ที่มา Thai E-News
17 มิถุนายน 2553
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ตามหมายเรียกผู้ต้องหา กระทำผิดฐาน “ร่วมกันฝ่าฝืนประกาศของผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 3 เมษายน 2553 โดยไม่ออกจากพื้นที่ที่กำหนด” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2553 ณ สน.ลุมพินี
โดยนายจาตุรนต์ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า : เป็นการมาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายเรียกของศอรส. ในข้อหาเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติความมั่นคง ที่ประกาศพื้นที่ห้ามเข้า เข้าไปแล้วไม่ออก เขาเขียนมาว่าอย่างนั้น เขาคงหมายถึงที่ราชประสงค์
หมายเลขส่งมาครั้งแรกลงวันที่ 9 เมษายน 2553 ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ผ่านฟ้าวันที่ 10 เมษายน 2553 บังเอิญว่าสะกดผมชื่อผิดๆถูกๆ ก็เลยสอบถามกันไปกันมา มาเห็นครั้งหลังหมายเรียกครั้งที่ 2 ก็ยังมีผิดอีก พอสอบถามก็ได้ความว่าเป็นหมายเรียกถึงผมแน่ แล้วก็ได้รอเวลาเลื่อนไปบ้างเพราะติดธุระครับ และรอเวลามาจนถึงวันนี้จึงนัดมารับทราบข้อกล่าวหา
ผู้สื่อข่าว : เตรียมประเด็นที่จะชี้แจงกับทางพนักงานสอบสวนอย่างไร
จาตุรนต์ : คือ เรื่องที่จะชี้แจงนี้ไม่ได้หนักใจเลย แต่ว่าวันนี้คงไม่ได้ชี้แจงอะไรมาก มารับทราบข้อกล่าวหา แล้วก็จะดูว่าทางพนักงานสอบสวนจะปล่อยตัวชั่วคราวไปไหม เพราะทางผมไม่ได้เตรียมเงินมาประกันตัว คือว่าถ้าไม่ปล่อยตัวชั่วคราวก็ต้องเอาผมไปขังล่ะ เพราะว่าผมถือว่าไม่ได้มีความผิดอะไรเลย ผมไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องถูกตั้งข้อหาด้วยซ้ำ แล้วก็สามารถสู้คดีได้แน่นอน
นอกจากนั้นคณะกรรมการที่คุณคณิตเป็นประธาน คุณคณิตบอกว่าคงจะไม่ไปสืบสาวราวเรื่องว่าใครผิดใครถูก แต่จะไปเน้นเพื่อที่จะให้เกิดความปรองดอง หาต้นเหตุ ซึ่งจะทำให้นานาชาติผิดหวังเป็นจำนวนมาก องค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรที่ทำเรื่องนิรโทษกรรมสากลอะไรต่างๆ จะผิดหวังมาก เพราะว่าจะไม่มีทางได้ข้อเท็จจริงว่าใครผิดใครถูก เราอาจจะต้องรอกันไปอีกเป็นสิบๆปี เหมือนอย่างนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่เพิ่งขอโทษประชาชนชาวไอร์แลนที่ถูกปราบปรามในวันนี้หลังจากเหตุการณ์มาไปเป็นสิบๆปี
ผู้สื่อข่าว : คิดเห็นอย่างไรในการจัดตั้งคณะกรรมการและนักวิชาการฯ แก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งหมดก็เป็นเรื่องของการซื้อเวลาของนายกฯ เป็นการเอาเปรียบทางการเมืองโดยครอบคลุมสื่อของรัฐไว้หมดแล้วก็จะเป็นคนกำหนดเองได้หมดว่าใครเป็นผู้ก่อการร้าย ใครผิดใครถูก จะทำอย่างไรกับบ้านเมือง ไม่มีความหวังอะไรเลยที่จะทำให้เกิดการประนีประนอมหรือปรองดอง ที่ผมพูดนี้ไม่ใช่ผมไม่เห็นด้วยกับการปรองดอง
ผู้สื่อข่าว : ท่านจาตุรนต์คิดว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรมจะนำสู่การปรองดองได้อย่างไร
เพื่อไทย
Friday, June 18, 2010
จาตุรนต์แถลง - ตอบคำถามประเด็นปรองดอง นิรโทษกรรม
การที่ผมเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมในกรณีที่เขาตั้งข้อหานี้ ก็คือตั้งข้อหาวันที่ 9 เมษายน 2553 หมายความว่าก็เข้าไปในวันที่ 8 เมษายน 2553 เช่นเดียวกับประชาชนอีกจำนวนมาก ที่สัญจรไปมา เข้าไปร่วมชุมนุมก็ดี มีอีกมากมาย ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าประชาชนเหล่าควรถูกตั้งข้อหาเพราะเขาไม่ได้กระทำผิดอะไร และที่ผมเข้าไปในที่ชุมนุมนอกจากในครั้งนั้นก็ยังมีครั้งอื่นอีกด้วย ซึ่งทางตำรวจไม่ได้กล่าวถึง
ที่ผมเข้าไปในที่ชุมนุมแล้วไปพูดต่อที่ชุมนุมทั้งหมดทุกครั้งมีประเด็นสำคัญก็คือ ต้องการจะไปเตือน ไปห้ามนายกรัฐมนตรีไม่ให้ใช้มาตรการทางทหารปราบประชาชน ไม่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน เพื่อจะได้ไม่เกิดความสูญเสีย นอกจากนั้นก็ได้ไปเสนอแนวทางในการเรียกร้องประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนที่มาชุมนุม ที่สำคัญก็คือเรียกร้องให้ใช้สันติวิธีโดยตลอด ทุกครั้งที่ผมพูดจะมีประเด็นเนื้อหาทั้ง 2 นี้อยู่เสนอ เพราะฉะนั้นผมจึงไม่ควรถูกตั้งข้อหาเลย
ที่รอมานี้ เพื่อจะดูว่าทางตำรวจหรือทาง DSI จะตั้งข้อหานายกรัฐมนตรีหรือยัง เพราะว่าความจริงแล้วระหว่างผมกับนายกฯอภิสิทธิ์ นายกฯอภิสิทธิ์จะต้องถูกตั้งข้อหามากกว่า คือ ตั้งข้อหาสั่งฆ่าประชาชน สั่งใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามประชาชน ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จนป่านนี้พนักงานสอบสวนยังไม่ตั้งข้อหานายกอภิสิทธิ์ กลับมาตั้งข้อหาผมซึ่งเป็นคนที่ได้เรียกร้องตลอดมา “เตือนรัฐบาลและนายกฯอภิสิทธิ์ตลอดมาว่าอย่าใช้กำลังทางทหาร อย่าใช้มาตรการทางทหารปราบประชาชน”
มันแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่อง 2 มาตรฐานชัดเจนนะครับ คนที่ควรถูกต้องข้อหาก็คือนายกฯอภิสิทธิ์ กลับไม่มีการตั้งข้อหา มาตั้งข้อกล่าวหากับผมซึ่งเป็นคนคอยห้ามนายกฯอภิสิทธิ์ไม่ให้ฆ่าประชาชน เมื่อผมรอจนกระทั่งเห็นชัดแล้วว่านายกอภิสิทธิ์ไม่ถูกตั้งข้อหาสักที ผมก็มาเพื่อให้เรื่องได้ดำเนินการต่อไป ในส่วนของตัวผมพร้อมจะสู้คดีไม่ได้รู้สึกหนักหนักใจอะไรเลย
แต่ที่หนักใจขณะนี้ก็คือ เรื่องการปรองดองที่รัฐบาลกำลังเสนออยู่ คือรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์กำลังกล่าวหาว่าคนโน้นก็ขัดขวางการปรองดอง คนนี้ก็ขัดขวางการปรองดอง ผมอยากจะให้ความเห็นว่า ไม่มีใครในประเทศนี้ที่จะขัดขวางมาตรการการปรองดองของรัฐบาลได้ ไม่มีใครจะขัดขวางการปรองดองได้เนื่องจากการปรองดองไม่เคยมีอยู่จริง สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ที่นายกฯอภิสิทธิ์ทำอยู่ก็ไม่ใช่การปรองดองเลย เพราะว่าเป็นการกระทำ เป็นการเสนอมาตรการ หรือการดำเนินการโดยคู่กรณีโดยตรงและเป็นการกระทำแบบเลือกทำฝ่ายเดียว เลือกปฏิบัติฝ่ายเดียว โดยมุ่งทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่องและยังคงทำอยู่
นายกรัฐมนตรีคนนี้เป็นคู่กรณีกับประชาชนเสื้อแดง ประชาชนเขามาเรียกร้องให้คุณอภิสิทธิ์ยุบสภาเพื่อที่จะได้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะพวกเขาไม่เห็นด้วยที่นายกฯอภิสิทธิ์จะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ว่าแทนที่จะยุบสภา นายกฯอภิสิทธิ์ได้ใช้มาตรการทางทหารเข้าไปปราบประชาชนทำให้ประชาชนล้มตายไปจำนวนมาก เสร็จแล้วก็มาบอกว่าต่อไปนี้จะปรองดอง แล้วก็ยังบอกด้วยว่าจะไม่ปรองดองกับผู้ก่อการร้าย จะปรองดองกับคนอื่นๆ
ถามว่าใครเป็นผู้กำหนดว่าใครเป็นผู้ก่อการร้าย ก็คือคุณอภิสิทธิ์กับคุณสุเทพเท่านั้นที่เป็นคนกำหนดว่าใครเป็นผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่พนักงานสอบสวน ไม่ใช่ศาล แต่ว่าคุณอภิสิทธิ์เป็นคนกำหนดเองว่าใครเป็นผู้ก่อการร้ายบ้าง
การปรองดอง หมายถึง การที่คนสองฝ่ายขัดแย้งกัน ทะเลาะกันแล้วหันหน้ามาประนีประนอม มาหาทางตกลงที่จะอยู่รวมกัน เวลานี้คุณอภิสิทธิ์ก็กันฝ่ายที่ตัวเองปราบปราม ที่ตัวเองไล่ทำลายล้างออกไปจากการปรองดองไปแล้ว จึงไม่ทราบว่าจะไปปรองดองกับใคร
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ตั้ง ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นคณะกรรมการฯฝ่ายที่ต้องการรักษาระบบก็ดี เป็นฝ่ายตรงข้ามกับ นปช.หรือฝ่ายเสื้อแดงอย่างชัดเจนก็มีมาก ที่สำคัญที่น่าเสียดายก็คือ อย่างท่านคณิต ณ นคร ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมหาชน มีหลักการทางกฎหมายดี แต่เวลานี้ก็จะประสบความลำบากในการหากรรมการมาร่วม เพราะว่าคนตั้งเป็นปัญหา คนตั้งคือนายกอภิสิทธิ์เป็นปัญหา
จาตุรนต์ : อันนี้ไม่มีทางที่จะทำให้เกิดประชาธิปไตยได้เลย ถ้าดูจากตัวประธานซึ่งเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองชัดเจนมาโดยตลอด แล้วก็ได้เลือกคนมาส่วนใหญ่แล้วก็เป็นฝ่ายที่ต้องการรักษารัฐธรรมนูญในฉบับปัจจุบัน หรือไม่ก็จะทำให้รัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นเผด็จการมากยิ่งขึ้น รัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว แต่หลายคนในนั้นได้มีพฤติกรรมมีประวัติที่จะช่วยรักษารัฐธรรมนูญนี้หรือจะทำให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นปัญหาหนักยิ่งขึ้น ก็หน้าเห็นใจกรรมการบ้างคนที่มีความเป็นนักประชาธิปไตยและต้องการแก้ปัญหาประเทศ อาจจะรับเป็นกรรมการไปโดยไม่รู้ว่ากรรมการส่วนใหญ่นั้นเป็นฝ่ายที่จะทำให้รัฐธรรมนูญนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย
เพียงแต่ผมเห็นว่าสิ่งที่นายกทำอยู่ไม่ใช่การปรองดอง แต่เป็นการทำลายล้างและเป็นการใช้วาทะกรรมสวยๆหรูๆเพื่อจะหาเสียงฝ่ายเดียว ในเวลานี้ฝ่ายตรงข้ามเขาก็หาเสียงไม่ได้เพราะไม่มีสื่อ แล้วใครสนับสนุนนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็ถูกระงับธุรกรรม ถูกปิดบัญชีสารพัดไปหมด อย่างนี้มันเป็นการเอาเปรียบทางการเมืองชัดเจนจะเลือกตั้งเมื่อไรไม่รู้ แต่ว่าพรก.ก็ยังอยู่ การใช้อำนาจคุกคามก็ยังอยู่ แบบนี้มันจะไปประนีประนอมปรองดองกับใคร
จาตุรนต์ : นิรโทษกรรมที่เสนออยู่ในวันนี้ เป็นความสับสนมาก การนิรโทษกรรมในอดีตไม่เคยมีการตั้งธงแบบนี้ การนิรโทษกรรมในอดีตมักทำโดยรัฐบาลหลังการปราบปรามประชาชน ไม่ได้ทำโดยรัฐบาลที่ปรามปราบประชาชนเอง การนิรโทษมักจะครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ตัวนายกฯหรือผู้ใช้อำนาจในการปราบปรามประชาชนไปจนถึงประชาชนทั่วไป
แต่ในครั้งนี้รัฐบาลตั้งประเด็นขึ้นว่า จะนิรโทษกรรมประชาชนที่ไม่ถูกข้อหาก่อการร้ายซึ่งไม่รู้คืออะไร ประชาชนเหล่านั้นความจริงไม่ต้องออกกฎหมายนิรโทษ เพียงแต่ไม่ไปเอาเรื่องเขาก็หมดเรื่องแล้ว สงสัยว่านายกฯและพวกจะโยนหินถามทางเผื่อว่าจะนิรโทษกรรมให้แก่ตัวเอง และผมไม่เห็นด้วยเลยว่าจะไปนิรโทษในลักษณะที่จะทำกันอยู่นี้ สิ่งที่จะทำในเรื่องนิรโทษนี้ ผมสงสัยมากกว่าว่า จะคืบไปถึงการนิรโทษให้กับพันธมิตรฯและนิรโทษให้แก่ผู้ปราบปรามประชาชนเอง
เพราะขณะนี้คนที่จะประสบปัญหามากที่สุดในอนาคตไม่ใช่ใครที่ไหน คือนายกฯอภิสิทธิ์เพราะว่านายกฯอภิสิทธิ์จะถูกดำเนินคดีในอนาคต ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ และในคดีนี้ที่ต่างประเทศไม่มีอายุความ ประเทศไทยอาจจะมีแต่อันนั้นก็เป็นเรื่องอีกยาวนาน ก็ดูวันนี้ต่างประเทศเขายังออกมาขอโทษประชาชนในเรื่องที่ผ่านมาตั้ง 20 - 30 ปีแล้ว