WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 16, 2010

คปส.ค้านกองทัพเข้ามาจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ-โทรทัศน์

ที่มา ประชาไท


คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อเรียกร้องให้ ส.ส. ค้านการแก้ไขหลักการ "พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ" ที่เปิดให้ตัวแทนจากฝ่ายกองทัพเข้ามาเป็น กสทช. ถ้าให้แก้เท่ากับให้กองทัพครอบงำกิจการสื่อฯ ชี้ปัจจุบันกลาโหมเป็นเจ้าของคลื่นวิทยุกว่า 201 สถานี เป็นเจ้าของทีวี 2 ช่อง ถ้าให้ทหารเข้ามายุ่งย่อมปฏิรูปสื่อได้ยาก

วันนี้ (15 มิ.ย.) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ หรือ คปส. ออกแถลงการณ์ "คัดค้านร่างกฎหมาย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ‘ฉบับ ท.ทหาร ฉุกเฉิน’" โดยระบุว่าถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยอมให้วุฒิสภาแก้ไขหลักการของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ที่เปิดให้ตัวแทนจากฝ่ายกองทัพเข้ามาเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็เท่ากับให้กองทัพครอบงำกิจการสื่อกระจายเสียง

โดย คปส. มีข้อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชน และสาธารณชน ดังนี้ 1. ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคัดค้านการแก้ไขหลักการสำคัญโดยวุฒิสภา ที่เปิดให้ตัวแทนจากฝ่ายกองทัพเข้ามาเป็น กสทช. และจัดสรรผลประโยชน์ล่วงหน้าให้กับ หน่วยงานของตน และขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งยึดมั่น ในเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ อันเป็นหลักการรองรับสิทธิเสรีภาพการสื่อสาร ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และการได้มาซึ่งองค์กรอิสระที่เป็นอิสระ อย่างแท้จริง

2. ขอให้สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบการทำหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมายฉบับนี้ ของวุฒิสภา และตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่างสองสภาขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ฉบับนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยต้องเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้และมีส่วนร่วมตรวจสอบโดยตรง

และ 3. ขอให้สื่อ มวลชน และ สาธารณชน ติดตามการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างใกล้ชิดและ ให้ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้าง ขวางในการตรวจสอบและปกป้องผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรสื่อสารของสาธารณะ โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้

000

แถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ
คัดค้านร่างกฎหมาย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ‘ฉบับ ท.ทหาร ฉุกเฉิน’

สืบเนื่องจากการประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญนัดพิเศษ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความ ถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. … และวุฒิสภามีมติผ่านร่างกฎหมาย โดยแก้ไขในหลักการสำคัญ ประกอบด้วย 1) การเพิ่มองค์ประกอบในองค์กรอิสระให้กับฝ่ายความมั่นคง และกำหนดให้มีกรรมการมาจากฝ่ายความมั่นคง ตลอดจนเปิดให้หน่วยงานความมั่นคงส่งตัวแทนเข้าคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการ และ 2) การกำหนดให้ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับฝ่ายความมั่นคงได้ใช้ อย่างเพียงพอ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เห็นว่า การกลั่นกรองร่างกฎหมายของวุฒิสภาในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการทำลายหลักการ สำคัญและเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อของภาคประชาชน ที่เรียกร้องให้มีองค์กรที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตลอดจนกิจการโทรคมนาคมมาตลอดระยะเวลากว่าสิบปี กล่าวคือ เป็นการอาศัยสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรม ให้แก่หน่วยงานความมั่นคงหรือกองทัพ ในการเข้าแทรกแซงองค์กรอิสระ และจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองอีกครั้งหนึ่ง

เพราะภายหลังที่กองทัพได้กระทำ การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่านร่างกฎหมายและบังคับใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีสาระสำคัญคือ เปิดให้กองทัพสามารถแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์จากการประกอบ กิจการวิทยุและโทรทัศน์ได้ต่อไปดังที่ได้ดำเนินการมาอย่างยาวนาน ตลอดห้าทศวรรษที่ผ่านมา

วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองใน ปัจจุบันที่นำมาซึ่งความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไทย ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของรัฐในการปฏิรูปสื่อ ส่งผลให้สังคมไทยขาดกลไกที่เป็นอิสระกำกับดูแลสื่อวิทยุและ โทรทัศน์เป็นเวลายาวนาน อีกทั้งการที่หน่วยงานรัฐและทุนที่ครอบครองสื่อผูกขาดเดิมได้เข้าแทรกแซงกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) จนไม่สามารถจัดตั้งองค์กรอิสระดังกล่าวได้เป็นระยะเวลากว่าสิบปี กระทั่งการรัฐประหารในปี 2549 มีผลให้เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญมาตรา 40 โดยแก้ไขเป็นมาตรา 47 ซึ่งสาระสำคัญที่เปลี่ยนไป คือการกำหนดให้รวมสององค์กรกำกับดูแลเข้าด้วยกันเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จนนำมาสู่การร่างกฎหมายดังกล่าวในปัจจุบัน ซึ่ง คปส. สนับสนุนร่างฉบับสภาผู้แทนราษฎร แต่คัดค้านร่างที่ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาที่ได้แก้ไขสาระสำคัญ อันขัดต่อเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ

ในการนี้หากรัฐบาลยินยอมต่อข้อขัดแย้งในหลักการสำคัญที่วุฒิสภาแก้ไข ย่อมไม่ต่างจากการปกป้องผลประโยชน์ให้กองทัพมีอำนาจในการครอบงำกิจการสื่อกระจายเสียง อีกทั้งยังตอกย้ำปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะปัจจุบันกระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุมากถึง 201 สถานี และเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และเป็นผู้ดูแลสัมปทานสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้นถ้าหน่วยงานจากฝ่ายทหารเข้ามาเป็นตัวแทนในองค์กรกำกับ ดูแลอิสระย่อมเป็นไปได้ยากมากที่จะปฏิรูปสื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง

คปส. ซึ่งเป็นองค์กรภาค ประชาสังคมที่ติดตามตรวจสอบและผลักดันการปฏิรูปสื่อมากว่าหนึ่ง ทศวรรษจึงมีข้อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชน และสาธารณชน ดังนี้

1. ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคัดค้านการแก้ไขหลักการสำคัญโดยวุฒิสภา ที่เปิดให้ตัวแทนจากฝ่ายกองทัพเข้ามาเป็น กสทช. และจัดสรรผลประโยชน์ล่วงหน้าให้กับ หน่วยงานของตน และขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งยึดมั่น ในเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ อันเป็นหลักการรองรับสิทธิเสรีภาพการสื่อสาร ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และการได้มาซึ่งองค์กรอิสระที่เป็นอิสระ อย่างแท้จริง

2. ขอให้สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบการทำหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมายฉบับนี้ของวุฒิสภา และตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่างสองสภาขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยต้องเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้และมีส่วนร่วมตรวจสอบโดยตรง

3. ขอให้สื่อ มวลชน และ สาธารณชน ติดตามการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างใกล้ชิดและ ให้ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้าง ขวางในการตรวจสอบและปกป้องผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรสื่อสารของสาธารณะ


ด้วยความเชื่อมั่นในเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)
15 มิถุนายน 2553