WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 15, 2010

เปิด "คำร้อง" กกต. VS. "ข้อชี้แจง" ปชป. ในคดียุบพรรคเก่าแก่ที่สุดในประเทศ

ที่มา มติชน

หมายเหตุ : คัดบางส่วนที่สำคัญมาจากคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ และคำชี้แจงข้อกล่าวหาที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นต่อศาล โดยศาลจะเริ่มพิจารณาคดีนัดแรกในปลายเดือนมิถุนายนนี้

------------------

@ ข้อกล่าวหาจาก กกต.


บริษัทที่รับช่วงงานจ้างเหมาทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้บริษัท เมชไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด ในห้วงเวลาดังกล่าวมีรายใหญ่เพียง 2 ราย คือ บริษัท ชัยชวโรจน์ จำกัด และบริษัทพีจีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อตรวจสอบประวัติของ 2 บริษัท เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรยืนยันว่าไม่ได้มีการประกอบการจริง สอดคล้องกับเส้นทางการเงินตาม Statement ของบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวัน ธนาคารกสิกรไทยสาขารังสิต ของบริษัท เมชไซอะฯ บัญชีเลขที่ 183-1-06108-8 ที่ไม่ปรากฏข้อมูลว่ามีการจ่ายเงินให้กับทั้งสองแต่อย่างใด และจากการตรวจสอบเอกสารรายงานทางการเงินที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นรายงานต่อ กกต. ปรากฏหลักฐานเพียงใบแจ้งหนี้กับรายการจ่ายเช็คให้กับบริษัท เมชไซอะฯ โดยไม่ปรากฏสัญญาว่าจ้าง รายละเอียดการตรวจรับงานจ้าง หรือภาพตัวอย่างป้าย หรือภาพการติดตั้งป้ายดังเช่น โครงการอื่นๆ ของพรรคที่จัดทำในห้วงเวลาเดียวกัน ประกอบกับจากคำให้การของ น.ส.อาภรณ์ รองเงิน สมุห์บัญชีเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งปี 2548 และนางกฤษณา เรืองภักดี ให้การว่าพรรคจะเตรียมการและทยอยทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ดหลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง โดยใช้เงินพรรคซึ่งโอนมาไว้ในบัญชีเลือกตั้งจ่ายไปก่อน สอดคล้องกับคำชี้แจงข้อเท็จจริงของนายประจวบ สังขาว ซึ่งชี้แจงว่าได้ใช้เงินในส่วนที่ได้รับจ่ายบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) จ่ายค่าทำป้ายซึ่งได้จัดทำช่วงเดือนพฤศจิกายน 2548 ภายหลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548

สำหรับกรณีการรายงานการใช้จ่ายเงินของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 23,314,200 บาท เพื่อจัดทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ด จากข้อเท็จจริงพบว่า พรรคสั่งจ่ายเช็คธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 2899102 ลงวันที่ 10 มกราคม 2548 จำนวน 23,314,200 บาท ให้บริษัท เมชไซอฯ แต่เมื่อ บริษัท เมชไซอะฯได้รับเงินดังกล่าวกลับมิได้ใช้จ่ายดำเนินการตามโครงการ โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทได้จ่ายเงินส่วนใหญ่ให้กับบุคคลต่างๆ ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน และมีหลักฐานว่าได้จ่ายให้กับบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อโฆษณาเพียง 1,410,726.97 บาท โดยบริษัท เมชไซอะฯได้ออกใบสำคัญรับเงิน 23,314,200 บาท ลงวันที่ 10 มกราคม 2548 ให้พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่าเป็นค่าป้าย P.P BOARD (ฟิวเจอร์บอร์ด) ประกอบกับเมื่อตรวจสอบการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ บริษัท เมชไซอะฯนำส่งสรรพากร ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2548 (ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่คณะกรรมการกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง อนุมัติวงเงินให้พรรคประชาธิปัตย์จนถึงวันที่พรรคชำระเงินให้บริษัท เมชไซอะฯ) ค่าใช้จ่ายในการซับงานส่วนใหญ่ เป็นรายการจ้างเหมาบริษัท ชัยชวโรจน์ จำกัด และบริษัทพีจีซีฯ ซึ่งบริษัททั้งสองถูกสั่งเพิกถอนการออกใบกำกับภาษี


กรณีจึงน่าเชื่อได้ว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งใบสำคัญรับเงินฉบับนี้ประกอบการรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคที่ได้รายงานต่อ กกต. ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ควรได้รู้อยู่แล้วว่าเป็นใบสำคัญที่มิได้ดำเนินการจริง เนื่องจากการจัดทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ด ของ บริษัท เมชไซอะฯได้ใช้เงินของ บริษัท ทีพีไอฯ และได้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 ดังนั้นหลักฐานใบสำคัญรับเงินของบริษัท เมชไซอะฯ ซึ่งเป็นเอกสารประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินที่พรรคประชาธิปัตย์ และได้บันทึกในรายงานการใช้จ่ายเงินยื่นต่อ กกต.จึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง


จากข้อเท็จจริง กรณีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองโครงการฟิวเจอร์บอร์ด เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ สามารถแยกได้เป็น 2 กรณี คือ


1.กรณีพรรคประชาธิปตย์จ้างบริษัท เมชไซอะฯจัดทำฟิวเจอร์บอร์ดตามใบสำคัญจ่าย 23,314,200 บาท ซึ่งกรณีนี้ กกต.พิเคราะห์แล้วเห็นว่า


พรรคประชาธิปัตย์นำเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ไปใช้จ่ายไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้


ก.เรื่องระยะเวลาดำเนินการ จากการสอบสวน เส้นทางการเงิน และข้อมูลทางภาษี เชื่อได้ว่าพรรคปจัดทำป้ายก่อนได้รับอนุมัติให้ปรับเปลี่ยนวงเงินในโครงการฟิวเจอร์บอร์ด จาก 19 ล้านบาท เป็น 27 ล้านบาท


ข.ขนาดของป้ายไม่เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ เนื่องจากขนาดของป้ายที่ระบุ ในใบสำคัญจ่ายเป็นขนาด

1.2x3.4 เมตร แต่โครงการที่ได้รับอนุมัติระบุขนาดป้ายไว้ 1.3x3.4 เมตร นอกจากนี้ใบสำคัญจ่ายทั้ง 40 ล้านบาท (ซึ่ง 40 ล้านบาทนี้ ได้รวมค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินกองทุนฯ 27 ล้านบาทด้วย) พรรคยื่นรายงานต่อ กกต.มีขนาดไม่ตรงตามที่ได้รับอนุมัติแต่อย่างใด


2. พรรคประชาธิปัตย์รายงานการใช้จ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้

ก.การออกหลักฐานใบสำคัญรับเงิน และใบส่งของ ของบริษัท เมชไซอะฯที่ออกให้พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อชำระมูลนี้ค่าป้ายฟิวเจอร์บอร์ด 23,314,200 บาท ขัดต่อข้อเท็จจริงที่ได้ดำเนินการไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 แล้วโดยใช้เงินที่ได้รับจากบริษัท ทีพีไอฯ ซึ่งกรณีนี้พรรคได้รู้หรือควรต้องรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่พรรคกลับใช้หลักฐานที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวยื่นประกอบการรายงานการใช้จ่ายเงินต่อ กกต.โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้ลงนามในหนังสือรายงานการใช้จ่ายเงินต่อ กกต.

ข.จากเส้นทางการเงินและข้อมูลทางภาษี จะเห็นได้ว่าเมื่อพรรคจ่ายเช็คให้บริษัท เมชไซอะฯ จำนวน 23,314,200 บาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ในวันรุ่งขึ้น บริษัท โดยนายประจวบได้เบิกจ่ายเงินให้กลุ่มบุคคลต่างๆ โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ประกอบกับข้อมูลทางภาษี มีการใช้ใบกำกับภาษีที่ออก โดยบริษัทที่ถูกกรมสรรพากรเพิกถอนใบกำกับภาษี เนื่องจากไม่มีการประกอบการจริงมาแสดง จึงเชื่อได้ว่าการออกใบสำคัญรับเงินดังกล่าว เป็นการออกโดยไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง


กกต.พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์นำเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนไปใช้จ่ายไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้


1.เรื่องระยะเวลาดำเนินการ จากการสอบสวน เส้นทางการเงิน และข้อมูลทางภาษี เชื่อได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จัดทำป้ายก่อนได้รับอนุมัติให้ปรับเปลี่ยนวงเงินในโครงการฟิวเจอร์บอร์ดถูกต้อง จาก 19 ล้านบาท เป็น 27 ล้านบาท
1.2 กรณีนี้จากการตรวจสอบใบสำคัญจ่ายไม่มีการระบุขนาดของป้ายไว้ ใบสำคัญจ่าย และไม่มีใบส่งของแนบประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินแต่อย่างใด


2.พรรคประชาธิปัตย์รายงานการใช้จ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้
จากคำให้การของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ซึ่งให้การว่า เงินที่ได้รับสนับสนุนจากกองทุน 27 ล้านบาท ได้ว่าจ้างนายประจวบ 23 ล้านบาท และว่าจ้าง น.ส.วาศินี และเป๋ โปสเตอร์ ประมาณ 4 ล้านบาท สอดคล้องกับคำให้การของ น.ส.วาศินี ที่ให้การว่าได้รับงานจากพรรคประมาณ 4 ล้านบาท แต่นายธงชัยสั่งการให้ออกใบสำคัญจ่ายจำนวน 2,093,713.04 บาท เมื่อวัน 12 มกราคม 2548 ฉะนั้นในกรณีนี้พรรคได้รู้หรือควรต้องรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่พรรคกลับใช้หลักฐานที่ไม่ถูกต้องนั้นมายื่นประกอบรายงานการใช้จ่ายเงินต่อ กกต.


พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 และ 94 จึงเห็นชอบให้นายทะเบียนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 93


**********************************************


@ คำแก้ข้อกล่าวหาของ ปชป.


1.พรรคไม่ได้รับเงินจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) 258 ล้านบาท ส่วนที่บริษัท ทีพีไอฯทำสัญญากับบริษัท เมซไซอะฯเพื่อประชาสัมพันธ์ ถือเป็นเรื่องส่วนตัวของทั้งสองบริษัท พรรคไม่ทราบและไม่เกี่ยวข้องด้วย


2.ไม่ได้จัดทำป้ายหาเสียงก่อนได้รับอนุมัติให้ปรับเปลี่ยนวงเงิน เนื่องจากก่อนขอปรับปรุงโครงการ พรรคได้จัดทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ด 19 ล้านบาทได้อยู่ก่อนแล้ว และเมื่อประสานภายในกับเจ้าหน้าที่ กกต.แล้วรับแจ้งว่าสามารถปรับปรุงได้โดยเพิ่มเติมงบฯ 8 ล้านบาทไม่มีปัญหา พรรคจึงเตรียมจัดทำป้ายฟิวเจอร์บอร์ดในวงเงิน 27 ล้านบาท ส่วนการโอนเงินให้บริษัท เมซไซอะฯก่อนอนุมัติให้แก้ไขนั้น ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หากจะรอจ่ายเมื่อได้รับการอนุมัติ ก็จะไม่ทันการเลือกตั้ง และถึงแม้ภายหลังคณะกรรมการกองทุนฯไม่อนุมัติให้เปลี่ยน พรรคก็ต้องคืน 8 ล้านบาทให้กองทุน


3.สาเหตุที่ขนาดป้ายตามใบสำคัญรับเงินของบริษัท เมซไซอะฯ กับขนาดป้ายที่ทำจริงไม่ตรงกันนั้น เป็นความผิดพลาดจากการพิมพ์ของผู้ผลิต


4.ผู้ที่มีอำนาจทำความเห็นให้มีการยุบพรรคการเมือง เพราะเหตุที่ได้มีการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 94 เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองเพียงผู้เดียวเท่านั้น กกต.ไม่มีอำนาจทำความเห็นในเรื่องดังกล่าวนี้ได้ และกฎหมายก็มิได้บัญญัติให้อำนาจแก่นายทะเบียนที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม กกต.เพื่อขอให้ทำความเห็นและลงมติว่าสมควรจะยุบพรรคตามที่ถูกร้องเรียนหรือไม่ ดังนั้น เมื่อนายทะเบียนมีความเห็นให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว นายทะเบียนจะนำความเห็นดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม กกต.เพื่อให้ความเห็นชอบในการแจ้งต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคนั้นๆ แต่ถ้าเรื่องใดนายทะเบียนเห็นว่าไม่มีการกระทำความผิด ก็เป็นอันยุติ กกต.ไม่มีอำนาจไปก้าวล่วงวินิจฉัยในประเด็นนี้ได้อีก เพราะถือว่าเป็นการก้าวก่ายการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อันส่งผลให้การทำความเห็นและมติในเรื่องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย


เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ปรากฏว่าประเด็นข้อกล่าวหาแรกนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นว่าผู้ถูกร้องไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา จึงมีความเห็นไม่ให้ยุบพรรคเป็นที่ยุติ ขณะที่ กกต.ต่างก็ทราบและเข้าใจข้อกฎหมายส่วนนี้เป็นอย่างดีว่าอำนาจพิจารณายุบพรรคนั้นเป็นอำนาจของนายทะเบียนเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่า กกต.มีมติในการประชุมครั้งที่ 144/2552 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ด้วยเสียงข้างมากให้นายทะเบียนมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการยุบพรรคผู้ถูกร้อง นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ก็ได้มีความเห็นให้ยกคำร้องทั้งสองข้อหา เพราะไม่พบการกระทำความผิด ดังปรากฏตามมติ กกต.และรายงานข่าวคำให้สัมภาษณ์ของนายอภิชาต


แต่ปรากฏว่าต่อมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 นายทะเบียนกลับไม่ทำความเห็นว่าสมควรจะยุบพรรคผู้ถูกร้องหรือไม่ เพียงแต่ได้มีความเห็นเสนอต่อ กกต.ว่า ข้อเท็จจริงที่คณะทำงานของนายทะเบียนได้รวบรวมเพิ่มเติมพบว่าพรรคประชาธิปัตย์อาจกระทำตามมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ก็ได้ และมีความเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญจึงส่งเรื่องให้ กกต.ลงมติว่าจะยุบพรรคหรือไม่ ที่ประชุม กกต.ได้ลงมติโดยเสียงข้างมากให้ยุบพรรคทั้งสองข้อหา และหลังจากนั้นในวันที่ 21 เมษายน 2553 กกต.มีมติให้นายทะเบียนร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์


การทำความเห็นและการลงมติของ กกต.ดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2551 มาตรา 67 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 ย่อมส่งผลให้การทำความเห็นและมติเสียงข้างมากของ กกต.ที่เห็นสมควรให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามประเด็นนี้ได้

ผู้ที่มีอำนาจทำความเห็นให้มีการยุบพรรคการเมืองเพราะเหตุที่ได้มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 94 เป็นอำนวนหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองเพียงผู้เดียวเท่านั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอำนาจทำความเห็นในเรื่องดังกล่าวนี้ได้


ก็มีได้บัญญัติให้อำนาจแก่นายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื้อขอให้ทำความเห็นและลงมติว่าสมควรจะยุบพรรคตามที่ถูกร้องเรียนหรือไม่ ดังนั้น เมื่อนายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว นายทะเบียนพรรคการเมืองก็จะนำความเห็นดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้ความเห็นชอบในการแจ้งต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นๆ แต่ถ้าเรื่องใดนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่าไม่มีการกระทำความผิดตามที่มีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าวก็เป็นอันยุติตามความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีอนำาจไปก้าวล่วงวินิจฉัยในประเด็นนี้ได้อีก เพราะถือว่าเป็นการก้าวก่ายการใชดุลพินิจของนายทะเบียนพรรคการเมืองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อันส่งผลให้การทำความเห็นและมติในเรื่องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย


เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ปรากฏว่าประเด็นข้อกล่าวหาแรกนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองได้มีความเห็นว่าผู้ถูกร้องไม่ได้มีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 94 ตามที่ถูกกล่าวหา จึงมีความเห็นไม่ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตามประเด็นนี้ เพราะฉะนั้นโดยผลของกฎหมายปัญหาดังกล่าวย่อมรับฟังเป็นยุติตามความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง


คณะกรรมการการเลือกตั้งต่างก็ทราบและเข้าใจข้อกฎหมายส่วนนี้เป็นอย่างดี ว่าอำนาจในการพิจารณายุบพรรคการเมืองนั้นเป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 144/2552 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 (เอกสารท้ายคำร้อง 11) โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการยุบพรรคผู้ถูกร้องตาม มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ดังกล่าว นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ได้มีความเห็นให้ยกคำร้องที่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสองข้อหา เพราะไม่พบการกระทำความผิด ดังปรากฏตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งและรายงานข่าวคำให้สัมภาษณ์ของนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ต่อสื่อมวลชน


แต่ปรากฏว่าต่อมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 นายทะเบียนพรรคการเมืองกลับไม่ทำความเห็นว่าสมควรจะยุบพรรคผู้ถูกร้องหรือไม่ เพียงแต่ได้มีความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ข้อเท็จจริงที่คณะทำงานของนายทะเบียนพรรคการเมืองได้รวบรวมเพิ่มเติมพรรคประชาธิปัตย์อาจมีการกระทำตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่ก็ได้ และมีความเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งลงมติว่าจะยุบพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ลงมติโดยเสียงข้างมากให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสองข้อหา ดังรายละเอียดปรากฏตามมติที่ 41/2553 ลงวันที่ 12 เมษายน 2553 (เอกสารท้ายคำร้อง 14) และหลังจากนั้นในวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ได้มีมติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์


การทำความเห็นและการลงมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2551 มาตรา 67 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 ย่อมส่งผลให้การทำความเห็นและมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เห็นสมควรให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องตามประเด็นนี้ได้