จากการศึกษาการปฏิวัติทั่วโลก พบว่าการต่อสู้ยกแรกมักเพลี่ยงพล้ำ จากนั้นจึงมีการปรับยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี จึงสามารถเอาชนะได้ในการต่อสู้ยกต่อไป ขอยกกรณีตัวอย่างดังนี้
โดย Prem1991
1. การปฏิวัติในอเมริกา ค.ศ.1776
การ ต่อสู้ในระยะแรกฝ่ายประชาชนก็เพลี่ยงพล้ำ และสูญเสียอย่างมากเพราะอาวุธไม่ทันสมัย ต่อมาฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลือจึงสามารถตีโต้อังกฤษได้อย่างดุเดือด
2. การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
ตอนแรกก็ชุมนุมเรียกร้องโดยสันติ ปราศจากอาวุธ แต่ก็ถูกปราบปราม ถูกจับกุม ขังในคุกบาสติลเป็นจำนวนมาก ฝ่ายประชาชนในปารีสจึงตั้งกองกำลังแห่งชาติ (National Guards) ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของประชาชนในปารีสก่อน หลังจากนั้นก็มีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธตามอย่างปารีส ไปทั่วประเทศฝรั่งเศส จนสามารถยกกำลังทำการปฏิวัติได้
3. การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.1917
การ ต่อสู้ในตอนแรกถูกปราบปราม เลนินและผู้นำคนสำคัญของพรรคบอลเชวิคจึงหนีไปลี้ภัยในต่างประเทศ ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนีให้เดินทางกลับเข้ารัสเซียโดยใช้ เส้นทางรถไฟ…..เลนินได้เข้ามาปลุกระดมมวลชนโดยเฉพาะกรรมกรในรัสเซียให้ร่วมกันต่อสู้ปฏิวัติจนสำเร็จ
4. การปฏิวัติจีน ค.ศ.1949
ในช่วงแรก ๆ ของการทำสงครามปฏิวัติ พรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกปราบปราม และประสบ ความพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนต้องหันมาปรับวิธีการต่อสู้โดยใช้ยุทธศาสตร์จัดตั้งฐานที่มั่นในชนบทของ เหมา เจ๋อ ตุง รวบรวมกำลังสู้กับอำนาจรัฐ…มีการปรับยุทธการรวบรวมกำลังทหารล่าถอยจากมณฑลเกียงสี ไปยังเมือง เยนอาน มณฑลเสียนซี ซึ่งมีระยะทางไกลกว่าหนึ่งหมื่นกิโลเมตร การสร้างวีรกรรม ”การถอยทัพครั้งใหญ่” หรือ “การเดินวิบาก (Long March)” เป็นยุทธศาสตร์การถอยเพื่อรุกที่มีความสำคัญมาก….ในที่สุดยุทธศาสตร์ฐานที่มั่นของเหมาฯเริ่มสัมฤทธิ์ผล และได้ชัยชนะ
5. การปฏิวัติคิวบา ค.ศ.1959
ระยะแรกฝ่ายปฏิวัติถูกรัฐบาลเผด็จการบาติสตาปราบปรามหนัก ฟิเดล คาสโตร และน้องชายชื่อ ราอูล คาสโตร ถูกจับและถูกพิพากษาให้จำคุก 15 ปี แต่ในเดือนพฤษภาคม 1955 กลุ่มของคาสโตรได้รับการอภัยโทษ จึงได้หนีไปยังอเมริกาและเม็กซิโกเพื่อเตรียมการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่ง….ในปีต่อมา ฟิเดล คาสโตร พร้อมด้วย Ernesto Che Guevara นักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา จึงได้นำกองกำลังติดอาวุธ 82 คนจากเม็กซิโกมาขึ้นฝั่งคิวบาก็ถูกทหารรัฐบาลโจมตี ตายเกือบหมด รอดชีวิตเพียง 12 คน จึงต้องหลบหนีไปตั้งฐานที่มั่นอยู่ในป่าเขา ทำการขยายฐานมวลชน และปฏิวัติสำเร็จในอีก 3 ปี ต่อมา
6. การปฏิวัติอิหร่าน ค.ศ.1979
กษัตริย์ซาร์ ถูกยุยงให้ขัดแย้งกับผู้นำศาสนาอย่างอิหม่ามโคไมนี จึง ใช้ กลไกของรัฐทุกอย่าง ทั้งศาล รัฐบาล ทหาร ในการเล่นงานโคไมนี กระทั่ง ปี 1964 โคไมนีจึงหนีไปอยู่ทางตอนใต้ของอิรัก และพยายามสื่อสารกับมวลชนที่ศรัทธาเขา โดยการพูดบันทึกเทปให้ผู้ศรัทธาเอาไปจ่ายแจกตามบ้านเรือนผู้คนในอิหร่าน เพื่อไม่ให้กระแสของตนหายไป….ปี 1978 พระเจ้าชาห์ขอให้ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำคนใหม่ของอิรัก ช่วยไล่อิหม่ามโคไมนีออกจากอิรัก โคไมนีจึงต้องหนีไปอยู่ฝรั่งเศส กระทั่งปีต่อมาประชาชนที่ศรัทธาโคไมนี ลุกฮือกันทั้งประเทศ พระเจ้าชาห์ และราชวงศ์ทุกพระองค์จึงต้องทรงเดินทางหนีออกจากอิหร่าน ระบอบกษัตริย์ที่มีนานานถึง 2,538 ปี ก็สิ้นสุดลง
7. การเปลี่ยนแปลงในเนปาล ค.ศ.2008
กษัตริย์คเยนทรา ของเนปาล เข้าสู่อำนาจการเมืองโดยได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อปี 2005 ซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ความขัดแย้งแตกแยกครั้งใหญ่ จนนำไปสู่การเสียชีวิตของพลเรือนชาวเนปาลจำนวนมาก ประชาชนกว่า 2,000 คนถูกฆ่าตาย
ความนิยมในตัวกษัตริย์คเยนทรา และต่อสถาบันกษัตริย์ของประชาชนชาวเนปาล ได้ลดลงอย่างรวดเร็วประชาชนพากันลุกฮือประท้วงจนนำไปสู่การยึดพระราชอำนาจในหลายๆ ด้านของพระองค์ ทางด้านกลุ่มกบฏเหมาอิสต์ที่นำโดย นายประจันดา อดีตครูสอนหนังสือได้นำการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนเนปาลให้เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ มานาน 10 ปี ได้ตัดสินใจยกเลิกการสู้รบแบบกองโจร แล้วเข้าร่วมการต่อสู้ด้วยหนทางทางการเมืองแทน ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนเมษายนจนได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาและในที่สุดก็นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองในปี 2008
8. การต่อสู้ของ เนลสัน แมนเดลา
ลัทธิล่าอาณานิคม การกดขี่ขูดรีด การเหยียดผิว ทำให้คนผิวดำถูกปฏิบัติเหมือนไม่ใช่คน มีการบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส และถูกจับไปขายเป็นทาสในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในอเมริกา
เนลสัน มันเดลลา บุตรของหัวหน้าเผ่าซึ่งสืบเชื้อสายมากว่า 10 ชั่วอายุคน ได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยสาขาวิชาด้านกฎหมาย หลังจากเรียนจบในปี 1944 ได้เข้าร่วมกับองค์กรการเมือง (ANC) ของคนผิวสีเพื่อต่อต้านการเหยียดสีผิว จนได้เป็นประธานองค์กร
การต่อสู้ในระยะแรก เขาก็นำการต่อสู้ด้วยการชุมนุมประท้วง และเดินขบวนอย่างสันติ รวมไปถึงการบอยคอต (เหมือนของเสื้อแดงในขณะนี้) แต่ต่อมากลับถูกปราบและถูกสังหารหมู่ผู้เดินขบวนที่เมือง Sharpeville ในปี 1960
- แมนเดลาได้เข้าร่วมจัดตั้งหน่วยพลร่มแห่ง ANC เพื่อก่อวินาศกรรมตอบโต้การกระทำของรัฐบาลผิวขาว อันเป็นการยกระดับการต่อสู้จากการต่อสู้แบบสันติ เป็นการต่อสู้ด้วยกองกำลังติดอาวุธ
- สามปีต่อมาคือในปี 1963 เขาและเพื่อนร่วมพรรคก็ถูกจับดำเนินคดีในข้อหาสั่งสมอาวุธไว้ในครอบครอง โดยผิดกฎหมาย และถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต เขาอยู่ในคุก 27 ปี กระทั่งปี 1990 รัฐบาลของ FW de Klerk ได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวเนลสัน แมนเดลา เพื่อสร้างความสมานฉันท์ และเลิกการเหยียดผิว กระทั่งปี 1994 มีการเลือกตั้งทั่วไป แมนเดลาจึงได้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกแห่งแอฟริกาใต้
จากตัวอย่างที่ยกมานี้ หวังว่าจะทำให้ฝ่ายเสื้อแดงมีกำลังใจในการต่อสู้มากขึ้นด้วย การถือว่าเป็นธรรมดาของการต่อสู้ ในยกแรกมักจะเพลี่ยงพล้ำเสมอ แต่เมื่อได้ปรับยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการต่อสู้ที่เหมาะสม ใช้ความมานะพยายามอย่างหนัก และใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีกนิด ก็จะประสบชัยชนะในที่สุด
ดังนั้นภารกิจสำคัญของเรา ณ เวลานี้ก็คือ การปรับยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการต่อสู้ตลอดจนการที่ต้องมี “ผู้นำทางความคิด” ในการนำมวลชนต่อสู้
“ผู้นำทางความคิด” สำคัญไฉน
การต่อสู้ของประชาชนหมู่มาก หรือ มวลมหาประชาชน นั้นไม่ว่าจะต่อสู้เพื่อเอกราช ต่อสู้เพื่อระบอบการปกครองที่ดีกว่าหรือ ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในระบอบเดิม
ตั้งแต่อดีต กระทั่งปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดต่างก็เป็นปรากฏการณ์ทางการเมือง ที่ล้วนแต่มี “ผู้นำทางความคิด” ที่โดดเด่น ทั้งนั้น
- การปฏิวัติอเมริกา ค.ศ.1776 มี อิทธิพลทางความคิดของ จอห์น ล็อค
- การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 มี วอลแตร์
- การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.1918 มี เลนิน ที่ประยุกต์แนวคิดของมาร์กมาปฏิวัติ
- การประกาศอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ.1942 มี มหาตมะ คานธี
- การปฏิวัติจีน ค.ศ.1949 มี เหมา เจ๋อ ตุง
- การปฏิวัติคิวบา ค.ศ.1959 มี ฟิเดล คาสโตร และ เช กูวารา
- การปฏิวัติอิหร่าน ค.ศ.1979 มี อิหม่าม โคไมนี
- การเปลี่ยนแปลงในอัฟริกาใต้ ค.ศ.1994 มี เนลสัน เมนเดลา
- การเปลี่ยนแปลงในเนปาล ค.ศ.2008 มี พุชปา ฮามาล ดาฮาล หรือ ประจันดา
- เป็น ต้น......
ถามว่าการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยตามสโลแกน “Thailand Needs Change” มีท่านผู้ใดเป็นผู้นำทางความคิด และชุดความคิดนั้นมีเนื้อหาว่าอย่างไร ?
การต่อสู้ทางการเมืองของมวลมหาประชาชน จำเป็นต้องมีแนวความคิดที่เป็นไปในทางเดียวกัน
หมายความว่าต้องมี “ชุดของคำอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล” ชุดเดียวกัน
ชุดความคิด หรือชุดของคำอธิบายดังกล่าว ต้องบอกถึง..........
- ปัญหาโครงสร้างทางการเมือง
- ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำนาจทางการเมือง
- สาเหตุของปัญหา
- ผลกระทบของปัญหา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
- แนว ทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเสนอไปในทางเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ หรือระบบสังคม(ซึ่งมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับการ ปฏิรูป จนถึง การปฏิวัติ) บางกรณีนำเสนอให้เปลี่ยนกฎหมายหลัก เช่น รัฐธรรมนูญ (ซึ่งถือเป็นเพียงการปฏิรูปทางการเมืองการปกครอง) หรือบางกรณีนำเสนอให้รัฐบาลลาออก หรือยุบสภา (ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปกติธรรมดาที่สุด)
- เป้าหมาย ต้องชัดเจนว่าการต่อสู้นี้มีเป้าหมายขนาดไหน ต้องนำเสนอให้ชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่ให้แกนนำคนหนึ่งว่าอย่างหนึ่ง อีกคนว่าอีกอย่างหนึ่ง และต้องไม่มีการโต้เถียงขัดแย้งกันในเป้าหมายที่ได้ประกาศต่อมวลมหาประชาชน ไปแล้ว ดังนั้น เรื่องนี้ต้องชัดเจนอย่างมากต้องออกมาจากการศึกษาวิเคราะห์ด้วยข้อมูล และทฤษฎีที่แม่นยำ ผ่านการกลั่นกรองอย่างหนัก และได้รับความเห็นพ้องต้องกันอย่างกว้างขวาง
- ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และยุทธการ ในการต่อสู้ (ที่ใช้คำว่า “ยุทธ” เพราะมันคงไม่ได้มาโดยง่ายโดยการร้องขอ แต่ต้องเข้มข้มในระดับการยุทธเลยทีเดียว)
ผู้นำทางความ คิด ต้องสามารถทำให้มวลมหาประชาชนเข้าใจ และชัดเจนใน ชุดของความคิด หรือชุดของคำอธิบาย ดังกล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะการนำเสนอเป้าหมาย และการตระเตรียมคำถาม คำตอบ ข้อโต้แย้ง ข้อชี้แจง อย่างละเอียดรอบคอบ
โดยสรุปก็คือ เราเห็นว่าฝ่ายเราต้องมี “ชุดของความคิด” และ “ผู้นำทางความคิด” ที่โดดเด่น จึงค่อยเคลื่อนไหวให้เป็นกระบวนทัพที่เกรียงไกร
เพื่อไทย
Saturday, June 19, 2010
พ่ายแพ้-สรุปบทเรียน-สู้ใหม่-จนได้ชัยมา
ที่มา Thai E-News