WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 18, 2010

ทิศทางปฏิรูปประเทศไทย

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ รายงานพิเศษ



วันที่ 17 มิ.ย. มูลนิธิพัฒนาไท โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางปฏิรูปประเทศไทย ที่อาคารเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

-น.พ.ประเวศ วะสี

ราษฎรอาวุโส

ขณะนี้บ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤตที่สุด แต่ถือเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะก้าวไปข้างหน้า ซึ่งการจะฟื้นตัวออกจากวิกฤตครั้งนี้ได้ ต้องแก้ด้วยคนไทยด้วยกัน ไทยถือว่ายังไม่วิกฤตเท่ากับประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มีสงครามกลางเมืองมีคนตายจำนวนมาก

แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ผมพูดมากว่า 10 ปีแล้ว ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ลูกที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก โครงสร้างของปัญหาซับซ้อนและจะแก้ปัญหาด้วยอำนาจไม่ได้ ช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ผมเคยบอกแล้วว่าการใช้อำนาจ แก้ปัญหาไม่ได้ เมื่อใช้แล้วจะมีปัญหาตามมามาก

การแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อน ต้องทำความเข้าใจเพื่อออกจากปัญหานี้ โดยเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องใช้สังคมนำและการเมืองตาม เพราะฝ่ายการเมืองมีศัตรูมาก ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายเสียผลประโยชน์

การดำเนินงานใดๆ ที่กระทบผลประโยชน์จึงเป็นเรื่องยาก เพราะเมื่อใช้อำนาจรัฐนำ จะตามมาด้วยอำนาจเงินและอำนาจสังคม ถ้าใช้สังคมจะง่ายกว่า และต้องเชื่อมโยงกันให้กลายเป็นสังคมสมานุภาพ หรือสังคมานุภาพ

แนวทางปฏิรูปประเทศไทย ควรใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ประกอบด้วย 3 พลังคือ พลังปัญญา พลังสังคม อำนาจรัฐ จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นยากที่จะสำเร็จ อย่างพ.ต.ท.ทักษิณ มีอำนาจรัฐ อำนาจเงินมาก แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เช่นกัน

คนไทยคุ้นเคยกับการมองทางลบมานาน ใช้สมองส่วนหลังมากเกิน สมองส่วนนี้คิดจะเอาชนะอย่างเดียว แต่สมองส่วนหน้าประกอบด้วยสติปัญญา น้ำใจ ประเทศไทยต้องเปลี่ยนเกียร์หลังเป็นเกียร์หน้า ปัญหาเราไม่ได้หนักกว่าคนอื่น อย่าคิดว่าแก้ไม่ได้ เพราะทุกอย่างแก้ได้ด้วยคนไทยเอง

สังคมจำเป็นต้องร่วมคิดร่วมทำในทุกพื้นที่ทุกองค์กร ไม่ทำลายล้างกันในทาง การเมือง เพื่อให้สังคมเปลี่ยนโครงสร้างจากทางดิ่งเป็นทางราบ จะเกิดประชาสังคม เป็นสังคมเข้มแข็ง รัฐต้องส่งเสริมให้ทำอย่างอิสระไม่มีการครอบงำ ต้องกระจายอำนาจให้คนท้องถิ่นปกครองตัวเอง คนจะได้ไม่อยากเป็นนักการเมืองเพราะมาแล้วไม่มีอำนาจ มีแต่หน้าที่

ทั้งนี้ ต้องแยกเรื่องปฏิรูปประเทศไทยว่าไม่ใช่การ ปรองดอง เป็นคนละเรื่อง การปรองดองเป็นกระบวนการแสวงหาความจริงและสมานฉันท์ เมื่อมาคุยกันก็แก้ปัญหาได้ แต่เราไม่มีศรัทธาในการคุยกัน

การปรองดองเป็นกระบวนการที่ต้องทำ ต้องศึกษาจากต่างประเทศ เราไม่ต้องไปรับข้อเสนอของต่างประเทศ เรามีสื่อทีวี หนังสือพิมพ์ ที่สามารถรับข้อเสนอจากประชาชน ทั้งประเทศ เราก็สังเคราะห์เรื่องใหญ่ๆ สร้างเป้าหมายร่วมกัน หากสำเร็จแล้วการเมืองก็เอาไม่อยู่

ส่วนความจริงใจในการปรองดองและปฏิรูปประเทศของรัฐบาลนั้น ผมผ่านมาหลายรัฐบาลรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เราทำงานขับเคลื่อนโดยใช้พลังสังคม พลังปัญญาให้เกิดขึ้นเป็นเรื่องดี

นักวิชาการ เอ็นจีโอ มักพูดว่ารอให้นักการเมืองบริสุทธิ์ บ้านเมืองจะดีขึ้น แต่เป็นไปไม่ได้เพราะนักการเมืองไม่เคยบริสุทธ์ ถึงบริสุทธิ์ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้ว และผมไม่เชื่อว่าจะมีนักการเมืองบริสุทธิ์เกิดขึ้น

ดังนั้น เราต้องสร้างกลไกให้เลยรัฐบาลไป ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ชุดแต่กลไกเราต้องไม่ล้ม ต้องทำงานได้ต่อไป อย่าเพ่งเล็งรัฐบาล สังคมต้องนำ จะไม่ศรัทธารัฐบาลก็ไม่เป็นไรแต่ต้องศรัทธาสังคม

ถ้าทำให้สังคมเป็นธรรมได้จริง ทุกคนจะรักชาติ หาก เกิดความเป็นธรรมจะเกิดการปรองดองขึ้นมาเอง ขณะนี้ภาคสังคมควรเร่งสร้างกลไกปฏิรูปโดยมีภาครัฐสนับสนุน แต่กลไกต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่มีภาครัฐหรือการเมืองมาครอบงำ

การสร้างกลไกสามารถทำได้ โดยทำเป็นมติครม. หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีคณะทำงานแก้ปัญหา มีอิสระ ครอบงำไม่ได้ ควรจัดทำแล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือนนับจากนี้

และต้องมีมาตรการแก้ปัญหาที่เข้มข้น และแรงพอจะสร้างความเป็นธรรมกับสังคมได้ในเรื่องใหญ่ๆ เช่น เรื่องภาษี การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น การสร้างสังคมสวัสดิการ ระบบยุติธรรม ระบบการศึกษา โดยเฉพาะการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่จะทำได้เมื่อบ้านเมืองเกิดวิกฤต จึงต้องใช้โอกาสนี้ปฏิรูปที่ดินด้วย

ผมไม่อยากให้สังคมรอให้ภาครัฐจัดโครงการประชานิยมมาช่วยเหลือ เพราะสุดท้ายแล้วการประชานิยมจะทำลายระบบความเข้มแข็งของสังคม

แต่หากส่งเสริมให้ชุมชนมีกระบวนการรวมตัว อย่างเข้มแข็งจะเกิดพลังขับเคลื่อนงานทุกอย่างได้ด้วยชุมชนเอง สุดท้ายชุมชนจะเข้มแข็ง แก้ปัญหาได้ทุกอย่างด้วยตัวเอง

ไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากใคร



-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายกรัฐมนตรี

รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้และประชาชนพยายามเข้ามามีส่วนร่วม แต่ยังแก้ไขปัญหาได้น้อยหรือยังแก้ไม่ได้

วิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสและจังหวะในการกระ ตุ้นทำเรื่องยากแบบนี้ เพราะปัญหาถูกสะสมและมีความรุนแรง ทั้งเชิงโครงสร้างและระบบ ถ้าไม่แก้ในจังหวะแบบนี้ก็ยากจะเดินต่อ

มีเรื่องเล็กๆ เกี่ยวกับการชุมนุมที่ผ่านมา เป็นตัวบ่งบอกว่าบางทีการเข้าไปร่วมชุมนุมเป็นการแสดงออกถึงบางสิ่ง ผมเคยส่งคนไปคุยกับวินมอเตอร์ไซค์ที่ไปร่วมชุมนุม

เขาบอกว่าจากที่เขาต้องขี่มอเตอร์ไซค์ด้วยความ หวาดกลัวตำรวจทุกวัน แต่ช่วงหนึ่งเขาได้ชักธงแดงแล้วตำรวจกลัวเขา นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขามีความหมายมากขึ้น

เราอาจจะขำ แต่นี่คือความรู้สึกลึกๆ ที่พูดถึงเรื่องความเป็นธรรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับรายได้หรือทรัพย์สิน

จากการที่งานนี้ต้องเกินเลยอายุของรัฐบาลอยู่แล้ว ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือวางกลไกที่จะก้าวข้ามอายุของรัฐบาลได้ โดยชื่อของบุคคลผู้หลักผู้ใหญ่ที่เสนอมา ผมพร้อมไปพูดคุยทาบทามมาร่วม โดยพยายามให้ได้ข้อยุติได้ใน 1 สัปดาห์ข้างหน้าเพื่อจะได้เริ่มต้นทำงานกัน

อีกทั้งการทำงานตรงนี้ ผมอยากให้ชัดเจนมากขึ้นใน 2 เรื่อง คือ กระบวนการกรอบเวลาและบทบาทของรัฐบาล

โดยเรื่องของเวลา มีคนบอกว่าอาจใช้เวลา 5 ปี แต่บางปัญหาอาจใช้เวลา 10 ปี แต่คิดว่าเราน่าจะหากรอบเวลาที่พอดี ไม่ใช่ว่าไม่สนใจระยะยาว แต่ต้องยอมรับว่า 5 ปีจากนี้ไป มีอะไรต่างๆ เกิดขึ้นอีกมาก เราต้องทบทวน กระบวนการเหล่านี้อีก แต่ผมรู้สึกว่ากรอบเวลา 3 ปี ถือเป็นกรอบเวลาที่เป็นจริง ไม่สั้นเกินไป

แม้หลายคนจะรังเกียจกระบวนการการเมืองหรืออำนาจรัฐ แต่การแก้ปัญหาต้องพึ่งกระบวนการทางการเมืองและอำนาจรัฐ หลังตกผลึกความคิดแล้ว ฝ่ายนโยบายต้องเข้าไปสั่งให้กลไกของรัฐทำงาน จึงต้องใช้นักการเมืองเข้าไปทำหรือเชื่อมเข้าไปอีก แต่เราต้องฟังเสียง

เราต้องไม่คิดว่าเราจะเป็นเจ้าของในการแก้ปัญหา เพราะที่สุดการแก้ปัญหานี้เกินอายุของรัฐบาลอยู่แล้ว

จึงย้ำว่าความสำเร็จอยู่ที่ความเป็นเจ้าของของประชาชนในการแก้ปัญหา



ข้อเสนอเชิงกลไก

กระบวนการการปฏิรูปประเทศไทย

1.แนวทางการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย ควรยึดหลัก 5 ส. ได้แก่

สันติภาพ : ยึดหลักเมตตาธรรม และนำไปปฏิบัติอย่างจริงใจและจริงจัง โดยปราศจากเงื่อนไขที่นำไปสู่การขัดแย้ง

สามัคคี : น้อมนำแนวพระราชดำรัส รู้รัก สามัคคี และแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

สัตยาบัน : ทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงร่วมกัน และประกาศให้สังคมและนานาชาติรับรู้

สื่อสาร : ทุกฝ่ายเจรจาบนความจริงใจและความเป็นมิตร โดยหาข้อตกลงและบทสรุปร่วมกัน

ส่วนร่วม : ทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมคิด ร่วมกำหนดมาตรการ แนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการในการปฏิรูปฯ อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยทุกภาคส่วนให้การยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติ

2.เปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมปฏิรูปประเทศไทยทุกระดับ ทั้งระดับตำบล เมือง จังหวัด ให้มีทั้งเวทีหารือแนวทางปฏิรูป และปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่นควบคู่กันไป

3.จัดกลไกที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุน ไม่เข้าไปทำเอง แต่ทำในส่วนที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรง

4.เสนอแนะให้นายกรัฐมนตรีเชิญผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมาช่วยคิด ช่วยดูแลการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน น.พ.ประเวศ วะสี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นต้น