WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 19, 2010

ลูกสาวโฮ นักข่าวเยอรมันเล่า วันพ่อถูกยิง

ที่มา ข่าวสด


เจ็บสาหัสที่ราชปรารภ ทหารไล่ล่าก่อนเป็นศพ พม.มอบ4แสน"คนตาย" ญาติย้ำ-ไม่คุ้มค่าชีวิต!




สูญเสีย - น.ส.มนชยา พลศรีลา อายุ 25 ปี น้ำตานอง ขณะรับฟังนายนิก นอสติทซ์ นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน เล่าถึงเหตุการณ์วันที่นายชาญณรงค์ พลศรีลา บิดาถูกทหารยิงเสียชีวิตที่ราชปรารภ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.

นักข่าวเยอรมันได้พบลูกสาวแท็กซี่ เหยื่อปืน "ราชปรารภ" แล้ว เล่าเหตุการณ์ที่ถ่ายภาพวัน ถูกยิงตรงแนวยางรถยนต์ ทำเอาลูกสาวผู้ตายร่ำไห้โฮออกมา ฝ่ายนักข่าวเองก็สะเทือนใจจนพลอยร้องไห้ตามไปด้วย ลูกสาวเผยสองคนกับแม่ ออกตามหาศพพ่อตามร.พ.ไปทั่ว จนไปเจอที่รามาฯ มีภาพถ่ายในสภาพเน่าไปแล้วแต่ก็ยังจำได้ พม.แจกเงินเยียวยา 200 ราย รายที่ตายได้รับ 4 แสน แต่ญาติต่างย้ำถึงได้เงินชดเชยก็ไม่คุ้ม ทั้งที่ตายไปก็ไม่ใช่คนเสื้อแดง แต่ผ่านไปเจอลูกหลง

จากกรณีนายนิก นอสทิส นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน เดินทางไปพบตำรวจสน.พญาไท เพื่อตามหาผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ซึ่งนายนิกเห็นเหตุการณ์ขณะถูกทหารยิงบาดเจ็บ ขณะอยู่แนวยางรถยนต์บนถนนราชปรารภ ก่อนได้รับการยืนยันจากตำรวจว่าชายดังกล่าวเสียชีวิตไปแล้ว ชื่อนายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี อาชีพแท็กซี่ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ตามที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 18 พ.ค. น.ส.มนชยา หรือส้มโอ พลศรีลา อายุ 25 ปี พนักงานข้าราชการ กองทัพอากาศ บุตรสาวนายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี ผู้เสียชีวิตจากการกระชับพื้นที่บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปพบนายนิก นอสทิส นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน ที่เห็นเหตุการณ์ขณะนายชาญณรงค์ถูกยิง และพยายามเข้าไปช่วยเหลือ โดยทั้งสองนัดหมายเจอกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ย่านสายไหม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.มนชยา หรือส้มโอ สอบถามนายนิก ถึงเหตุการณ์ที่นายชาญณรงค์ถูกยิงทันที โดยสอบถามถึงเรื่องราวต่างๆ วันแรกที่พบพ่อ และช่วงที่ถูกยิงหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ถนนราชปรารภอย่างละเอียด ทั้งนี้ ระหว่างที่นายนิกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่ต้นให้น้องส้มโอฟัง ทำเอาน้องส้มโอถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ ปล่อยโฮออกมาต่อหน้าผู้สื่อข่าว โดยที่นายนิกก็พลอยร้องไห้ออกมาด้วย จนต้องให้น้องส้มโอนั่งพักดื่มน้ำเย็น เพื่อให้หายเครียด ประมาณ 5 นาที จากนั้นนายนิกเล่าเหตุการณ์ต่อช่วงที่นายชาญณรงค์ถูกยิง และช่วงที่นายนิกเข้าไปช่วยเหลือ โดยพยายามนำร่างนายชาญณรงค์ออกจากจุดเกิดเหตุเพื่อไปส่งโรงพยาบาล แต่ไม่สามารถนำออกมาได้ เพราะขณะนั้นมีกำลังทหารประชิดเข้ามาแล้ว

นายนิก เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ขณะเดินทางไปทำข่าวอยู่บริเวณราชปรารภ ก็ได้พบเห็นนายชาญณรงค์อยู่บริเวณแนวรั้วยางรถยนต์ ขณะนั้นทราบว่าจะมีทหารบุกเข้ามาสลายการชุมนุมบริเวณดังกล่าว ก่อนหน้านี้ตนและนายชาญณรงค์ก็ได้ยืนอยู่ด้วยกัน และตนยังถ่ายรูปนายชาญณรงค์ไว้ด้วย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ตนไม่มีวันลืมตลอดชีวิตแน่นอน ภาพนายชาญณรงค์ถูกยิงวันนั้นยังติดตาตนตลอดเวลา และจะเดินหน้าหาความเป็นธรรมให้กับนายชาญณรงค์ต่อไป

ส่วนน.ส.มนชยา หรือส้มโอ กล่าวว่า บิดาของตนเดินทางไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงบริเวณแยกราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. และในวันนั้น ตนทราบว่าช่วงประมาณ 15.00 น. จะมีการกระชับพื้นที่ มีความเป็นห่วงพ่อ จึงได้โทรศัพท์ไปหาแต่ไม่ติด คาดว่าน่าจะถูกตัดสัญญาณมือถือ และตลอดทั้งวันทั้งคืนนั้น ก็ไม่สามารถติดต่อพ่อได้เลย จนกระทั่งเช้าวันที่ 16 พ.ค. มารดาตน คือนางสุริยันต์เดินถือหนังสือ พิมพ์ "ข่าวสด" ฉบับบ่ายเป็นวันที่ 17 พ.ค. มาให้ตนดู และบอกว่าพ่อถูกยิงบริเวณราชปรารภ โดยภายในหนังสือพิมพ์วันนั้น เป็นภาพมีชาย 2 คน กำลังหิ้วปีกพ่อออกมาจากที่เกิดเหตุ บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์

เล่านาทียิง - นายนิก นอสติทซ์ นักข่าวเยอรมัน เล่านาทีที่นายชาญณรงค์ถูกยิงแล้ววิ่งหนีไปหลบในบ่อน้ำ ก่อนจะมีทหารมาลากตัวออกไป และรู้สึกเสียใจมากเมื่อทราบข่าวภายหลังว่านายชาญณรงค์เสียชีวิตในวันนั้น



น.ส.มนชยา กล่าวต่อว่า หลังจากเห็นภาพข่าวว่าพ่อถูกยิง ก็รีบออกตามหาทันทีว่าเขานำพ่อส่งโรงพยาบาลอะไร โดยติดต่อสอบถามไปทุกโรงพยาบาล รวมทั้งศูนย์เอราวัณ ซึ่งเป็นจุดที่รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต แต่ก็ไม่พบ จากนั้นวันที่ 17 พ.ค. ตนได้นำข้อมูลประวัติพ่อโพสต์ลงเฟซบุ๊กและยูทูบ เพราะอยากทราบรายละเอียดคนที่พบเห็นเหตุการณ์หรือคนที่ช่วยเหลือพ่อในวันนั้นว่าเป็นใคร และต้องการทราบความจริงว่าวันนั้นเรื่องราวเป็นอย่างไร น.ส.มนชยา กล่าวอีกว่า กระทั่งวันที่ 19 พ.ค. ตนและแม่ไปตรวจสอบที่ร.พ.วชิระ บริเวณตึกนิติเวชอีก แต่ก็ไม่พบ จึงคิดว่าน่าจะถึงทางตันแล้ว ไม่รู้จะไปตามหาที่ไหน ทางแม่จึงมาบอกให้ตนไปดูที่แผนกนิติเวช ร.พ.รามาธิบดีอีกครั้ง เพราะยังไม่เคยไป พอไปถึงก็ได้เดินเข้าไปยังตึกนิติเวช และสอบถามเจ้าหน้าที่ว่ามีศพชายรูปร่างท้วม ถูกยิงบริเวณราชปรารภ ส่งเข้ามาหรือไม่ ทางโรงพยาบาลจึงนำภาพศพทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมมาให้ดู โดยพบว่ามีอยู่ 2 คนที่ส่งมาจากราชปรารภ ศพแรกเป็นชายรูปร่างผอม ไม่ทราบชื่อ หน้าตาเละ ส่วนศพที่ 2 เป็นชายรูปร่างท้วม มีหนวด อายุประมาณ 40-45 ปี แต่สภาพศพขึ้นอืด ใบหน้าเละจำไม่ได้ เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่ได้ฉีดยา ทั้งนี้ เมื่อตนเห็นศพดังกล่าว จึงยืนยันได้ทันทีว่า คือศพของพ่อตนแน่นอน เพราะจำเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้อย่างแม่นยำ จึงประสานขอรับศพไปบำเพ็ญกุศลทันที

บุตรสาวนายชาญณรงค์ กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาที่ตามหาพ่อมาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ตนก็มักจะฝันเห็นพ่อเกือบทุกวัน โดยในความฝันนั้นเป็นเหตุการณ์พ่อถูกยิง พอตนตื่นขึ้นมา ก็นั่งนึกว่าจะเป็นไปได้หรือ ที่พ่อมาถูกยิงกลางเมืองหลวงแบบนี้ และยังฝันเห็นพ่อนอนอยู่บนผ้าห่อศพสีขาว ซึ่งเหมือนเป็นลางบอกเหตุว่าพ่อน่าจะเสียชีวิตแล้ว จนกระทั่งมาพบศพ และหลังจากที่นำร่างพ่อไปบำเพ็ญกุศล ตนก็ได้ฝันเห็นพ่ออีก โดยพ่อมาทักทาย พ่อมีรูปร่างหน้าตาหนุ่มหล่อ มาบอกสบายดี ตนถึงกับร้องไห้เมื่อฝันถึงพ่อ

ด้านนายนิก กล่าวว่า วันเกิดเหตุ จำได้ว่าหลังจากที่นายชาญณรงค์ถูกยิงที่หน้าปั๊มแล้ว ได้พยายามคลานเข้ามาในปั๊ม ซึ่งขณะนั้นนักข่าวและผู้ชุมนุมได้ไปรวมตัวกันอยู่ที่ห้องน้ำหลังปั๊ม แล้วปีนข้ามรั้วหนีไปยังบ้านหลังหนึ่ง โดยมีคนเสื้อแดงช่วยกันนำร่างนายชาญณรงค์ข้ามมาด้วย แต่นายชาญณรงค์ลงไปนอนหลบแช่อยู่ในบ่อบัว โผล่มาแค่หน้า และยังส่งเสียงร้องให้ตนช่วย บอกว่า "ผมไม่ไหวแล้ว" แต่เมื่อทหารปีนข้ามรั้วมาได้ ก็ด่านายชาญณรงค์อย่างหยาบคายว่า ทำไมถึงไม่ตาย แล้วสั่งให้ตนช่วยดึงขึ้นมาจากน้ำ แต่ตนดึงคนเดียวไม่ไหว ทหารก็เลยเข้ามาดึงแขนนายชาญณรงค์ขึ้นมาแล้วพาข้ามกำแพงไป เมื่อได้ทราบว่านายชาญณรงค์เสียชีวิตแล้ว ก็รู้สึกเสียใจ แต่ถ้าถามตนว่ารู้สึกสบายใจขึ้นหรือไม่ ที่ได้พบบุตรสาวคนที่เสียชีวิต บอกได้ว่าไม่ เพราะการสูญเสียชีวิตนั้น ไม่สามารถที่จะเรียกกลับคืนมาได้

ก่อนตาย - ภาพถ่ายที่นายนิกบันทึกไว้ตอนที่นายชาญณรงค์ยิงหนังสติ๊กสู้กับทหารที่ถนนราชปรารภ ส่วนรูปขวา คนเสื้อแดงพยายาม ลากนายชาญณรงค์ซึ่งถูกยิงสาหัสเข้ามาหลบที่หลังปั๊มน้ำมันใกล้จุดเกิดเหตุ ก่อนจะเสียชีวิต



ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังจากที่นายนิกและน้องส้มโอพูดคุยกันเสร็จ ก็ได้แลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ โดยนายนิกรับปากว่าจะส่งภาพเหตุการณ์พ่อน้องส้มโอที่ถูกยิงในวันนั้นให้ดูทั้งหมด

เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายจิรเดช อานุภาวธรรม ที่ปรึกษารมว.พม. เป็นประธานพิธีมอบเงินเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ 200 ราย เป็นผู้เสียชีวิต 4 ราย และผู้บาดเจ็บ 196 ราย แบ่งเป็นประชาชน 119 ราย ทหาร 78 ราย และตำรวจ 3 ราย จำนวนเงิน 9,300,000 บาท โดยกระทรวงได้มอบเงินเยียวยาให้ผู้เสียหายรวมแล้ว 10 ครั้ง รวม 1,205 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 57,004,207 บาท

นางนันที วรรณจักร อายุ 51 ปี มารดาของนายชัยยันต์ วรรณจักร อายุ 21 ปี พนักงานบาร์น้ำโรงแรมอิมพีเรียล สุขุมวิท 24 ซึ่งเสียชีวิตบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. กล่าวภายหลังการรับเงินเยียวยา 4 แสนบาทว่า ลูกชายทำงานแผนกบาร์น้ำของโรงแรม จะเลิกงานกลับบ้านเวลาสี่ทุ่มทุกวัน ส่วนครอบครัวและตนอยู่ที่กาฬสินธุ์ ซึ่งตนจะโทรศัพท์มาหาลูกชายช่วงบ่ายๆ เย็นๆ เป็นระยะทุกวัน แต่วันที่ 14 พ.ค. ทางโรงแรมให้พนักงานกลับบ้านเร็วกว่าปกติ ลูกชายตนได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์กลับที่พักบริเวณหลังสน.พญาไท ย่านถนนเพชรบุรีซอย 5 เวลาประมาณ 19.00 น. ตนได้โทร.เข้ามือถือลูกชาย ก็พบว่าหมอรับสายแจ้งว่าลูกชายถูกยิง 2 นัด ตรงสะโพกซ้ายทะลุเส้นเลือดแดงใหญ่และอีกนัดฝังในบาดเจ็บสาหัส ขณะขี่รถผ่านมาทางสามเหลี่ยมดินแดง ถูกส่งมาโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ตนจึงรีบเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทันที

"จากนั้นประมาณสามทุ่ม หมอก็โทร.มาแจ้งว่าลูกชายเสียชีวิตแล้ว พอ 7 โมงเช้าวันที่ 15 พ.ค. ฉันถึงกรุงเทพฯ ก็ไปแจ้งความที่สน. ดินแดง และขอรับศพลูกชายไปชันสูตรที่โรงพยาบาลรามาฯ ก่อนนำกลับไปทำพิธีที่บ้าน เราก็ไม่รู้ว่าใครยิงลูกชาย คนที่เข้ามาช่วยก็ถูกยิงตายเหมือนกัน ลูกชายเองไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย ไม่เคยมาชุมนุม ทำงานอย่างเดียว ลูกชายเป็นคนกตัญญูมาก เงินเดือนประมาณ 7,000 บาท ก็ส่งให้แม่ 1,500-2,000 บาททุกเดือน วันนั้นเพื่อนลูกชายที่พักด้วยกันก็ซื้อข้าวผัดมารอ แต่สุดท้ายลูกชายก็ไม่ได้กิน" นางนันทีกล่าว

นางนันที กล่าวว่า ตนเสียใจมากที่ต้องสูญเสียลูกชาย ตนเป็นผู้ช่วยครู ดูแลเด็กในศูนย์เด็กฯ ที่กาฬสินธุ์ เงินเดือน 6,200 บาท ส่วนสามีรับจ้างก่อสร้าง มีลูกชายอีกคนกำลังเรียนหนังสือ แม้จะได้รับเงินเยียวยา แต่ไม่เพียงพอกับชีวิตคนหนึ่งคน เราเลี้ยงดูมาเยอะ ลูกเป็นเด็กกตัญญูมาก ทั้งนี้ อยากให้ประเทศกลับมาสงบสุข ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ไม่อยากให้มีใครต้องมาตาย และก็ต้องมาเสียใจกันทุกคนแบบนี้

ด้านนางหนูชิต คำกอง ภรรยานายพัน คำกอง อายุ 44 ปี ที่เสียชีวิตย่านราชปรารภ กล่าวว่า สามีมีอาชีพขับแท็กซี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 พ.ค. โดยวันนั้นสามีจะไปขับแท็กซี่ ได้เอารถไปเช็กที่อู่ข้างวัดสระเกศ พบว่ารถแอร์ไม่เย็น จึงจะกลับมาหาลูกๆ ที่พักย่านพัฒนาการ 43 แต่ไม่มีรถเมล์ จึงได้เดินไปถึงบริเวณย่านราชปรารภ ก็ถูกทหารกั้นไม่ให้เข้าออกย่านนั้น สามีจึงไปอยู่กับรปภ.ที่ไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ไอดีโอ ก็นั่งคุยกับคนงานก่อสร้าง จนถึง 20.00 น. ก็ยังไปไหนไม่ได้ สามียังบ่นกับคนงานว่าอยากกลับไปหาลูกๆ ลูกรอกินข้าวกันอยู่ จนกระทั่งเวลา 24.00 น. ได้มีรถตู้วิ่งเข้ามาทั้งที่ทหารห้ามไม่ให้เข้า ทหารที่อยู่สองฝั่งถนนได้ยิงใส่รถตู้ รถตู้วิ่งฝ่ากระสุนไปได้ แต่สามีของตนถูกยิงที่ราวนมซ้ายและเสียชีวิต

"ปกติสามีไม่เคยไปร่วมชุมนุมอะไรแบบนี้อยู่แล้ว เงินเยียวยาที่ได้ไม่คุ้มค่าชีวิตสามีเลย ถึงเราหาเช้ากินค่ำ ฉันเป็นแม่บ้านโรงแรม สามีขับแท็กซี่แต่เราก็ภูมิใจที่ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา วันนี้เสียเสาหลักไปก็รู้สึกเสียใจ ชีวิตวันนี้เปลี่ยนไปหมดแล้ว สามีต้องมาตายแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เราคนเดียวต้องดูแลลูกอีก 4 คน เราไม่ได้อยู่สีไหนฝ่ายไหน แต่มองว่าเสื้อแดงถอยแล้ว จะปรองดองกันได้ไหม อยากวอนรัฐบาลว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยไม่ได้ผิด แต่มาทำแบบนี้ต้องสูญเสียชีวิต ซึ่งได้พูดคุยกับหลายคนพบว่ายังมีญาติพี่น้องหายไปไม่กลับบ้าน และไม่รู้ไปไหน ไม่รู้อีกกี่ครอบครัวต้องลำบากสาหัส ไม่อยากให้มีการทำลายชีวิตคนบริสุทธิ์อีกต่อไป ทุกวันนี้ยังทำใจไม่ได้ที่สามีเสียชีวิต เห็นหน้าลูกก็เห็นหน้าสามีตลอด" นางหนูชิตกล่าว

นางรงค์ ประจวบสุข อายุ 45 ปี ชาวสุรินทร์ ภรรยานายประจวบ ประจวบสุข อายุ 42 ปี อาชีพรับจ้าง ที่เสียชีวิตเช่นกัน กล่าวว่า สามีเพิ่งมาทำงานรับจ้างย่านสำโรงได้ 10 วัน โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ค. มีคนโทร.มาแจ้งตนว่าสามีถูกยิงที่หน้าอกแถวย่านบ่อนไก่ พระราม 4 ที่มีการชุมนุมกัน ตนตกใจมาก เพราะให้สามีไปทำงานแล้วไปโดนยิงได้อย่างไร จากนั้นวันที่ 17 พ.ค. ตนกำลังจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ก็ได้รับโทร ศัพท์แจ้งว่าสามีเสียชีวิตแล้ว ตนได้สอบถามเพื่อนที่ทำงานของสามีเล่าว่าสามีขอตามเพื่อนมาดูเหตุการณ์ เพราะได้ข่าวว่ามีการยิงกัน อยากทราบว่ายิงกันจริงหรือไม่ โดยสามีบอกว่าเป็นคนรักประชาธิปไตยต้องไปดู ที่ผ่านมาสามีก็เป็นคนที่สนใจข่าวสารบ้านเมืองชอบดูข่าวการเมือง กีฬา แต่ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมการเมืองอะไร

นางรงค์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้สามีตกงานมาหลายเดือน กลับมาอยู่บ้านก็ถูกคนตีหัว จนทำงานไม่ได้อยู่นาน และเคยผ่าตัดไส้เลื่อน พอได้งานรับจ้างก็รีบไปทำที่สำโรง ได้ค่าจ้างวันละ 170-200 บาท แต่ก็เหลือไม่ถึงที่บ้าน เพราะต้องซื้อหาอาหารกินเอง เมื่อสามีมาเสียชีวิตแบบนี้ ครอบครัวมีลูก 3 คน ยังเล็กและยังเรียนหนังสือก็ยิ่งลำบากมาก เพราะตนเองก็แขนขวาพิการพับไม่ได้ ทุกวันนี้รู้สึกหดหู่ในชีวิต จากที่เคยพึ่งพาสามีได้ก็ไม่มีแล้ว คิดว่าสามีไม่น่ามาตายแบบนี้ อยากวอนรัฐบาลให้ดูแลคนที่ทุกข์ยาก ให้มีงานทำ มีอาชีพ ตนเป็นแค่คนยากจนออกความเห็นไปรัฐบาลก็คงไม่สนใจ ทุกวันนี้ได้แต่สอนลูกหลานให้รักกัน อย่าทะเลาะอย่าฆ่ากันแบบนี้