WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 16, 2010

ท่องเที่ยว-เศรษฐกิจสาหัส-ไล่จี้มาร์ค “สามสี” เงียบจ้อย!!

ที่มา บางกอกทูเดย์์



พิษเศรษฐกิจและความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำเอาภาคธุรกิจชักทนไม่ไหว ล่าสุดท่องเที่ยวให้ รมว.ชุมพลจูงมือไปพบนายกฯก่อนประชุม ครม. ในขณะที่คลังอ้างฐานะการคลังซื้อเวลา ถ้าจะแก้ไขปัญหาประเทศไทย นอกจากจะต้องแก้ไขในเรื่องของความยุติธรรม เรื่องของการไม่มี 2 มาตรฐาน เพื่อเยียวยาความรู้สึกที่ขัดแย้งแตกต่างทางความคิดแล้ว เรื่องของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ

ปากท้องประชาชน ความเหลื่อมล้ำต่างๆ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก็ให้ความสำคัญ และได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ความไม่เท่าเทียมทางสังคม (Social inequality)” โดยมี นักคิด นักวิชาการ นักธุรกิจ

และตัวแทนองค์กรสื่อมวลชน เข้าร่วมระดมความเห็น นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุตรงๆว่า ที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมาโดยตลอด และได้เคยพูดในที่ประชุมคณะกรรมการสศช.ว่าทำไมไม่เอามหาวิทยาลัย ต่างๆทั้งประเทศมาร่วมกันทำวิจัย

ว่าที่จริงแล้วปัญหาความเหลื่อมล้ำเกิดจากอะไร ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้คุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไปแล้ว ว่าปัญหาจริงๆคืออะไร เพราะถ้าไปถามคนภาคเหนือ ภาคอีสาน จะพบว่ามีหลายปัญหาที่ไม่ตรงกัน จึงเห็นว่าควรไปสอบถามชาวบ้าน ว่าอะไรคือเหตุของปัญหา และทางแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไร

นายวิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.)กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความซับซ้อนหลากหลาย บางครั้งอาจจะไม่ใช่เรื่องของตัวเงิน แต่เป็นเรื่องทางความรู้สึก เมื่อใดที่มีการเปรียบเทียบว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมคนก็จะแสดงออกมา นายณรงค์ โชควัฒนา นักวิชาการและนักธุรกิจอิสระ

มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้สิ่งที่คนไม่อยากแตะคือเรื่องการเมือง ประชาชนต้องรู้ว่า รัฐบาล นายกรัฐมนตรี และส.ส. เป็นลูกจ้างของประชาชนไม่ใช่ผู้ปกครอง ไม่ใช่ประชาชนไปลงคะแนนเลือกตั้งแล้วอำนาจต่างๆจะเป็นของนักการเมือง และ ประชาชนต้องฟังค่ำสั่ง เรื่องนี้ถ้าไม่แก้กันตรงยอด จะคุยกันอีกร้อยปีร้อยชาติก็

แก้ไม่ได้ “การยึดอำนาจรัฐมีอยู่สองอย่าง อย่างแรกคือ เอารถถัง ปืนใหญ่ ออกมา ถ้ายึดไม่สำเร็จก็เป็นกบฎ แต่ตอนนี้เราเลือกยึดอำนาจรัฐด้วยการเลือกตั้งใช้เงิน ซื้อ ส.ส. พรรคการเมือง กกต. ข้าราชการ เพราะถ้าชนะแล้วจะได้อำนาจรัฐอย่างมหาศาล เป็นนายของตำรวจ ทหาร มีงบประมาณนับล้านล้านบาทในมือ

ซึ่งคุ้มค่ามาก”นายณรงค์กล่าว มุมมองเหล่านี้สะท้อนว่าปัญหาเฉพาะหน้า คือรัฐบาลจะต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้เห็นชัดก่อนถึงจะทำมาตรการปรองดองได้จริง ถือเป็นการบ้านที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนายอภิสิทธิ์ เพราะวันนี้ต้องยอมรับว่า ภาคธุรกิจ ภาคแรงงาน ยังระงมเสียงสะท้อนในเชิงที่ยังไม่เห็น

ผลงานที่แท้จริงของรัฐบาลอยู่เหมือนเดิม อย่างเช่นธุรกิจที่เหนื่อยหนักหนาสาหัสที่สุดในเวลานี้ ก็คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ทนรอความช่วยเหลือและคำตอบต่างๆไม่ไหว ล่าสุดถึงขนาดที่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ช่วงเวลา 08.00 น. ได้ขอให้นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

ช่วยนำผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ ที่ตึกสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนที่นายอภิสิทธิ์จะเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีมาแล้ว ซึ่งนายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) กล่าวภายหลังเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เพื่อขอให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว

ว่า นายกรัฐมนตรีเห็นว่ามาตรการและงบประมาณที่เสนอมีจำนวนมากเกินไป จึงขอให้จัดกลุ่มอย่างชัดเจน เพราะจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบที่แท้จริงก่อน ซึ่งจะต้องกลับไปทบทวนใหม่ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่ในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ ยังเห็นว่า งบประมาณที่ให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ

ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินที่ผ่านมายังเหลือ 1,600 ล้านบาท แต่ยังคงติดเงื่อนไข จึงอยากให้มีการปรับเงื่อนไข เพื่อช่วยเหลือเหมือนกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ราชประสงค์ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแรงงานที่อยู่ในระบบ 9 ล้านคน จะขอให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือต่อไป

ในขณะที่ในการประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนนั้น ภาคเอกชนก็ได้มีการยื่นข้อเสนอเรื่องภาษีให้นายอภิสิทธิ์ และนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณา

ประกอบไปด้วย มาตรการชั่วคราว หรือระยะสั้น ได้แก่
1. การลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขายสินทรัพย์ที่เป็นทุน เหลือร้อยละ 10
2. การขยายขอบเขตและระยะเวลาการยกเว้นภาษีการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องล้มละลาย
3. การใช้ประโยชน์จากผลขาดทุนของบริษัทในเครือ
4. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
5. การลดอัตราภาษีโรงเรือนและที่ดิน
6. การขยายเวลาการนำผลขาดทุนสะสมทางภาษีมาใช้ประโยชน์

ซึ่งปรากฏว่าทาง กระทรวงการคลัง ระบุว่า ข้อเสนอเหล่านี้อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด แต่บางข้อเสนอกระทรวงการคลังก็ไม่เห็นด้วย เช่น การลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับกำไรจากการขายสินทรัพย์ เพราะจะทำให้เกิดการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการขอลดหย่อนภาษีเพื่อปรับโครงสร้างหนี้หรือปรับโครงสร้างองค์กรนั้น อยู่ระหว่างพิจารณา ขณะที่มาตรการใช้ประโยชน์จากผลขาดทุนของบริษัทในเครือ ต้องแก้ไขประมวลรัษฎากรหลายมาตรา จึงไม่สามารถดำเนินการระยะสั้นได้

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอมาตรการระยะยาว อย่างการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และการขยายช่วงเงินได้สำหรับการเสียภาษีบุคคลธรรมดาด้วย แต่เบื้องต้นกระทรวงการคลัง ระบุว่า อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบ จะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังอ้างว่าจะต้องคำนึงถึงฐานะการคลังด้วย

และที่ผ่านมาก็มีการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา คือ ร้อยละ 15 ,20, 25 ให้แก่ เอสเอ็มอี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85 ของกิจการ อีกร้อยละ 15 ลดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงเหลือธุรกิจที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 30 เป็นส่วนน้อย เท่านั้น

เรียกว่าในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนร้องขอความเช่วยเหลือ แต่กระทรวงการคลังเองก็กลับตั้งการ์ดสูงเต็มที่เหมือนกัน ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจเอกชนมึนไปตามๆกัน เพราะในขณะที่นายกรณ์ และรัฐบาลพยายามสร้างความเชื่อมั่น บอกว่าเศรษฐกิจดีอย่างนั้นอย่างนี้ แถมกระทรวงการคลังมีการแถลงผลการจัดเก็บภาษี

ว่าออกมาดีเกินคาด เก็บรายได้ภาษีได้เกินเป้า แต่พอภาคธุรกิจขอความช่วยเหลือทางด้านภาษีกระทรวงการคลังกลับบอกว่า ต้องดูถึงฐานะของรัฐบาลก่อน จนทำให้เวลานี้เริ่มมีคำถามว่า จริงๆแล้วเศรษฐกิจดีจริงๆหรือไม่ เพราะแม้แต่นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือซีพี ก็ยังมองว่าปัจจัยที่จะ

ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง คือ ภาวะการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ และวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มสหภาพยุโรป หากลามจากประเทศกรีซ ไปประเทศอื่นเช่น อังกฤษหรือสเปน จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่สุด นายอาชว์กล่าวว่า รัฐบาลควรเร่งดำเนินการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์

เพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองโดยเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องรอผลการศึกษาของคณะกรรมการแผนการปฏิรูปประเทศไทยและแผนปรองดอง นอกจากนี้ยังต้องเร่งแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ชนบท ปัญหาคอร์รัปชั่น ความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมายาวนาน “ครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการเมือง

และต้องระวังไม่ให้เกิดอีก เพราะทุกคนได้รับบทเรียนที่เจ็บปวดมาแล้ว ทั้งปัจจัยการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปน่าห่วงพอกัน หากเกิดวิกฤตในยุโรปรุนแรงลามไปประเทศอื่น และมีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นอีกอาจจะเห็นเศรษฐกิจโตไม่ถึง 4% หรืออย่างน้อย 4.5% แม้การเมืองจะเป็นปัจจัยเสี่ยง

แต่คงไม่เกิดการชุมนุมรอบใหม่ เพราะรัฐบาลมีแผนปรองดองและมีแนวคิดจะทำอะไรหลายอย่าง แต่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ปากพูด”นายอาชว์กล่าว ใขณะที่นายสารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เครือซีพี ได้มีการสะกิดเตือนว่ารัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่างชาติ

โดยเฉพาะญี่ปุ่น เพื่อไม่ให้ย้ายฐานลงทุนไประเทศภูมิภาคอย่างเวียดนาม เช่นเดียวกับนายสมมาต ขุนเศรษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้นำสมาชิกไปเข้าเข้าพบธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อหารือ 2 เรื่องหลัก คือ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ที่ 1.25% ไปจนถึงปลายปี 2553

เพื่อช่วยเหลือต้นทุนของผู้ประกอบการ และขอให้ ธปท.ดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกิน 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกัน ส.อ.ท.ยังเตรียมเข้าพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่เพื่อให้แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีอยู่ 5-6 แสนราย โดยได้เสนอให้สำนักงาน

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) พิจารณาระเบียบการให้ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับสิทธิจากบีโอไอสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานด้วย ฉะนั้นในเวลานี้ แม้นายอภิสิทธิ์ จะให้ความสำคัญกับแผนปรองดองและการปฏิรูปการเมือง ก็ไม่สามารถที่จะละเลยหรือมองข้ามปัญหาเศรษฐกิจ

ที่กำลังกดดันภาคธุรกิจและประชาชนได้ เช่นกันกับนายกรณ์เองในฐานะที่ดูแลด้านการเงินการคลัง ก็ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ และหาทางแก้ไขปัญหา ไม่ใช่มัวไปหมกมุ่นสนใจเกี่ยวกับเรื่องการซื้อคืนไทยคม จนก่อให้เกิดการเก็งกำไรอย่างมากมายในตลาดหุ้น และมีคนในแวดวงการเมืองได้ประโยชน์ไปเต็มๆ

ที่สำคัญพรรคประชาธิปัตย์ และนายอภิสิทธิ์ อาจจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสังคมว่า เศรษฐกิจกดดันหนักขนาดนี้แล้ว นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ หายไปไหน ทำไมบทบาทจึงน้อยขนาดนี้??? หากเป็นเพราะปัญหาภายในพรรคแล้ว ตรงนี้ประชาธิปัตย์ต้องรับผิดชอบและรีบแก้ไขด่วน