WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 17, 2010

ประชาธิปไตยการแก้ไขความขัดแย้ง และหลักนิติธรรม

ที่มา ประชาไท


“ลารี เบอร์แมน” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย บรรยายเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดของประชาธิปไตย การแก้ไขความขัดแย้งและหลักนิติธรรม ที่ จ. เชียงใหม่

วานนี้ (16 มิ.ย.) มีการบรรยายและนำเสนอประเด็นเสวนาในหัวข้อประชาธิปไตย การแก้ไขความขัดแย้ง และหลักนิติธรรม จัดโดย สถานกงสุลใหญ่อเมริกา ประจำประเทศไทยร่วมกับสถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ โดยมีวิทยากรคือ ดร.ลารี เบอร์แมน (Dr.Larry Berman) เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส และผู้อำนวยการโครงการวอชิงตันของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส ซึ่งนำเสนอเป็นภาคภาษาอังกฤษ พร้อมผู้แปลภาคภาษาไทย

โดยเนื้อหาการบรรยายเป็นเรื่องแนวคิดของประชาธิปไตย การแก้ไขความขัดแย้ง และหลักนิติธรรม โดยแนวคิดของประชาธิปไตยในฐานะกรอบความคิด โดยคนในประเทศไทยสามารถพูดคุยช่วยเหลือสำหรับการสร้างประชาสังคมบนพื้นฐานของแนวคิดของคนส่วนใหญ่ ในหลักปกป้องสิทธิคนส่วนน้อย และอนุญาตเพื่อให้เกิดสันติภาพของการเปลี่ยนผ่านในอำนาจ ที่มีอยู่ในประชาธิปไตยไทยๆ

ดร.เบอร์แมน กล่าวถึงว่า ปัญหาการปรองดองของไทย กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าจะสร้างความสมานฉันท์และปรองดอง ต้องเกี่ยวข้องกับความประนีประนอม โดยสถานการณ์ของประเทศไทยก็คล้ายคลึงกับสหรัฐอเมริกาในกรณีสงครามกลางเมืองของฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ในยุคสมัยของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอร์น ในช่วงหลังสงครามกลางเมืองที่มีผู้เสียชีวิตไปหนึ่งแสนคน และเมื่อเกิดเหตุดังกล่าว ประธานาธิบดีลินคอร์นก็พูดไว้ว่า “เราไม่แสดงเจตนาร้ายกับผู้ใด และเราแสดงจิตเมตตาต่อทุกคน คนอเมริกาก็สามารถเยียวยาให้เกิดสันติภาพอย่างแท้จริง”

ทั้งนี้ ดร.เบอร์แมน เห็นว่าผู้นำของประเทศไทยต้องมีการให้อภัยกัน และการแก้ไขความขัดแย้งโดยสมานฉันท์ ทำนองเดียวกับผู้นำของโลกอย่างมหาตมะ คานธี, มาติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และเนลสัน แมนเดลา ซึ่งเยียวยาความขัดแย้งด้วยการให้อภัยต่อกันกับคู่ขัดแย้งทางการเมือง

ดร.เบอร์แมน กล่าวต่อว่า ถ้าผู้นำไทยสามารถแสดงคำพูดแบบเดียวกับลินคอร์นได้แสดงไว้ในคราวสงครามกลางเมืองของอเมริกา ก็เป็นขั้นตอนแรก ในสถานการณ์ของการคลี่คลายปัญหาของไทย และความสัมพันธ์แบบใหม่ ก็คือระหว่างความคิดเห็นที่แตกต่างของประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม และก้าวย่างสำคัญของประชาธิปไตยไทยๆ กับความเห็นที่แตกต่าง กับแนวทางคุ้มครองเสรีภาพของคน

“ผมเคยพูดอย่างนี้หลายวันก่อนที่กรุงเทพฯ ว่าควรนำทุกฝ่ายมาเจรจาอย่างเป็นธรรม อย่างเปิดเผย และแสดงเจตจำนงอย่างที่ประธานาธิบดี ลินคอร์น ทำไว้กับสงครามกลางเมืองที่อเมริกา”

ดร.เบอร์แมน ชี้ให้เห็นว่าการพูดคุย การเจรจา เป็นหนทางเดียวสำหรับการไกล่เกลี่ย และเป็นการทำให้ทุกภาคส่วนยอมรับ การพัฒนาให้เกิดตุลาการที่เป็นอิสระและจะทำให้ลดความแตกต่างลงได้ ก่อนที่ความปรองดองเกิดขึ้นตามแผนโรดแมป ก็ต้องการการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นธรรม การให้สื่อมีความเสรี มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั่นก็เป็นเรื่องของประเทศไทย ถ้านายกรัฐมนตรี ไม่แสดงเจตจำนงเป็นท่าทีอย่างที่ลินคอร์นแสดงไว้แผนปรองดองก็จะไม่สำเร็จ และสิ่งที่ต้องพัฒนาในเรื่องของการพูดคุยกับทุกฝ่าย เพื่อที่จะพัฒนาการพูดคุยกัน เพราะแผนนั้นจะสะท้อนฉันทามติในแบบนั้น แผนปรองดองจึงจะเกิดขึ้นได้

ดร.เบอร์แมน ชี้แจงเพิ่มเติมว่าในฐานะที่เป็นศาตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ สันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ามีฝ่ายที่กำหนดว่าสันติภาพเป็นอย่างใด และสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อผู้นำต้องเข้าหาคนทุกฝ่าย แนวทางสำหรับเป็นช่วงเวลาหาสันติภาพที่ยั่งยืน และเมื่อจะทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ เพราะประชาธิปไตยไม่ได้ หมายถึงการเลือกตั้งเท่านั้น และประชาธิปไตยต้องเป็นธรรมต่อมนุษย์

เพราะฉะนั้นประชาธิปไตยไม่ได้ช่วยด้านเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม มันก็ช่วยทำลายความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ในสังคมอเมริกัน ก็ได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยก็มีความเสี่ยงละเมิดสิทธิของคน และประชาธิปไตย ก็มีข้อจำกัดหลายประการในสังคมอเมริกัน ซึ่งคำถามสำหรับระบอบประชาธิปไตย และจะนำไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งกระจายความเท่าเทียม ส่งเสริมสิทธิ และส่งเสริมให้มีเสรีภาพในการแสดงความเห็นแตกต่างกันได้

ทั้งนี้การปรองดองของไทย ต้องนำไปสู่การทำหน้าที่ประชาธิปไตย เพื่อลดความยากจนด้วย และการเลือกตั้ง ต้องเป็นช่องทางแสดงความเห็นและประโยชน์ที่ตนเห็นว่าสำคัญ

รัฐบาลมีหน้าที่ส่งเสริมให้ทุกคนเข้าสู่การศึกษาอย่างเท่าเทียมและการสื่อสารอย่างเท่าเทียม โดย ดร.เบอร์แมนคิดว่า ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นแค่พิธีซึ่งคนที่มีอำนาจไม่ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคฝ่าย และกระบวนการสู่การเลือกตั้งไม่สามารถแสดงได้อย่างเป็นธรรม และรัฐบาลไทยก็พูดถึงผลกระทบของลัทธิก่อการร้าย โดยสถานการณ์ในบ้านเรา คล้ายๆ กับรัฐบาลอเมริกา ในช่วงเหตุการณ์ 9/11 ที่มีการออก พ.ร.บ.รักชาติ ในการควบคุมเสรีภาพต่างๆ

ดร.เบอร์แมนกล่าวว่าวิกฤติสำคัญที่สุดของประชาธิปไตยไทยๆ ก็เป็นปัญหาท้าทาย ในความขัดแย้งกันเอง และรัฐบาลอ้างว่า เมื่อมีคนก่อการร้าย นี่เป็นปัญหาท้าทาย ในการที่รัฐบาลแสดงท่าทีเกินขอบเขต เป็นการทำให้รัฐบาลแยกตัวออกจากประชาชนมากขึ้น นั่นเป็นการทำให้การแก้ไขความขัดแย้งด้านต่างๆ น้อยลง

ดร.เบอร์แมน กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ผมเป็นเสียงส่วนน้อยมานาน และความพยายามของผม คือ เสียงส่วนน้อยที่ใช้เหตุผลของการพูดคุย อย่างยาวนาน จนทำให้เป็นเสียงส่วนใหญ่ โดยสถานการณ์ที่อเมริกาเหมือนกับไทย จากบทเรียนของอเมริกาและแอฟริกาใต้ ทั้งบุคคลอย่างมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ของอเมริกา ก็เรียกร้องสิทธิของคนดำ โดยที่เราก็เห็นอย่างกรณีเนลสัน มันเดลา ผู้นำของแอฟริกาใต้เรียกร้องสิทธิของคน ก็เป็นเสียงส่วนน้อยมาก่อน แล้วต่อมาก็กลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ จากกระบวนการแข่งขัน และส่งเสริมเสรีภาพอยู่ในพื้นที่การเมือง

แล้วโอกาสที่นำไปสู่ความคลี่คลายของปัญหาของไทย ขึ้นอยู่กับรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำแบบที่ประธานาธิบดีลินคอร์นให้เจรจา สำหรับแก้ไขความขัดแย้ง ก็เกิดจากการริเริ่มของนายกรัฐมนตรีในแบบที่บุคคลสำคัญของโลกพยายามคลี่คลายวิกฤตินั่นเอง”