WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 16, 2010

นักปรัชญาชายขอบ: ความฉลาดซ้ำซาก!

ที่มา ประชาไท


ในที่สุด ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า ก็ได้รับเทียบเชิญจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้รับหน้าที่ประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง อันเป็นกิจกรรมคู่ขนานกับแผนปรองดอง หลายคนมองว่า เขามักแสดงทัศนะทางการเมืองสนับสนุนฝ่ายเสื้อเหลือง หรือเป็นนักวิชาการที่มี “หัวใจสีเหลือง”

แต่สำหรับผมใครจะเป็นสีไหนไม่สำคัญ ผมสนใจ “วิธีคิด” ของเขามากกว่า โดยเฉพาะที่ ดร.สมบัติ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน 2553 ต่อคำถามที่ว่า “ประเด็นหลักๆ ในการปฏิรูปการเมืองคือเรื่องอะไร” เขาตอบว่า...

ขณะนี้เรื่องของการเมืองไทยมันเป็นการเมืองที่อยู่บนพื้นฐานของสังคมที่มีความแตกต่างกันชัดเจน คือโครงสร้างประชากรเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คนที่มีอำนาจตัดสินใจเลือกตั้งเป็นคนชั้นล่างส่วนใหญ่ คุณภาพการตัดสินใจจะต่างจากสังคมที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มใหญ่ คุณภาพการตัดสินใจจะดีกว่า และประกอบกับดูพื้นที่ จะพบว่า ภาคอีสานมีพื้นที่มากที่สุด คนมีความรู้โดยเฉลี่ยน้อย ภาคเหนือรองลงมา สภาพเช่นนี้ทำให้กลุ่มการเมืองอาศัยความไม่รู้ ไม่เข้าใจของประชาชนเป็นเหยื่อทางการเมือง สร้างความนิยมอย่างไม่ถูกต้อง ใช้ประชาชนเพื่อการเคลื่อนไหวของตนเอง นี่คือปัญหาใหญ่ ถ้าเราปรับแก้โครงสร้างประเทศหรือบริบทสังคมเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดไม่ได้ ปัญหาก็ยังอยู่ต่อไป ยังเจอกลุ่มการเมืองที่ใช้เรื่องความเสียเปรียบของคนชั้นล่างมาเป็นเครื่องมือได้อยู่ ถ้าจะแก้ประเด็นเหล่านี้ ต้องแก้ไขระยะยาว คือเรื่องการศึกษาจะเกิดผล 2 ประการ คือจะพึ่งพาตัวเองทางเศรษฐกิจได้ และความรู้จะทำให้เข้าใจเหตุผลและปกป้องตัวเองให้พ้นจากการเป็นเหยื่อได้ การตัดสินใจมีคุณภาพ โดยเฉพาะการเลือกตัวแทนทางการเมือง ประชาชนไม่ตกเป็นเหยื่อของนักเลือกตั้ง

คำตอบของ ดร.สมบัติข้างบนนี้ (ผู้ซึ่งตอนนี้สวมบทผู้ร่วมสร้างความปรองดองและเรียกร้องให้เลิกพูดเรื่องสี) ราวกับกับ “ก๊อปปี้” คำพูดของแกนนำพันธมิตรฯ ที่เราได้ยินกันจนแสบแก้วหูตลอดสี่ห้าปีมานี้ ถ้าแยกพิจารณาเป็นประเด็นจะโต้แย้งได้ดังนี้

1.การเมืองไทยมันเป็นการเมืองที่อยู่บนพื้นฐานของสังคมที่มีความแตกต่างกันชัดเจน คือโครงสร้างประชากรเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คนที่มีอำนาจตัดสินใจเลือกตั้งเป็นคนชั้นล่างส่วนใหญ่

คำว่า “คนชั้นล่างส่วนใหญ่” น่าจะหมายถึง “คนชั้นกลางระดับล่าง” (ตามที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยวิเคราะห์) ที่มีรายได้เลย “เส้น” ความยากจนขึ้นมาแล้ว ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในต่างจังหวัด ในชนบท คนเหล่านี้มีโทรศัพท์มือถือ มอเตอร์ไซค์ รถปิ๊คอัพ สามารถส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย สนใจดูข่าวโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์มากขึ้น

ผู้ที่ติดตามการชุมนุมอย่างใกล้ชิด ย่อมรู้ว่าในกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมส่วนใหญ่จะเป็นคนชั้นกลางระดับล่างดังกล่าวนี้ คนที่ยากจนจริงๆ (หรือ คนชั้นล่างจริงๆ) พวกเขาไม่สามารถจะทิ้งลูกทิ้งครอบครัวให้รอคอยอดอยากอยู่ที่บ้านจากการมาชุมนุมเป็นเดือนๆ ได้

2.คุณภาพการตัดสินใจจะต่างจากสังคมที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มใหญ่ คุณภาพการตัดสินใจจะดีกว่า และประกอบกับดูพื้นที่ จะพบว่า ภาคอีสานมีพื้นที่มากที่สุด คนมีความรู้โดยเฉลี่ยน้อย ภาคเหนือรองลงมา สภาพเช่นนี้ทำให้กลุ่มการเมืองอาศัยความไม่รู้ ไม่เข้าใจของประชาชนเป็นเหยื่อทางการเมือง สร้างความนิยมอย่างไม่ถูกต้อง ใช้ประชาชนเพื่อการเคลื่อนไหวของตนเอง

ผมว่าข้อนี้เป็น “จินตนาการ” ถ้าดูจากข้อเท็จจริง ส.ส.ที่คนอีสาน คนเหนือเลือกก็ไม่ได้แตกต่างจาก ส.ส.ที่คนภาคอื่นๆ (ที่มีคนชั้นลาง มีการศึกษาเป็นส่วนใหญ่) เลือก คือบรรดา ส.ส.ของทุกภาคก็คือนักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น อดีตข้าราชการ หรือผู้มีอิทธิพลทางการเมือง มีฐานคะแนนที่แน่นอน มีบารมีในเชิงการให้ความอุปถัมภ์ในจังหวัดนั้นๆ (จะว่าไปแล้ว นักการเมืองในภาคอีสาน ภาคเหนือ มีภาพของ “เจ้าพ่อ” น้อยกว่านักการเมืองภาคอื่นๆ ที่เศรษฐกิจดีกว่าด้วยซ้ำ)

ฉะนั้น ประเด็น “ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มใหญ่ คุณภาพการตัดสินใจจะดีกว่า” ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัดครับ! เอาง่ายๆ เลยถ้าใช้ “หลักการ” หรือ “อุดมการณ์” ประชาธิปไตยเป็นเกณฑ์วัด การที่คนภาคอีสาน ภาคเหนือออกมาต้านรัฐประหาร ต้าน “อำนาจนอกระบบ” ต้าน “สองมาตรฐาน” ต้าน “ความเหลื่อมล้ำ” ในเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง ในสิทธิและอำนาจต่อรองทางการเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงอำนาจกำหนดถูก-ผิดทางศีลธรรม การตัดสินใจเช่นนี้เป็นการตัดสินใจที่ “ด้อยคุณภาพ” (ทางการเมือง) กว่าคนชั้นกลางส่วนใหญ่ที่ “ตัดสินใจ” สนับสนุนรัฐประหาร (และ “ตัดสินใจ” ผูกขาดการมีเสรีภาพที่เหนือกว่า อำนาจชี้นำ และตัดสินใจแทน) อย่างไร?

และที่พิพากษาว่า เพราะ “ประชาชนโง่” (ไม่รู้ ไม่เข้าใจ) จึงตกเป็น “เหยื่อ” ทางการเมือง เป็น “เครื่องมือ” เคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น ข้อเท็จจริงคือ ชาวบ้านที่เลือกผู้แทนตั้งแต่ยุครัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา พวกเขาเลือก “นโยบาย” พรรคการเมือง และที่เขานิยมนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด ก็เพราะเขาพบว่านักการเมืองและพรรคการเมืองนั้นทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ (แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็ทำได้ดีกว่าที่เคยเห็นมา) ฉะนั้น การตัดสินใจเช่นนี้ ความนิยมเช่นนี้จะเป็นความโง่ได้ ก็ต่อเมื่อ ดร.สมบัติ (หรือใครก็ตาม) เห็นว่าการเลือกนโยบาย การนิยมนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ทำตามนโยบายเป็นสิ่งที่ผิด!

หรือหากเห็นว่านักการเมือง หรือพรรคการเมืองพรรคนั้นโกง ดร.สมบัติ (หรือใครก็ตาม) ไม่อยากให้ “คนชั้นล่าง” ตกเป็นเหยื่อ เป็นเครื่องมือนักการเมือง หรือพรรคการเมืองพรรคนั้นอีกต่อไป วิธีตัดสินใจที่ “มีคุณภาพกว่า” คือ การเรียกร้องและสนับสนุนรัฐประหารเช่นนั้นหรือ? คือ การประณาม “คนชั้นล่าง” ที่ออกมาต่อต้านรัฐประหารว่าเป็น “พวกกเฬวราก” เป็นปัญหาของบ้านเมือง หรือเป็น “ฐานของปัญหาการเมือง” เช่นนั้นหรือ?

3.ถ้าจะแก้ประเด็นเหล่านี้ ต้องแก้ไขระยะยาว คือเรื่องการศึกษาจะเกิดผล 2 ประการ คือจะพึ่งพาตัวเองทางเศรษฐกิจได้ และความรู้จะทำให้เข้าใจเหตุผลและปกป้องตัวเองให้พ้นจากการเป็นเหยื่อได้ การตัดสินใจมีคุณภาพ โดยเฉพาะการเลือกตัวแทนทางการเมือง ประชาชนไม่ตกเป็นเหยื่อของนักเลือกตั้ง

เห็นหรือยังครับ วิเคราะห์ปัญหาแบบสูตรสำเร็จ “ชาวบ้านจน-โง่” เสนอทางแก้แบบสูตรสำเร็จ “ให้การศึกษาแล้วจะหายจนหายโง่” ผมขอเสนออย่างนี้แล้วกันครับ ให้ ดร.สมบัติ (ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง) และบรรดาคนชั้นกลางผู้มีอันจะกิน มีการศึกษาดีทั้งหลาย ลอง “ทบทวน” ในเรื่องต่อไปนี้

1. พวกคุณยอมรับได้อย่างไรกับ “เสรีภาพที่ไม่เท่าเทียม” สื่อของรัฐบาล สื่อเสื้อเหลือง หรือที่เชียร์รัฐบาลมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ แต่สื่อฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายเห็นต่าง วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถูกปิดอย่างไม่มีกำหนด สมาชิกทุกคนแห่งสังคมประชาธิปไตยต้องมีเสรีภาพอย่างเท่าเทียมมิใช่หรือ? ความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาสูงๆไม่ได้สอนพวกคุณเช่นนี้หรือครับ?

2. แกนนำ นปช.และผู้นำรัฐบาลต่างมีส่วนทำให้คนตาย 89 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน แต่แกนนำ นปช.มอบตัว ถูกจับ ถูกไล่ล่า ขณะที่ฝ่ายกุมอำนาจรัฐไม่แสดงความรับผิดชอบอะไรเลย พวกคุณพึงพอใจกับมาตรฐานแห่ง “นิติธรรม” และ “นิติรัฐ” ที่เป็นอยู่นี้หรือ?

3. พวกคุณ “มีความสุข” กับการผูกขาดอำนาจคิดแทนตัดสินใจแทน หรืออำนาจต่อรองที่เหนือว่าทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และศีลธรรมจริงๆ หรือครับ?

ชาวบ้านจำนวนมากที่คุณเรียกพวกเขาว่า “คนชั้นล่าง” จากภาคอีสานภาคเหนือ เขาเห็น “ความอยุติธรรม” อย่างน้อยทั้งสามเรื่องดังกล่าวนี้ จึงมาทวงขอ “ความยุติธรรม” จากพวกคุณ แต่พวกคุณนอกจะมืดบอดต่อความอยุติธรรมดังกล่าวแล้ว ยังเอาแต่ท่อง “คำพิพากษา” ต่อเนื่องกันมาหลายปีว่า “ชาวบ้านโง่ จน เจ็บ ไม่รู้ประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือนักเลือกตั้ง!...”

ไม่เบื่อ “ความฉลาดซ้ำซาก” แบบนี้ของตัวเองบ้างหรือครับ!!!