WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 22, 2009

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด"หมัก-สหัส"สตง.ชี้ผิดรับสินบนอุโมงค์ระบายน้ำ

ที่มา ประชาทรรศน์

มัดตราสังข์"อุโมงค์หมัก" สตง.สรุปผลสอบ ชี้ชัดรับสินบน "นิชิมัตสุ" ชงเรื่อง กทม.ฟันกราวรูด "สมัคร-สหัส"ไม่รอด ข้าราชการโดนอีกระนาว ด้านอดีตผู้ว่าฯ กทม. กลับถึงไทย เพ่นหนีนักข่าว สะพัด"มะเร็งตับ"ทำน้กหนักตัวลดฮวบกว่า 20 กิโลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 23.50 น. วานนี้ (21 ม.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยเพื่อกลับมาพักผ่อน และเพาะเนื้อเยื่อตับให้ได้ถึงร้อยละ 40 หลังเข้ารับการรักษาอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งตับที่สหรัฐฯ โดยอดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับมาด้วยสารการบิน ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ ยูเอ 0891 ลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่ามกลางกองทัพสื่อมวลชนที่ไปรอทำข่าวและกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่นำดอกไม้มาต้อนรับ

โดยทันทีที่นายสมัครเดินทางถึง ได้ให้เจ้าหน้าที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) นำรถตู้สีดำ หมายเลขทะเบียน ศร 3333 กรุงเทพมหานคร เข้าไปรับด้านในอาคารวีไอพีของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อหลีกเลี่ยงผู้สื่อข่าวที่รอสัมภาษณ์ ขณะที่ผู้สื่อข่าวจำนวนหนึ่งก็ได้ไปดักรอที่หน้าบ้านพักของนายสมัคร สุนทรเวช ภายใน ซ.นวมินทร์ 81 ตลอดทั้งคืน แต่บรรยากาศก็เป็นไปอย่างเงียบเหงา เพราะทันทีที่รถตู้แล่นเข้ามา คนในบ้านได้เปิดประตูรั้วให้รถตู้เข้าไป และปิดประตู โดยไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปสัมภาษณ์แต่อย่างใด ทั้งนี้ มีรายงานว่า น้ำหนักตัวของนายสมัคร ลดลงไปถึง 20 กิโลกรัม หลังป่วยด้วยโรคดังกล่าว

วันเดียวกัน มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้สรุปผลการสอบ โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาของสำนักการระบายน้ำ ในสมัยนายสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่ศาลประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า บริษัทนิชิมัตสุ คอนสตรั๊กชั่น จำกัด ผู้ได้สัมปทานการก่อสร้างจ่ายสินบนให้กับ กทม. ว่า สตง.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เห็นว่า การที่กรุงเทพมหานคร โดยสหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สั่งการให้บริษัทที่ปรึกษาทบทวนเกี่ยวกับขนาดของอุโมงค์ระบายน้ำใหม่และที่บริษัทที่ปรึกษาได้มีการเสนอแก้ไขขนาดของอุโมงค์ให้ใหญ่ขึ้น เป็นเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร และการกำหนดคุณสมบัติและประสบการณ์ของผู้เสนอราคา รวมทั้งหลักเกณฑ์การให้คะแนนข้อเสนอทางเทคนิคร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาประกอบกันแล้วจะเห็นได้ว่า บริษัทก่อสร้างที่มีผลงานก่อสร้างอุโมงใน กทม. และปริมณฑล ที่มีผลงานก่อสร้างอุโมงค์ขนาด ไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร และจดทะเบียนงานทางชั้น 1 กับ กทม.มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้น ได้แก่ บมจ.ช.การชั่ง และบมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ทราบดีอยู่แล้ว และเมื่อพิจาณาการปฏิบัติหน้าที่ในการคัดเลือกผู้รับจ้างและการให้คะแนนข้อเสนอทางเทคนิคของคณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคา

ความสัมพันธ์ของผู้เสนอราคาทั้ง 3 รายการที่ผ่านข้อเสนอทางเทคนิค และการที่กรุงเทพมหานครไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดการให้คะแนนข้อเสนอทางเทคนิคของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ความสัมพันธ์ของผู้เสนอราคาทั้ง 3 รายที่ผ่านข้อเสนอทางเทคนิคไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของการได้เปรียบเสียเปรียบในการเข้าเสนอราคาของผู้เสนอราคาแต่ละรายการในการได้รับสิทธิพิจาณาเปิดซองราคารวมทั้งหลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนนทางเทคนิค(ในข้อย่อย) ได้กำหนดขึ้นภายหลังจากที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาได้รับซองข้อเสนอทางเทคนิคของผู้เสนอราคาทุกรายแล้ว และพฤติการณ์การต่ออายุสัญญาการจ้างบริษัทที่ปรึกษาจากเดิม 120 วัน(ประมาณ 4 เดือน) เป็นเวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือนโดยบริษัทที่ปรึกษาไม่ขอเพิ่มเงินค่าจ้าง ตลอดจนการที่ปรากฎข้อเท็จจริงเป็นข่าวทางสื่อมวลชนของประเทศญี่ปุ่น (สำนักข่าวเคียวโค) กรณีอดีตผู้บริหารของบริษัทนิชิมัตสุ คอนสตั๊กชั่นจำกัด ได้ให้การกับอัยการญี่ปุ่นว่า บริษัทฯได้จ่ายเงินจำนวนมากกว่า 400 ล้านเยน ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยหลายคนเพื่อแลกกับ"ความสนับสนุน" เพื่อให้บริษัทได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการนี้

เมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดประกอบกันแล้ว น่าเชื่อว่าการประกวดราคาจ้างเหมาโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองลาดพร้าวลงสู่แม้น้ำเจ้าพระยาของสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานครไม่เป็นธรรมและไม่โปร่งใส มีพฤติการณ์เข้าข่ายลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบริษัทมดบริษัมหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ให้เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคากันอย่างเป็นธรรม อันเป็นความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และทำให้กรุงเทพมหานคร ได้รับความเสียหายต้องจัดจ้างโครงการดังกล่าวในราคาที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็นประกอบกับขั้นตอนการจัดจ้าง รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผบการประกวดราคาไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัสดุ พ.ศ. 2538 การประกวดราคาจ้างเหมาโครงการนี้อยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น

โดยกลุ่มตรวจสอบสืบสวนเรื่องเฉพาะกรณี สำนักงานตรวจสอบการบริหารพัสดุ และสืบสวนที่ 3 พิจารณาแล้วเห็นควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. แจ้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาดำเนินการดังนี้
1.1 ดำเนินการสอบวนโทษทางวินัย แก่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ดังนี้
1.1.1 นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ประธานคณะกรรมการ
1.1.2 นายพรพจน์ กรรณสูต กรรมการ
1.1.3. นางสาวสุทิตย์ ทิพย์สุวรรณ์ กรรมการ
1.2 ดำเนินการหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งในความเสียหายเบื้องต้น จำนวน 386,000,000 ล้านบาท (สามร้อยแปดสิบหกล้านบาทถ้วน) ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539
2. แจ้งประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อดำเนินคดีกับนายสหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้มีอำนาจในการสั่งหรือปฎิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบสำนักงานระบายน้ำและนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงทพมหานครในขณะนั้น รวมทั้งบริษัทไทยเอ็นจิเนี่ยริ่ง คอนซัลแตนทส์ จำกัด กิจการรวมค้าไอเอ็น,บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการจำกัด (มหาชน) ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรับ พ.ศ. 2542