให้โลกาภิวัตน์ เร่งขยายตัว เป็นผลทำลายสิ่งแวดล้อม ชีวิต การท่องเที่ยว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อไปว่า ด้านภาคการเงิน ดำเนินการตามพัฒนาการตามตลาดโลก ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ ภายใต้ความครอบงำ ของธุรกิจต่างชาติ มีการซื้อขาย จึงอยู่ที่นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลก ในตลาดทุนเกิดขึ้นเนื่องจากทุนต่างชาติในตลาดหลักลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามธนาคารไทย ควรดูแลให้ความปลอดภัยสถาบันการเงิน ในเรื่องการแทรกแซงเงินตราระหว่างประเทศ ให้อัตราการแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาด จะดีขึ้นเอง ไม่จำเป็นต้องแทรกแซง
“ตลาดการเงิน เปิดรับในความเหมาะสม ตามความแข็งแรง หากไม่ปลอยตลาดเงินเสรี ภาคเศรษฐกิจต้องเติบโตได้อย่างมั่นคง การพัฒนาโลกาภิวัตน์ ในภาพรวมเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย หลักการพัฒนาควรเนินการที่เข้มแข็งเพิ่มมาตรการที่ไม่มีผลกระทบสังคมคุณภาพชีวิต
หนี้เสียมหาศาล-คนตกงานเพียบ
ม.ร.ว. ปรีดิยาธร กล่าวว่า ธุรกิจเงินอาจจะไม่กระทบสิ่งแวดล้อง แต่กระทบต่อสังคม เช่นบัตรเคดิต สินเชื่อ ที่ใช้เงินเกินกำหนด “ออมก่อนใช้ ใช้ก่อนออม” ทำให้หนี้ พอกพูนขึ้น ไม่สามารถชำระหนี้ได้ กระทบความเป็นอยู่ บางรายถูกทวงหนี้ ทำให้เสียอนาคต กระทบต่อครอบครัว
“การใช้บัตรเคดิตผ่านทางธนาคมารเริ่มใช้มา 10-20 ปีแล้ว โดยใช้ผู้มีฐานะ ไม่กระตุ้นการใช้เงิน แต่ในเวลา7-8 ปี บริษัทต่างชาติประเทศ มีการชาร์ตดอกเบี้ยสูงถึง 36 %- 60 % ต่อปี ทำให้คนจน ผู้รายได้ต่ำ ในโรงงานที่ใช้บัตรเคตดิ เกิดหนี้เสียมหาศาล จีงทำให้คนตกงาน กระแสโลกาภิวัฒน์แบบนี้ทำให้คนตกงาน วิธีควบคุม ก็คือต้องกดดอกเบี่ยเป็น 22 % บริษัทก็อยู่ได้ ให้เลิกออกบัตรให้คนที่เป็นหนี้ เศรษฐกิจจะโต 15% ต่อปี” ม.ร.ว. ปรีดิยาธร กล่าว
การพัฒนาตามการเจริญของโลกหากไม่จัดกระบวนการพัฒนา จะไม่สามารถผันรายได้ ส่วนเพิ่มกระจายสู่สังคมได้อย่างทั่วถึงในภาคส่งออกทำให้คนร่ำรวย แต่กับการเกษตรได้รับประโยชนน้อยกว่า ทำให้เกิดช่องว่างของรายได้ระหว่างคนเมือง กับชนบทที่ทำอาชีพเกษตร เมื่อช่องว่างขยายตัวมากขึ้นจะพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งในสังคมได้
คุณภาพชีวิต ที่เสื่อมลงไปหรือไม่ถ้าถามนักธุรนกิจ คงบอกว่าเกิดประโยชน์ ถ้าถามชาวเกษตร คงบอกว่าไม่มีอะไรดีขึ้น ถ้าถามคนรุ่นใหม่คงบอกว่าเศรษฐกิจที่พัฒนามีผลดียิ่ง ซึ่งคำตอบจะตรงข้ามกับเด็กชนบท ที่ด้อยการศึกษาอย่างสิ้นเชิง
ช่องว่างคนรวย-คนจนยังเท่าเดิม
การพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่ได้กระจายรายได้ไปสู่คนชนบท มีช่องว่างคนรวยจน มากเท่าเดิม สิ่งที่มีผลต่อโลกาภิวัตน์เศรษฐกิจ คือสังคมไทยนิยมทำตามวัฒนธรรมชาวตะวันตก นำแบบแผนชีวิตตะวันตกเข้ามาผ่านการค้า มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งข้อดี คือนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งค่านิยมเศรษฐกิจของทางตะวันตก ต้องทำกำไรสูงสุด มีธุรกิจขนาดใหญ่ ขยายกิจการ ซึ่งในเมืองไทยได้ดูดซับค่านิยมนี้เข้ามา เกิดความพึงพอในการสร้าง เกิดการแข่งขันของตลาดโลกที่ต้องมีขนาดใหญ่ แต่บางประเภทก็ไม่จำเป็นแข่งขันตลาดโลก
“ด้านธุรกิจการค้าปลีกเช่น โลตัส แมคโค ทำให้ร้านขายของชำขนาดเล็กต้องทยอยปิดตัวลง คนซื้อของร้านของชำไม่มีที่รับระบายทุก หันมาซื้อของตามร้านค้าปลีก ที่ต้องเข้าแถวซื้อของกับพนักงานที่เร่งกดเคื่องแข่งกับบเวลา เพื่อแลกกับราคาสินค้าที่ถูกลง ทั้งนี้ธุรกิจขนาดยักต์มีอำนาจต่อรองสูง และกลายเป็นศัตรู กับชาวไร่ชาวนนา”
ม.ร.ว. ปรีดิยากุล กล่าวว่า สภาวะทางเศรษฐสังคม มาจากแนวทางพัฒนาจาก 50 ปีที่ผ่านมา มีค่านิยมมาจากทางตะวันตก สู่โลกาภิวัฒน์ หลายคนคิดว่า เราต้องปฏิเสธการพัฒนาเศรษฐกิจแต่ไม่ใช่ เพราะแนวทางการพัฒนานั้นเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากมาย จำเป็นที่จะพัฒนาต่อไป เพราะเศรษฐกิจก้าวหน้ามาก สิ้นค้าส่งออกได้หารายได้มาพัฒนาประเทศ เป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง ทั้งภาคผลิต นำมาส่งออก เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนของโลก ต้องมีการพัฒนา ทางด้านวัตถุดิบ เพื่อเติมความเข้มแข็ง ทางภาคอุตสาหกรม เช่น เรามีแร่โปแตชมากที่สุดในเอเชีย ก็ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ม.ร.ว. ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า ประชาชนหลายหมื่นหมูบ้าน ได้รวมตัวช่วยตัวเอง ทำแผนพัฒนาชุมชน โดยดึงหน่วยงานของรัฐช่วยทำตามแผน ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเข้าไปช่วย แผนชุมชนที่ได้มาตรฐานก็จะเกิดขึ้น ตามหน่วยราชการเกี่ยวข้องเมื่องบผ่านมาที่ อบต. ก็น่าจะให้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย เป็นกลุ่มประชาสังคนที่น่าจับตามอง ที่พัฒนาชนบทที่แท้จริง เชื่อว่าภายในปี 54 จะเจริญขึ้นกว่าทีเคยเป็นมา
“เศรษฐกิจ ในท้องถิ่น ต้องมีการวางแผนการกระจายรายได้ เพิ่มรายได้ ไม่ควรแจกเงินเป็นครั้งๆเพิ่มโอกาสในการทำมาหากิน การให้เงินจะส่งเสริมให้คนเกิดความเคยตัว ทำให้คนรับไม่เห็นคุณค่าของการหาเงินด้วยตัวเอง”
ต้องลดช่องว่างคนเมืองกับชนบท
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวถึงการแก้ไขจุดอ่อนในเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นว่า ต้องมีความระมัดระวัง ในการใช้ทรัพยากร ที่ไม่สูงกว่าที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา มีโครงการปลูกป่า จัดการใช้น้ำ มีการนำธรรมชาติ หรือน้ำฝน มาใช้ให้มากที่สุด โดยน้ำที่ปล่อยลงทะล ไม่ควรเป็นนำที่ใช้แล้ว จัดแหล่งน้ำอย่างพอเพียงกับการเกษตร อุตสาหกรรม และครัวเรือนอย่างเหมาะสม บริหารจัดการไม่ให้โรงงานปล่อยควันพิษออกมา ไม่ให้มีโรงงานตั้งหนาแน่นเกินไป เพราะจะต้องใช้แหล่งน้ำมากเกินในท้องถิ่นนั้นๆ จำกัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่ไม่กระทบต่อศีลธรรม กำจัดแหล่งเสื่อมโทรมของธุรกิจท่องเที่ยว ป้องกันบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เพราะเป็นปัญหาภายหลัง ผู้กู้ ถูกเอาเปรียบมาก เช่น การไปศูนย์การค้า จะมีมุมเล็กๆ ที่คนไปกู้สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นกระบวนการที่น่ากลัว ส่วนในมาตรการอื่นควรเสริมราคาพืชผลเกษตร การสร้างรายได้เกษตรกรรม ไปสู่ชนบท เช่น “ไทยเที่ยวไทย” ชักชวนคนกรุงเทพไปเที่ยวชนบท ให้มากขึ้น
สุดท้ายคือลดช่องว่างระหว่างคนเมืองกับชนบท เป็นยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น พัฒนาชนบท เพื่อไม่ให้ชุมนุมห่างไกล เพราะภาคเกษตรชนบท นอกจากแผนชุมนมแล้วต้องพัฒนาโครงสร้างระบบท้องถิ่น เพื่อโอกาสทำมาหากิน ตั้งแต่สร้างอุตสาหกรรมนำพืชผลที่มีอยู่ผลิตพลังงานทดแทน เพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำอย่างที่เคยเป็น เพิ่มรายได้เกษตรกรขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คู่กับการส่งออก ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ลดความขัดแย้งไปด้วย
หม่อมอุ๋ยชี้งบสร้างงานยังน้อยมาก
ภายหลังจากการที่ปาฐกถาเสร็จ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร ให้สัมภาษณ์ว่า อยากให้รัฐบาลกระตุ้นงบการสร้างงานให้มากขึ้น เพราะทุกวันนี้งบสร้างงานเป็นงบทางอ้อม แต่งบสร้างงานโดยตรง ครั้งแรกมีจำนวน 115,000 ล้านบาท แต่ทุกวันนี้เหลือเพียง 1,700 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมาก และจะมีคนตกงานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น เนื่องจากการขายลดลงมาก เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลต้องรับรู้ และเป็นปัญหาใหญ่ งบประมาณที่ออกมามีจุดอ่อนก็คือ ยังสร้างงานน้อยเกินไป งบออกมาแสนล้าน เป็นงบสร้างงานสักครึ่งหนึ่งก็จะทำให้ทุกคนสบายใจได้
เมื่อถามว่า ถ้ามีการลดตุ้นทุนเงินประกันสังคมจะเหมาะสมหรือไม่ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นข้อเสนอที่ควรจะแยกออกจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ควรนำมาปนกัน เป็นข้อเสนอทางกฎเกณฑ์แต่งบกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นควรมุ่งเน้นไปสู่การสร้างงาน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวถึงการปล่อยสินเชื่อซื้อบ้านเดินตามปกติ ผู้ประกอบการที่ฐานะไม่ดีต่างหากน้อยลง การส่งออกลดลงก็ไม่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น วงเงินเดิมผู้ส่งออกเพียงพอแล้ว ผู้ส่งออกใดเงินไม่พอก็มีการขาดทุนเยอะ สินเชื่อที่ควรปล่อยคือ สินค้าที่เพิ่มกำลังซื้อเพิ่มกำลังความต้องการ เช่นการซื้อบ้าน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลนี้เข้าใจเรื่องนี้แล้ว
แนะอัดฉีดกระตุ้นศก.อีก3แสนล้าน
หลังจากนั้นเป็นการอภิปรายในเรื่อง “เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยปี 2552” โดย นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.ซีพีเซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) แนะว่ารัฐบาลควรบริหารประเทศแบบ china inc. ของจีน ให้เป็น Thailand inc. ที่มอนอเตอร์เศรษฐกิจทั้งระบบ ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรมเหมือนอย่างที่ผ่านมา
เหมือนอย่างประเทศจีนเมื่อเขารู้ว่าฟองสบู่จะแตกก็ออกกฎหมายห้ามธนาคารปล่อยเงินกู้ทำให้เศรษฐกิจของจีนรอดมาได้ และตอนนี้ยังมีการวางแผนลดจำนวนเกษตรกรลงจากร้อยละ 70 ลงเหลือร้อยละ 40 เพื่ออพยพแรงงานเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรม
ด้าน ศ.ดร.ตีรณ พงษ์มฆพัฒน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การช่วยค่าครองชีพ 2,000 บาท แม้จะเป็นจำนวนไม่มากและไม่กระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม แต่ถือเป็นการลดภาระประชาชน ด้วยการคืนเงินให้ประชาชนใช้บ้าง
ข้อดีคือกลุ่มคนที่ได้รับ ซึ่งมีรายได้ไม่สูงมากจะนำเงินส่วนนี้มาบริโภคและคิดแล้วก็เป็นคนจำนวนมากเกือบ 10 ล้านคน อาจช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเงินบ้าง
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ามาตรการที่ออกมารอบแรกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมได้ เป็นเพียงประชานิยมที่ต้องการเพียงสร้างความเชื่อมั่นให้ยอมรับรัฐบาล จำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นรอบสองออกมา ซึ่งจะต้องสร้างความชัดเจนในการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ ภาษี แรงงาน เพื่อให้ได้ผลถาวรต่อเนื่องถึงการกระตุ้นจีดีพีโดยตรง
เพราะเท่าที่ดูมาตคการของรัฐบาลน่าจะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5% เท่านั้น
ที่สำคัญมาตรการต่างๆ ทั้ง 18 ข้อ ยังไม่มีส่วนใดแตะลงไปถึงกลุ่มความเดือดร้อนหลักจากผลกระทบเศรษฐกิจโลก ทั้งผู้ส่งออกและท่องเที่ยว ฉะนั้น หากไม่เกาให้ถูกที่คัน ระยะยาวแผลจะเรื้อรังมากกว่าที่เห็น
แต่หากเศรษฐกิจหดตัวมาก และนโยบายที่ส่งตรงสู่ระบบเศรษฐกิจ กลับไม่ได้กระตุ้นจีดีพีให้มากพอจะสร้างรายได้กลับสู่คลังหลวง หรือมีเพียงแต่รายจ่ายที่ไม่สร้างผลผลิตเพิ่ม รัฐจะมีภาระก่อหนี้มากขึ้นและส่งผลระยะยาวต่อภาระของประชาชนในการแบกรับหนี้ในอนาคต
ขณะเดียวกันยังแนะให้รัฐบาลอัดฉีดงบกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 3 แสนล้านบาท สำหรับ 3 ปีข้างหน้า
โพลชี้ปชป.ไม่มั่นใจแผนกระตุ้นศก.
ทางด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์การพยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจทรรศนะของประชาชนต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐว่า ประชาชนยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลออกมารอบแรกผ่านงบกลางปี 115,000 ล้านบาท โดยคนส่วนใหญ่แม้จะเห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลแต่ไม่แน่ใจว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผลจึงรอผลการกระตุ้นให้เป็นรูปธรรมก่อน
ทั้งนี้ทรรศนะต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจประชาชนส่วนใหญ่ 44.4% เห็นว่ากระตุ้นได้ปานกลาง โดยคนทุกภาคส่วนใหญ่ยังมั่นใจในระดับปานกลางถึงมั่นใจน้อย มีเพียงภาคใต้เท่านั้นที่มั่นใจว่านโยบายของรัฐจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ ขณะที่พฤติกรรมการบริโภค การซื้อสินค้า หลังออกมาตรการของรัฐบาลนั้น คนส่วนใหญ่ยังไม่ตอบสนองมากนัก โดย 60.2% บอกว่าจะใช้จ่ายเท่าเดิม ส่วนที่บอกว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นมี 30.1%
นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่มองว่ามาตรการเหล่านี้จะได้ผลปานกลาง 42.3% ส่วนที่เห็นว่าได้ประโยชน์มากถึงมากที่สุดรวม 17.6% และที่เหลือ 39.4% มองว่าได้ผลน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะเดียวกันประชาชน 48.4% ไม่แน่ใจว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจครั้งนี้ทำตรงจุดหรือไม่ ส่วนที่เห็นว่าถูกจุดมี 28.9% และไม่ถูกจุด 22.8%
"ผลสำรวจทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าคนเห็นด้วยกับการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่ยังไม่มีพฤติกรรมที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดว่าไตรมาสแรกเศรษฐกิจยังชะลอตัว และน่าจะต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 2 แต่จะกลับมาฟื้นได้ชัดเจนในไตรมาส 3 ซึ่งหลังจากนี้รัฐบาลควรกระตุ้นด้วยการทำนโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และคาดว่าตลอดปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ 2-2.5% ภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่ออกมาต่อเนื่อง" นายธนวรรธน์ กล่าว
สำหรับนโยบายที่คนชื่นชมสูงสุด คือ เรียนฟรี 15 ปี รองลงมาเป็นเบี้ยยังชีพคนชรา กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาแหล่งน้ำทางการเกษตร จำหน่ายสินค้าราคาถูก การต่ออายุมาตรการ 6 เดือน
ส่วนนโยบายที่คนพอใจน้อยสุด คือ การช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาท แก่พนักงานเอกชนและบุคลากรของรัฐที่ได้เงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท และการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน โดยช่วยเหลือเงินเดือนละ 5,000 บาท ในช่วง 6 เดือน