ที่มา ไทยรัฐ สุเทพ ล่าสุดก็เป็น น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และอดีตผู้พิพากษาอาวุโส ให้ความเห็นถึงกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีแนวคิดออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมที่มีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามหลักกฎหมายอาญาทั่วไป หากยกเลิกกฎหมายที่ให้อำนาจ ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อใด โทษในการกระทำผิดตามกฎหมายนั้นก็น่าจะหมดลงไปด้วย ไม่จำเป็น ต้องออกกฎหมายมานิรโทษกรรมแต่อย่างใด เว้นแต่ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะเขียนไว้ว่า ให้ยกเว้นบทบัญญัติที่ขัดแย้งกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งไม่แน่ใจว่าในกฎหมายฉบับดังกล่าวได้เขียนเอาไว้หรือไม่ ยกตัวอย่างสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีการออกกฎหมายเอาผิดกับพวกที่นั่งเกะกะตามสะพานลอย ต่อมาเมื่อมีการยกเลิกกฎหมายฉบับดังกล่าว แม้แต่คนที่ถูกตัดสินจำคุกเพราะทำผิดกฎหมายฉบับนั้นก็ได้รับการปล่อยตัว และก็เป็นอะไรที่เฉลย "หนังซ่อนเงื่อน" ในฉากแปร่งๆที่ตัวเอกตามท้องเรื่อง ล็อกคิวเล่นกันอยู่ 2 คน คือ "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) "ปล่อยของ" ออกมาจากวงประชุม ศอฉ. ยั่วกระแสสังคมตีความมั่วกันไปต่างๆนานา เสียงค้านเสียงวิจารณ์ดังอื้ออึง ก่อนที่ "เทพเทือก" จะออกมาแตะเบรก นัยว่า ต่อไปกฎหมาย จะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็เป็นนายธาริตที่ส่งซิกจ่อล้มแผน อ้างโดนกระแสต้านหนัก ชงเอง ตบเอง เสร็จสรรพ ตามจังหวะที่จับทางได้จากคำตอบสุดท้ายที่อดีตกรรมการ ป.ป.ช.ออกมาเปิดโพย เรื่องนิรโทษกรรมไม่ต้องทำอะไรให้ยุ่งยาก แค่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทุกอย่างก็จบไปด้วย มันก็พอเข้าใจ คิวของ "เทพเทือก" กับนายธาริต ก็น่าจะเป็นแค่แบ่งบทกันเล่น โชว์ให้เห็นว่า ศอฉ.ได้พยายามแสดงความจริงใจแล้ว อีกช็อตก็น่าจะโยงถึงเงื่อนเวลาของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่จะหมดอายุลงในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้ ตามเกมที่รัฐบาลโดย ศอฉ.ยังต้องการถือ "กระบอง" ไว้ "กระชับพื้นที่" การเปิดเกมนิรโทษกรรมคนเสื้อแดง "ยั่ว" กระแสต้านของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล เพื่อยกเป็นเหตุในการกระชับกระบอง พ.ร.ก. ฉุกเฉินต่อไป ก็ถือว่าทำได้เนียนๆ เซียนอย่างประชาธิปัตย์ถนัดอยู่แล้วกับการเดินหมากหลายชั้นตีกินกระแสในเมืองไทยสบายๆ ถ้าไม่บังเอิญว่า มันมีสัญญาณคลื่นความถี่สูงจากเวทีนานาชาติ เข้มขึ้นเป็นลำดับ ถ้านายกฯอภิสิทธิ์ ตั้งใจที่จะค้นหาความจริงตามแผนปรองดอง เพื่อหาตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ ไม่ว่าผู้ชุมนุมหรือเจ้าหน้าที่รัฐก็ตาม นอกจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ควรจะแสดงความชัดเจนต่อมาตรา 17 ใน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ระบุว่า ฝ่ายรัฐไม่ต้องรับผิดทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย ที่นายกฯประกาศว่าพร้อมรับผิดชอบ หากมีหลักฐานว่ากระทำผิด ในความเป็นจริงจะเอาผิดได้แค่ไหน ในเมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ลักไก่นิรโทษกรรมไว้ล่วงหน้า หากนายกฯตั้งใจจะปรองดองกับทุกฝ่ายจริง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะงดเว้นใช้มาตรา 17 เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลไม่เคยมีความชัดเจนเลยว่า จะมีท่าทีตามมาตรา 17 อย่างไร ดึงจังหวะสับขาหลอกคนไทยได้ ทีมข่าวการเมือง รายงาน
เปิดโพยดักคอกันซะแล้ว จะเดินบทต่อไปยังไง
แทบจะจบข่าวเลย
ว่าด้วยเกมจุดพลุแนวคิดนิรโทษกรรมคนเสื้อแดง
และก็ชิงจังหวะเบิ้ลทันที นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเสียงแข็ง รับมุกกับท่าทีเข้มๆของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พรรคไม่เห็นด้วยที่จะมีการนิรโทษกรรมให้กับกองกำลังติดอาวุธ ที่ทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง
ประกอบฉากปรองดองของรัฐบาลให้ดูสมจริงสมจังก็เท่านั้น
กดกองทัพเสื้อแดงไม่ให้โงหัว
ทางหนึ่งก็ล็อบบี้ยิสต์มือระดับโลกที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จ้างให้ตีปี๊บประจานฝ่ายถืออำนาจไทยในเวทีสากล จนรัฐบาลนิ่งอยู่ไม่ได้ ต้องส่งตัวแทนไปเคลียร์เป็นรายประเทศ
และโดยปมที่ต่างชาติค้างคาใจ ในอารมณ์ก็น่าจะเป็นไปตามที่นายสุณัย ผาสุข ผู้ประสานงานองค์การด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Watch) สะท้อนเครื่องหมายคำถาม
แต่ยังติดที่นานาชาติไม่ยอมเคลิ้มตามง่ายๆ.